ตามคำแถลงการณ์ของคุณทักษิณ ชินวัตร ซึ่งลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “มติชน” ฉบับลงวันที่ 24 ตุลาคม 2551 มีใจความกล่าวหาว่า การที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองลงโทษจำคุกกรณีที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษกนั้น เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมืองอันเกิดจากการสมคบกันของพวกชนชั้นสูงผู้มีอภิสิทธิ์
ทนายความของคุณทักษิณก็ตั้งข้อสงสัยว่า เมื่อศาลวินิจฉัยว่าคุณหญิงพจมานซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษกไม่มีความผิดแล้ว คุณทักษิณก็ไม่น่าจะมีความผิดด้วยนั้น
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาคำวินิจฉัยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดี “ที่ดินรัชดาภิเษก” ที่ลงโทษจำคุกคุณทักษิณ ชินวัตร แล้ว ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำวินิจฉัยดังกล่าวที่ให้ลงโทษคุณทักษิณ
เนื่องจากว่า ขณะที่คุณทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รู้เห็นและให้ความยินยอมแก่คุณหญิงพจมานภริยาของตนเข้าประมูลซื้อที่ดินจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งอยู่ในกำกับดูแลของตน
อันเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐในลักษณะที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในทรัพย์สินของรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย คุณทักษิณย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 (1) และมาตรา 122 วรรคหนึ่ง อย่างชัดแจ้ง
แต่ที่ศาลพิพากษายกฟ้องคุณหญิงพจมาน โดยให้เหตุผลว่า คุณหญิงพจมานไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น
ผู้เขียนกลับเห็นว่า แม้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวประสงค์จะให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปทำสัญญาหรือยินยอมให้คู่สมรสทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกำกับดูแลของตนก็ตาม
แต่พฤติการณ์ที่คุณหญิงพจมานเข้าไปเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกำกับของคุณทักษิณโดยคุณทักษิณรู้เห็นเป็นใจด้วยนั้น
ย่อมถือได้ว่าคุณหญิงพจมานเป็นตัวการร่วมกันในการกระทำความผิดตามกฎหมายดังกล่าว แม้คุณหญิงพจมานมิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็น่าจะต้องมีความผิดในฐานที่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว
ทั้งนี้ เทียบเคียงได้ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 492/2512 ซึ่งวินิจฉัยว่า “จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน จึงจะถูกลงโทษฐานเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ลงโทษบุคคล ผู้เป็นเจ้าพนักงานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยเฉพาะตามที่โจทก์ฟ้องให้ลงโทษไม่ได้ คงลงโทษได้ตามบทมาตราดังกล่าวแต่ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น”
ดังนั้น การที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้ลงโทษคุณหญิงพจมานนั้น ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังกล่าวโดยปราศจากอคติต่อคุณทักษิณ
ทั้งยังเห็นได้ว่า เป็นคำวินิจฉัยที่เป็นคุณแก่คุณทักษิณและคุณหญิงพจมานมากอีกด้วย
การที่คุณทักษิณออกแถลงการณ์ถึงสื่อมวลชนต่างประเทศกล่าวหาลอยๆ ว่า คำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไร้เหตุผล และเป็นการกระทำที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนทางการเมือง ซึ่งเป็นการสมคบกันของบรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลาย โดยมิได้ระบุว่าชนชั้นสูงและผู้พิพากษาศาลฎีกาที่สมคบกันกลั่นแกล้งตนเป็นใครนั้น
จึงเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและเป็นการใส่ร้ายป้ายสีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใจ
เพราะหากคุณทักษิณไม่เชื่อถือกระบวนการยุติธรรมไทยและไม่เชื่อถือศาลยุติธรรมดังที่กล่าวอ้างจริง เหตุใดคุณทักษิณจึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบุคคลอื่นเป็นจำเลย ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญามากมายหลายคดีซึ่งยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลในขณะนี้
หรือเป็นเพราะว่าคุณทักษิณไม่เชื่อถือศาลยุติธรรมเฉพาะในคดีที่คุณทักษิณถูกฟ้องเป็นจำเลยเท่านั้น
ดังนั้น การที่คุณทักษิณได้พยายามสื่อสารกับสังคมไทยและชาวโลก เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของศาลยุติธรรมนั้น นอกจากจะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นศาลในการพิจารณาพิพากษาคดี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 7 ปี แล้ว ยังอาจส่อให้เห็นว่าเป็นการเริ่มต้นประกาศสงครามกับอำนาจตุลาการอย่างตรงไปตรงมา ดังที่หลายฝ่ายได้วิเคราะห์ไว้อีกด้วย
และเป็นที่น่าสังเกตว่าการกล่าวหาของคุณทักษิณข้างต้น อาจมีความเชื่อมโยงกับการที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง ตัวแทนทางการเมืองของคุณทักษิณออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ศาลยุติธรรมไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชน และขาดการตรวจสอบจากประชาชน
ทั้งๆ ที่การปฏิบัติหน้าที่ของศาลได้กระทำโดยเปิดเผย ทุกขั้นตอนของการพิจารณาพิพากษาคดี โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิตรวจสอบได้โดยตรง มีเหตุมีผลอธิบายได้ชัดแจ้ง
และมีตัวแทนจากวุฒิสภา 2 คน ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนเป็นกรรมการตุลาการ มีหน้าที่ตรวจสอบการทำหน้าที่และให้คุณให้โทษผู้พิพากษาได้ทุกคน
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา ในการจัดชุมนุมของคนในฝ่ายรัฐบาล ผู้จัดยังได้ให้ความร่วมมือแก่คุณทักษิณโทรศัพท์เข้ามาดูหมิ่นกระบวนการยุติธรรมและศาลฎีกาซ้ำอีก
อย่างไรก็ตาม ศาลยุติธรรมเป็นสถาบันหลักที่สำคัญของประชาชนที่ไม่อาจเป็นคู่กรณีขัดแย้งกับคุณทักษิณได้ จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องร่วมกันปกป้องศาลยุติธรรม
และผู้พิพากษาต้องตั้งมั่นอยู่ในความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้มากขึ้นกว่าเดิม ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะรักษาสถาบันศาลยุติธรรมไว้ให้มั่นคง
ผู้พิพากษาจึงต้องดำรงตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต มีความกล้าหาญที่จะยืนหยัดอยู่ในความถูกต้องและเป็นกลาง โดยปราศจากอคติใดๆ และต้องไม่หวั่นไหวต่อกระแสสังคมที่มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้
อีกทั้ง ต้องไม่ละเลยที่จะศึกษาและทำความเข้าใจกับต้นเหตุแห่งปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างรอบด้าน แล้วใช้อำนาจตุลาการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้เกิดความสงบเรียบร้อย เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า ศาลยุติธรรมยังสามารถให้ความเป็นธรรมและเป็นที่พึ่งแห่งสุดท้ายของประชาชนได้อย่างแท้จริง
ทนายความของคุณทักษิณก็ตั้งข้อสงสัยว่า เมื่อศาลวินิจฉัยว่าคุณหญิงพจมานซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษกไม่มีความผิดแล้ว คุณทักษิณก็ไม่น่าจะมีความผิดด้วยนั้น
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาคำวินิจฉัยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดี “ที่ดินรัชดาภิเษก” ที่ลงโทษจำคุกคุณทักษิณ ชินวัตร แล้ว ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำวินิจฉัยดังกล่าวที่ให้ลงโทษคุณทักษิณ
เนื่องจากว่า ขณะที่คุณทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รู้เห็นและให้ความยินยอมแก่คุณหญิงพจมานภริยาของตนเข้าประมูลซื้อที่ดินจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งอยู่ในกำกับดูแลของตน
อันเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐในลักษณะที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในทรัพย์สินของรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย คุณทักษิณย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 (1) และมาตรา 122 วรรคหนึ่ง อย่างชัดแจ้ง
แต่ที่ศาลพิพากษายกฟ้องคุณหญิงพจมาน โดยให้เหตุผลว่า คุณหญิงพจมานไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น
ผู้เขียนกลับเห็นว่า แม้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวประสงค์จะให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปทำสัญญาหรือยินยอมให้คู่สมรสทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกำกับดูแลของตนก็ตาม
แต่พฤติการณ์ที่คุณหญิงพจมานเข้าไปเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกำกับของคุณทักษิณโดยคุณทักษิณรู้เห็นเป็นใจด้วยนั้น
ย่อมถือได้ว่าคุณหญิงพจมานเป็นตัวการร่วมกันในการกระทำความผิดตามกฎหมายดังกล่าว แม้คุณหญิงพจมานมิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็น่าจะต้องมีความผิดในฐานที่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว
ทั้งนี้ เทียบเคียงได้ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 492/2512 ซึ่งวินิจฉัยว่า “จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน จึงจะถูกลงโทษฐานเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ลงโทษบุคคล ผู้เป็นเจ้าพนักงานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยเฉพาะตามที่โจทก์ฟ้องให้ลงโทษไม่ได้ คงลงโทษได้ตามบทมาตราดังกล่าวแต่ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น”
ดังนั้น การที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้ลงโทษคุณหญิงพจมานนั้น ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังกล่าวโดยปราศจากอคติต่อคุณทักษิณ
ทั้งยังเห็นได้ว่า เป็นคำวินิจฉัยที่เป็นคุณแก่คุณทักษิณและคุณหญิงพจมานมากอีกด้วย
การที่คุณทักษิณออกแถลงการณ์ถึงสื่อมวลชนต่างประเทศกล่าวหาลอยๆ ว่า คำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไร้เหตุผล และเป็นการกระทำที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนทางการเมือง ซึ่งเป็นการสมคบกันของบรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลาย โดยมิได้ระบุว่าชนชั้นสูงและผู้พิพากษาศาลฎีกาที่สมคบกันกลั่นแกล้งตนเป็นใครนั้น
จึงเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและเป็นการใส่ร้ายป้ายสีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใจ
เพราะหากคุณทักษิณไม่เชื่อถือกระบวนการยุติธรรมไทยและไม่เชื่อถือศาลยุติธรรมดังที่กล่าวอ้างจริง เหตุใดคุณทักษิณจึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบุคคลอื่นเป็นจำเลย ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญามากมายหลายคดีซึ่งยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลในขณะนี้
หรือเป็นเพราะว่าคุณทักษิณไม่เชื่อถือศาลยุติธรรมเฉพาะในคดีที่คุณทักษิณถูกฟ้องเป็นจำเลยเท่านั้น
ดังนั้น การที่คุณทักษิณได้พยายามสื่อสารกับสังคมไทยและชาวโลก เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของศาลยุติธรรมนั้น นอกจากจะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นศาลในการพิจารณาพิพากษาคดี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 7 ปี แล้ว ยังอาจส่อให้เห็นว่าเป็นการเริ่มต้นประกาศสงครามกับอำนาจตุลาการอย่างตรงไปตรงมา ดังที่หลายฝ่ายได้วิเคราะห์ไว้อีกด้วย
และเป็นที่น่าสังเกตว่าการกล่าวหาของคุณทักษิณข้างต้น อาจมีความเชื่อมโยงกับการที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง ตัวแทนทางการเมืองของคุณทักษิณออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ศาลยุติธรรมไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชน และขาดการตรวจสอบจากประชาชน
ทั้งๆ ที่การปฏิบัติหน้าที่ของศาลได้กระทำโดยเปิดเผย ทุกขั้นตอนของการพิจารณาพิพากษาคดี โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิตรวจสอบได้โดยตรง มีเหตุมีผลอธิบายได้ชัดแจ้ง
และมีตัวแทนจากวุฒิสภา 2 คน ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนเป็นกรรมการตุลาการ มีหน้าที่ตรวจสอบการทำหน้าที่และให้คุณให้โทษผู้พิพากษาได้ทุกคน
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา ในการจัดชุมนุมของคนในฝ่ายรัฐบาล ผู้จัดยังได้ให้ความร่วมมือแก่คุณทักษิณโทรศัพท์เข้ามาดูหมิ่นกระบวนการยุติธรรมและศาลฎีกาซ้ำอีก
อย่างไรก็ตาม ศาลยุติธรรมเป็นสถาบันหลักที่สำคัญของประชาชนที่ไม่อาจเป็นคู่กรณีขัดแย้งกับคุณทักษิณได้ จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องร่วมกันปกป้องศาลยุติธรรม
และผู้พิพากษาต้องตั้งมั่นอยู่ในความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้มากขึ้นกว่าเดิม ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะรักษาสถาบันศาลยุติธรรมไว้ให้มั่นคง
ผู้พิพากษาจึงต้องดำรงตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต มีความกล้าหาญที่จะยืนหยัดอยู่ในความถูกต้องและเป็นกลาง โดยปราศจากอคติใดๆ และต้องไม่หวั่นไหวต่อกระแสสังคมที่มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้
อีกทั้ง ต้องไม่ละเลยที่จะศึกษาและทำความเข้าใจกับต้นเหตุแห่งปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างรอบด้าน แล้วใช้อำนาจตุลาการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้เกิดความสงบเรียบร้อย เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า ศาลยุติธรรมยังสามารถให้ความเป็นธรรมและเป็นที่พึ่งแห่งสุดท้ายของประชาชนได้อย่างแท้จริง