“แน่นอน ไม่มีใครเอาผมกลับประเทศไทยได้ นอกจากพระบารมีที่จะทรงเมตตา หรือพลังของพี่น้องประชาชนเท่านั้น”
คำว่า “ราชประชาสมาสัย” หรือ “ลัทธิราชประชาสมาสัย” ไม่ได้มีความหมายแค่มุ่งหวังอาศัยพระบารมีขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของนักโทษทุกคนที่จะทำได้หลังศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักโทษประหาร ส่วนจะได้รับพระเมตตาหรือไม่ก็เป็นพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ฉบับ 2550 ปัจจุบันอยู่ที่มาตรา 191 ไม่ใช่เรื่องที่คนอื่นจะมาเข้าชื่อกันทำแทนตามที่ส.ส.พรรคพลังประชาชนกำลังคิดกันอยู่
การพูดประโยคข้างต้นของคุณทักษิณ ชินวัตร โปรดสังเกตคำว่า “หรือ” ที่ผมจงใจขีดเส้นใต้ไว้
ผมมิบังอาจตีความ แต่เชื่อว่าคงใจเดียวกันกับพี่น้องผู้อ่านทั้งหลาย
นี่ไม่ใช่ราชประชาสมาสัย !
ราชประชาสมาสัยมีรากฐานทางปรัชญาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทย คนที่ใช้คำนี้เป็นคนแรกก็คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในคอลัมน์ “ปัญหาประจำวัน” ในนสพ.สยามรัฐ ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2514 และมาขยายความอีกครั้งในบทสนทนา “การเมืองไทย” กับท่านอาจารย์เสน่ห์ จามริก และท่านอาจารย์ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ บันทึกอยู่ในวารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เดือนเมษายน 2515 หน้า 39 – 45
“การปกครองแบบราชประชาสมาสัย คือให้พระมหากษัตริย์กับประชาชนร่วมกันปกครองแผ่นดิน ให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองมากขึ้นกว่าในระบอบประชาธิปไตย และให้ประชาชนมีอำนาจในการปกครองมากขึ้นกว่าในระบอบประชาธิปไตยของไทยที่แล้วมา พระมหากษัตริย์กับประชาชนในเมืองไทยนั้นไม่เป็นภัยต่อกัน มีแต่ความรักต่อกัน และมีความอนุเคราะห์เกื้อกูลต่อกันและกันมาโดยตลอด ถ้าหากว่าพระมหากษัตริย์กับประชาชนของพระองค์ได้ร่วมกันปกครองแผ่นดินด้วยความรัก และอนุเคราะห์เกื้อกูลกัน ดังที่ได้มีมาแล้วโดยตลอดนั้น ผู้เขียนก็มีความหวังว่าแผ่นดินไทยของเรานี้จะเป็นแผ่นดินแห่งความสันติและความเจริญในทุกทางดังที่คนทั่วไปปรารถนา”
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช / 11 ธันวาคม 2514
ท่านอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช นำมาประยุกต์เป็นข้อเสนอการออกแบบโครงสร้างของวุฒิสภาขณะเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2516 ในบทความที่ตีพิมพ์ในนสพ.สยามรัฐ
คุณสนธิ ลิ้มทองกุลกล่าวนำประชาชนถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ว่าจะร่วมสร้างการเมืองใหม่ตามแนวทางนี้ ภายใต้เข็มมุ่ง “ถวายคืนพระราชอำนาจฯ” เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยร่วมกับสภาทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เสนอให้มีการแก้วิกฤตการเมืองตามแนวทางนี้เช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2519
ท่านอาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ ก็ได้เสนอแนะทางออกแห่งวิกฤตในยุคปัจจุบันด้วยแนวทางนี้ตลอดทั้งปี 2550 - 2551 ในข้อเขียนที่ตีพิมพ์ในนสพ.ผู้จัดการรายวันและเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์
นอกจากจะไม่ได้รับการขานรับจากคุณทักษิณ ชินวัตร พรรคพลังประชาชน นักวิชาการกลุ่มที่เสนอความเห็น “ระบอบประชาธิปไตยของปวงมหาประชาชน” และมวลชนคนเสื้อแดงแล้ว
ยังคัดค้านโจมตีอย่างหนักหน่วงว่าเป็นการถอยหลังลงคลอง !
มาวันนี้ กลับได้ยินคำนี้หลุดออกจากปากของวีระ มุสิกพงศ์ผู้โดนศาลอนุมัติหมายจับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกในข้อหาเดียวกันนี้มาแล้วเมื่อกว่า 10 ปีก่อน
ไม่อยากกล่าวหาใคร ณ ที่นี้ว่าไม่จริงใจหรือมีวาระซ่อนเร้นอันร้ายกาจหรอก
วันนี้เพียงแต่อยากบอกว่าถ้าเราเดินตามแนว “ราชประชาสมาสัย” ในความหมายที่เป็นจริง และเดินในระดับของ “โครงสร้าง” ความสมานฉันท์ที่แท้จริงยั่งยืนจะบังเกิดขึ้น
สังคมไทยเกิดวิกฤตเพราะ “รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร” ขัดแย้งกับ “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม”
องค์ประกอบของสังคมไทยมี 4 ส่วนหลัก สังคมจะราบรื่นสมานฉันท์ได้ก็ต่อเมื่อเกิดดุลยภาพอย่างลงตัวในองค์ประกอบทั้งสี่นี้ คือ
1. พระมหากษัตริย์ หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ - สังคมไทยนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบันมีแต่การเปลี่ยนแปลงจากเบื้องบน ไม่มีการลุกขึ้นสู้แล้วก่อการเปลี่ยนแปลงจากเบื้องล่าง หรือมีอยู่บ้างก็เล็กและพ่ายแพ้ พระมหากษัตริย์นับแต่ยุคสุโขทัยมา ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็น Statesman หรือ “รัฐบุรุษ” ในความหมายที่แท้จริง ในรัชสมัยปัจจุบันบทบาทนี้ยิ่งแจ่มชัด ยิ่งชัดเจน แต่โครงสร้างทางการเมืองในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรพระองค์จะไม่ทรงมีบทบาททางการเมือง ยกเว้นในยามวิกฤตนองเลือด หรือใกล้จะนองเลือด
2. รากหญ้า หรือประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท - คนกลุ่มนี้เข้าถึงทรัพยากรได้ยาก เป็นผู้เสียเปรียบถาวรนับแต่เกิดแผนปฏิรูปทุนนิยมในปี 2504 พวกเขามีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจและระบบตลาดน้อยหรือไม่มีเลย ต้องพึ่งพิงคนอื่น มีจุดเด่นอยู่อย่างเดียวคือมีจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเลือกตั้ง ...จึงเป็น “ฐานคะแนนเสียงของนักการเมือง” มาโดยตลอด
3. ชนชั้นกลาง ทั้งในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ - คนกลุ่มนี้มีความสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจและระบบตลาด รวมทั้งสามารถเข้าถึงทรัพยากร ....จึงเป็น “ฐานนโยบายของนักการเมือง” มาโดยตลอดเช่นกัน
4. ทหาร และข้าราชการพลเรือน - เป็นผู้กุมอำนาจรัฐตัวจริงมายาวนานนับแต่รัฐไทยสมัยใหม่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และหลังจากปี 2475 แต่ในทางลายลักษณ์อักษรกลับไม่มีอำนาจทางการเมือง และถูกกีดกันออกจากการเมือง
นี่เป็นความสัมพันธ์ในวิถีและในสำนึกคนไทยโดยไม่รู้ตัวตั้งแต่ปี 2475 – 2550
สังคมไทยจะสมานฉันท์ได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อเกิดดุลยภาพในบทบาทขององค์ประกอบทั้ง 4 นี้ ไม่ใช่เพียงแค่รัฐบาลลาออกหรือยุบสภา, พันธมิตรฯออกจากทำเนียบ, 3 เกลอเลิกจัดรายการทาง NBT, นิรโทษกรรมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หรือ ฯลฯ ที่เป็นเพียงปลายเหตุหรืออาการของวิกฤต
ดุลยภาพขององค์ประกอบทั้งสี่จะเกิดขึ้นได้ ณ เบื้องต้นต้องอาศัยพระบารมีและพระราชอำนาจ
โดยความยินยอมพร้อมใจของประชาชน !
นี่คือการเดินตามแนว “ราชประชาสมาสัย” ที่แท้จริง !!
กลับไปอ่านคำพูดของคุณทักษิณ ชินวัตรข้างต้น แล้วใช้วิจารณญาณตรงคำว่าว่า “หรือ” แล้ว ผมเชื่อว่าเป็นคนละเรื่องกันแน่ !
คำว่า “ราชประชาสมาสัย” หรือ “ลัทธิราชประชาสมาสัย” ไม่ได้มีความหมายแค่มุ่งหวังอาศัยพระบารมีขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของนักโทษทุกคนที่จะทำได้หลังศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักโทษประหาร ส่วนจะได้รับพระเมตตาหรือไม่ก็เป็นพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ฉบับ 2550 ปัจจุบันอยู่ที่มาตรา 191 ไม่ใช่เรื่องที่คนอื่นจะมาเข้าชื่อกันทำแทนตามที่ส.ส.พรรคพลังประชาชนกำลังคิดกันอยู่
การพูดประโยคข้างต้นของคุณทักษิณ ชินวัตร โปรดสังเกตคำว่า “หรือ” ที่ผมจงใจขีดเส้นใต้ไว้
ผมมิบังอาจตีความ แต่เชื่อว่าคงใจเดียวกันกับพี่น้องผู้อ่านทั้งหลาย
นี่ไม่ใช่ราชประชาสมาสัย !
ราชประชาสมาสัยมีรากฐานทางปรัชญาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทย คนที่ใช้คำนี้เป็นคนแรกก็คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในคอลัมน์ “ปัญหาประจำวัน” ในนสพ.สยามรัฐ ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2514 และมาขยายความอีกครั้งในบทสนทนา “การเมืองไทย” กับท่านอาจารย์เสน่ห์ จามริก และท่านอาจารย์ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ บันทึกอยู่ในวารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เดือนเมษายน 2515 หน้า 39 – 45
“การปกครองแบบราชประชาสมาสัย คือให้พระมหากษัตริย์กับประชาชนร่วมกันปกครองแผ่นดิน ให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองมากขึ้นกว่าในระบอบประชาธิปไตย และให้ประชาชนมีอำนาจในการปกครองมากขึ้นกว่าในระบอบประชาธิปไตยของไทยที่แล้วมา พระมหากษัตริย์กับประชาชนในเมืองไทยนั้นไม่เป็นภัยต่อกัน มีแต่ความรักต่อกัน และมีความอนุเคราะห์เกื้อกูลต่อกันและกันมาโดยตลอด ถ้าหากว่าพระมหากษัตริย์กับประชาชนของพระองค์ได้ร่วมกันปกครองแผ่นดินด้วยความรัก และอนุเคราะห์เกื้อกูลกัน ดังที่ได้มีมาแล้วโดยตลอดนั้น ผู้เขียนก็มีความหวังว่าแผ่นดินไทยของเรานี้จะเป็นแผ่นดินแห่งความสันติและความเจริญในทุกทางดังที่คนทั่วไปปรารถนา”
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช / 11 ธันวาคม 2514
ท่านอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช นำมาประยุกต์เป็นข้อเสนอการออกแบบโครงสร้างของวุฒิสภาขณะเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2516 ในบทความที่ตีพิมพ์ในนสพ.สยามรัฐ
คุณสนธิ ลิ้มทองกุลกล่าวนำประชาชนถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ว่าจะร่วมสร้างการเมืองใหม่ตามแนวทางนี้ ภายใต้เข็มมุ่ง “ถวายคืนพระราชอำนาจฯ” เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยร่วมกับสภาทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เสนอให้มีการแก้วิกฤตการเมืองตามแนวทางนี้เช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2519
ท่านอาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ ก็ได้เสนอแนะทางออกแห่งวิกฤตในยุคปัจจุบันด้วยแนวทางนี้ตลอดทั้งปี 2550 - 2551 ในข้อเขียนที่ตีพิมพ์ในนสพ.ผู้จัดการรายวันและเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์
นอกจากจะไม่ได้รับการขานรับจากคุณทักษิณ ชินวัตร พรรคพลังประชาชน นักวิชาการกลุ่มที่เสนอความเห็น “ระบอบประชาธิปไตยของปวงมหาประชาชน” และมวลชนคนเสื้อแดงแล้ว
ยังคัดค้านโจมตีอย่างหนักหน่วงว่าเป็นการถอยหลังลงคลอง !
มาวันนี้ กลับได้ยินคำนี้หลุดออกจากปากของวีระ มุสิกพงศ์ผู้โดนศาลอนุมัติหมายจับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกในข้อหาเดียวกันนี้มาแล้วเมื่อกว่า 10 ปีก่อน
ไม่อยากกล่าวหาใคร ณ ที่นี้ว่าไม่จริงใจหรือมีวาระซ่อนเร้นอันร้ายกาจหรอก
วันนี้เพียงแต่อยากบอกว่าถ้าเราเดินตามแนว “ราชประชาสมาสัย” ในความหมายที่เป็นจริง และเดินในระดับของ “โครงสร้าง” ความสมานฉันท์ที่แท้จริงยั่งยืนจะบังเกิดขึ้น
สังคมไทยเกิดวิกฤตเพราะ “รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร” ขัดแย้งกับ “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม”
องค์ประกอบของสังคมไทยมี 4 ส่วนหลัก สังคมจะราบรื่นสมานฉันท์ได้ก็ต่อเมื่อเกิดดุลยภาพอย่างลงตัวในองค์ประกอบทั้งสี่นี้ คือ
1. พระมหากษัตริย์ หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ - สังคมไทยนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบันมีแต่การเปลี่ยนแปลงจากเบื้องบน ไม่มีการลุกขึ้นสู้แล้วก่อการเปลี่ยนแปลงจากเบื้องล่าง หรือมีอยู่บ้างก็เล็กและพ่ายแพ้ พระมหากษัตริย์นับแต่ยุคสุโขทัยมา ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็น Statesman หรือ “รัฐบุรุษ” ในความหมายที่แท้จริง ในรัชสมัยปัจจุบันบทบาทนี้ยิ่งแจ่มชัด ยิ่งชัดเจน แต่โครงสร้างทางการเมืองในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรพระองค์จะไม่ทรงมีบทบาททางการเมือง ยกเว้นในยามวิกฤตนองเลือด หรือใกล้จะนองเลือด
2. รากหญ้า หรือประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท - คนกลุ่มนี้เข้าถึงทรัพยากรได้ยาก เป็นผู้เสียเปรียบถาวรนับแต่เกิดแผนปฏิรูปทุนนิยมในปี 2504 พวกเขามีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจและระบบตลาดน้อยหรือไม่มีเลย ต้องพึ่งพิงคนอื่น มีจุดเด่นอยู่อย่างเดียวคือมีจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเลือกตั้ง ...จึงเป็น “ฐานคะแนนเสียงของนักการเมือง” มาโดยตลอด
3. ชนชั้นกลาง ทั้งในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ - คนกลุ่มนี้มีความสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจและระบบตลาด รวมทั้งสามารถเข้าถึงทรัพยากร ....จึงเป็น “ฐานนโยบายของนักการเมือง” มาโดยตลอดเช่นกัน
4. ทหาร และข้าราชการพลเรือน - เป็นผู้กุมอำนาจรัฐตัวจริงมายาวนานนับแต่รัฐไทยสมัยใหม่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และหลังจากปี 2475 แต่ในทางลายลักษณ์อักษรกลับไม่มีอำนาจทางการเมือง และถูกกีดกันออกจากการเมือง
นี่เป็นความสัมพันธ์ในวิถีและในสำนึกคนไทยโดยไม่รู้ตัวตั้งแต่ปี 2475 – 2550
สังคมไทยจะสมานฉันท์ได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อเกิดดุลยภาพในบทบาทขององค์ประกอบทั้ง 4 นี้ ไม่ใช่เพียงแค่รัฐบาลลาออกหรือยุบสภา, พันธมิตรฯออกจากทำเนียบ, 3 เกลอเลิกจัดรายการทาง NBT, นิรโทษกรรมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หรือ ฯลฯ ที่เป็นเพียงปลายเหตุหรืออาการของวิกฤต
ดุลยภาพขององค์ประกอบทั้งสี่จะเกิดขึ้นได้ ณ เบื้องต้นต้องอาศัยพระบารมีและพระราชอำนาจ
โดยความยินยอมพร้อมใจของประชาชน !
นี่คือการเดินตามแนว “ราชประชาสมาสัย” ที่แท้จริง !!
กลับไปอ่านคำพูดของคุณทักษิณ ชินวัตรข้างต้น แล้วใช้วิจารณญาณตรงคำว่าว่า “หรือ” แล้ว ผมเชื่อว่าเป็นคนละเรื่องกันแน่ !