โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
อากาศดีๆ แบบนี้ หลายคนเลือกขึ้นเขาขึ้นดอยไปสัมผัสสายลมสายหมอกให้เย็นยะเยือกผิวกายกันเหลือเกิน แต่สำหรับชาวกรุงที่ไม่มีเวลาหยุดยาวโดยเฉพาะช่วงก่อนสิ้นปีที่ต้องปิดยอด สรุปผลงานประจำปี และเร่งทำดีให้ผู้บริหารแลเห็นเพื่อโบนัสก้อนโตล่ะก็ ฉันขอแนะนำสถานที่ซึ่งจะได้สัมผัสสายลมเย็นสะท้านผิวกายและสวนสวยริมน้ำแบบชิลๆ
สถานที่ที่ฉันเกริ่นมาก็คือ "สวนหลวงพระราม 8" สวนสาธารณะขนาดใหญ่ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี ที่ทางกรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า "สวนหลวงพระราม 8"
สวนหลวงพระราม 8 ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งถือเป็นจุดชมทัศนียภาพที่สวยงามเป็นอย่างยิ่ง ภายในยังมี "พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล" ขนาด 3 เท่าของพระองค์จริง สูงประมาณ 5.4 เมตร ที่ประดิษฐานเป็นสิริมงคลแก่สวนแห่งนี้ด้วย นอกจากนั้น บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติข้างใต้พระบรมราชานุสาวรีย์ยังจัดให้มีห้องรวบรวมพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจขององค์รัชกาลที่ 8 เพื่อให้ประชาชนที่สนใจพระราชประวัติเข้าไปศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์
สวนสาธารณะขนาดใหญ่ถึง 50 ไร่ แห่งนี้ ถูกใช้เป็นสวนอเนกประสงค์ ประชาชนทั่วไปสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายภายใต้บรรยากาศความร่มรื่นสองข้างเต็มไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงาม รวมทั้งไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก และภูมิทัศน์ที่สวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ในเวลาเย็นย่ำขณะพระอาทิตย์ทอแสงอ่อนลงจนเกือบจะลับขอบฟ้า ที่สวนหลวงพระราม 8 จะคึกคักมีชีวิตชีวาไปด้วยผู้คนทุกเพศทุกวัย ฉันขอย้ำว่าทุกเพศทุกวัยจริงๆ ตั้งแต่ลูกเล็กเด็กแดงบ้างมากับพ่อแม่บ้างก็มากับคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย เป็นภาพที่ดูแล้วสดชื่นอบอุ่นดีจริงๆ
ส่วนนักเรียนวัยเอาะๆก็มีมากันเป็นกลุ่มเป็นก้อน บ้างก็มานั่งปิกนิคชมวิว บ้างก็มาซ้อมปอมปอมเชียร์ หรือเชียร์ลีดเดอร์กันอย่างคึกคักกระชุ่มกระชวย สำหรับพวกกีฬาก็มีทั้งแตะบอล สเก็ตบอร์ด เบรกแดนซ์ แล้วแต่อัทธยาศัยใครใคร่ทำอะไรก็ทำได้เต็มที่ เป็นการผ่อนคลายความเครียดได้ดีทีเดียว
ผู้ใหญ่บางคนก็มาเต้นลีลาศ มาวิ่ง มาแอโรบิก บ้างก็พาสุนัขมาเดินเล่นเข้าสังคมชมวิวอันสวยงาม ฉันเจอกับสุนัขน่าจะพันธุ์โกเด้น ตัวใหญ่ขนสีน้ำตาลยาวสลวยพริ้วไปตามลมเดินคาบตะกร้าที่ใส่แปรงหวีขนและอุปกรณ์ของเล่นต่างๆของตัวเองเดินไปมา ดูแล้วน่ารักแสนรู้เป็นที่ดึงดูดรอยยิ้มของผู้คนแถวนั้นเป็นอย่างมาก
ยิ่งเมื่อก่อนพระอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้าที่สวนแห่งนี้และที่บนสะพานพระราม 8ก็คือเป็นจุดชมอาทิตย์อัสดงที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งด้วย และเมื่อพระอาทิตย์ตกดินแล้ว บรรยากาศของสวนหลวงพระราม 8 แห่งนี้ ก็เปลี่ยนไปอีกรูปแบบหนึ่งสวยงามด้วยแสงไฟริมทาง และไฟที่สะพานพระราม 8 ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ดึงดูดพวกช่างภาพทั้งมือโปรมือสมัครเล่น ให้กดชัตเตอร์กันแชะ..แชะ..แชะ
มาสวนหลวงพระราม 8 แล้วก็ต้องพูดถึง "สะพานพระราม 8" (Rama VIII Bridge)ที่สวยงามใหญ่โตแห่งนี้ด้วย โดยสะพานแห่งนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อเดือนกรกฏาคม 2538 ให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ
สะพานแห่งนี้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย แบบเบาภาวะการจราจรจากสะพานพระปิ่นเกล้าและสะพานซังฮี้ได้มากทีเดียว
สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร สูงเท่าสะพานพระปิ่นเกล้า ลาดชันไม่เกิน 3% เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ 300 เมตร สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตร และสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา 75 เมตร มีรูปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร ซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนฯ และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมและระบบนิเวศนวิทยาในน้ำ รวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้งขบวนเรือพระราชพิธี
การรับน้ำหนักของสะพาน ได้ติดตั้งสายเคเบิลระนาบคู่ 28 คู่ขึงยึดพื้นช่วงข้ามแม่น้ำ และใช้สายเคเบิลระนาบเดี่ยว 28 เส้น ขึงยึดรั้งกับโครงสร้างยึดเสาสะพานบนฝั่งธนฯ เคเบิลแต่ละเส้นประกอบด้วยสลิงตั้งแต่ 11-65 เส้น เมื่อเกิดปัญหากับเคเบิลสามารถขึงหรือหย่อนได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องปิดการจราจรเหมือนสะพานพระราม 9 อีกทั้งสายเคเบิลของสะพานพระราม 8ยังมีสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นสีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เมื่อสะท้อนแสงจะส่องประกายสวยงามโดยเฉพาะในยามค่ำคืน
ความโดดเด่นสวยงามเกิดขึ้นจากการผสมผสานไปด้วยศิลปะแบบไทย ๆ จากแนวคิดในการสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 8 กรุงเทพมหานครจึงได้อัญเชิญ "พระราชลัญจกร" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ มาเป็นต้นแบบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของสะพานเน้นความโปร่งบาง เรียบง่าย และสวยงาม วัสดุที่ใช้ในโครงสร้างของสะพานเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ในส่วนสะพานเสาสูงรูปตัว Y คว่ำ เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำหน้าที่หิ้วส่วนโครงสร้างสำคัญอื่น ๆ ของสะพาน ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกล ๆ ได้ออกแบบโดยใช้เค้าโครงมโนภาพของเรือนแก้ว
ราวกันตก ซึ่งทำจากโลหะออกแบบเป็นลวดลายที่วิจิตรและอ่อนช้อย จำลองมาจากดอกบัวและกลีบบัวเสาโครงสร้างใต้แผ่นพื้นตกแต่งด้วยลวดลาย ที่จำลองจากดอกบัวใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนแสงลงสู่ผิวจราจรใต้ทางยกระดับ ช่วยเพิ่มความสว่างบริเวณใต้ทางยกระดับและประหยัดไฟฟ้าในเวลากลางคืน
นอกจากสะพานพระราม 8จะเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ช่วยแบบเบาภาวะการจราจรและสวยงามแล้ว ยังเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่ติดอันดับ 5 ของโลกเลยทีเดียว รองจากประเทศเยอรมนี ซึ่งติดอันดับถึง 3 สะพาน และเนปาล โดยนับจากความยาวช่วงของสะพาน ส่วนสะพานพระราม 9 ซึ่งเป็นสะพานขึงตัวแรกแต่เป็นแบบสมมาตร เพราะมี 2 เสาถือว่าอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก
นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงกับสะพานพระราม 8 และสวนหลวงพระราม 8 เดินต่อออกไปทางสี่แยกอรุณอัมรินทร์ จะเจอกับ “วัดอมรคีรี” หรือแต่เดิมชื่อว่า “วัดสามกุฏิ” สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่คาดว่าที่ได้ชื่อนี้เพราะแต่เดิมคงมีการสร้างกุฏิสงฆ์ในวัดเพียง 3 หลัง แต่เริ่มมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2507 เป็นต้นมา จนมีสภาพเป็นระเบียบเรียบร้อยดังปัจจุบัน ภายในมีพระอุโบสถช่อฟ้าใบระกาหางหงษ์ก่ออิฐถือปูน ศาลาการเปรียญเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ กุฏิสงฆ์ และหอระฆัง
จากวัดอมรคีรีเยื้องๆกันนั้นเป็น "วัดน้อยนางหงษ์" ตามคำบอกเล่ากล่าวไว้ว่าวัดแห่งนี้เริ่มสร้างเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด คาดว่าประมาณ พ.ศ.2350 ในปลายสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีพระอาจารย์ปิ่น (ไม่ปรากฏฉายา) เป็นลูกวัดแห่งสำนักวัดดาวดึงษารามได้มาซื้อที่ดินและได้เริ่มสร้างเป็นสำนักที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงฆ์เพื่อให้เป็นที่อยู่บริวาสกรรมของพระสงฆ์ เพราะเห็นว่าเป็นที่เงียบสงบ ประกอบกับมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง
ส่วนชื่อของวัดคาดว่า นายน้อย และนางหงษ์ เป็นผู้มีจิตศรัทธาออกทุนทรัพย์สร้างวัดหรืออาจจะเป็นเจ้าของที่ดิน จึงได้ตั้งชื่อวัดว่าวัดน้อยนางหงษ์เพื่อเป็นอนุสรณ์ ภายในด้านหน้าของพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางเลไลย์ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ ศาลาบำเพ็ญกุศล เป็นต้น
จากวัดน้อยนางหงษ์ข้ามกลับมาฝั่งวัดอมรคีรี เดินต่อไปหน่อยจะเจอกับ "วัดบางยี่ขัน" หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดมุธราชาราม" เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระอุโบสถเป็นอาคารฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ก่ออิฐถือปูนมีหน้าบันและคันทวยเป็นไม้แกะสลัก ใบเสมารอบอุโบสถทำด้วยศิลาทรายแดง
ภายในมีจิตกรรมฝาผนังภาพเทพชุมนุมและภาพทศชาติชาดกฝีมือคงแป๊ะ อดีตนักโทษประหาร ซึ่งเป็นจิตรกรเอกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระประธานในอุโบสถเป็นพระศิลาทราย ปางสมาธิ สมัยอยุธยา พระพุทธรูปปางมารวิชัย 2 องค์ และพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวนกว่า 100 องค์เลยทีเดียว นอกจากนี้ด้านนอกยังมีศาลาจตุคามรามเทพ พระแม่ธรณีบีบมวยผม และศาลาจีนซึ่งภายในมีพระสังกัจจายน์และพระพุทธรูปของจีนอีกหลายองค์ให้ฉันได้กราบไหว้ขอพรตามแบบฉบับคนไทยที่ไม่ว่าจะไปไหนมาไหนไม่ห่างไกลวัด
สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาไปรับหนาวที่บนยอดดอยก็ต้องไม่พลาดที่จะมาเดินทอดน่องรับลมเย็นสบายที่สวนหลวงพระราม 8 และพ่วงเที่ยวสถานที่ใกล้เคียงไปด้วย ก็คุ้มไม่น้อยเลยเชียวหล่ะ
อากาศดีๆ แบบนี้ หลายคนเลือกขึ้นเขาขึ้นดอยไปสัมผัสสายลมสายหมอกให้เย็นยะเยือกผิวกายกันเหลือเกิน แต่สำหรับชาวกรุงที่ไม่มีเวลาหยุดยาวโดยเฉพาะช่วงก่อนสิ้นปีที่ต้องปิดยอด สรุปผลงานประจำปี และเร่งทำดีให้ผู้บริหารแลเห็นเพื่อโบนัสก้อนโตล่ะก็ ฉันขอแนะนำสถานที่ซึ่งจะได้สัมผัสสายลมเย็นสะท้านผิวกายและสวนสวยริมน้ำแบบชิลๆ
สถานที่ที่ฉันเกริ่นมาก็คือ "สวนหลวงพระราม 8" สวนสาธารณะขนาดใหญ่ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี ที่ทางกรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า "สวนหลวงพระราม 8"
สวนหลวงพระราม 8 ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งถือเป็นจุดชมทัศนียภาพที่สวยงามเป็นอย่างยิ่ง ภายในยังมี "พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล" ขนาด 3 เท่าของพระองค์จริง สูงประมาณ 5.4 เมตร ที่ประดิษฐานเป็นสิริมงคลแก่สวนแห่งนี้ด้วย นอกจากนั้น บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติข้างใต้พระบรมราชานุสาวรีย์ยังจัดให้มีห้องรวบรวมพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจขององค์รัชกาลที่ 8 เพื่อให้ประชาชนที่สนใจพระราชประวัติเข้าไปศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์
สวนสาธารณะขนาดใหญ่ถึง 50 ไร่ แห่งนี้ ถูกใช้เป็นสวนอเนกประสงค์ ประชาชนทั่วไปสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายภายใต้บรรยากาศความร่มรื่นสองข้างเต็มไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงาม รวมทั้งไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก และภูมิทัศน์ที่สวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ในเวลาเย็นย่ำขณะพระอาทิตย์ทอแสงอ่อนลงจนเกือบจะลับขอบฟ้า ที่สวนหลวงพระราม 8 จะคึกคักมีชีวิตชีวาไปด้วยผู้คนทุกเพศทุกวัย ฉันขอย้ำว่าทุกเพศทุกวัยจริงๆ ตั้งแต่ลูกเล็กเด็กแดงบ้างมากับพ่อแม่บ้างก็มากับคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย เป็นภาพที่ดูแล้วสดชื่นอบอุ่นดีจริงๆ
ส่วนนักเรียนวัยเอาะๆก็มีมากันเป็นกลุ่มเป็นก้อน บ้างก็มานั่งปิกนิคชมวิว บ้างก็มาซ้อมปอมปอมเชียร์ หรือเชียร์ลีดเดอร์กันอย่างคึกคักกระชุ่มกระชวย สำหรับพวกกีฬาก็มีทั้งแตะบอล สเก็ตบอร์ด เบรกแดนซ์ แล้วแต่อัทธยาศัยใครใคร่ทำอะไรก็ทำได้เต็มที่ เป็นการผ่อนคลายความเครียดได้ดีทีเดียว
ผู้ใหญ่บางคนก็มาเต้นลีลาศ มาวิ่ง มาแอโรบิก บ้างก็พาสุนัขมาเดินเล่นเข้าสังคมชมวิวอันสวยงาม ฉันเจอกับสุนัขน่าจะพันธุ์โกเด้น ตัวใหญ่ขนสีน้ำตาลยาวสลวยพริ้วไปตามลมเดินคาบตะกร้าที่ใส่แปรงหวีขนและอุปกรณ์ของเล่นต่างๆของตัวเองเดินไปมา ดูแล้วน่ารักแสนรู้เป็นที่ดึงดูดรอยยิ้มของผู้คนแถวนั้นเป็นอย่างมาก
ยิ่งเมื่อก่อนพระอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้าที่สวนแห่งนี้และที่บนสะพานพระราม 8ก็คือเป็นจุดชมอาทิตย์อัสดงที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งด้วย และเมื่อพระอาทิตย์ตกดินแล้ว บรรยากาศของสวนหลวงพระราม 8 แห่งนี้ ก็เปลี่ยนไปอีกรูปแบบหนึ่งสวยงามด้วยแสงไฟริมทาง และไฟที่สะพานพระราม 8 ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ดึงดูดพวกช่างภาพทั้งมือโปรมือสมัครเล่น ให้กดชัตเตอร์กันแชะ..แชะ..แชะ
มาสวนหลวงพระราม 8 แล้วก็ต้องพูดถึง "สะพานพระราม 8" (Rama VIII Bridge)ที่สวยงามใหญ่โตแห่งนี้ด้วย โดยสะพานแห่งนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อเดือนกรกฏาคม 2538 ให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ
สะพานแห่งนี้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย แบบเบาภาวะการจราจรจากสะพานพระปิ่นเกล้าและสะพานซังฮี้ได้มากทีเดียว
สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร สูงเท่าสะพานพระปิ่นเกล้า ลาดชันไม่เกิน 3% เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ 300 เมตร สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตร และสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา 75 เมตร มีรูปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร ซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนฯ และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมและระบบนิเวศนวิทยาในน้ำ รวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้งขบวนเรือพระราชพิธี
การรับน้ำหนักของสะพาน ได้ติดตั้งสายเคเบิลระนาบคู่ 28 คู่ขึงยึดพื้นช่วงข้ามแม่น้ำ และใช้สายเคเบิลระนาบเดี่ยว 28 เส้น ขึงยึดรั้งกับโครงสร้างยึดเสาสะพานบนฝั่งธนฯ เคเบิลแต่ละเส้นประกอบด้วยสลิงตั้งแต่ 11-65 เส้น เมื่อเกิดปัญหากับเคเบิลสามารถขึงหรือหย่อนได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องปิดการจราจรเหมือนสะพานพระราม 9 อีกทั้งสายเคเบิลของสะพานพระราม 8ยังมีสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นสีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เมื่อสะท้อนแสงจะส่องประกายสวยงามโดยเฉพาะในยามค่ำคืน
ความโดดเด่นสวยงามเกิดขึ้นจากการผสมผสานไปด้วยศิลปะแบบไทย ๆ จากแนวคิดในการสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 8 กรุงเทพมหานครจึงได้อัญเชิญ "พระราชลัญจกร" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ มาเป็นต้นแบบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของสะพานเน้นความโปร่งบาง เรียบง่าย และสวยงาม วัสดุที่ใช้ในโครงสร้างของสะพานเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ในส่วนสะพานเสาสูงรูปตัว Y คว่ำ เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำหน้าที่หิ้วส่วนโครงสร้างสำคัญอื่น ๆ ของสะพาน ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกล ๆ ได้ออกแบบโดยใช้เค้าโครงมโนภาพของเรือนแก้ว
ราวกันตก ซึ่งทำจากโลหะออกแบบเป็นลวดลายที่วิจิตรและอ่อนช้อย จำลองมาจากดอกบัวและกลีบบัวเสาโครงสร้างใต้แผ่นพื้นตกแต่งด้วยลวดลาย ที่จำลองจากดอกบัวใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนแสงลงสู่ผิวจราจรใต้ทางยกระดับ ช่วยเพิ่มความสว่างบริเวณใต้ทางยกระดับและประหยัดไฟฟ้าในเวลากลางคืน
นอกจากสะพานพระราม 8จะเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ช่วยแบบเบาภาวะการจราจรและสวยงามแล้ว ยังเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่ติดอันดับ 5 ของโลกเลยทีเดียว รองจากประเทศเยอรมนี ซึ่งติดอันดับถึง 3 สะพาน และเนปาล โดยนับจากความยาวช่วงของสะพาน ส่วนสะพานพระราม 9 ซึ่งเป็นสะพานขึงตัวแรกแต่เป็นแบบสมมาตร เพราะมี 2 เสาถือว่าอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก
นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงกับสะพานพระราม 8 และสวนหลวงพระราม 8 เดินต่อออกไปทางสี่แยกอรุณอัมรินทร์ จะเจอกับ “วัดอมรคีรี” หรือแต่เดิมชื่อว่า “วัดสามกุฏิ” สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่คาดว่าที่ได้ชื่อนี้เพราะแต่เดิมคงมีการสร้างกุฏิสงฆ์ในวัดเพียง 3 หลัง แต่เริ่มมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2507 เป็นต้นมา จนมีสภาพเป็นระเบียบเรียบร้อยดังปัจจุบัน ภายในมีพระอุโบสถช่อฟ้าใบระกาหางหงษ์ก่ออิฐถือปูน ศาลาการเปรียญเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ กุฏิสงฆ์ และหอระฆัง
จากวัดอมรคีรีเยื้องๆกันนั้นเป็น "วัดน้อยนางหงษ์" ตามคำบอกเล่ากล่าวไว้ว่าวัดแห่งนี้เริ่มสร้างเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด คาดว่าประมาณ พ.ศ.2350 ในปลายสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีพระอาจารย์ปิ่น (ไม่ปรากฏฉายา) เป็นลูกวัดแห่งสำนักวัดดาวดึงษารามได้มาซื้อที่ดินและได้เริ่มสร้างเป็นสำนักที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงฆ์เพื่อให้เป็นที่อยู่บริวาสกรรมของพระสงฆ์ เพราะเห็นว่าเป็นที่เงียบสงบ ประกอบกับมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง
ส่วนชื่อของวัดคาดว่า นายน้อย และนางหงษ์ เป็นผู้มีจิตศรัทธาออกทุนทรัพย์สร้างวัดหรืออาจจะเป็นเจ้าของที่ดิน จึงได้ตั้งชื่อวัดว่าวัดน้อยนางหงษ์เพื่อเป็นอนุสรณ์ ภายในด้านหน้าของพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางเลไลย์ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ ศาลาบำเพ็ญกุศล เป็นต้น
จากวัดน้อยนางหงษ์ข้ามกลับมาฝั่งวัดอมรคีรี เดินต่อไปหน่อยจะเจอกับ "วัดบางยี่ขัน" หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดมุธราชาราม" เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระอุโบสถเป็นอาคารฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ก่ออิฐถือปูนมีหน้าบันและคันทวยเป็นไม้แกะสลัก ใบเสมารอบอุโบสถทำด้วยศิลาทรายแดง
ภายในมีจิตกรรมฝาผนังภาพเทพชุมนุมและภาพทศชาติชาดกฝีมือคงแป๊ะ อดีตนักโทษประหาร ซึ่งเป็นจิตรกรเอกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระประธานในอุโบสถเป็นพระศิลาทราย ปางสมาธิ สมัยอยุธยา พระพุทธรูปปางมารวิชัย 2 องค์ และพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวนกว่า 100 องค์เลยทีเดียว นอกจากนี้ด้านนอกยังมีศาลาจตุคามรามเทพ พระแม่ธรณีบีบมวยผม และศาลาจีนซึ่งภายในมีพระสังกัจจายน์และพระพุทธรูปของจีนอีกหลายองค์ให้ฉันได้กราบไหว้ขอพรตามแบบฉบับคนไทยที่ไม่ว่าจะไปไหนมาไหนไม่ห่างไกลวัด
สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาไปรับหนาวที่บนยอดดอยก็ต้องไม่พลาดที่จะมาเดินทอดน่องรับลมเย็นสบายที่สวนหลวงพระราม 8 และพ่วงเที่ยวสถานที่ใกล้เคียงไปด้วย ก็คุ้มไม่น้อยเลยเชียวหล่ะ