โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ริมสองฝั่งของคลองผดุงกรุงเกษม คลองขุดในสมัยรัชกาลที่ 4 มีวัดวาอารามตั้งอยู่มากมาย แต่ละวัดล้วนแต่เป็นวัดเก่าแก่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น อาทิ วัดเทพศิรินทราวาส วัดโสมนัสราชวรวิหาร หรือแม้แต่ "วัดมหาพฤฒาราม"พระอารามหลวงชั้นตรี เป็นวัดหลวงเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในเขตบางรัก
ที่เกริ่นนำเช่นนี้เป็นเพราะ เดือนนี้เป็นเดือนที่วันสำคัญทางพุทธศาสนา อย่างวันวิสาขบูชาจะเวียนมาบรรจบ ในวันที่ 19 พ.ค.2551 ที่ใกล้จะมาถึง ฉันในฐานะพุทธศาสนิกชนคนหนึ่ง จึงขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องไปทำบุญด้วยกันเสียเลย ที่ "วัดมหาพฤฒาราม" วัดที่มีความผูกพันกับรัชกาลที่ 4 อยู่ไม่น้อย
ก่อนจะพาเที่ยวชมบริเวณวัด ฉันขอกล่าวถึงประวัติอันน่าสนใจของวัดแห่งนี้ให้รู้กันเสียก่อน "วัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร" นั้นตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองผดุงกรุงเกษม แถวๆบริเวณตลาดน้อย เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี
วัดนี้แต่เดิมชื่อว่า "วัดท่าเกวียน" เนื่องจากเคยเป็นที่พักแรมของกองเกวียน ที่เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ ในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ต่อมาชาวบ้านก็พากันเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดตะเคียน" สันนิษฐานว่า เรียกชื่อวัดตามต้นตะเคียนที่ขึ้นหนาแน่นอยู่รอบบริเวณวัดที่มีอาณาบริเวณถึง 14 ไร่
วัดนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น "วัดมหาพฤฒาราม" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ชื่อวัดที่ทรงพระราชทานนาม เพื่อเฉลิมฉลองท่านเจ้าอาวาสของวัดที่มีอายุยืนยาวมาถึง 107 ปี ในปีที่มีการพระราชทานนามวัดนั้น
สำหรับความเกี่ยวข้องที่เป็นที่มาของความผูกพันระหว่างรัชกาลที่ 4 และวัดมหาพฤฒารามแห่งนี้ เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดนี้
ในคราวนั้น พระอธิการแก้วเจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่า "จะได้เป็นเจ้าชีวิตในเร็วๆนี้" พระองค์จึงทรงรับสั่งว่า "ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่" หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่
ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระราชทานสมณะศักดิ์ พระอธิการแก้วเป็น "พระมหาพฤฒาจารย์" และโปรดให้สร้างพระอารามใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2397 จนถึง พ.ศ. 2409 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการสถาปนา
ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทร์ภักดีเป็นแม่กองจัดสร้าง ต่อมาเมื่อทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาขึ้นในพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดมหาพฤฒาราม" ลักษณะรูปแบบศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4)
ภายในบริเวณวัด ยังคงมีบรรยากาศอันเงียบสงบสมกับที่เป็นวัด ไม่เหมือนกับวัดบางแห่งในกรุงเทพฯ ที่สูญเสียความสงบ พลุ่กพล่านด้วยผู้คนและกลิ่นธูปควัน ภายในวัดยังมีสิ่งที่น่าสนใจให้ศึกษาหลายอย่าง
ที่ฉันชื่นชอบเป็นการส่วนตัวคือ "จิตรกรรมฝาผนัง"ในพระอุโบสถที่มีความโดดเด่นในการเขียนธรรมชาติ โดยใช้สีสลัวๆ ให้อารมณ์ความคิดฝัน จิตรกรรมฝาผนังของที่วัดมหาพฤฒาราม แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ที่นี่เขียนเรื่อง "ธุดงควัตร13" และการไปสืบพระพุทธศาสนาที่ลังกา ต่างจากวัดอื่นที่นิยมเขียนเรื่องทศชาติชาดกหรือพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า
ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่นี่ จิตรกรได้นำเอาศิลปะทางตะวันตกมา ผสมผสานกับศิลปะและคติอย่างไทยได้อย่างลงตัว เป็นลักษณะ จิตรกรรมเป็นแบบผสมผสานระหว่างจิตรกรรมไทยประเพณีแบบอุดมคติ กับแบบเหมือนจริง
เรื่องราวที่เขียนและตัวบุคคลในภาพยังคงยึดแนวความคิดแบบอุดมคติของ จิตรกรรมไทยประเพณี แต่นำเอาวิธีการเขียนภาพแบบ 3 มิติ ตามวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการเขียนภาพทิวทัศน์ มีการจัดองค์ประกอบภาพให้มีความลึก เหมือนจริงตามธรรมชาติ และรับเอารูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการวาดภาพตกแต่งประดับอาคาร แสดงให้เห็นรูปแบบวิวัฒนาการความสัมพันธ์ของสยามในการรับเอาอิทธิพลตะวันตกเข้ามาในช่วงเวลานั้น
จากจิตรกรรมฝาผนังฉันขอเปลี่ยนมาที่ "พระอุโบสถ"กันบ้าง พระอุโบสถของวัดมหาพฤฒาราม สร้างขึ้นโดยพระบรมราชโองการของรัชกาลที่4 สร้างเป็นรูปโถงตลอด หลังคาลด 2 ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าจั่วเป็นสัญลักษณ์พระมงกุฎวางอยู่บนพานสองชั้นในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนช้างสามเศียร หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ(รัชกาลที่4)ผู้ครองสยามประเทศ ทรงเป็นผู้สร้างพระอุโบสถหลังนี้
บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นรูปวัวลาก หมายถึง ชื่อเดิมของวัดท่าเกวียน รูปช้างหมายถึง เจ้าอาวาสพระอธิการแก้ว อายุ 107 ปี รูปเทวดาทูลพานสองชั้น ซึ่งมีพระมงกุฎวางอยู่ข้างบน หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่4) ชมความงดงามของพระอุโบสถและจิตรกรรมฝาผนังแล้ว ก็อย่าหลงลืมไหว้พระประธานเสียด้วย
ใกล้ๆพระอุโบสถยังมี "พระปรางค์ 4 องค์" โดดเด่นเป็นสง่าด้วยสีขาวนวล ซึ่งสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว โดยมีขนาดใหญ่เล็กเรียงกัน ตั้งอยู่ระหว่างอุโบสถกับวิหารเหนือ อ๋อ...ที่วิหารเหนือก็ควรแวะเข้าไปไหว้พระขอพรและกราบสรีระของ "หลวงปู่นพ ภูวธิ" อดีตพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณและเมตตาคุณ ซึ่งหลังจากท่านมรณภาพด้วยโรคชราในวัย 73 ปี ในปี พ.ศ.2503 ทางวัดได้นำสรีระท่านเก็บบรรจุไว้เป็นเวลา 29 ปี ต่อมาเมื่อทางวัดเปิดศพท่าน ปรากฏว่าสรีระของท่านกลายสภาพเหมือนไม้แห้ง โดยที่สรีระต่างๆยังอยู่ครบทางวัดเลยนำใส่โลงแก้วไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหาได้เคารพจนถึงปัจุบัน
จากนั้นฉันย้ายมาที่พระวิหารที่ตั้งอยู่ด้านซ้ายสุด เพื่อมาชม "พระพุทธไสยาสน์" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)ของวัดพระมหาพฤฒารามใหญ่โตมากทีเดียวฉันรู้มาว่าในหมู่พระปางไสยาสน์ด้วยกัน จะเป็นรองก็แค่พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)เท่านั้น
สำหรับพระพุทธไสยาสน์นี้ มีมาแต่ครั้งยังเป็น วัดท่าเกวียน และ วัดตะเคียน แต่เดิมนั้น พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ไม่ได้ใหญ่ยาวดังในปัจจุบัน แต่เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปให้ใหญ่ขึ้น เป็นขนาดความยาวจากพระบาทถึงพระเกตุมาลา 19.25 เมตร และ พระอุระกว้าง 3.25 เมตร พระนาภีกว้าง 2 เมตร
จากนั้นจึงทรงโปรดฯ ให้สร้างพระวิหารไว้เป็นที่สถิตย์ของ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ท่านจึงมีลักษณะใหญ่โตดังที่เห็น พระพุทธไสยาสน์องค์นี้เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านทั่วไป โดยเฉพาะ ผู้ที่เกิดวัน อังคาร เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปบูชาสำหรับผู้ที่เกิดวันอังคาร
นอกจากโบสถ์ วิหาร ที่ใครมาเยือนแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นไม่แพ้กันคือ "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ต้นไม้แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่ยืนต้นสยายร่มใบในบริเวณวัด เป็นต้นโพธิ์ที่ทางวัดได้นำหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยรัชกาลที่4 คนไทยมักนิยมเรียกต้นโพธิ์ต้นนี้ว่าต้นโพธิ์ลังกา และนอกจากนี้ภายในวัดยังมี "เจ้าแม่กวนอิม"สีทององค์ใหญ่ไว้ให้สักการะบูชาอีกด้วย
ใกล้วันวิสาขบูชาเข้ามาทุกทีแล้ว ใครยังหาวัดร่วมทำบุญเวียนเทียนไม่ได้ ฉันแนะนำให้มาที่ "วัดมหาพฤฒาราม" บรรยากาศอันสงบเงียบของวัด จะช่วยกล่อมเกลาวิถีที่เร่งรีบของคนกรุงได้เป็นอย่างดี หรือจะมาหลบแดดหลบฝนปลีกวิเวกในวัดก็ดีไม่หยอก กลับออกไปก็จะได้เย็นทั้งกายและใจ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร ตั้งอยู่ 5/7 ถ.มหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ : 0-2236-5678 รถประจำทางสายที่ผ่านได้แก่สาย 1,16,35,36,75, 93 รถปรับอากาศสาย 93 สามารถโดยสารทางเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ ท่ากรมเจ้าท่า ท่าสี่พระยา หรือเรือข้ามฝาก ท่าสี่พระยาได้ การเข้าชมวัดมหาพฤฒารามไม่เสียค่าเข้าชม โดยโบสถ์ของวัดเปิดให้เข้าชมเวลา 8.00-18.00น.
ริมสองฝั่งของคลองผดุงกรุงเกษม คลองขุดในสมัยรัชกาลที่ 4 มีวัดวาอารามตั้งอยู่มากมาย แต่ละวัดล้วนแต่เป็นวัดเก่าแก่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น อาทิ วัดเทพศิรินทราวาส วัดโสมนัสราชวรวิหาร หรือแม้แต่ "วัดมหาพฤฒาราม"พระอารามหลวงชั้นตรี เป็นวัดหลวงเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในเขตบางรัก
ที่เกริ่นนำเช่นนี้เป็นเพราะ เดือนนี้เป็นเดือนที่วันสำคัญทางพุทธศาสนา อย่างวันวิสาขบูชาจะเวียนมาบรรจบ ในวันที่ 19 พ.ค.2551 ที่ใกล้จะมาถึง ฉันในฐานะพุทธศาสนิกชนคนหนึ่ง จึงขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องไปทำบุญด้วยกันเสียเลย ที่ "วัดมหาพฤฒาราม" วัดที่มีความผูกพันกับรัชกาลที่ 4 อยู่ไม่น้อย
ก่อนจะพาเที่ยวชมบริเวณวัด ฉันขอกล่าวถึงประวัติอันน่าสนใจของวัดแห่งนี้ให้รู้กันเสียก่อน "วัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร" นั้นตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองผดุงกรุงเกษม แถวๆบริเวณตลาดน้อย เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี
วัดนี้แต่เดิมชื่อว่า "วัดท่าเกวียน" เนื่องจากเคยเป็นที่พักแรมของกองเกวียน ที่เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ ในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ต่อมาชาวบ้านก็พากันเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดตะเคียน" สันนิษฐานว่า เรียกชื่อวัดตามต้นตะเคียนที่ขึ้นหนาแน่นอยู่รอบบริเวณวัดที่มีอาณาบริเวณถึง 14 ไร่
วัดนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น "วัดมหาพฤฒาราม" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ชื่อวัดที่ทรงพระราชทานนาม เพื่อเฉลิมฉลองท่านเจ้าอาวาสของวัดที่มีอายุยืนยาวมาถึง 107 ปี ในปีที่มีการพระราชทานนามวัดนั้น
สำหรับความเกี่ยวข้องที่เป็นที่มาของความผูกพันระหว่างรัชกาลที่ 4 และวัดมหาพฤฒารามแห่งนี้ เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดนี้
ในคราวนั้น พระอธิการแก้วเจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่า "จะได้เป็นเจ้าชีวิตในเร็วๆนี้" พระองค์จึงทรงรับสั่งว่า "ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่" หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่
ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระราชทานสมณะศักดิ์ พระอธิการแก้วเป็น "พระมหาพฤฒาจารย์" และโปรดให้สร้างพระอารามใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2397 จนถึง พ.ศ. 2409 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการสถาปนา
ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทร์ภักดีเป็นแม่กองจัดสร้าง ต่อมาเมื่อทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาขึ้นในพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดมหาพฤฒาราม" ลักษณะรูปแบบศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4)
ภายในบริเวณวัด ยังคงมีบรรยากาศอันเงียบสงบสมกับที่เป็นวัด ไม่เหมือนกับวัดบางแห่งในกรุงเทพฯ ที่สูญเสียความสงบ พลุ่กพล่านด้วยผู้คนและกลิ่นธูปควัน ภายในวัดยังมีสิ่งที่น่าสนใจให้ศึกษาหลายอย่าง
ที่ฉันชื่นชอบเป็นการส่วนตัวคือ "จิตรกรรมฝาผนัง"ในพระอุโบสถที่มีความโดดเด่นในการเขียนธรรมชาติ โดยใช้สีสลัวๆ ให้อารมณ์ความคิดฝัน จิตรกรรมฝาผนังของที่วัดมหาพฤฒาราม แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ที่นี่เขียนเรื่อง "ธุดงควัตร13" และการไปสืบพระพุทธศาสนาที่ลังกา ต่างจากวัดอื่นที่นิยมเขียนเรื่องทศชาติชาดกหรือพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า
ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่นี่ จิตรกรได้นำเอาศิลปะทางตะวันตกมา ผสมผสานกับศิลปะและคติอย่างไทยได้อย่างลงตัว เป็นลักษณะ จิตรกรรมเป็นแบบผสมผสานระหว่างจิตรกรรมไทยประเพณีแบบอุดมคติ กับแบบเหมือนจริง
เรื่องราวที่เขียนและตัวบุคคลในภาพยังคงยึดแนวความคิดแบบอุดมคติของ จิตรกรรมไทยประเพณี แต่นำเอาวิธีการเขียนภาพแบบ 3 มิติ ตามวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการเขียนภาพทิวทัศน์ มีการจัดองค์ประกอบภาพให้มีความลึก เหมือนจริงตามธรรมชาติ และรับเอารูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการวาดภาพตกแต่งประดับอาคาร แสดงให้เห็นรูปแบบวิวัฒนาการความสัมพันธ์ของสยามในการรับเอาอิทธิพลตะวันตกเข้ามาในช่วงเวลานั้น
จากจิตรกรรมฝาผนังฉันขอเปลี่ยนมาที่ "พระอุโบสถ"กันบ้าง พระอุโบสถของวัดมหาพฤฒาราม สร้างขึ้นโดยพระบรมราชโองการของรัชกาลที่4 สร้างเป็นรูปโถงตลอด หลังคาลด 2 ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าจั่วเป็นสัญลักษณ์พระมงกุฎวางอยู่บนพานสองชั้นในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนช้างสามเศียร หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ(รัชกาลที่4)ผู้ครองสยามประเทศ ทรงเป็นผู้สร้างพระอุโบสถหลังนี้
บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นรูปวัวลาก หมายถึง ชื่อเดิมของวัดท่าเกวียน รูปช้างหมายถึง เจ้าอาวาสพระอธิการแก้ว อายุ 107 ปี รูปเทวดาทูลพานสองชั้น ซึ่งมีพระมงกุฎวางอยู่ข้างบน หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่4) ชมความงดงามของพระอุโบสถและจิตรกรรมฝาผนังแล้ว ก็อย่าหลงลืมไหว้พระประธานเสียด้วย
ใกล้ๆพระอุโบสถยังมี "พระปรางค์ 4 องค์" โดดเด่นเป็นสง่าด้วยสีขาวนวล ซึ่งสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว โดยมีขนาดใหญ่เล็กเรียงกัน ตั้งอยู่ระหว่างอุโบสถกับวิหารเหนือ อ๋อ...ที่วิหารเหนือก็ควรแวะเข้าไปไหว้พระขอพรและกราบสรีระของ "หลวงปู่นพ ภูวธิ" อดีตพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณและเมตตาคุณ ซึ่งหลังจากท่านมรณภาพด้วยโรคชราในวัย 73 ปี ในปี พ.ศ.2503 ทางวัดได้นำสรีระท่านเก็บบรรจุไว้เป็นเวลา 29 ปี ต่อมาเมื่อทางวัดเปิดศพท่าน ปรากฏว่าสรีระของท่านกลายสภาพเหมือนไม้แห้ง โดยที่สรีระต่างๆยังอยู่ครบทางวัดเลยนำใส่โลงแก้วไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหาได้เคารพจนถึงปัจุบัน
จากนั้นฉันย้ายมาที่พระวิหารที่ตั้งอยู่ด้านซ้ายสุด เพื่อมาชม "พระพุทธไสยาสน์" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)ของวัดพระมหาพฤฒารามใหญ่โตมากทีเดียวฉันรู้มาว่าในหมู่พระปางไสยาสน์ด้วยกัน จะเป็นรองก็แค่พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)เท่านั้น
สำหรับพระพุทธไสยาสน์นี้ มีมาแต่ครั้งยังเป็น วัดท่าเกวียน และ วัดตะเคียน แต่เดิมนั้น พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ไม่ได้ใหญ่ยาวดังในปัจจุบัน แต่เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปให้ใหญ่ขึ้น เป็นขนาดความยาวจากพระบาทถึงพระเกตุมาลา 19.25 เมตร และ พระอุระกว้าง 3.25 เมตร พระนาภีกว้าง 2 เมตร
จากนั้นจึงทรงโปรดฯ ให้สร้างพระวิหารไว้เป็นที่สถิตย์ของ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ท่านจึงมีลักษณะใหญ่โตดังที่เห็น พระพุทธไสยาสน์องค์นี้เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านทั่วไป โดยเฉพาะ ผู้ที่เกิดวัน อังคาร เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปบูชาสำหรับผู้ที่เกิดวันอังคาร
นอกจากโบสถ์ วิหาร ที่ใครมาเยือนแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นไม่แพ้กันคือ "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ต้นไม้แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่ยืนต้นสยายร่มใบในบริเวณวัด เป็นต้นโพธิ์ที่ทางวัดได้นำหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยรัชกาลที่4 คนไทยมักนิยมเรียกต้นโพธิ์ต้นนี้ว่าต้นโพธิ์ลังกา และนอกจากนี้ภายในวัดยังมี "เจ้าแม่กวนอิม"สีทององค์ใหญ่ไว้ให้สักการะบูชาอีกด้วย
ใกล้วันวิสาขบูชาเข้ามาทุกทีแล้ว ใครยังหาวัดร่วมทำบุญเวียนเทียนไม่ได้ ฉันแนะนำให้มาที่ "วัดมหาพฤฒาราม" บรรยากาศอันสงบเงียบของวัด จะช่วยกล่อมเกลาวิถีที่เร่งรีบของคนกรุงได้เป็นอย่างดี หรือจะมาหลบแดดหลบฝนปลีกวิเวกในวัดก็ดีไม่หยอก กลับออกไปก็จะได้เย็นทั้งกายและใจ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร ตั้งอยู่ 5/7 ถ.มหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ : 0-2236-5678 รถประจำทางสายที่ผ่านได้แก่สาย 1,16,35,36,75, 93 รถปรับอากาศสาย 93 สามารถโดยสารทางเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ ท่ากรมเจ้าท่า ท่าสี่พระยา หรือเรือข้ามฝาก ท่าสี่พระยาได้ การเข้าชมวัดมหาพฤฒารามไม่เสียค่าเข้าชม โดยโบสถ์ของวัดเปิดให้เข้าชมเวลา 8.00-18.00น.