ผู้จัดการรายวัน - ซีพีสนับสนุนนโยบายรัฐทุ่มแสนล้านโครงการ รับจำนำข้าวเปลือก ชี้มีความจำเป็นเพื่อให้เกษตรกรมีกำลังซื้อ ผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้ ยันไม่ใช่ภาระประเทศ เพียงแต่รัฐต้องการจัดเก็บสต๊อกที่ดีไม่ให้ข้าวเสียหาย มั่นใจราคาสินค้าเกษตรจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 10-20% ภายในปลายปีนี้ หลังโอเปกลดกำลังการผลิตเพื่อดันราคาน้ำมันขึ้น เตือนรัฐอย่าเพิ่งผลีผลามเทขายข้าวสู่ตลาดจะยิ่งกดดันให้ต่ำลง แต่ให้ เวียดนามระบายออกไปก่อน ย้ำตลาดโลกยังมีความต้องการสินค้าเกษตรอยู่ แถมสต๊อกโลกลด ล่าสุด ธ.ก.ส.พร้อมเปิดรับจำนำข้าว 1 พ.ย.นี้
นายสุเมธ เหล่าโมราพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด เปิดเผยว่าจากราคาสินค้าเกษตรทั่วโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่กันยายนเป็นต้นมา เนื่องจากปัญหาการเงินในสหรัฐฯได้ลามไปยังทั่วโลก ส่งผลให้ราคา น้ำมันดิบอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 60 กว่าเหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เชื่อว่าขณะนี้ราคาสินค้าเกษตรน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว โดยมีโอกาสที่ปลายปีนี้ราคาสินค้าเกษตรจะปรับขึ้น 10-20% เนื่องจากราคาน้ำมันน่าจะขยับตัวสูงขึ้นหลังโอเปกปรับลดกำลังการผลิตลง และปริมาณสต๊อกสินค้าเกษตรโลกก็ลดลง จะทำให้ราคาสินค้าเกษตรปรับขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ นโยบายที่เข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรโดยให้มีการรับจำนำราคาข้าวเปลือกนาปีเจ้าความชื้นไม่เกิน 15% อัตรารับจำนำอยู่ที่ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือก หอมมะลิ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 9,000 บาท/ตัน วงเงินประมาณ 97,000 ล้านบาทนั้น เห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องช่วยเหลือเกษตรกร เพราะเป็นการช่วยให้เกษตรกรอยู่ได้มีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอย กระตุ้นไม่ให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้ โดยไม่มองว่าเป็นภาระของประเทศ เพียงแต่รัฐต้องมีการบริหารจัดการการเก็บสต๊อกข้าวที่ดี หากรัฐไม่มีโครงการรับจำนำข้าวหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่ราคาตกต่ำ จะทำให้เกษตรกร มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น พอถึงช่วงเพาะปลูกใหม่ ก็ไม่สามารถกู้ยืมเงินมาทำการเพาะปลูกได้ ทำให้ไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบ รัฐเก็บภาษี ไม่ได้ ทำให้ไทยต้องเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ส่วนกรณีที่เวียดนามได้ส่งออกข้าวขาว 5% ในราคาเพียง 350 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งต่ำกว่าราคาข้าวที่ไทยจะส่งออกที่ระดับ 650 เหรียญสหรัฐ/ตันว่า ราคาข้าวที่อ่อนตัวลงในช่วงนี้ถือเป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรเร่งระบายขายข้าวออกไป แต่ควรชะลอการขายไปจนกว่าจะมีจังหวะที่เหมาะสม เมื่อเวียดนามระบายข้าวไปได้หมด ราคาน่าจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากระดับสต๊อก ข้าวในตลาดโลกอยู่ที่ 17-18% ของการบริโภค ถือว่าเป็นระดับที่ไม่มากเกินไป ขณะที่รัฐบาลไทยมีข้าวในสต๊อกรวม 4.3 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งเป็นสต๊อกเก่า 2.1 ล้านตันข้าวสาร และอีก 2.2 ล้านตันข้าวสารมาจากการรับจำนำนาปรัง ปริมาณสต๊อกข้าวนี้คิดเป็น 22.6% ของความต้องการข้าวรวม และเป็นระดับที่เหมาะสมกับความมั่นคงด้านอาหารเพื่อการบริโภคและการส่งออก ส่วนข้าวหอม มะลิ และข้าวนึ่ง ราคาส่งออกยังไม่ตกลงมาก เนื่องจากไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่
'ปริมาณสต๊อกข้าวของรัฐจำนวน 4-5 ล้านตันข้าวสาร ถือว่าไม่ใช่ปริมาณที่สูงมากจนน่ากลัว เพียงแต่รัฐจะต้องมีการจัดเก็บข้าว ที่ดีเพื่อให้เกิดความเสียหายระหว่างการเก็บสต๊อกอยู่ รวมทั้งมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งราคาสินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี และถั่วเหลืองพบว่าอัตราการบริโภค ในตลาดโลกปีหน้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณ สต๊อกในตลาดโลกกลับลดลง หากเกิดปัจจัย ด้านดินฟ้าอากาศทำให้การเพาะปลูกได้น้อยลง เชื่อว่าราคาสินค้าเกษตรจะดีดกลับขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งตนมองว่าปัญหาวิกฤตการณ์ อาหารโลกยังไม่หมดไป'
นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย นักลงทุนเทขายหุ้นและลดการเก็งกำไรในตลาดสินค้าเกษตร ทำให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง ดังนั้นรัฐบาลควรมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ด้วยการ รับประกันราคา เพื่อให้มีรายได้คุ้มต้นทุนการ ผลิตและมีกำไรเล็กน้อย ซึ่งไม่ควรปล่อยให้สินค้าเกษตรเป็นไปตามกลไกตลาด เนื่อง จากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำในช่วงนี้ไม่ได้เกิด จากกลไกตลาด แต่มาจากปัญหาซับไพรม์
โดยเสนอให้ประกันราคายางพาราที่ 65 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปัจจุบันที่ 56 บาทต่อกิโลกรัม ประกันราคาปาล์มน้ำมันดิบที่ 3.50 บาทต่อกิโลกรัม และราคารับซื้อที่ 22 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาที่ 2.70 บาทต่อกิโลกรัม และ 17-18 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคามันสำปะหลัง ประกันราคาที่ 1.80 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร
ธ.ก.ส.พร้อมเปิดรับจำนำข้าว 1 พ.ย.
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ และรักษาการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.พร้อมเปิดรับจำนำข้าวในวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายนนี้ โดยขณะนี้ได้ซักซ้อมและแจ้ง พนักงานให้เข้าไปดูแลป้องกันการสวมสิทธิ์ รวมทั้งเข้าไปร่วมเป็นคณะอนุกรรมการข้าวจังหวัด เรียบร้อยแล้ว
ส่วนปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ที่อาจทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ เกษตรกรเป็นหนี้ธนาคารเพิ่มนั้น นายเอ็นนูมั่นใจว่า ปีนี้ ธ.ก.ส.จะสามารถควบคุมปัญหาหนี้เสียไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 10.5% จากที่ผ่านมา ธ.ก.ส.มีหนี้เสียอยู่ที่ 9.6%
นายสุเมธ เหล่าโมราพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด เปิดเผยว่าจากราคาสินค้าเกษตรทั่วโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่กันยายนเป็นต้นมา เนื่องจากปัญหาการเงินในสหรัฐฯได้ลามไปยังทั่วโลก ส่งผลให้ราคา น้ำมันดิบอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 60 กว่าเหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เชื่อว่าขณะนี้ราคาสินค้าเกษตรน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว โดยมีโอกาสที่ปลายปีนี้ราคาสินค้าเกษตรจะปรับขึ้น 10-20% เนื่องจากราคาน้ำมันน่าจะขยับตัวสูงขึ้นหลังโอเปกปรับลดกำลังการผลิตลง และปริมาณสต๊อกสินค้าเกษตรโลกก็ลดลง จะทำให้ราคาสินค้าเกษตรปรับขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ นโยบายที่เข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรโดยให้มีการรับจำนำราคาข้าวเปลือกนาปีเจ้าความชื้นไม่เกิน 15% อัตรารับจำนำอยู่ที่ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือก หอมมะลิ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 9,000 บาท/ตัน วงเงินประมาณ 97,000 ล้านบาทนั้น เห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องช่วยเหลือเกษตรกร เพราะเป็นการช่วยให้เกษตรกรอยู่ได้มีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอย กระตุ้นไม่ให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้ โดยไม่มองว่าเป็นภาระของประเทศ เพียงแต่รัฐต้องมีการบริหารจัดการการเก็บสต๊อกข้าวที่ดี หากรัฐไม่มีโครงการรับจำนำข้าวหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่ราคาตกต่ำ จะทำให้เกษตรกร มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น พอถึงช่วงเพาะปลูกใหม่ ก็ไม่สามารถกู้ยืมเงินมาทำการเพาะปลูกได้ ทำให้ไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบ รัฐเก็บภาษี ไม่ได้ ทำให้ไทยต้องเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ส่วนกรณีที่เวียดนามได้ส่งออกข้าวขาว 5% ในราคาเพียง 350 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งต่ำกว่าราคาข้าวที่ไทยจะส่งออกที่ระดับ 650 เหรียญสหรัฐ/ตันว่า ราคาข้าวที่อ่อนตัวลงในช่วงนี้ถือเป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรเร่งระบายขายข้าวออกไป แต่ควรชะลอการขายไปจนกว่าจะมีจังหวะที่เหมาะสม เมื่อเวียดนามระบายข้าวไปได้หมด ราคาน่าจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากระดับสต๊อก ข้าวในตลาดโลกอยู่ที่ 17-18% ของการบริโภค ถือว่าเป็นระดับที่ไม่มากเกินไป ขณะที่รัฐบาลไทยมีข้าวในสต๊อกรวม 4.3 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งเป็นสต๊อกเก่า 2.1 ล้านตันข้าวสาร และอีก 2.2 ล้านตันข้าวสารมาจากการรับจำนำนาปรัง ปริมาณสต๊อกข้าวนี้คิดเป็น 22.6% ของความต้องการข้าวรวม และเป็นระดับที่เหมาะสมกับความมั่นคงด้านอาหารเพื่อการบริโภคและการส่งออก ส่วนข้าวหอม มะลิ และข้าวนึ่ง ราคาส่งออกยังไม่ตกลงมาก เนื่องจากไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่
'ปริมาณสต๊อกข้าวของรัฐจำนวน 4-5 ล้านตันข้าวสาร ถือว่าไม่ใช่ปริมาณที่สูงมากจนน่ากลัว เพียงแต่รัฐจะต้องมีการจัดเก็บข้าว ที่ดีเพื่อให้เกิดความเสียหายระหว่างการเก็บสต๊อกอยู่ รวมทั้งมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งราคาสินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี และถั่วเหลืองพบว่าอัตราการบริโภค ในตลาดโลกปีหน้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณ สต๊อกในตลาดโลกกลับลดลง หากเกิดปัจจัย ด้านดินฟ้าอากาศทำให้การเพาะปลูกได้น้อยลง เชื่อว่าราคาสินค้าเกษตรจะดีดกลับขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งตนมองว่าปัญหาวิกฤตการณ์ อาหารโลกยังไม่หมดไป'
นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย นักลงทุนเทขายหุ้นและลดการเก็งกำไรในตลาดสินค้าเกษตร ทำให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง ดังนั้นรัฐบาลควรมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ด้วยการ รับประกันราคา เพื่อให้มีรายได้คุ้มต้นทุนการ ผลิตและมีกำไรเล็กน้อย ซึ่งไม่ควรปล่อยให้สินค้าเกษตรเป็นไปตามกลไกตลาด เนื่อง จากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำในช่วงนี้ไม่ได้เกิด จากกลไกตลาด แต่มาจากปัญหาซับไพรม์
โดยเสนอให้ประกันราคายางพาราที่ 65 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปัจจุบันที่ 56 บาทต่อกิโลกรัม ประกันราคาปาล์มน้ำมันดิบที่ 3.50 บาทต่อกิโลกรัม และราคารับซื้อที่ 22 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาที่ 2.70 บาทต่อกิโลกรัม และ 17-18 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคามันสำปะหลัง ประกันราคาที่ 1.80 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร
ธ.ก.ส.พร้อมเปิดรับจำนำข้าว 1 พ.ย.
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ และรักษาการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.พร้อมเปิดรับจำนำข้าวในวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายนนี้ โดยขณะนี้ได้ซักซ้อมและแจ้ง พนักงานให้เข้าไปดูแลป้องกันการสวมสิทธิ์ รวมทั้งเข้าไปร่วมเป็นคณะอนุกรรมการข้าวจังหวัด เรียบร้อยแล้ว
ส่วนปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ที่อาจทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ เกษตรกรเป็นหนี้ธนาคารเพิ่มนั้น นายเอ็นนูมั่นใจว่า ปีนี้ ธ.ก.ส.จะสามารถควบคุมปัญหาหนี้เสียไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 10.5% จากที่ผ่านมา ธ.ก.ส.มีหนี้เสียอยู่ที่ 9.6%