ดัชมิลล์ เร่งหาแหล่งวัตถุดิบน้ำนมดิบ ดอดเจรจาผู้ประกอบการอินเดีย จ่อคิวทุ่ม 200 ล้านบาท ผุดโรงงานน้ำนมดิบอินเดียภายใน 3 ปี กำลังผลิต 3 หมื่นตันต่อวัน ปีหน้าบุกตลาดตะวันออกกลาง-เอเชียใต้ ชูโมเดลไทยต้นแบบบุกอินเดีย ใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมืองอัดไดเรกเซลล์ ตั้งเป้า 3 ปี โกยรายได้ส่งออกจาก 5% เป็น 15%
นายธีระยุทธ ฉายสว่างวงศ์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท ดัชมิลล์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายนมเปรี้ยวพร้อมดื่มดัชมิลล์ เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทนำเข้านมผงจากจีนซึ่งมีสารปนเปื้อนเมลามีนและถูกทางคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อายัด ล่าสุดบริษัทได้หาแหล่งวัตถุดิบใหม่ ด้วยการทุ่มงบ 200 ล้านบาท สร้างโรงงานแห่งใหม่ขึ้นที่ เมืองเชนนาย ประเทศอินเดียภายใน 3 ปีนี้ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีแหล่งการผลิตน้ำนมดิบมากที่สุดในโลกคือ 1 แสนตันต่อวัน โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาสัดส่วนการถือหุ้นกับผู้ประกอบการท้องถิ่น 3 ราย ซึ่งบริษัทต้องการถือหุ้นในสัดส่วน 60%
สำหรับโรงงานประเทศอินเดียจะมีกำลังการผลิต 3 หมื่นตันต่อวัน โดยบริษัทนำน้ำนมดิบผลิตเป็นนมเปรี้ยวพร้อมดื่มดัชมิลล์จำหน่าย ซึ่งหากกำลังการผลิตเหลือจะผลิตเป็นนมผง สำหรับแผนการตลาดในอินเดียบริษัทจะใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง โดยรุกตลาดต่างจังหวัดเป็นหลักก่อน เนื่องจากมีสินค้าคู่แข่ง อาทิ ดาน่อน เนสท์เล่ ที่ทำตลาดมาอยู่ก่อน ซึ่งบริษัทจะเน้นช่องทางจำหน่ายไดเรกเซลล์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง เมื่อเทียบกับคู่แข่งจำหน่ายผ่านโมเดิร์นเทรด ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างฝึกพนักงานไปทำงานที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยปัจจุบันบริษัทมีพนักงานอินเดีย 6 คน โดยคาดว่าจะต้องใช้แรงงาน 600 คน
นอกจากนี้บริษัทยังวางแผนขยายตลาดใหม่มากขึ้นในปีหน้านี้ จากที่ผ่านมารุกตลาดเอเชีย โดยรายได้มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหลัก โดยประเทศที่บริษัทจะทำขยายตลาด ได้แก่ ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ จากปัจจุบันบริษัทมีสำนักงาน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน และอินเดีย โดยตั้งเป้าหมาย 3 ปี สัดส่วนรายได้จากการส่งออกเพิ่มจาก 5% หรือ 250 ล้านบาท เป็น 15% ส่วนการลงทุนในประเทศอินเดียคาดว่าจะคุ้มทุนใน 4 ปี
"การรุกตลาดต่างประเทศท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลก บริษัทมองว่าเป็นภาวะที่กระทบแค่ 1-2 ปีเท่านั้น อีกทั้งนมยังเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีก็ไม่มีผลกระทบ พ่อแม่ยังต้องซื้อให้ลูกดื่ม"
**สกัดเมลามีนอย.ต้องระบุมาตรฐาน**
นายธีระยุทธ กล่าวว่า จากกรณีสารปนเปื้อนเมลามีนในนมของประเทศจีน มองว่าภาครัฐหรือคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ควรกำหนดมาตรฐานเพื่อให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินธุรกิจภายใต้ข้อกำหนด หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ ซึ่งหากไม่มีกำหนดจะทำให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจลำบาก ล่าสุดบริษัทได้เปิดโรงงานและโชว์กระบวนการผลิต ที่ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และยืนยันถึงมาตรฐานการผลิตระดับสากล สำหรับปีนี้บริษัทตั้งเป้ามีรายได้เติบโต 10% หรือมีรายได้ 5,000 ล้านบาท
นายธีระยุทธ ฉายสว่างวงศ์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท ดัชมิลล์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายนมเปรี้ยวพร้อมดื่มดัชมิลล์ เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทนำเข้านมผงจากจีนซึ่งมีสารปนเปื้อนเมลามีนและถูกทางคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อายัด ล่าสุดบริษัทได้หาแหล่งวัตถุดิบใหม่ ด้วยการทุ่มงบ 200 ล้านบาท สร้างโรงงานแห่งใหม่ขึ้นที่ เมืองเชนนาย ประเทศอินเดียภายใน 3 ปีนี้ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีแหล่งการผลิตน้ำนมดิบมากที่สุดในโลกคือ 1 แสนตันต่อวัน โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาสัดส่วนการถือหุ้นกับผู้ประกอบการท้องถิ่น 3 ราย ซึ่งบริษัทต้องการถือหุ้นในสัดส่วน 60%
สำหรับโรงงานประเทศอินเดียจะมีกำลังการผลิต 3 หมื่นตันต่อวัน โดยบริษัทนำน้ำนมดิบผลิตเป็นนมเปรี้ยวพร้อมดื่มดัชมิลล์จำหน่าย ซึ่งหากกำลังการผลิตเหลือจะผลิตเป็นนมผง สำหรับแผนการตลาดในอินเดียบริษัทจะใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง โดยรุกตลาดต่างจังหวัดเป็นหลักก่อน เนื่องจากมีสินค้าคู่แข่ง อาทิ ดาน่อน เนสท์เล่ ที่ทำตลาดมาอยู่ก่อน ซึ่งบริษัทจะเน้นช่องทางจำหน่ายไดเรกเซลล์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง เมื่อเทียบกับคู่แข่งจำหน่ายผ่านโมเดิร์นเทรด ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างฝึกพนักงานไปทำงานที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยปัจจุบันบริษัทมีพนักงานอินเดีย 6 คน โดยคาดว่าจะต้องใช้แรงงาน 600 คน
นอกจากนี้บริษัทยังวางแผนขยายตลาดใหม่มากขึ้นในปีหน้านี้ จากที่ผ่านมารุกตลาดเอเชีย โดยรายได้มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหลัก โดยประเทศที่บริษัทจะทำขยายตลาด ได้แก่ ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ จากปัจจุบันบริษัทมีสำนักงาน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน และอินเดีย โดยตั้งเป้าหมาย 3 ปี สัดส่วนรายได้จากการส่งออกเพิ่มจาก 5% หรือ 250 ล้านบาท เป็น 15% ส่วนการลงทุนในประเทศอินเดียคาดว่าจะคุ้มทุนใน 4 ปี
"การรุกตลาดต่างประเทศท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลก บริษัทมองว่าเป็นภาวะที่กระทบแค่ 1-2 ปีเท่านั้น อีกทั้งนมยังเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีก็ไม่มีผลกระทบ พ่อแม่ยังต้องซื้อให้ลูกดื่ม"
**สกัดเมลามีนอย.ต้องระบุมาตรฐาน**
นายธีระยุทธ กล่าวว่า จากกรณีสารปนเปื้อนเมลามีนในนมของประเทศจีน มองว่าภาครัฐหรือคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ควรกำหนดมาตรฐานเพื่อให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินธุรกิจภายใต้ข้อกำหนด หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ ซึ่งหากไม่มีกำหนดจะทำให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจลำบาก ล่าสุดบริษัทได้เปิดโรงงานและโชว์กระบวนการผลิต ที่ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และยืนยันถึงมาตรฐานการผลิตระดับสากล สำหรับปีนี้บริษัทตั้งเป้ามีรายได้เติบโต 10% หรือมีรายได้ 5,000 ล้านบาท