คุณสำราญ รอดเพชร หนึ่งในแกนนำรุ่นที่สองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปรยถึง “3 ดาบกายสิทธิ์” (ประชาภิวัฒน์ ตุลาการภิวัฒน์ กองทัพภิวัฒน์) เผด็จศึกระบอบทักษิณ ในรายการสภาท่าพระอาทิตย์เมื่อเร็วๆ นี้ (ราว 19-20 ตุลาคม) เห็นว่า ถึงที่สุดแล้ว ดาบกายสิทธิ์เล่มที่สาม คือ กองทัพ จะต้องออกมาฟาดฟันให้ระบอบทักษิณพังพิณลงไป
ทั้งการทำงานของ “3 ดาบ” มีการประสานงานกันเป็นอย่างดี ตามสถานภาพและบทบาท และตามกระบวนการก่อกำเนิดของแต่ละดาบ ที่มีมาก่อนและหลังซึ่งกันและกัน และพัฒนาเชื่อมโยงเข้าเป็นกระบวนการใหญ่ในการต่อสู้เอาชนะระบอบทักษิณ เพื่อนำไปสู่การสิ้นสุดของการเมืองเก่า เปิดทางให้แก่การเมืองใหม่ต่อไป
แต่โดยรวมๆ แล้วก็คือ ดาบ 1 “ประชาภิวัฒน์” ต่อสู้เอาชนะทางการเมือง เสริมสร้างขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำให้เข้มแข็งใหญ่โต ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ
ดาบ 2 “ตุลาการภิวัฒน์” ต่อสู้เอาชนะทางกฎหมาย บั่นทอนการใช้อำนาจอย่างมิชอบ การคอร์รัปชันโกงกินของกลุ่มการเมืองที่ใช้อำนาจบริหารประเทศ ซึ่งก็คือสกัดกั้นการขยายตัวของอำนาจฉ้อฉลระบอบทักษิณ ทั้งในห้วงรัฐบาลพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
ดาบ 3 “กองทัพภิวัฒน์” เป็นการต่อสู้เอาชนะระบอบทักษิณทางด้านการทหาร ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้แสดงบทบาทอย่างชัดเจน แต่ด้วยสถานภาพของความเป็นเสาหลักของความเป็นชาติไทย จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างยิ่งยวด แม้จะมีเบาะแสว่าระบอบทักษิณได้พยายามซื้อตัวขุนทหารบางคน (เช่นเดียวกับในแวดวงตุลาการ) แต่โดยเนื้อแท้แล้ว กองทัพก็ยังคงเป็นกองทัพที่ขึ้นต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จอมทัพแห่งกองทัพไทย เมื่อใดที่ปรากฏมีภัยคุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์ และประเทศชาติโดยรวม กองทัพก็จะออกมาต่อต้านขัดขวาง แม้ขุนทหารบางคนจะมีความเอนเอียงเข้าหาระบอบทักษิณ แต่ก็เป็นเพียงบางส่วน ไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนจุดยืนของทั้งกองทัพได้
ยิ่งเมื่อบวกกับการทำงานของขบวนการประชาภิวัฒน์และตุลาการภิวัฒน์อย่างจริงจังแล้ว โอกาสที่กองทัพจะทำตัวออกห่างจากฐานเดิม ยิ่งเป็นไปได้น้อยมาก และเมื่อถึงจุดวิกฤตที่ต้องตัดสินใจและแสดงท่าทีอย่างชัดเจน กองทัพก็จะออกมาทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองขบวนการการเมืองภาคประชาชน ต่อสู้เอาชนะระบอบทักษิณ ล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่ได้ในที่สุด
ลำดับบทบาทและความเป็นมาของ “3 ดาบกายสิทธิ์”
ดาบ 1 “ประชาภิวัฒน์” เป็นดาบเอก สะท้อนกระบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำ มีมาตั้งแต่ต้นปี 2549 ที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นในประเทศไทย จากการเมืองเก่าในรูปของ “การเมืองเลือกตั้ง” ที่เป็นเผด็จการรัฐสภา นักการเมืองถือเอาผลประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง เป็นการเมืองใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงในการขับเคลื่อนกระบวนการการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ดาบ 2 “ตุลาการภิวัฒน์” เป็นกระบวนการนำร่องของการต่อต้านระบอบทักษิณ ในความพยายามที่จะทำให้การบริหารประเทศของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในห้วงปี 2549 มีความเป็นธรรมาภิบาลมากขึ้น และสกัดการแผ่อิทธิพลของระบอบทักษิณได้อย่างมีนัยสำคัญ
การลงดาบ 2 มีส่วนทำให้ขบวนการประชาภิวัฒน์พัฒนาขยายตัวได้เป็นอย่างดี ชัยชนะของขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำ แต่ละครั้งแยกไม่ออกจากการตัดสินคดีความของศาล อันเป็นการขับเคลื่อนอย่างทรงพลวัตของขบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์”
ดาบ 3 “กองทัพภิวัฒน์” แม้จะมีลักษณะสงวนท่าทีอย่างเห็นได้ชัด (โดยเฉพาะภายหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 49) ด้วยเหตุผลว่า กองทัพจะต้องรักษาความเป็นกลาง แต่เมื่อการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างขบวนการการเมืองภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรฯ กับระบอบทักษิณไต่บันไดสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ “7 ตุลาทมิฬ” ที่ตำรวจใช้อาวุธร้ายแรงสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่หน้าตึกรัฐสภา ถึงกับมีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บอีก 400 กว่าราย ในจำนวนนั้นบาดเจ็บสาหัสนับสิบราย ขบวนการการเมืองภาคประชาชน (“ประชาภิวัฒน์”)ได้กล่าวหากองทัพที่ไม่ปกป้องประชาชน หนำซ้ำยังแสดงการสนับสนุนรัฐบาลอยู่ในที สร้างแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งกองทัพต้องออกมาแสดงท่าที “ยืนอยู่ข้างประชาชน” เรียกร้องให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กระทั่งบีบให้ลาออก
แม้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์จะแข็งขืน ประกาศไม่ลาออก ไม่ยุบสภาฯ แต่กระบวนการประสานงานกันระหว่าง 3 ดาบ ก็ได้เกิดขึ้นแล้วโดยปริยาย
ทั้งนี้ ขบวนการประชาภิวัฒน์ “ดาบ 1” ซึ่งเป็นดาบเอก ยังจะต้องใช้ความพยายามในการส่งอิทธิพลให้ ดาบ 2 และดาบ 3 ทำงานประสานกับตนให้ดียิ่งขึ้น อย่างทันท่วงทียิ่งขึ้น เพื่อกำชัยชนะเหนือระบอบทักษิณ และเผด็จศึกระบอบทักษิณในที่สุด
ที่มาของทฤษฎี “3 ดาบกายสิทธิ์”
ทฤษฎี “3 ดาบกายสิทธิ์” เป็นผลพวงของการเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำ เป็นพัฒนาต่อเนื่องของทฤษฎี “ธูป 3 ดอก” สะท้อนกฎเกณฑ์การพัฒนาขยายตัวของขบวนการการเมืองภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรฯ นับตั้งแต่การประกาศทำ “สงครามครั้งสุดท้าย” เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2551 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “23 ธ.ค. 2550” พรรคทักษิณ “พลังประชาชน” ได้เสียงมากที่สุด จัดตั้งรัฐบาล ใช้อำนาจบริหารประเทศ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็เดินทางกลับเข้าประเทศ
ในชั่วระยะสั้นๆ ก็ได้มีการฟื้นอำนาจระบอบทักษิณผ่านกลไกรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสภาและสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างรวดเร็ว หลักๆ ก็คือ ในทางการเมือง “บนดิน” เดินหน้าแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อปลดเปลื้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรให้หลุดพ้นจากคดีความต่างๆ ส่วน “ใต้ดิน” ก็โหมโจมตีสถาบันกษัตริย์อย่างหนัก สุดที่แกนนำพันธมิตรฯ จะทนได้ จึงได้ประกาศฟื้นตัวระดมพลเดินหน้าชนรัฐบาลหุ่นเชิด และประกาศทำ “สงครามครั้งสุดท้าย” เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2551
เมื่อประกาศทำสงครามครั้งสุดท้าย อันมีนัยของการต่อสู้เพื่อมุ่งหวังชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จต่อระบอบทักษิณ แนวคิดทฤษฎีชี้นำการปฏิบัติจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพทางความคิดและการปฏิบัติ จึงได้มีการเน้นย้ำเป็นพิเศษ ถึงสถานภาพของความเป็น “เจ้าภาพ” ของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำ ในการต่อสู้กับระบอบทักษิณรอบใหม่นี้
ความจริงแล้ว หน่อความคิดเรื่อง ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็น “เจ้าภาพ” ได้เกิดขึ้นแล้วก่อนหน้านั้น ในการนำเสนอบทบรรยายหัวข้อ “วิวัฒนาการขบวนการการเมืองภาคประชาชน” โดยผู้เขียน ในการบรรยายที่โรงเรียนการเมืองการปกครองของสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2551
ตามแนวคิดนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอว่า ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการเมืองครั้งใหญ่นี้ อันหมายถึงการต่อสู้กับระบอบทักษิณ ขบวนการการเมืองภาคประชาชน นำโดยพันธมิตรฯ จะต้องเป็นเจ้าภาพ คือเป็นผู้ดำเนินการหลัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะทำให้สามารถเอาชนะระบอบทักษิณได้อย่างถึงที่สุด จะต้องได้รับการสนับสนุนเห็นดีเห็นงามจากทุกภาคส่วนที่ทรง “อำนาจบารมี” ในสังคมไทยอีกด้วย
โดยนัยก็คือ ขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำ จะต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น ทั้งทางด้านกำลังใจและการทำงานของขบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์” รวมทั้งการสนับสนุนจาก “กองทัพ” ด้วย จึงจะประสบชัยชนะในบั้นปลาย (หน่ออ่อนทฤษฎี “3 ดาบกายสิทธิ์”)
ธูป 3 ดอก - ประชาภิวัฒน์ - 3 ดาบกายสิทธิ์
ทฤษฎี “ธูป 3 ดอก” (ดอกที่ 1 ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็น “เจ้าภาพ”, ดอกที่ 2 สร้างอำนาจประชาชน คืออำนาจทางปัญญา, ดอกที่ 3 สถาปนาอำนาจประชาชนแทนที่อำนาจทุนสามานย์ระบอบทักษิณ) เป็นเนื้อในของขบวนการ “ประชาภิวัฒน์”
ทฤษฎี “ธูป 3 ดอก” จัดอยู่ในบริบทของ “วิธีการ” ทำให้ขบวนการประชาภิวัฒน์พัฒนาเติบใหญ่ เข้มแข็งเกรียงไกร ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการพัฒนาของทฤษฎี “3 ดาบกายสิทธิ์” เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูง
เห็นชัดว่า ในห้วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 2551 จนถึงปัจจุบัน ขบวนการประชาภิวัฒน์เติบใหญ่อย่างรวดเร็ว มีเครือข่ายประชามหาชนที่ตื่นรู้ครอบคลุมไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะคือภาคใต้ทั้งหมด ภาคตะวันออกส่วนใหญ่ กรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ และเขตจังหวัดภาคกลางและภาคตะวันตกอีกจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สามารถระดมพลได้อย่างรวดเร็วและมากมายมหาศาลเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินทุกครั้งไป พร้อมกับแสดงบทบาทด้านการตรวจสอบการใช้อำนาจของหน่วยงานรัฐและองค์กรอิสระได้อย่างเข้มข้นเป็นประวัติการณ์
ปรากฏการณ์เช่นนี้ ได้ส่งผลสะเทือนไปยังขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ทำให้การทำงานของศาล อัยการ ตลอดจนกลไกตุลาการด้านต่างๆ ระดับต่างๆ เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ ปลอดพ้นจากการแทรกแซง (ด้วยอามิสสินจ้าง) ของระบอบทักษิณเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็นได้จากกรณี “ถุงขนม 2 ล้านบาท” ในทางกลับกัน ก็ได้สร้างความมั่นใจให้แก่ขบวนการประชาภิวัฒน์เป็นอย่างยิ่ง
จากนี้ เพื่อให้สามารถเอาชนะระบอบทักษิณได้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงได้เพิ่มความพยายามในการดึงเอากองทัพมาร่วมด้วย ผลักดันให้เกิดกระบวนการ “กองทัพภิวัฒน์” อย่างเป็นจริง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการกองทัพภิวัฒน์เกิดจากความริเริ่มของขบวนการประชาภิวัฒน์ ด้วยการ “จี้” จุดอ่อนของกองทัพ ยับยั้งการซื้อตัวขุนทหารโดยระบอบทักษิณ แล้วหาทางขับเคลื่อนกระบวนการกองทัพภิวัฒน์จากภายในกองทัพ เพื่อให้กองทัพแสดงบทบาทสนับสนุนขบวนการประชาภิวัฒน์ในการต่อสู้กับระบอบทักษิณต่อไป
บทสรุป
การประสานงานกันระหว่างประชาภิวัฒน์ ตุลาการภิวัฒน์ และกองทัพภิวัฒน์ จะนำไปสู่การเผด็จศึกระบอบทักษิณในบั้นปลายอย่างแน่นอน ซึ่งภายหลังจากนั้น ทั้งสามปัจจัยนี้ก็จะแสดงบทบาทเป็น “เสาค้ำ” สำคัญของการสร้างการเมืองใหม่ สังคมใหม่ ชีวิตใหม่ และ “คนไทยใหม่” เปรียบได้กับการ “ตอกเสาเข็ม” ให้แก่การก่อสร้างประเทศไทยใหม่ด้วยมือของคนไทยเอง
ในท่ามกลางความเจริญรุ่งเรือง สงบร่มเย็น ของสังคมใหม่ ประชาชนชาวไทยจะถึงพร้อมด้วยสิทธิเสรีภาพในการพัฒนาชีวิตตนอย่างทั่วด้าน อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สอดคล้องอย่างยิ่งกับขั้นตอนพัฒนาการของสังคมโลก
เพื่อให้เป็นไปถึงจุดนั้น เราต้องยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน ปรับรูปแบบวิธีการทำงาน ทั้งต่อภายในขบวนการประชาภิวัฒน์เอง (เป็นหลัก) ต่อขบวนการตุลาการภิวัฒน์ และต่อขบวนการกองทัพภิวัฒน์อย่างเหมาะสม โดยต้องให้เป็นที่เข้าใจร่วมกันของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เกิดความเป็นเอกภาพทางความคิด และเอกภาพทางการปฏิบัติอย่างแท้จริง
ทั้งการทำงานของ “3 ดาบ” มีการประสานงานกันเป็นอย่างดี ตามสถานภาพและบทบาท และตามกระบวนการก่อกำเนิดของแต่ละดาบ ที่มีมาก่อนและหลังซึ่งกันและกัน และพัฒนาเชื่อมโยงเข้าเป็นกระบวนการใหญ่ในการต่อสู้เอาชนะระบอบทักษิณ เพื่อนำไปสู่การสิ้นสุดของการเมืองเก่า เปิดทางให้แก่การเมืองใหม่ต่อไป
แต่โดยรวมๆ แล้วก็คือ ดาบ 1 “ประชาภิวัฒน์” ต่อสู้เอาชนะทางการเมือง เสริมสร้างขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำให้เข้มแข็งใหญ่โต ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ
ดาบ 2 “ตุลาการภิวัฒน์” ต่อสู้เอาชนะทางกฎหมาย บั่นทอนการใช้อำนาจอย่างมิชอบ การคอร์รัปชันโกงกินของกลุ่มการเมืองที่ใช้อำนาจบริหารประเทศ ซึ่งก็คือสกัดกั้นการขยายตัวของอำนาจฉ้อฉลระบอบทักษิณ ทั้งในห้วงรัฐบาลพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
ดาบ 3 “กองทัพภิวัฒน์” เป็นการต่อสู้เอาชนะระบอบทักษิณทางด้านการทหาร ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้แสดงบทบาทอย่างชัดเจน แต่ด้วยสถานภาพของความเป็นเสาหลักของความเป็นชาติไทย จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างยิ่งยวด แม้จะมีเบาะแสว่าระบอบทักษิณได้พยายามซื้อตัวขุนทหารบางคน (เช่นเดียวกับในแวดวงตุลาการ) แต่โดยเนื้อแท้แล้ว กองทัพก็ยังคงเป็นกองทัพที่ขึ้นต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จอมทัพแห่งกองทัพไทย เมื่อใดที่ปรากฏมีภัยคุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์ และประเทศชาติโดยรวม กองทัพก็จะออกมาต่อต้านขัดขวาง แม้ขุนทหารบางคนจะมีความเอนเอียงเข้าหาระบอบทักษิณ แต่ก็เป็นเพียงบางส่วน ไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนจุดยืนของทั้งกองทัพได้
ยิ่งเมื่อบวกกับการทำงานของขบวนการประชาภิวัฒน์และตุลาการภิวัฒน์อย่างจริงจังแล้ว โอกาสที่กองทัพจะทำตัวออกห่างจากฐานเดิม ยิ่งเป็นไปได้น้อยมาก และเมื่อถึงจุดวิกฤตที่ต้องตัดสินใจและแสดงท่าทีอย่างชัดเจน กองทัพก็จะออกมาทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองขบวนการการเมืองภาคประชาชน ต่อสู้เอาชนะระบอบทักษิณ ล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่ได้ในที่สุด
ลำดับบทบาทและความเป็นมาของ “3 ดาบกายสิทธิ์”
ดาบ 1 “ประชาภิวัฒน์” เป็นดาบเอก สะท้อนกระบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำ มีมาตั้งแต่ต้นปี 2549 ที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นในประเทศไทย จากการเมืองเก่าในรูปของ “การเมืองเลือกตั้ง” ที่เป็นเผด็จการรัฐสภา นักการเมืองถือเอาผลประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง เป็นการเมืองใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงในการขับเคลื่อนกระบวนการการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ดาบ 2 “ตุลาการภิวัฒน์” เป็นกระบวนการนำร่องของการต่อต้านระบอบทักษิณ ในความพยายามที่จะทำให้การบริหารประเทศของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในห้วงปี 2549 มีความเป็นธรรมาภิบาลมากขึ้น และสกัดการแผ่อิทธิพลของระบอบทักษิณได้อย่างมีนัยสำคัญ
การลงดาบ 2 มีส่วนทำให้ขบวนการประชาภิวัฒน์พัฒนาขยายตัวได้เป็นอย่างดี ชัยชนะของขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำ แต่ละครั้งแยกไม่ออกจากการตัดสินคดีความของศาล อันเป็นการขับเคลื่อนอย่างทรงพลวัตของขบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์”
ดาบ 3 “กองทัพภิวัฒน์” แม้จะมีลักษณะสงวนท่าทีอย่างเห็นได้ชัด (โดยเฉพาะภายหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 49) ด้วยเหตุผลว่า กองทัพจะต้องรักษาความเป็นกลาง แต่เมื่อการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างขบวนการการเมืองภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรฯ กับระบอบทักษิณไต่บันไดสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ “7 ตุลาทมิฬ” ที่ตำรวจใช้อาวุธร้ายแรงสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่หน้าตึกรัฐสภา ถึงกับมีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บอีก 400 กว่าราย ในจำนวนนั้นบาดเจ็บสาหัสนับสิบราย ขบวนการการเมืองภาคประชาชน (“ประชาภิวัฒน์”)ได้กล่าวหากองทัพที่ไม่ปกป้องประชาชน หนำซ้ำยังแสดงการสนับสนุนรัฐบาลอยู่ในที สร้างแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งกองทัพต้องออกมาแสดงท่าที “ยืนอยู่ข้างประชาชน” เรียกร้องให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กระทั่งบีบให้ลาออก
แม้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์จะแข็งขืน ประกาศไม่ลาออก ไม่ยุบสภาฯ แต่กระบวนการประสานงานกันระหว่าง 3 ดาบ ก็ได้เกิดขึ้นแล้วโดยปริยาย
ทั้งนี้ ขบวนการประชาภิวัฒน์ “ดาบ 1” ซึ่งเป็นดาบเอก ยังจะต้องใช้ความพยายามในการส่งอิทธิพลให้ ดาบ 2 และดาบ 3 ทำงานประสานกับตนให้ดียิ่งขึ้น อย่างทันท่วงทียิ่งขึ้น เพื่อกำชัยชนะเหนือระบอบทักษิณ และเผด็จศึกระบอบทักษิณในที่สุด
ที่มาของทฤษฎี “3 ดาบกายสิทธิ์”
ทฤษฎี “3 ดาบกายสิทธิ์” เป็นผลพวงของการเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำ เป็นพัฒนาต่อเนื่องของทฤษฎี “ธูป 3 ดอก” สะท้อนกฎเกณฑ์การพัฒนาขยายตัวของขบวนการการเมืองภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรฯ นับตั้งแต่การประกาศทำ “สงครามครั้งสุดท้าย” เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2551 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “23 ธ.ค. 2550” พรรคทักษิณ “พลังประชาชน” ได้เสียงมากที่สุด จัดตั้งรัฐบาล ใช้อำนาจบริหารประเทศ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็เดินทางกลับเข้าประเทศ
ในชั่วระยะสั้นๆ ก็ได้มีการฟื้นอำนาจระบอบทักษิณผ่านกลไกรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสภาและสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างรวดเร็ว หลักๆ ก็คือ ในทางการเมือง “บนดิน” เดินหน้าแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อปลดเปลื้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรให้หลุดพ้นจากคดีความต่างๆ ส่วน “ใต้ดิน” ก็โหมโจมตีสถาบันกษัตริย์อย่างหนัก สุดที่แกนนำพันธมิตรฯ จะทนได้ จึงได้ประกาศฟื้นตัวระดมพลเดินหน้าชนรัฐบาลหุ่นเชิด และประกาศทำ “สงครามครั้งสุดท้าย” เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2551
เมื่อประกาศทำสงครามครั้งสุดท้าย อันมีนัยของการต่อสู้เพื่อมุ่งหวังชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จต่อระบอบทักษิณ แนวคิดทฤษฎีชี้นำการปฏิบัติจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพทางความคิดและการปฏิบัติ จึงได้มีการเน้นย้ำเป็นพิเศษ ถึงสถานภาพของความเป็น “เจ้าภาพ” ของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำ ในการต่อสู้กับระบอบทักษิณรอบใหม่นี้
ความจริงแล้ว หน่อความคิดเรื่อง ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็น “เจ้าภาพ” ได้เกิดขึ้นแล้วก่อนหน้านั้น ในการนำเสนอบทบรรยายหัวข้อ “วิวัฒนาการขบวนการการเมืองภาคประชาชน” โดยผู้เขียน ในการบรรยายที่โรงเรียนการเมืองการปกครองของสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2551
ตามแนวคิดนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอว่า ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการเมืองครั้งใหญ่นี้ อันหมายถึงการต่อสู้กับระบอบทักษิณ ขบวนการการเมืองภาคประชาชน นำโดยพันธมิตรฯ จะต้องเป็นเจ้าภาพ คือเป็นผู้ดำเนินการหลัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะทำให้สามารถเอาชนะระบอบทักษิณได้อย่างถึงที่สุด จะต้องได้รับการสนับสนุนเห็นดีเห็นงามจากทุกภาคส่วนที่ทรง “อำนาจบารมี” ในสังคมไทยอีกด้วย
โดยนัยก็คือ ขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรฯ เป็นแกนนำ จะต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น ทั้งทางด้านกำลังใจและการทำงานของขบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์” รวมทั้งการสนับสนุนจาก “กองทัพ” ด้วย จึงจะประสบชัยชนะในบั้นปลาย (หน่ออ่อนทฤษฎี “3 ดาบกายสิทธิ์”)
ธูป 3 ดอก - ประชาภิวัฒน์ - 3 ดาบกายสิทธิ์
ทฤษฎี “ธูป 3 ดอก” (ดอกที่ 1 ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็น “เจ้าภาพ”, ดอกที่ 2 สร้างอำนาจประชาชน คืออำนาจทางปัญญา, ดอกที่ 3 สถาปนาอำนาจประชาชนแทนที่อำนาจทุนสามานย์ระบอบทักษิณ) เป็นเนื้อในของขบวนการ “ประชาภิวัฒน์”
ทฤษฎี “ธูป 3 ดอก” จัดอยู่ในบริบทของ “วิธีการ” ทำให้ขบวนการประชาภิวัฒน์พัฒนาเติบใหญ่ เข้มแข็งเกรียงไกร ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการพัฒนาของทฤษฎี “3 ดาบกายสิทธิ์” เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูง
เห็นชัดว่า ในห้วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 2551 จนถึงปัจจุบัน ขบวนการประชาภิวัฒน์เติบใหญ่อย่างรวดเร็ว มีเครือข่ายประชามหาชนที่ตื่นรู้ครอบคลุมไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะคือภาคใต้ทั้งหมด ภาคตะวันออกส่วนใหญ่ กรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ และเขตจังหวัดภาคกลางและภาคตะวันตกอีกจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สามารถระดมพลได้อย่างรวดเร็วและมากมายมหาศาลเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินทุกครั้งไป พร้อมกับแสดงบทบาทด้านการตรวจสอบการใช้อำนาจของหน่วยงานรัฐและองค์กรอิสระได้อย่างเข้มข้นเป็นประวัติการณ์
ปรากฏการณ์เช่นนี้ ได้ส่งผลสะเทือนไปยังขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ทำให้การทำงานของศาล อัยการ ตลอดจนกลไกตุลาการด้านต่างๆ ระดับต่างๆ เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ ปลอดพ้นจากการแทรกแซง (ด้วยอามิสสินจ้าง) ของระบอบทักษิณเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็นได้จากกรณี “ถุงขนม 2 ล้านบาท” ในทางกลับกัน ก็ได้สร้างความมั่นใจให้แก่ขบวนการประชาภิวัฒน์เป็นอย่างยิ่ง
จากนี้ เพื่อให้สามารถเอาชนะระบอบทักษิณได้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงได้เพิ่มความพยายามในการดึงเอากองทัพมาร่วมด้วย ผลักดันให้เกิดกระบวนการ “กองทัพภิวัฒน์” อย่างเป็นจริง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการกองทัพภิวัฒน์เกิดจากความริเริ่มของขบวนการประชาภิวัฒน์ ด้วยการ “จี้” จุดอ่อนของกองทัพ ยับยั้งการซื้อตัวขุนทหารโดยระบอบทักษิณ แล้วหาทางขับเคลื่อนกระบวนการกองทัพภิวัฒน์จากภายในกองทัพ เพื่อให้กองทัพแสดงบทบาทสนับสนุนขบวนการประชาภิวัฒน์ในการต่อสู้กับระบอบทักษิณต่อไป
บทสรุป
การประสานงานกันระหว่างประชาภิวัฒน์ ตุลาการภิวัฒน์ และกองทัพภิวัฒน์ จะนำไปสู่การเผด็จศึกระบอบทักษิณในบั้นปลายอย่างแน่นอน ซึ่งภายหลังจากนั้น ทั้งสามปัจจัยนี้ก็จะแสดงบทบาทเป็น “เสาค้ำ” สำคัญของการสร้างการเมืองใหม่ สังคมใหม่ ชีวิตใหม่ และ “คนไทยใหม่” เปรียบได้กับการ “ตอกเสาเข็ม” ให้แก่การก่อสร้างประเทศไทยใหม่ด้วยมือของคนไทยเอง
ในท่ามกลางความเจริญรุ่งเรือง สงบร่มเย็น ของสังคมใหม่ ประชาชนชาวไทยจะถึงพร้อมด้วยสิทธิเสรีภาพในการพัฒนาชีวิตตนอย่างทั่วด้าน อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สอดคล้องอย่างยิ่งกับขั้นตอนพัฒนาการของสังคมโลก
เพื่อให้เป็นไปถึงจุดนั้น เราต้องยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน ปรับรูปแบบวิธีการทำงาน ทั้งต่อภายในขบวนการประชาภิวัฒน์เอง (เป็นหลัก) ต่อขบวนการตุลาการภิวัฒน์ และต่อขบวนการกองทัพภิวัฒน์อย่างเหมาะสม โดยต้องให้เป็นที่เข้าใจร่วมกันของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เกิดความเป็นเอกภาพทางความคิด และเอกภาพทางการปฏิบัติอย่างแท้จริง