การเมืองใหม่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประเทศไทยวันนี้ : สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ อันเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากการเมืองเผด็จการรัฐสภากลุ่มทุน สู่การเมืองประชาธิปไตยของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยอำนาจประชาชนซึ่งเป็นอำนาจใหม่ ยิ่งใหญ่กว่าอำนาจกลุ่มทุน จะแลดงบทบาทเป็นปัจจัยกำหนดกระบวนการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์นี้
บทวินิจฉัย : อำนาจใหม่สร้างการเมืองใหม่
กระบวนการเกิดขึ้นของการเมืองใหม่ ไม่ได้เริ่มต้นหรือออกแบบจากหลักการหรือทฤษฎีในตำรา แต่อุบัติขึ้นจากสภาวะเป็นจริงของสังคมไทย สะท้อนความจำต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์การพัฒนาของสังคมไทย ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญสองด้านคือ ความเป็นไปได้ทางภววิสัย (เงื่อนไขภายนอก) และความพร้อมทางด้านอัตวิสัย (ปัจจัยภายใน)
ด้วยวิธีคิดนี้ ขอให้เรามาทำความเข้าใจกันในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทยที่กำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งแบบ “วันต่อวัน” เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ในทิศทางที่ภาคประชาชนสะสมชัยชนะได้อย่างต่อเนื่องในการต่อสู้กับกลุ่มการเมืองทุนสามานย์ ขบวนการการเมืองภาคประชาชน นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนับวันเติบใหญ่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ได้รับการยอมรับจากมวลชนที่ตื่นตัวขึ้นทุกหัวระแหงทั่วประเทศและในต่างประเทศ ขณะที่กลุ่มทุนสามานย์พยายามต่อสู้สกัดขัดขวางเต็มที่
ในการนี้ อำนาจของประชาชนได้ปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ประชันกับอำนาจรัฐกลุ่มทุน มีแนวโน้มที่จะแสดงบทบาทนำและกำกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทยชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยกลุ่มอำนาจต่างๆ ในสังคมค่อยๆ ปรับตัวเข้าหา เพื่อประกอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจการเมืองใหม่ที่มีขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็นแกนนำ ตามแนวทาง “ภาคประชาชนเป็นเจ้าภาพ”
มองให้ถึงที่สุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งนี้ของประเทศไทย นอกจากแรงกระตุ้นของ “ยุคเอเชีย” ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยสำคัญภายนอกแล้ว มีสาเหตุสำคัญโดยตรงจาก “ภายใน” อันเป็นความขัดแย้งหลักของประเทศระหว่างกลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณกับขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นแกนนำ
ความจริงแล้ว ในระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีการรวมตัวกันเข้าเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ความขัดแย้งหลักดำเนินไปในระหว่างกลุ่มทุนใหม่ (ต่อมากลายพันธุ์เป็นกลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ) กับกลุ่มทุนเก่า (ประกอบด้วยทุนเชื้อเจ้าและทุนเชื้อจีนทั่วไป) แต่ด้วยความอ่อนล้าของกลุ่มทุนเก่า ทำให้กลุ่มทุนใหม่พองตัวอย่างรวดเร็ว และพัฒนาสู่ความเป็นทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ และทำท่าว่าจะฮุบประเทศไทยไว้ในอุ้งมืออย่างง่ายดาย
ทว่า การผูกขาดประเทศไทยของกลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ ที่มากด้วยวิธีการฉ้อฉลเอาแต่ได้ แม้จะสามารถฉกฉวยโอกาสและช่องว่างในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เสริมสร้างอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือรัฐไทย แต่พฤติกรรมของกลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ สวนทางอย่างยิ่งกับกระบวนการพัฒนาทางการเมืองของกลุ่มประเทศก้าวหน้าในย่านเอเชียแปซิฟิก ที่มุ่งไปในทิศทางการสนองตอบต่อผลประโยชน์ของประชาชน เคารพสิทธิประโยชน์ของประชาชน เน้นความโปร่งใสของรัฐบาล และความเป็นธรรมาภิบาลในการใช้อำนาจของกลไกรัฐ
ที่สำคัญคือ กลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ ได้จงใจทำลายดุลอำนาจที่มีอยู่เดิมลงไปอย่างสิ้นเชิง โดยการสถาปนาอำนาจการเมืองเหนืออำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ
ภายหลังพรรคไทยรักไทยได้ชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไปและเข้าเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ก็ได้เร่งดำเนินการผูกขาดอำนาจไว้ในมือ ด้วยวิธีการซื้อบุคลากรในกลไกรัฐ แปลงทรัพย์สินของชาติเป็นของตัวเอง ใช้กลไกการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือควบคุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จึงเกิดแรงต้านจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากขบวนการการเมืองภาคประชาชน ที่มองเห็นความหายนะที่จะเกิดแก่ประเทศชาติและประชาชน
โดยเฉพาะแนวคิดเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไปเป็นระบอบการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งเป็นความ “ถวิลหา”ตามใจอยากมากกว่าที่จะเคารพกฎเกณฑ์การพัฒนาของสังคมไทย ไม่สอดคล้องอย่างยิ่งกับลักษณะสังคมไทยและเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทย ที่จำเป็นต้องพัฒนาไปตามทิศทางพัฒนาการทางการเมืองของประเทศเอเชียแปซิฟิกใน “ยุคเอเชีย” ที่เน้นความเป็นประชาธิปไตยของประชาชน เน้นความโปร่งใส ความเป็นธรรมาภิบาล คำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และการเปิดช่องโอกาสให้แก่ประชาชนในการพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์รอบด้านจริงๆ เพื่อให้ประชากรของประเทศตนเป็นประชากรคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดีบนผิวโลกดวงนี้
พฤติกรรมของกลุ่มทุนสามานย์ไทยในระบอบทักษิณ บ่งบอกถึงความโลภจนหน้ามืด มากกว่าสิ่งอื่นใด เต็มไปด้วยพฤติกรรมฉ้อฉลและฉวยโอกาส คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตนชนิด “ไร้ยางอาย” น้อยคนนักที่จะเข้าร่วมด้วย ยกเว้นกลุ่มคนที่ได้เสวยประโยชน์มหาศาลจากการสถาปนาระบอบทักษิณ รวมทั้งบรรดา “ลิ่วล้อ”ที่กลุ่มทุนทักษิณชุบเลี้ยงไว้ใช้งาน ซึ่งมีจำนวนจำกัดและนับวันจะตายซาก หามีชีวิตชีวาแต่ประการใดไม่
มองในมุมที่กว้างขึ้น บนฐานที่ใหญ่ขึ้น พฤติกรรมและความคิดของพวกเขาหาได้สะท้อนถึงวิสัยทัศน์อุดมการณ์ที่ “ก้าวหน้า”แต่ประการใดไม่ หนำซ้ำ มันได้หลุดลอยออกจากฐานแห่งความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง ทั้งของประเทศไทยและของสังคมโลกโดยรวม ทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาทำกันคิดกัน ล้วนเป็นผลของความต้องการเฉพาะตัวอันไร้ขีดจำกัด อันเป็นผลของการทำงานของจิตใฝ่ต่ำที่เรียกกันว่า “โลภ”กับ “หลง” หาได้ยึดมั่นในความเป็นจริง เคารพความเป็นจริง หาได้ยึดมั่นในผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์แต่ประการใดไม่
สิ่งพวกเขาเรียกว่า “ประชาธิปไตย” ก็เป็นเพียงข้ออ้างสำหรับการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเท่านั้นเอง
จึงย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนทั่วไปที่รักชาติ รักประชาธิปไตย และรักความเป็นธรรม
ทั้งหมดนี้คือเหตุปัจจัยเบื้องต้นของการเปลี่ยนแปลง เป็นการ “ปูพื้น” สร้างเวทีให้แก่ขบวนการการเมืองภาคประชาชนขึ้นมาโลดแล่น แสดงบทบาทนำ ซึ่งก็คือการเป็น “เจ้าภาพตัวจริง”ในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ประเทศไทยจำต้องเป็นไป ตามแนวโน้มพัฒนาการของโลกใน “ยุคเอเชีย”
ทีนี้ เมื่ออำนาจการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตกอยู่ในมือของขบวนการการเมืองภาคประชาชนแล้ว การปรับฐานดุลอำนาจสามฝ่ายในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็สามารถทำได้ โดยเพิ่มอำนาจของภาคประชาชนเข้าไปในโครงสร้างดุลอำนาจสามฝ่าย ให้อำนาจภาคประชาชนคงไว้ซึ่งฐานะของความเป็น “เจ้าภาพ” อย่างยั่งยืน
ในรูปธรรมก็คือ การใดที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศ (โดยรัฐบาลประชาชน) การกำหนดตัวบทกฎหมาย (โดยสภาประชาชน) และการตัดสินคดีความ (โดยศาลของประชาชน) จะต้องถือเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้งเสมอ ความยุติธรรมจะต้องตั้งอยู่บนฐานร่วมกันคือ ผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทย
“หัวใจ”ของการเมืองใหม่ ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็คือ ขบวนการการเมืองภาคประชาชน นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็น “เจ้าภาพ” ในการใช้อำนาจร่วมกับตัวแทนภาครัฐและเอกชน ทำการปรึกษาหารือร่วมกันจัดทำระบบกำกับ/ กำหนดทิศทางการพัฒนาทางการเมือง ทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยยุคใหม่ วางรากฐานที่ยั่งยืนให้แก่กระบวนการพัฒนาของการเมืองใหม่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ทั้งนี้ การที่ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็น “เจ้าภาพ” ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ กำกับการใช้อำนาจโดยถือเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตลอดไปนั้น มีความแตกต่างไปจากการใช้อำนาจเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพดังที่เป็นอยู่ทั่วไปในกลุ่มประเทศสังคมนิยม ซึ่งบางทีพวกเขาก็เรียกระบบการเมืองของพวกเขาเองว่าเป็น “ประชาธิปไตยประชาชน” เราจึงเรียกการเมืองใหม่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของเราว่าเป็น “ประชาธิปไตยประชาชนเอกลักษณ์ไทย” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างนี้ (ยังมีต่อ)
ประเทศไทยวันนี้ : สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ อันเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากการเมืองเผด็จการรัฐสภากลุ่มทุน สู่การเมืองประชาธิปไตยของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยอำนาจประชาชนซึ่งเป็นอำนาจใหม่ ยิ่งใหญ่กว่าอำนาจกลุ่มทุน จะแลดงบทบาทเป็นปัจจัยกำหนดกระบวนการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์นี้
บทวินิจฉัย : อำนาจใหม่สร้างการเมืองใหม่
กระบวนการเกิดขึ้นของการเมืองใหม่ ไม่ได้เริ่มต้นหรือออกแบบจากหลักการหรือทฤษฎีในตำรา แต่อุบัติขึ้นจากสภาวะเป็นจริงของสังคมไทย สะท้อนความจำต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์การพัฒนาของสังคมไทย ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญสองด้านคือ ความเป็นไปได้ทางภววิสัย (เงื่อนไขภายนอก) และความพร้อมทางด้านอัตวิสัย (ปัจจัยภายใน)
ด้วยวิธีคิดนี้ ขอให้เรามาทำความเข้าใจกันในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทยที่กำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งแบบ “วันต่อวัน” เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ในทิศทางที่ภาคประชาชนสะสมชัยชนะได้อย่างต่อเนื่องในการต่อสู้กับกลุ่มการเมืองทุนสามานย์ ขบวนการการเมืองภาคประชาชน นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนับวันเติบใหญ่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ได้รับการยอมรับจากมวลชนที่ตื่นตัวขึ้นทุกหัวระแหงทั่วประเทศและในต่างประเทศ ขณะที่กลุ่มทุนสามานย์พยายามต่อสู้สกัดขัดขวางเต็มที่
ในการนี้ อำนาจของประชาชนได้ปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ประชันกับอำนาจรัฐกลุ่มทุน มีแนวโน้มที่จะแสดงบทบาทนำและกำกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทยชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยกลุ่มอำนาจต่างๆ ในสังคมค่อยๆ ปรับตัวเข้าหา เพื่อประกอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจการเมืองใหม่ที่มีขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็นแกนนำ ตามแนวทาง “ภาคประชาชนเป็นเจ้าภาพ”
มองให้ถึงที่สุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งนี้ของประเทศไทย นอกจากแรงกระตุ้นของ “ยุคเอเชีย” ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยสำคัญภายนอกแล้ว มีสาเหตุสำคัญโดยตรงจาก “ภายใน” อันเป็นความขัดแย้งหลักของประเทศระหว่างกลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณกับขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นแกนนำ
ความจริงแล้ว ในระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีการรวมตัวกันเข้าเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ความขัดแย้งหลักดำเนินไปในระหว่างกลุ่มทุนใหม่ (ต่อมากลายพันธุ์เป็นกลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ) กับกลุ่มทุนเก่า (ประกอบด้วยทุนเชื้อเจ้าและทุนเชื้อจีนทั่วไป) แต่ด้วยความอ่อนล้าของกลุ่มทุนเก่า ทำให้กลุ่มทุนใหม่พองตัวอย่างรวดเร็ว และพัฒนาสู่ความเป็นทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ และทำท่าว่าจะฮุบประเทศไทยไว้ในอุ้งมืออย่างง่ายดาย
ทว่า การผูกขาดประเทศไทยของกลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ ที่มากด้วยวิธีการฉ้อฉลเอาแต่ได้ แม้จะสามารถฉกฉวยโอกาสและช่องว่างในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เสริมสร้างอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือรัฐไทย แต่พฤติกรรมของกลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ สวนทางอย่างยิ่งกับกระบวนการพัฒนาทางการเมืองของกลุ่มประเทศก้าวหน้าในย่านเอเชียแปซิฟิก ที่มุ่งไปในทิศทางการสนองตอบต่อผลประโยชน์ของประชาชน เคารพสิทธิประโยชน์ของประชาชน เน้นความโปร่งใสของรัฐบาล และความเป็นธรรมาภิบาลในการใช้อำนาจของกลไกรัฐ
ที่สำคัญคือ กลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ ได้จงใจทำลายดุลอำนาจที่มีอยู่เดิมลงไปอย่างสิ้นเชิง โดยการสถาปนาอำนาจการเมืองเหนืออำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ
ภายหลังพรรคไทยรักไทยได้ชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไปและเข้าเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ก็ได้เร่งดำเนินการผูกขาดอำนาจไว้ในมือ ด้วยวิธีการซื้อบุคลากรในกลไกรัฐ แปลงทรัพย์สินของชาติเป็นของตัวเอง ใช้กลไกการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือควบคุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จึงเกิดแรงต้านจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากขบวนการการเมืองภาคประชาชน ที่มองเห็นความหายนะที่จะเกิดแก่ประเทศชาติและประชาชน
โดยเฉพาะแนวคิดเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไปเป็นระบอบการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งเป็นความ “ถวิลหา”ตามใจอยากมากกว่าที่จะเคารพกฎเกณฑ์การพัฒนาของสังคมไทย ไม่สอดคล้องอย่างยิ่งกับลักษณะสังคมไทยและเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทย ที่จำเป็นต้องพัฒนาไปตามทิศทางพัฒนาการทางการเมืองของประเทศเอเชียแปซิฟิกใน “ยุคเอเชีย” ที่เน้นความเป็นประชาธิปไตยของประชาชน เน้นความโปร่งใส ความเป็นธรรมาภิบาล คำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และการเปิดช่องโอกาสให้แก่ประชาชนในการพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์รอบด้านจริงๆ เพื่อให้ประชากรของประเทศตนเป็นประชากรคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดีบนผิวโลกดวงนี้
พฤติกรรมของกลุ่มทุนสามานย์ไทยในระบอบทักษิณ บ่งบอกถึงความโลภจนหน้ามืด มากกว่าสิ่งอื่นใด เต็มไปด้วยพฤติกรรมฉ้อฉลและฉวยโอกาส คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตนชนิด “ไร้ยางอาย” น้อยคนนักที่จะเข้าร่วมด้วย ยกเว้นกลุ่มคนที่ได้เสวยประโยชน์มหาศาลจากการสถาปนาระบอบทักษิณ รวมทั้งบรรดา “ลิ่วล้อ”ที่กลุ่มทุนทักษิณชุบเลี้ยงไว้ใช้งาน ซึ่งมีจำนวนจำกัดและนับวันจะตายซาก หามีชีวิตชีวาแต่ประการใดไม่
มองในมุมที่กว้างขึ้น บนฐานที่ใหญ่ขึ้น พฤติกรรมและความคิดของพวกเขาหาได้สะท้อนถึงวิสัยทัศน์อุดมการณ์ที่ “ก้าวหน้า”แต่ประการใดไม่ หนำซ้ำ มันได้หลุดลอยออกจากฐานแห่งความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง ทั้งของประเทศไทยและของสังคมโลกโดยรวม ทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาทำกันคิดกัน ล้วนเป็นผลของความต้องการเฉพาะตัวอันไร้ขีดจำกัด อันเป็นผลของการทำงานของจิตใฝ่ต่ำที่เรียกกันว่า “โลภ”กับ “หลง” หาได้ยึดมั่นในความเป็นจริง เคารพความเป็นจริง หาได้ยึดมั่นในผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์แต่ประการใดไม่
สิ่งพวกเขาเรียกว่า “ประชาธิปไตย” ก็เป็นเพียงข้ออ้างสำหรับการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเท่านั้นเอง
จึงย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนทั่วไปที่รักชาติ รักประชาธิปไตย และรักความเป็นธรรม
ทั้งหมดนี้คือเหตุปัจจัยเบื้องต้นของการเปลี่ยนแปลง เป็นการ “ปูพื้น” สร้างเวทีให้แก่ขบวนการการเมืองภาคประชาชนขึ้นมาโลดแล่น แสดงบทบาทนำ ซึ่งก็คือการเป็น “เจ้าภาพตัวจริง”ในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ประเทศไทยจำต้องเป็นไป ตามแนวโน้มพัฒนาการของโลกใน “ยุคเอเชีย”
ทีนี้ เมื่ออำนาจการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตกอยู่ในมือของขบวนการการเมืองภาคประชาชนแล้ว การปรับฐานดุลอำนาจสามฝ่ายในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็สามารถทำได้ โดยเพิ่มอำนาจของภาคประชาชนเข้าไปในโครงสร้างดุลอำนาจสามฝ่าย ให้อำนาจภาคประชาชนคงไว้ซึ่งฐานะของความเป็น “เจ้าภาพ” อย่างยั่งยืน
ในรูปธรรมก็คือ การใดที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศ (โดยรัฐบาลประชาชน) การกำหนดตัวบทกฎหมาย (โดยสภาประชาชน) และการตัดสินคดีความ (โดยศาลของประชาชน) จะต้องถือเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้งเสมอ ความยุติธรรมจะต้องตั้งอยู่บนฐานร่วมกันคือ ผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทย
“หัวใจ”ของการเมืองใหม่ ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็คือ ขบวนการการเมืองภาคประชาชน นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็น “เจ้าภาพ” ในการใช้อำนาจร่วมกับตัวแทนภาครัฐและเอกชน ทำการปรึกษาหารือร่วมกันจัดทำระบบกำกับ/ กำหนดทิศทางการพัฒนาทางการเมือง ทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยยุคใหม่ วางรากฐานที่ยั่งยืนให้แก่กระบวนการพัฒนาของการเมืองใหม่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ทั้งนี้ การที่ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็น “เจ้าภาพ” ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ กำกับการใช้อำนาจโดยถือเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตลอดไปนั้น มีความแตกต่างไปจากการใช้อำนาจเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพดังที่เป็นอยู่ทั่วไปในกลุ่มประเทศสังคมนิยม ซึ่งบางทีพวกเขาก็เรียกระบบการเมืองของพวกเขาเองว่าเป็น “ประชาธิปไตยประชาชน” เราจึงเรียกการเมืองใหม่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของเราว่าเป็น “ประชาธิปไตยประชาชนเอกลักษณ์ไทย” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างนี้ (ยังมีต่อ)