จากการที่มีการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์1 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ในเรื่องของการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดให้สามารถทำได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วกว่าเดิม ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมการจัดตั้งธุรกิจและเพิ่มความน่าเชื่อถือในการติดต่อทำธุรกิจการค้า โดยได้กล่าวถึงจำนวนผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท การแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด การแก้ไขวิธีการเกี่ยวกับการนัดเรียกประชุม และการลดการประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์
สำหรับในส่วนต่อไปนี้จะกล่าวถึงมาตรการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการลงทุนและการติดต่อธุรกิจ
การค้า
1.การบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่
บริษัทจำกัดที่จัดตั้งแล้ว หากมีการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่จะต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามมาตรา 1175 และต้องส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อเป็นมาตรการรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า14 วัน
คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้นให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันและในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย (เดิมกำหนดให้เรียกประชุมโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้)
2.การถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดร้าง
กำหนดให้นายทะเบียนมีอำนาจขีดชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลออกจากทะเบียนเป็นห้างร้างได้ (จากเดิมดำเนินการได้เฉพาะบริษัทจำกัดเท่านั้น) ซึ่งมาตรา 1273/1 ให้อำนาจนายทะเบียนกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดใดมิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการแล้ว นายทะเบียนจะต้องมีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เพื่อสอบถามว่ายังทำการค้าขายหรือประกอบการตามปกติอยู่หรือไม่ และต้องแจ้งไปด้วยว่าหากมิได้รับคำตอบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ส่งหนังสือดังกล่าว นายทะเบียนจะโฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นออกจากทะเบียนต่อไป
แต่ถ้านายทะเบียนได้รับคำตอบจากห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นว่า ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทมิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการแล้วหรือถ้ามิได้ตอบกลับภายใน 30 วันนับแต่วันที่ส่งหนังสือ ให้นายทะเบียนโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้งและส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทว่า เมื่อพ้นเวลา 90 วันนับแต่วันที่ส่งหนังสือบอกกล่าวนี้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นจะถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
3.การจดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียน
กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนและบริษัทที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนสิ้นสภาพนิติบุคคล แต่ทั้งนี้ถ้าห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใดๆ ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทรู้สึกว่าตนต้องเสียหายโดยไม่เป็นธรรม เพราะการที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนนั้น ให้บุคคลดังกล่าวยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลพิจารณาว่าในขณะที่ขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียนนั้น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการอยู่มิได้ทิ้งร้าง หรือเพื่อความยุติธรรม ศาลสามารถสั่งให้จดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนได้ และให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นยังคงอยู่ตลอดมาเสมือนมิได้มีการขีดชื่อออกเลย
ทั้งนี้ การร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนสู่ทะเบียน ต้องร้องขอภายในกำหนด10 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียนตามมาตรา 1273/4
กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท แก้ไขอะไรบ้าง
กล่าวโดยสรุปหลักการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องหุ้นส่วน บริษัท ที่ได้มีการนำเสนอไปแล้วนั้น ส่วนครั้งนี้มีดังต่อไปนี้
1. กำหนดให้มีผู้มีส่วนได้เสียของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิ ขอให้นายทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1020)
2. ยกเลิกการแต่งย่อรายการและลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและยกเลิกการส่งหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ต่อนายทะเบียน (ยกเลิกมาตรา 1021 มาตรา 1111 วรรคห้า และมาตรา 1147)
3. ปรับปรุงผลทางกฎหมายเกี่ยวกับเอกสารและข้อความซึ่งจดทะเบียน (ยกเลิกมาตรา 1022 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1023 และเพิ่มมาตรา 1023/1)
4. ลดจำนวนผู้เริ่มก่อการของบริษัทจำกัด โดยกำหนดให้ต้องมีจำนวนอย่างน้อยสามคน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1097 และมาตรา 1237 (4))
5. เพิ่มกรณีการขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดที่อาจดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว (เพิ่มมาตรา 1111/1)
6. แก้ไขวิธีการและระยะเวลาการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และลดระยะเวลาการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ในกรณีการลดทุน การควบบริษัท และการเลิกห้างหุ้นส่วนและบริษัท (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1175 มาตรา 1226 มาตรา 1240 และมาตรา 1253 (1))
7. แก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการลงมติพิเศษ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกาศจ่ายเงินปันผล รวมทั้งลดระยะเวลาการคัดค้านของเจ้าหนี้ในกรณีการลดทุนและการควบบริษัท (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1194 มาตรา 1204 มาตรา 1226 และมาตรา 1240)
8. เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด (เพิ่มส่วนที่ 12 การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบริษัทจำกัด ของหมวด 4 ในลักษณะ 22 มาตรา 1246/1 ถึงมาตรา 1246/7)
9. ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทร้าง (ยกเลิกส่วนที่ 11 การถอนทะเบียนบริษัทร้าง มาตรา 1246 และเพิ่มหมวด 6 การถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดร้าง มาตรา 1273/1 ถึงมาตรา 1272/4)
นอกจากนี้ ผลของการที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัทของบรรพ 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้ห้างหุ้นส่วนสามารถแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้และให้นายทะเบียนมีอำนาจถอนห้างหุ้นส่วนร้างออกจากทะเบียนนั้น กระทรวงพาณิชย์ยังได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 เพื่อกำหนดความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด และการถอนทะเบียนร้าง รวมทั้งยังกำหนดให้มีการเปรียบเทียบความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดที่มีโทษปรับสถานเดียวได้ เพื่อเป็นการลดจำนวนคดีเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่ฟ้องร้องต่อศาล
การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทดังกล่าวข้างต้นเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติที่ใช้มานานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 24722 หรือประมาณ 79 ปี เพื่อขจัดปัญหาบางมาตราที่สร้างภาระโดยไม่จำเป็นแก่ประชาชน ตลอดจนขจัดความยุ่งยาก ซ้ำซ้อน และความล่าช้าต่อการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ
นอกจากนี้ การแก้ไขดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินกิจการค้าในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนและบริษัทมีความสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และมีข้อมูลทางธุรกิจเป็นที่น่าเชื่อถือในการติดต่อค้าขาย รวมทั้งเป็นตัวช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศต่อไป
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125/ตอนที่ 41 ก/หน้า 12/3 มีนาคม พ.ศ. 2551 2 พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ที่ได้ตรวจชำระใหม่
สำหรับในส่วนต่อไปนี้จะกล่าวถึงมาตรการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการลงทุนและการติดต่อธุรกิจ
การค้า
1.การบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่
บริษัทจำกัดที่จัดตั้งแล้ว หากมีการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่จะต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามมาตรา 1175 และต้องส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อเป็นมาตรการรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า14 วัน
คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้นให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันและในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย (เดิมกำหนดให้เรียกประชุมโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้)
2.การถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดร้าง
กำหนดให้นายทะเบียนมีอำนาจขีดชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลออกจากทะเบียนเป็นห้างร้างได้ (จากเดิมดำเนินการได้เฉพาะบริษัทจำกัดเท่านั้น) ซึ่งมาตรา 1273/1 ให้อำนาจนายทะเบียนกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดใดมิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการแล้ว นายทะเบียนจะต้องมีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เพื่อสอบถามว่ายังทำการค้าขายหรือประกอบการตามปกติอยู่หรือไม่ และต้องแจ้งไปด้วยว่าหากมิได้รับคำตอบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ส่งหนังสือดังกล่าว นายทะเบียนจะโฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นออกจากทะเบียนต่อไป
แต่ถ้านายทะเบียนได้รับคำตอบจากห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นว่า ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทมิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการแล้วหรือถ้ามิได้ตอบกลับภายใน 30 วันนับแต่วันที่ส่งหนังสือ ให้นายทะเบียนโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้งและส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทว่า เมื่อพ้นเวลา 90 วันนับแต่วันที่ส่งหนังสือบอกกล่าวนี้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นจะถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
3.การจดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียน
กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนและบริษัทที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนสิ้นสภาพนิติบุคคล แต่ทั้งนี้ถ้าห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใดๆ ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทรู้สึกว่าตนต้องเสียหายโดยไม่เป็นธรรม เพราะการที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนนั้น ให้บุคคลดังกล่าวยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลพิจารณาว่าในขณะที่ขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียนนั้น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการอยู่มิได้ทิ้งร้าง หรือเพื่อความยุติธรรม ศาลสามารถสั่งให้จดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนได้ และให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นยังคงอยู่ตลอดมาเสมือนมิได้มีการขีดชื่อออกเลย
ทั้งนี้ การร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนสู่ทะเบียน ต้องร้องขอภายในกำหนด10 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียนตามมาตรา 1273/4
กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท แก้ไขอะไรบ้าง
กล่าวโดยสรุปหลักการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องหุ้นส่วน บริษัท ที่ได้มีการนำเสนอไปแล้วนั้น ส่วนครั้งนี้มีดังต่อไปนี้
1. กำหนดให้มีผู้มีส่วนได้เสียของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิ ขอให้นายทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1020)
2. ยกเลิกการแต่งย่อรายการและลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและยกเลิกการส่งหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ต่อนายทะเบียน (ยกเลิกมาตรา 1021 มาตรา 1111 วรรคห้า และมาตรา 1147)
3. ปรับปรุงผลทางกฎหมายเกี่ยวกับเอกสารและข้อความซึ่งจดทะเบียน (ยกเลิกมาตรา 1022 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1023 และเพิ่มมาตรา 1023/1)
4. ลดจำนวนผู้เริ่มก่อการของบริษัทจำกัด โดยกำหนดให้ต้องมีจำนวนอย่างน้อยสามคน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1097 และมาตรา 1237 (4))
5. เพิ่มกรณีการขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดที่อาจดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว (เพิ่มมาตรา 1111/1)
6. แก้ไขวิธีการและระยะเวลาการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และลดระยะเวลาการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ในกรณีการลดทุน การควบบริษัท และการเลิกห้างหุ้นส่วนและบริษัท (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1175 มาตรา 1226 มาตรา 1240 และมาตรา 1253 (1))
7. แก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการลงมติพิเศษ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกาศจ่ายเงินปันผล รวมทั้งลดระยะเวลาการคัดค้านของเจ้าหนี้ในกรณีการลดทุนและการควบบริษัท (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1194 มาตรา 1204 มาตรา 1226 และมาตรา 1240)
8. เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด (เพิ่มส่วนที่ 12 การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบริษัทจำกัด ของหมวด 4 ในลักษณะ 22 มาตรา 1246/1 ถึงมาตรา 1246/7)
9. ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทร้าง (ยกเลิกส่วนที่ 11 การถอนทะเบียนบริษัทร้าง มาตรา 1246 และเพิ่มหมวด 6 การถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดร้าง มาตรา 1273/1 ถึงมาตรา 1272/4)
นอกจากนี้ ผลของการที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัทของบรรพ 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้ห้างหุ้นส่วนสามารถแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้และให้นายทะเบียนมีอำนาจถอนห้างหุ้นส่วนร้างออกจากทะเบียนนั้น กระทรวงพาณิชย์ยังได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 เพื่อกำหนดความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด และการถอนทะเบียนร้าง รวมทั้งยังกำหนดให้มีการเปรียบเทียบความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดที่มีโทษปรับสถานเดียวได้ เพื่อเป็นการลดจำนวนคดีเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่ฟ้องร้องต่อศาล
การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทดังกล่าวข้างต้นเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติที่ใช้มานานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 24722 หรือประมาณ 79 ปี เพื่อขจัดปัญหาบางมาตราที่สร้างภาระโดยไม่จำเป็นแก่ประชาชน ตลอดจนขจัดความยุ่งยาก ซ้ำซ้อน และความล่าช้าต่อการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ
นอกจากนี้ การแก้ไขดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินกิจการค้าในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนและบริษัทมีความสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และมีข้อมูลทางธุรกิจเป็นที่น่าเชื่อถือในการติดต่อค้าขาย รวมทั้งเป็นตัวช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศต่อไป
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125/ตอนที่ 41 ก/หน้า 12/3 มีนาคม พ.ศ. 2551 2 พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ที่ได้ตรวจชำระใหม่