นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด สามารถทำได้ง่ายขึ้น และรวดเร็วกว่าเดิม ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์1 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัท
บทบัญญัติตาม บรรพ 3 ลักษณะ 22 ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท ใช้บังคับมาเป็นเวลานานตั้งแต่ พ.ศ. 2472
ทำให้บทบัญญัติบางมาตราสร้างภาระโดยไม่จำเป็นแก่ประชาชน เช่น จำนวนผู้เริ่มก่อการ จำนวนการลงโฆษณานัดประชุม ซึ่งเป็นการก่อให้เกิดความยุ่งยาก ซ้ำซ้อน และความล่าช้าต่อการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ
นอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวและเพื่อให้การดำเนินกิจการค้าในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนและบริษัทมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น กระทรวงพาณิชย์ จึงแก้ไขบทบัญญัติในเรื่องหุ้นส่วนและบริษัท ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา
สาระสำคัญของการแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน ช่วยส่งเสริมการจัดตั้งธุรกิจ และเพิ่มความน่าเชื่อถือในการติดต่อทำธุรกิจการค้า โดยมีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
1. จำนวนผู้เริ่มก่อการ
มีการบัญญัติให้มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท โดยตามมาตรา 1097 กำหนดให้เริ่มตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ลดลงจากเดิมซึ่งต้องมีผู้เริ่มก่อการ 7 คน โดยเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทำการอย่างอื่นตามที่กฎหมายกำหนดในการจัดตั้งบริษัท และสามารถจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัทภายในวันเดียว2 กับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าในการประชุมตั้งบริษัทผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมและให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้พิจารณาในที่ประชุมนั้น ซึ่งกรรมการจะขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัทไปพร้อมกันภายในวันนั้นก็ได้ ตามมาตรา 1111/1 ถ้าได้ดำเนินการครบทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
(2) ประชุมจัดตั้งบริษัทเพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามมาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
(3) ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการ
(4) กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นใช้เงินค่าหุ้นตามมาตรา 1110 วรรคสอง และเงินค่าหุ้นดังกล่าวได้ใช้เสร็จแล้ว
2. การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด
นอกจากนั้นหากเดิมมีการประกอบการในลักษณะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปก็สามารถแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด โดยใช้ชื่อเดิมได้3 โดยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนและดำเนินการตามมาตรา 1246/1 ซึ่งแต่เดิมการแปรสภาพนั้นต้องจดทะเบียนเลิกห้างก่อนแล้วไปทำการจดทะเบียนตั้งบริษัทขึ้นใหม่ ซึ่งเกิดปัญหาความยุ่งยากและต้องใช้เวลาดำเนินการหลายขั้นตอน
ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ ไม่ต้องจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนก่อน โดยหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างมีหนังสือแจ้งความยินยอมให้แปรสภาพต่อนายทะเบียน ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ยินยอม และประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ 1 ครั้ง รวมทั้งมีหนังสือแจ้งเจ้าหนี้ให้ทราบเรื่องที่จะแปรสภาพ และให้สิทธิคัดค้านภายใน 30 วัน
ถ้ามีเจ้าหนี้คัดค้านจะแปรสภาพไม่ได้จนกว่าจะชำระหนี้หรือให้ประกันหนี้นั้นแล้ว หากไม่มีเจ้าหนี้คัดค้านผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องประชุมกันเพื่อยินยอม และดำเนินการในการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท กำหนดทุนจดทะเบียน และกำหนดจำนวนหุ้นที่จะให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน กำหนดจำนวนเงินค่าหุ้นที่ได้ชำระแล้ว โดยต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น กำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิและสภาพที่จะออกและจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนแต่งตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการและแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
หลังจากนั้นหุ้นส่วนผู้จัดการเดิมต้องส่งมอบกิจการให้แก่คณะกรรมการของบริษัทภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมเสร็จ เมื่อคณะกรรมการแจ้งให้ผู้เป็นหุ้นส่วนชำระเงินค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้นหรือโอนกรรมสิทธิ์หรือทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่างๆ แล้ว คณะกรรมการต้องขอจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดต่อนายทะเบียน ภายใน 14 วันนับแต่วันที่เรียกเก็บค่าหุ้นเสร็จ
ผลของการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเดิมหมดสภาพ บริษัทได้รับทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของห้างทั้งหมด สำหรับหนี้ของห้างหุ้นส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการแปรสภาพ ให้เจ้าหนี้เรียกให้บริษัทชำระหนี้ก่อน หากบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ได้ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างตามความรับผิดในหนี้ขณะเป็นห้างหุ้นส่วน
3. การแก้ไขวิธีการเกี่ยวกับการนัดเรียกและการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด ผู้ประกอบธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัดต้องจัดการประชุมใหญ่ให้ถูกต้องตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มิฉะนั้นมติของที่ประชุมอาจไม่มีผลตามกฎหมายและเป็นปัญหาต่อธุรกิจของบริษัทเองในภายหลังได้ โดยบริษัทจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ ดังนี้ 4
3.1 การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติเรื่องทั่วไป
การนัดเรียกประชุมต้องลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อย 1 ครั้งในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ และต้องส่งหนังสือนัดประชุมโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ ต้องดำเนินการก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน ทั้งสองประการตามมาตรา 1175
3.2 การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ
การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ เช่น มติในการเพิ่มทุน มาตรา 1220 การลดทุน มาตรา 1224 การควบบริษัทมาตรา 1238 จะลดการประชุมจาก 2 ครั้ง เหลือเพียง 1 เดียว ตามมาตรา 1175 แต่ต้องบอกกล่าวการประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันโดยลงพิมพ์โฆษณาทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่และส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนควบคู่กันและมติที่ประชุม จะต้องได้คะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 1194
3.3 ข้อบังคับของบริษัทที่ขัดต่อกฎหมายใหม่
หากบริษัทที่จดทะเบียนไว้เดิมมีข้อบังคับขัดต่อกฎหมายฉบับใหม่ ข้อบังคับนั้นไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ดังนั้นบริษัทจึงควรแก้ไขข้อบังคับดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่
3.4 มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้จัดประชุมก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
หากบริษัทนำมติดังกล่าวมายื่นจดทะเบียนหลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 นายทะเบียนจะยังคงพิจารณาคำขอจดทะเบียนตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของบริษัทที่ใช้อยู่ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2551
4. มีการลดการประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์และการคัดค้านของเจ้าหนี้
ในกรณีที่ต้องการลดทุนบริษัทตามมาตรา 1226 ให้โฆษณาความประสงค์นั้นในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้ง และต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทบอกให้ทราบรายการซึ่งประสงค์จะลดทุนลง ทั้งนี้มีการลดระยะเวลาการคัดค้านของเจ้าหนี้ลงด้วย โดยเจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการลดทุนนั้น ต้องส่งคำคัดค้านไปภายใน 30 วันนับแต่วันที่บอกกล่าวจากเดิมที่กำหนดไว้ 3 เดือน ถ้าไม่มีเจ้าหนี้คัดค้านภายในกำหนดเวลา 30 วัน ก็ให้ถือว่าไม่มีการคัดค้าน
ส่วนการควบบริษัทนั้นจากเดิมต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 7 ครั้ง เหลืออย่างน้อย 1 ครั้ง ตามมาตรา 1240 และต้องส่งคำบอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท โดยบอกให้ทราบรายการที่ประสงค์จะควบบริษัทเข้ากัน และขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการควบบริษัทเข้ากันนั้น ส่งคำคัดค้านไปภายใน 60 วันนับแต่วันที่บอกกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีการยกเลิกการส่งหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ต่อนายทะเบียน ตามมาตรา 1147 อีกด้วย
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
1 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 / ตอนที่ 41ก / หน้า 12 / 3 มีนาคม พ.ศ. 2551
2 สำนักทะเบียนธุรกิจ ฉบับที่ 48 / 20 มิถุนายน 2551
3สำนักทะเบียนธุรกิจ ฉบับที่ 52 / 26 มิถุนายน 2551
4 สำนักทะเบียนธุรกิจ ฉบับที่ 37 / 21 พฤษภาคม 2551
บทบัญญัติตาม บรรพ 3 ลักษณะ 22 ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท ใช้บังคับมาเป็นเวลานานตั้งแต่ พ.ศ. 2472
ทำให้บทบัญญัติบางมาตราสร้างภาระโดยไม่จำเป็นแก่ประชาชน เช่น จำนวนผู้เริ่มก่อการ จำนวนการลงโฆษณานัดประชุม ซึ่งเป็นการก่อให้เกิดความยุ่งยาก ซ้ำซ้อน และความล่าช้าต่อการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ
นอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวและเพื่อให้การดำเนินกิจการค้าในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนและบริษัทมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น กระทรวงพาณิชย์ จึงแก้ไขบทบัญญัติในเรื่องหุ้นส่วนและบริษัท ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา
สาระสำคัญของการแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน ช่วยส่งเสริมการจัดตั้งธุรกิจ และเพิ่มความน่าเชื่อถือในการติดต่อทำธุรกิจการค้า โดยมีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
1. จำนวนผู้เริ่มก่อการ
มีการบัญญัติให้มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท โดยตามมาตรา 1097 กำหนดให้เริ่มตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ลดลงจากเดิมซึ่งต้องมีผู้เริ่มก่อการ 7 คน โดยเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทำการอย่างอื่นตามที่กฎหมายกำหนดในการจัดตั้งบริษัท และสามารถจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัทภายในวันเดียว2 กับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าในการประชุมตั้งบริษัทผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมและให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้พิจารณาในที่ประชุมนั้น ซึ่งกรรมการจะขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัทไปพร้อมกันภายในวันนั้นก็ได้ ตามมาตรา 1111/1 ถ้าได้ดำเนินการครบทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
(2) ประชุมจัดตั้งบริษัทเพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามมาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
(3) ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการ
(4) กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นใช้เงินค่าหุ้นตามมาตรา 1110 วรรคสอง และเงินค่าหุ้นดังกล่าวได้ใช้เสร็จแล้ว
2. การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด
นอกจากนั้นหากเดิมมีการประกอบการในลักษณะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปก็สามารถแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด โดยใช้ชื่อเดิมได้3 โดยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนและดำเนินการตามมาตรา 1246/1 ซึ่งแต่เดิมการแปรสภาพนั้นต้องจดทะเบียนเลิกห้างก่อนแล้วไปทำการจดทะเบียนตั้งบริษัทขึ้นใหม่ ซึ่งเกิดปัญหาความยุ่งยากและต้องใช้เวลาดำเนินการหลายขั้นตอน
ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ ไม่ต้องจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนก่อน โดยหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างมีหนังสือแจ้งความยินยอมให้แปรสภาพต่อนายทะเบียน ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ยินยอม และประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ 1 ครั้ง รวมทั้งมีหนังสือแจ้งเจ้าหนี้ให้ทราบเรื่องที่จะแปรสภาพ และให้สิทธิคัดค้านภายใน 30 วัน
ถ้ามีเจ้าหนี้คัดค้านจะแปรสภาพไม่ได้จนกว่าจะชำระหนี้หรือให้ประกันหนี้นั้นแล้ว หากไม่มีเจ้าหนี้คัดค้านผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องประชุมกันเพื่อยินยอม และดำเนินการในการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท กำหนดทุนจดทะเบียน และกำหนดจำนวนหุ้นที่จะให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน กำหนดจำนวนเงินค่าหุ้นที่ได้ชำระแล้ว โดยต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น กำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิและสภาพที่จะออกและจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนแต่งตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการและแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
หลังจากนั้นหุ้นส่วนผู้จัดการเดิมต้องส่งมอบกิจการให้แก่คณะกรรมการของบริษัทภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมเสร็จ เมื่อคณะกรรมการแจ้งให้ผู้เป็นหุ้นส่วนชำระเงินค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้นหรือโอนกรรมสิทธิ์หรือทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่างๆ แล้ว คณะกรรมการต้องขอจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดต่อนายทะเบียน ภายใน 14 วันนับแต่วันที่เรียกเก็บค่าหุ้นเสร็จ
ผลของการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเดิมหมดสภาพ บริษัทได้รับทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของห้างทั้งหมด สำหรับหนี้ของห้างหุ้นส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการแปรสภาพ ให้เจ้าหนี้เรียกให้บริษัทชำระหนี้ก่อน หากบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ได้ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างตามความรับผิดในหนี้ขณะเป็นห้างหุ้นส่วน
3. การแก้ไขวิธีการเกี่ยวกับการนัดเรียกและการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด ผู้ประกอบธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัดต้องจัดการประชุมใหญ่ให้ถูกต้องตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มิฉะนั้นมติของที่ประชุมอาจไม่มีผลตามกฎหมายและเป็นปัญหาต่อธุรกิจของบริษัทเองในภายหลังได้ โดยบริษัทจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ ดังนี้ 4
3.1 การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติเรื่องทั่วไป
การนัดเรียกประชุมต้องลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อย 1 ครั้งในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ และต้องส่งหนังสือนัดประชุมโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ ต้องดำเนินการก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน ทั้งสองประการตามมาตรา 1175
3.2 การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ
การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ เช่น มติในการเพิ่มทุน มาตรา 1220 การลดทุน มาตรา 1224 การควบบริษัทมาตรา 1238 จะลดการประชุมจาก 2 ครั้ง เหลือเพียง 1 เดียว ตามมาตรา 1175 แต่ต้องบอกกล่าวการประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันโดยลงพิมพ์โฆษณาทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่และส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนควบคู่กันและมติที่ประชุม จะต้องได้คะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 1194
3.3 ข้อบังคับของบริษัทที่ขัดต่อกฎหมายใหม่
หากบริษัทที่จดทะเบียนไว้เดิมมีข้อบังคับขัดต่อกฎหมายฉบับใหม่ ข้อบังคับนั้นไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ดังนั้นบริษัทจึงควรแก้ไขข้อบังคับดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่
3.4 มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้จัดประชุมก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
หากบริษัทนำมติดังกล่าวมายื่นจดทะเบียนหลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 นายทะเบียนจะยังคงพิจารณาคำขอจดทะเบียนตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของบริษัทที่ใช้อยู่ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2551
4. มีการลดการประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์และการคัดค้านของเจ้าหนี้
ในกรณีที่ต้องการลดทุนบริษัทตามมาตรา 1226 ให้โฆษณาความประสงค์นั้นในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้ง และต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทบอกให้ทราบรายการซึ่งประสงค์จะลดทุนลง ทั้งนี้มีการลดระยะเวลาการคัดค้านของเจ้าหนี้ลงด้วย โดยเจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการลดทุนนั้น ต้องส่งคำคัดค้านไปภายใน 30 วันนับแต่วันที่บอกกล่าวจากเดิมที่กำหนดไว้ 3 เดือน ถ้าไม่มีเจ้าหนี้คัดค้านภายในกำหนดเวลา 30 วัน ก็ให้ถือว่าไม่มีการคัดค้าน
ส่วนการควบบริษัทนั้นจากเดิมต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 7 ครั้ง เหลืออย่างน้อย 1 ครั้ง ตามมาตรา 1240 และต้องส่งคำบอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท โดยบอกให้ทราบรายการที่ประสงค์จะควบบริษัทเข้ากัน และขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการควบบริษัทเข้ากันนั้น ส่งคำคัดค้านไปภายใน 60 วันนับแต่วันที่บอกกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีการยกเลิกการส่งหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ต่อนายทะเบียน ตามมาตรา 1147 อีกด้วย
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
1 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 / ตอนที่ 41ก / หน้า 12 / 3 มีนาคม พ.ศ. 2551
2 สำนักทะเบียนธุรกิจ ฉบับที่ 48 / 20 มิถุนายน 2551
3สำนักทะเบียนธุรกิจ ฉบับที่ 52 / 26 มิถุนายน 2551
4 สำนักทะเบียนธุรกิจ ฉบับที่ 37 / 21 พฤษภาคม 2551