ขบวนการปราบปรามยาเสพติดโดย วิธีฆ่าตัดตอน และ การอุ้มฆ่าผู้คน ได้กลายเป็นที่มาของฐานอำนาจการเมืองใหม่ และกลายเป็นอำนาจพิเศษเหนือรัฐธรรมนูญ และเหนือระบอบที่เรียกว่า ‘ประชาธิปไตย’
แม้แต่กรณีภาคใต้ มีเรื่องเล่าลือกันว่า
ท่านถามทำนองว่า “พวกชั่วๆ มีเท่าไหร่” คำตอบคือ “ประมาณ 40 ถึง 50” ท่านก็บอกว่า “ให้จัดการให้หมด”
ทหารไม่จัดการเพราะรู้ว่าถ้าทำเท่ากับทำผิดกฎหมายบ้านเมือง ท่านก็ส่งตำรวจไปจัดการเอง
เมื่อท่านผู้นำมีอำนาจสูงสุด ใครเล่าจะกล้าทัดทาน
นอกจากนี้ ผู้นำที่รวยมากๆ มักหลงคิดไปว่าสามารถใช้เงินซื้อได้ทุกอย่าง
ใช้เงินซื้อหมด ซื้อทั้ง ส.ส. และ กกต.องค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งศาล และตามด้วยความพยายามซื้อสื่อที่มีอิทธิพล (มติชน และผู้จัดการ) ไว้ในมือ
เมื่อเชื่อว่ามีอำนาจสูงสุดและสามารถคุมได้ทุกอย่างแล้ว เรื่องราวที่เรียกว่า โคตรโกง ก็เริ่มผุดขึ้น
ยิ่งมีลูกน้องเลวๆ จำนวนมาก การโกงก็ทำกันอย่างเป็นขบวนการ
กล่าวอย่างสรุปคือ ท่านมีทั้งรัฐตำรวจส่วนตัวของท่านเอง มีกำลังทหารรุ่น 10 ซึ่งกำลังจะขึ้นมามีอำนาจ ท่านสามารถกุมข้าราชการไว้ในมือเกือบทั้งหมดผ่านระบบ CEO ท่านมีสื่ออยู่ในมือจำนวนมาก ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และที่สำคัญยิ่ง ท่านสามารถระดมทุนได้อย่างมหาศาลเหนือกว่านายทุนคนอื่นๆ ทั้งหมด
ถ้าเราฉุกคิดและตั้งคำถามแบบง่ายๆ ว่า ระบอบการเมืองแบบธนาธิปไตย ระบบปกครองแบบ CEO และรัฐตำรวจที่สามารถอุ้มฆ่าที่ขึ้นตรงต่อท่านนายกฯ
“ระบอบการเมืองการปกครองแบบนี้คือ ระบอบประชาธิปไตย หรือไม่”
คำตอบสั้นๆ คือ “ ไม่”
ผมได้ย้อนถามเพื่อนๆ ในกลุ่มสัมมนาว่า “ใครบ้าง...คิดว่า นี่คือระบอบประชาธิปไตย” และผมก็กล่าวต่อไป
“คนไทยส่วนหนึ่งมักจะหลงชอบระบอบแบบนี้นะ เพราะเรามักจะเชื่อว่า ผู้นำต้องเด็ดขาดดี ทำอะไรทันใจ ไม่ต่างจากสมัยก่อนที่คนไทยหลงชอบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
แต่เราต้องไม่ลืมว่า ยุคจอมพลสฤษดิ์ ก็จบลงด้วยเรื่องราวการคอร์รัปชันครั้งประวัติศาสตร์ จากผู้นำที่ยิ่งใหญ่กลายเป็นเพียง ทรราชโกงกินแผ่นดิน”
ดังนั้น หลักพื้นฐานของลัทธิประชาธิปไตย จึงอยู่ที่ว่า จะควบคุมไม่ให้เกิดระบบหรือระบอบที่เรียกว่า Absolute Power ได้อย่างไร
นี่คือ ที่มาของแนวคิดเรื่องระบอบการดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายนิติบัญญัติ และการสร้างระบอบการเมืองแบบกระจายอำนาจ
ที่มาของขบวนการต่อต้านทักษิโณมิกส์
เพื่อนคนหนึ่งได้ตั้งคำถามขึ้นใหม่
“อาจารย์ช่วยเล่าที่มาของขบวนการต่อต้านคุณทักษิณให้ฟังสักหน่อยเถอะ”
ผมเริ่มว่า
“ความจริงแล้ว ‘ขบวนการต่อต้านทักษิโณมิกส์’ ไม่ได้เริ่มจากปรากฏการณ์สนธิ แต่ก่อเกิดขึ้นมาก่อนปรากฏการณ์สนธิประมาณ 4 ปี
ขบวนการนี้เริ่มก่อตัวขึ้นจากนักวิชาการ
นักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์การเมืองบางท่าน อย่างเช่น ท่านอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร และอาจารย์สังศิต พิริยะรังสรรค์ เริ่มเขียนและวิเคราะห์เรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน ตามด้วย การวิพากษ์นโยบายเศรษฐกิจ ของท่านอาจารย์วิทยากร เชียงกูล
ต่อมา เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนก็ถูกเปิดเผยขึ้น และถูกทำให้โด่งดังมากขึ้นจากงานของอาจารย์ ธีรยุทธเรื่อง โคตรโกง หรือ การคอร์รัปชันแบบครบวงจร หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระบบการเมืองผ่านการเลือกตั้งทั้งหมดได้กลายเป็นขบวนการหาประโยชน์ขนาดใหญ่ของกลุ่มทุนใหม่ ที่ประสานประโยชน์กับนักการเมืองที่กินเมืองระดับท้องถิ่น ปรากฏการณ์นี้ก่อผลหนักหน่วงให้กับระบบการเมืองทั้งระบบ (ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น) กลายเป็นระบบคอร์รัปชัน ซึ่งจะนำประเทศก้าวสู่หายนะใหญ่ในอนาคต
ผมเองสมัยนั้น มีฐานะเป็น ผอ.สถาบันวิถีทรรศน์ ผมเริ่มตั้งประเด็นเรื่อง การก่อตัวขึ้นของระบบเผด็จอำนาจสมัยใหม่ ที่เรียกกันต่อมาว่า “รัฐตำรวจ”
ผมชี้ให้เห็นว่า การปราบยาเสพติด (ที่เรียกว่าการอุ้มฆ่าเกือบ 2,000 กว่าศพ) ซึ่งคนทั่วไปยกย่องกันทั้งประเทศว่าเป็นเรื่องดีงาม ที่แท้แล้วคือ การฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งทั้งฉบับ และ การทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยพื้นฐาน เพราะเท่ากับระบบการเมืองไทยสร้างอำนาจเถื่อนแบบเผด็จการขึ้นที่ใจกลางระบอบการเมืองการปกครอง
ในระยะยาว อำนาจนี้จะกลายเป็น ‘อำนาจพิเศษ’ เหนือรัฐไทย และจะสร้างอำนาจ ‘รัฐทรราช’แบบขึ้นต่อบุคคลเพียงคนเดียว นี่...จะสร้างปัญหาใหญ่ในอนาคต
แนวคิดของผมได้เริ่มปรากฏเป็นจริงขึ้น หลังจากมีการสั่งอุ้มและฆ่าบรรดาผู้นำประชาชนในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3 จังหวัดภาคใต้ จึงลุกเป็นไฟมาจนทุกวันนี้
ในช่วงเวลานั้น ขบวนการวิพากษ์วิจารณ์ทักษิโณมิกส์ เริ่มขยายตัวจากภาควิชาการสู่ภาคสื่อสารมวลชน
หลังจากนั้นไม่นาน สื่อที่มีบทบาทสำคัญ 2 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์มติชน และ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ กลายเป็นจุดสนใจเพราะสื่อทั้งสองแสดงบทบาทเป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างแนวคิดของบรรดานักวิชาการ (ชอบวิจารณ์) กับภาคประชาชน
ต่อมา ความพยายามจะซื้อหนังสือพิมพ์มติชนและความพยายามที่จะสร้างพันธมิตรใหม่กับหนังสือพิมพ์ผู้จัดการเริ่มปรากฏขึ้น
ผมคงไม่เล่าต่อ เพราะหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด ปรากฎการณ์สนธิ ซึ่งทุกคนคงหารายละเอียดเรื่องนี้ได้เพราะมีงานมากมายเหลือเกินที่ออกมาอธิบายปรากฏการณ์สนธิในแง่มุมต่างๆ กัน”
ลูกศิษย์คนหนึ่งซึ่งเคยเรียนกับผมคงเกรงว่า สิ่งที่ผมนำเสนอจะไม่ครอบคลุมเรื่องความขัดแย้ง และการก่อเกิดขบวนการต้านทักษิณ เขาจึงช่วยขยายความต่อ
“อาจารย์เคยสอนผมว่า เวลาเกิดความขัดแย้งขึ้น มักจะมีความซ้อนทับของความขัดแย้ง อย่างน้อย 2 ระดับ
ระดับแรก คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น เรื่องโคตรโกง และ เรื่องรัฐตำรวจที่ให้สิทธิพิเศษในการเข่นฆ่าผู้คนตามที่ท่านผู้นำต้องการ
อีกระดับ (ในระดับที่ลึกกว่า) คือความขัดแย้งที่เกิดจากการเข้ามาของกระแสโลกาภิวัตน์ จนก่อให้เกิดกระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์จากภาคประชาชน อย่างเช่น การต่อต้านนโยบายตลาดเสรี และ นโยบายเรื่อง FTA
ในขณะเดียวกัน ก็เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนชั้นนำที่เคยมีอำนาจเหนือรัฐมาก่อน นั่นคือ กลุ่มทุนเจ้าและทุนธนาคาร กับ กลุ่มทุนใหม่ (หรือที่เราเรียกว่า ทักษิโณมิกส์) ที่หันไปหากำไรแบบการปั่นกำไร
เมื่อฟองสบู่แตกปี 40 กลุ่มทุนที่ครองอำนาจรัฐอยู่ก่อนได้รับผลกระทบอย่างหนัก จึงเริ่มหันกลับไปตั้งคำถามกับกระแสโลกาภิวัตน์
นอกจากนี้ ฝ่ายชนชั้นนำเก่าเริ่มสงสัยว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการทำให้ฟองสบู่แตกคือ กลุ่มที่เราเรียกว่า ทักษิโณมิกส์”
ผมชมเขาว่า
“สรุปได้ดีทีเดียว” และผมขอขยายความต่อ
“สิ่งที่แปลกก็คือ ระเบิดลูกแรกที่ท้าทายทักษิโณมิกส์ เริ่มจากการเคลื่อนไหวของหลวงตามหาบัวและพระวัดป่า ซึ่งออกมาคัดค้านเรื่องการตั้งสังฆราชซ้อนสังฆราชองค์เก่า”
ถ้าเราคิดแบบผ่านๆ ก็น่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่เรื่องนี้จะดูไม่เล็กเลย ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ในเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เพราะอำนาจนี้เดิมทีถือเป็น อำนาจเฉพาะ ที่เกี่ยวเนื่องกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์กับสถาบันสูงสุดทางศาสนา
มองในแง่นี้ รัฐบาลไม่น่าจะมีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยว หรือ ถ้าหากจะแต่งตั้งใครขึ้นมาแทน ก็น่าจะขอความเห็นจากทางสถาบันฯ และจากท่านสังฆราชองค์ที่ยังดำรงอยู่ก่อน
การทำหน้าที่แต่งตั้งดังกล่าวก็เท่ากับว่า ท่านนายกฯ และรัฐบาลได้เข้ามาทำหน้าที่เป็นสถาบันสูงสุดแห่งชาติ และมีอำนาจเหนือสถาบันศาสนาของชาติ ในเวลาเดียวกัน
ปรากฏการณ์สนธิ และการเคลื่อนไหวของหลวงตามหาบัว จึงไม่เพียงเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองลอยๆ แต่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องพระราชอำนาจโดยตรง เมื่อรวมเรื่องสงครามที่เรียกว่า สงครามทวิภพ ต้องถือว่า นี่เป็นการจุดชนวนระเบิด ที่ส่งผลทำให้ความขัดแย้งเดิมซึ่งซ่อนตัวอยู่ทั้งหมดให้ระเบิดออก รวมทั้งดึงเอาความขัดแย้งใหม่ๆ เข้ามาประกอบประสานเข้าด้วยกัน
ขบวนการพันธมิตรฯ จึงเป็นขบวนการแนวร่วมที่ประหลาดจริงๆ ที่ดูแล้ว ด้านหนึ่งจะสุดๆแบบเจ้านิยม ประสานกับขบวนการต้านโลกาภิวัตน์ รวมตัวกับขบวนต้านการเมืองสกปรก และขบวนต้านระบบทรราชใหม่ (หรือรัฐตำรวจ)”
ผมเล่าต่อว่า
มีเพื่อนนักวิชาการคนหนึ่งเข้าใจว่าขบวนการแบบนี้น่าจะถือว่าเป็น ขบวนประชาชนแบบฝ่ายขวาตกขอบและอนุรักษนิยมสุดขั้ว
ผมตอบเพื่อนว่า
นี่คือ การเมืองแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องมีในตำราตะวันตก
ทฤษฎีซ้ายและขวาของตะวันตก เดี๋ยวนี้...น่าจะโบราณไปแล้ว จะมีประโยชน์อย่างยิ่งก็ในยุคที่โลกแบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ทุนนิยม กับ สังคมนิยม
ส่วนคำว่า อนุรักษนิยม ในอดีตมักจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องไม่ดี หรือเรื่องโบราณและล้าหลัง
แต่วันนี้ คำว่า อนุรักษนิยม กำลังเป็นคำยอดฮิต และน่าจะมองว่าเป็นเรื่องที่ดีได้ เพราะคนไทยเริ่มเห็นค่าของการอนุรักษ์ธรรมชาติ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามแบบเก่าๆ (ยังมีต่อ)
แม้แต่กรณีภาคใต้ มีเรื่องเล่าลือกันว่า
ท่านถามทำนองว่า “พวกชั่วๆ มีเท่าไหร่” คำตอบคือ “ประมาณ 40 ถึง 50” ท่านก็บอกว่า “ให้จัดการให้หมด”
ทหารไม่จัดการเพราะรู้ว่าถ้าทำเท่ากับทำผิดกฎหมายบ้านเมือง ท่านก็ส่งตำรวจไปจัดการเอง
เมื่อท่านผู้นำมีอำนาจสูงสุด ใครเล่าจะกล้าทัดทาน
นอกจากนี้ ผู้นำที่รวยมากๆ มักหลงคิดไปว่าสามารถใช้เงินซื้อได้ทุกอย่าง
ใช้เงินซื้อหมด ซื้อทั้ง ส.ส. และ กกต.องค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งศาล และตามด้วยความพยายามซื้อสื่อที่มีอิทธิพล (มติชน และผู้จัดการ) ไว้ในมือ
เมื่อเชื่อว่ามีอำนาจสูงสุดและสามารถคุมได้ทุกอย่างแล้ว เรื่องราวที่เรียกว่า โคตรโกง ก็เริ่มผุดขึ้น
ยิ่งมีลูกน้องเลวๆ จำนวนมาก การโกงก็ทำกันอย่างเป็นขบวนการ
กล่าวอย่างสรุปคือ ท่านมีทั้งรัฐตำรวจส่วนตัวของท่านเอง มีกำลังทหารรุ่น 10 ซึ่งกำลังจะขึ้นมามีอำนาจ ท่านสามารถกุมข้าราชการไว้ในมือเกือบทั้งหมดผ่านระบบ CEO ท่านมีสื่ออยู่ในมือจำนวนมาก ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และที่สำคัญยิ่ง ท่านสามารถระดมทุนได้อย่างมหาศาลเหนือกว่านายทุนคนอื่นๆ ทั้งหมด
ถ้าเราฉุกคิดและตั้งคำถามแบบง่ายๆ ว่า ระบอบการเมืองแบบธนาธิปไตย ระบบปกครองแบบ CEO และรัฐตำรวจที่สามารถอุ้มฆ่าที่ขึ้นตรงต่อท่านนายกฯ
“ระบอบการเมืองการปกครองแบบนี้คือ ระบอบประชาธิปไตย หรือไม่”
คำตอบสั้นๆ คือ “ ไม่”
ผมได้ย้อนถามเพื่อนๆ ในกลุ่มสัมมนาว่า “ใครบ้าง...คิดว่า นี่คือระบอบประชาธิปไตย” และผมก็กล่าวต่อไป
“คนไทยส่วนหนึ่งมักจะหลงชอบระบอบแบบนี้นะ เพราะเรามักจะเชื่อว่า ผู้นำต้องเด็ดขาดดี ทำอะไรทันใจ ไม่ต่างจากสมัยก่อนที่คนไทยหลงชอบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
แต่เราต้องไม่ลืมว่า ยุคจอมพลสฤษดิ์ ก็จบลงด้วยเรื่องราวการคอร์รัปชันครั้งประวัติศาสตร์ จากผู้นำที่ยิ่งใหญ่กลายเป็นเพียง ทรราชโกงกินแผ่นดิน”
ดังนั้น หลักพื้นฐานของลัทธิประชาธิปไตย จึงอยู่ที่ว่า จะควบคุมไม่ให้เกิดระบบหรือระบอบที่เรียกว่า Absolute Power ได้อย่างไร
นี่คือ ที่มาของแนวคิดเรื่องระบอบการดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายนิติบัญญัติ และการสร้างระบอบการเมืองแบบกระจายอำนาจ
ที่มาของขบวนการต่อต้านทักษิโณมิกส์
เพื่อนคนหนึ่งได้ตั้งคำถามขึ้นใหม่
“อาจารย์ช่วยเล่าที่มาของขบวนการต่อต้านคุณทักษิณให้ฟังสักหน่อยเถอะ”
ผมเริ่มว่า
“ความจริงแล้ว ‘ขบวนการต่อต้านทักษิโณมิกส์’ ไม่ได้เริ่มจากปรากฏการณ์สนธิ แต่ก่อเกิดขึ้นมาก่อนปรากฏการณ์สนธิประมาณ 4 ปี
ขบวนการนี้เริ่มก่อตัวขึ้นจากนักวิชาการ
นักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์การเมืองบางท่าน อย่างเช่น ท่านอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร และอาจารย์สังศิต พิริยะรังสรรค์ เริ่มเขียนและวิเคราะห์เรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน ตามด้วย การวิพากษ์นโยบายเศรษฐกิจ ของท่านอาจารย์วิทยากร เชียงกูล
ต่อมา เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนก็ถูกเปิดเผยขึ้น และถูกทำให้โด่งดังมากขึ้นจากงานของอาจารย์ ธีรยุทธเรื่อง โคตรโกง หรือ การคอร์รัปชันแบบครบวงจร หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระบบการเมืองผ่านการเลือกตั้งทั้งหมดได้กลายเป็นขบวนการหาประโยชน์ขนาดใหญ่ของกลุ่มทุนใหม่ ที่ประสานประโยชน์กับนักการเมืองที่กินเมืองระดับท้องถิ่น ปรากฏการณ์นี้ก่อผลหนักหน่วงให้กับระบบการเมืองทั้งระบบ (ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น) กลายเป็นระบบคอร์รัปชัน ซึ่งจะนำประเทศก้าวสู่หายนะใหญ่ในอนาคต
ผมเองสมัยนั้น มีฐานะเป็น ผอ.สถาบันวิถีทรรศน์ ผมเริ่มตั้งประเด็นเรื่อง การก่อตัวขึ้นของระบบเผด็จอำนาจสมัยใหม่ ที่เรียกกันต่อมาว่า “รัฐตำรวจ”
ผมชี้ให้เห็นว่า การปราบยาเสพติด (ที่เรียกว่าการอุ้มฆ่าเกือบ 2,000 กว่าศพ) ซึ่งคนทั่วไปยกย่องกันทั้งประเทศว่าเป็นเรื่องดีงาม ที่แท้แล้วคือ การฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งทั้งฉบับ และ การทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยพื้นฐาน เพราะเท่ากับระบบการเมืองไทยสร้างอำนาจเถื่อนแบบเผด็จการขึ้นที่ใจกลางระบอบการเมืองการปกครอง
ในระยะยาว อำนาจนี้จะกลายเป็น ‘อำนาจพิเศษ’ เหนือรัฐไทย และจะสร้างอำนาจ ‘รัฐทรราช’แบบขึ้นต่อบุคคลเพียงคนเดียว นี่...จะสร้างปัญหาใหญ่ในอนาคต
แนวคิดของผมได้เริ่มปรากฏเป็นจริงขึ้น หลังจากมีการสั่งอุ้มและฆ่าบรรดาผู้นำประชาชนในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3 จังหวัดภาคใต้ จึงลุกเป็นไฟมาจนทุกวันนี้
ในช่วงเวลานั้น ขบวนการวิพากษ์วิจารณ์ทักษิโณมิกส์ เริ่มขยายตัวจากภาควิชาการสู่ภาคสื่อสารมวลชน
หลังจากนั้นไม่นาน สื่อที่มีบทบาทสำคัญ 2 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์มติชน และ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ กลายเป็นจุดสนใจเพราะสื่อทั้งสองแสดงบทบาทเป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างแนวคิดของบรรดานักวิชาการ (ชอบวิจารณ์) กับภาคประชาชน
ต่อมา ความพยายามจะซื้อหนังสือพิมพ์มติชนและความพยายามที่จะสร้างพันธมิตรใหม่กับหนังสือพิมพ์ผู้จัดการเริ่มปรากฏขึ้น
ผมคงไม่เล่าต่อ เพราะหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด ปรากฎการณ์สนธิ ซึ่งทุกคนคงหารายละเอียดเรื่องนี้ได้เพราะมีงานมากมายเหลือเกินที่ออกมาอธิบายปรากฏการณ์สนธิในแง่มุมต่างๆ กัน”
ลูกศิษย์คนหนึ่งซึ่งเคยเรียนกับผมคงเกรงว่า สิ่งที่ผมนำเสนอจะไม่ครอบคลุมเรื่องความขัดแย้ง และการก่อเกิดขบวนการต้านทักษิณ เขาจึงช่วยขยายความต่อ
“อาจารย์เคยสอนผมว่า เวลาเกิดความขัดแย้งขึ้น มักจะมีความซ้อนทับของความขัดแย้ง อย่างน้อย 2 ระดับ
ระดับแรก คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น เรื่องโคตรโกง และ เรื่องรัฐตำรวจที่ให้สิทธิพิเศษในการเข่นฆ่าผู้คนตามที่ท่านผู้นำต้องการ
อีกระดับ (ในระดับที่ลึกกว่า) คือความขัดแย้งที่เกิดจากการเข้ามาของกระแสโลกาภิวัตน์ จนก่อให้เกิดกระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์จากภาคประชาชน อย่างเช่น การต่อต้านนโยบายตลาดเสรี และ นโยบายเรื่อง FTA
ในขณะเดียวกัน ก็เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนชั้นนำที่เคยมีอำนาจเหนือรัฐมาก่อน นั่นคือ กลุ่มทุนเจ้าและทุนธนาคาร กับ กลุ่มทุนใหม่ (หรือที่เราเรียกว่า ทักษิโณมิกส์) ที่หันไปหากำไรแบบการปั่นกำไร
เมื่อฟองสบู่แตกปี 40 กลุ่มทุนที่ครองอำนาจรัฐอยู่ก่อนได้รับผลกระทบอย่างหนัก จึงเริ่มหันกลับไปตั้งคำถามกับกระแสโลกาภิวัตน์
นอกจากนี้ ฝ่ายชนชั้นนำเก่าเริ่มสงสัยว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการทำให้ฟองสบู่แตกคือ กลุ่มที่เราเรียกว่า ทักษิโณมิกส์”
ผมชมเขาว่า
“สรุปได้ดีทีเดียว” และผมขอขยายความต่อ
“สิ่งที่แปลกก็คือ ระเบิดลูกแรกที่ท้าทายทักษิโณมิกส์ เริ่มจากการเคลื่อนไหวของหลวงตามหาบัวและพระวัดป่า ซึ่งออกมาคัดค้านเรื่องการตั้งสังฆราชซ้อนสังฆราชองค์เก่า”
ถ้าเราคิดแบบผ่านๆ ก็น่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่เรื่องนี้จะดูไม่เล็กเลย ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ในเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เพราะอำนาจนี้เดิมทีถือเป็น อำนาจเฉพาะ ที่เกี่ยวเนื่องกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์กับสถาบันสูงสุดทางศาสนา
มองในแง่นี้ รัฐบาลไม่น่าจะมีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยว หรือ ถ้าหากจะแต่งตั้งใครขึ้นมาแทน ก็น่าจะขอความเห็นจากทางสถาบันฯ และจากท่านสังฆราชองค์ที่ยังดำรงอยู่ก่อน
การทำหน้าที่แต่งตั้งดังกล่าวก็เท่ากับว่า ท่านนายกฯ และรัฐบาลได้เข้ามาทำหน้าที่เป็นสถาบันสูงสุดแห่งชาติ และมีอำนาจเหนือสถาบันศาสนาของชาติ ในเวลาเดียวกัน
ปรากฏการณ์สนธิ และการเคลื่อนไหวของหลวงตามหาบัว จึงไม่เพียงเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองลอยๆ แต่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องพระราชอำนาจโดยตรง เมื่อรวมเรื่องสงครามที่เรียกว่า สงครามทวิภพ ต้องถือว่า นี่เป็นการจุดชนวนระเบิด ที่ส่งผลทำให้ความขัดแย้งเดิมซึ่งซ่อนตัวอยู่ทั้งหมดให้ระเบิดออก รวมทั้งดึงเอาความขัดแย้งใหม่ๆ เข้ามาประกอบประสานเข้าด้วยกัน
ขบวนการพันธมิตรฯ จึงเป็นขบวนการแนวร่วมที่ประหลาดจริงๆ ที่ดูแล้ว ด้านหนึ่งจะสุดๆแบบเจ้านิยม ประสานกับขบวนการต้านโลกาภิวัตน์ รวมตัวกับขบวนต้านการเมืองสกปรก และขบวนต้านระบบทรราชใหม่ (หรือรัฐตำรวจ)”
ผมเล่าต่อว่า
มีเพื่อนนักวิชาการคนหนึ่งเข้าใจว่าขบวนการแบบนี้น่าจะถือว่าเป็น ขบวนประชาชนแบบฝ่ายขวาตกขอบและอนุรักษนิยมสุดขั้ว
ผมตอบเพื่อนว่า
นี่คือ การเมืองแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องมีในตำราตะวันตก
ทฤษฎีซ้ายและขวาของตะวันตก เดี๋ยวนี้...น่าจะโบราณไปแล้ว จะมีประโยชน์อย่างยิ่งก็ในยุคที่โลกแบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ทุนนิยม กับ สังคมนิยม
ส่วนคำว่า อนุรักษนิยม ในอดีตมักจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องไม่ดี หรือเรื่องโบราณและล้าหลัง
แต่วันนี้ คำว่า อนุรักษนิยม กำลังเป็นคำยอดฮิต และน่าจะมองว่าเป็นเรื่องที่ดีได้ เพราะคนไทยเริ่มเห็นค่าของการอนุรักษ์ธรรมชาติ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามแบบเก่าๆ (ยังมีต่อ)