จากกรณีอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง คดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ที่มีนางเพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการบริษัท, นางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นผู้ต้องหาที่ 1-4 จนเป็นเหตุให้ นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เกิดข้อกังขาต่างๆมากมายว่า เหตุใดอัยการจึงไม่ส่งฟ้องในคดีดังกล่าว
ล่าสุดเมื่อวานนี้ (19ก.ย.) นายกรณ์ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.)
เนื้อหาจดหมายเปิดผนึกระบุว่า เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา มีการแถลงข่าว กรณีอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัท เอสซี แอสเสทฯ โดยได้อ้างถึงกระบวนการทำงานว่า เป็นไปตามเกณฑ์เข้าตลาดหลักทรัพย์ตามปกติ มีที่ปรึกษาทางการเงินดูแล อ้างว่าเป็นการปฏิบัติก่อนที่ประกาศ กจ.28/2546 ซึ่งประกาศใช้วันที่ 16 พ.ย.46 ซึ่งบริษัทได้ยื่นแบบ 63-1 และเสนอขายหุ้นเสร็จสิ้นไปตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.46 และยังพยายามอธิบายว่า กองทุน OGF และกองทุน ODF เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ผู้มีอำนาจกระทำการคือ ผู้จัดการกองทุน ไม่ใช่ผู้ถือหน่วยลงทุน
"เรื่องราวทั้งหมดนี้ ยากที่ประชาชนจะเข้าใจ และมีความเห็นได้ แต่ผมขอเรียนว่า ผมเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับคดีนี้เป็นอย่างดี ผมเป็นผู้ที่ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ กลต.ในต้นปี 49 และมีความคุ้นเคยกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ จากประสบการณ์ การทำงานในวงการหลักทรัพย์มาร่วม 20 ปี และในฐานะอดีตกรรมการตลาดหลักทรัพย์ 2 สมัย ความผิดของพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวในคดีนี้มีความชัดเจนในสายตาของผม ผมจึงมั่นใจแต่แรกว่า เส้นทางสู่ความยุติธรรมในเรื่องนี้จะต้องฝ่าด่านอุปสรรคของระบบทักษิณอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน และก็เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่การยุบสภาฯ หนีการอภิปรายเรื่องนี้ในปี 49 รวมถึงการขาดความร่วมมือในการสอบสวนของหน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมายโดยตรงคือ ก.ล.ต. จนกระทั่งเกิดการัฐประหาร จึงได้มีการโอนหน้าที่การสอบสวนจาก ก.ล.ต. ไปที่ดีเอสไอ ภายใต้ อธิบดี สุนัย มโนมัยอุดม
สุดท้ายในวันที่ 19 มิ.ย. 50 ทางดีเอสไอ ได้ออกแถลงการณ์ การชื้มูลความผิดไปที่สำนักงานอัยการ เพื่อให้สำนักงานอัยการดำเนินการต่อไป แต่ก็ปรากฎว่า มีการถ่วงเวลาการพิจารณามาโดยตลอด จนมีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค.50 และการจัดตั้งรัฐบาลนอมินี ภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช และหนึ่งในเรื่องแรกๆ ที่เป็น "ผลงาน" ของรัฐบาลนี้ก็คือ การย้ายอธิบดี สุนัย ออกจากตำแหน่ง แล้วแต่งตั้งพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง มาเป็นอธิบดี ดีเอสไอ แทน สำหรับผมเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ผมแปลกใจ เพราะตระหนักว่า ต้องมีความพยายามทุกวิถีทางที่จะสกัดไม่ให้คดีเอสซี แอสเสท เข้าถึงชั้นศาล สุดท้ายผมได้มีโอกาสพบกับคุณ ชัยเกษม นิติสิริ ในคณะกรรมาธิการงบประมาณ 2552 และได้เรียนกับคุณชัยเกษม ว่า สำนักงานอัยการต้องเร่งพิจารณาเรื่องนี้ "
นายกรณ์ กล่าวว่า ได้เรียนนายชัยเกษม ด้วยว่า ประวัติของสำนักอัยการสูงสุดในเรื่องของคดีฟ้องร้อง พ.ต.ท.ทักษิณนั้น สร้างความเคลือบแคลงใจให้กับสังคม เพราะ อสส. ปฎิเสธ ยื่นฟ้องตามคำร้องของคตส. หลายคดี เช่น คดีกล้ายาง หวยบนดิน และคดีเอ็กซิมแบงก์ เป็นต้น ซึ่งในทุกกรณี คตส.ได้ใช้อำนาจการฟ้องต่อศาลโดยตรง และในทุกกรณี ศาลได้ประทับรับฟ้อง ทั้งๆ ที่อสส. ได้อ้างก่อนหน้านี้ว่า สำนวนของคตส. ยังไม่มีความสมบูรณ์
"ผมได้เรียนกับคุณชัยเกษม ว่า ผมมีความเป็นห่วงคดีเอสซี แอสเสทเป็นพิเศษ เพราะดีเอสไอ ไม่มีอำนาจฟ้องศาลโดยตรง ซึ่งต่างกับ คตส. และถึงมี ผมก็ไม่แน่ใจว่าดีเอสไอ จะใช้อำนาจนั้นหรือไม่ หลังจากที่รัฐบาลนอมินี ของคุณทักษิณ ได้ครอบงำดีเอสไอ กลับคืนไปเรียบร้อยแล้ว และแล้วทุกอย่างก็เป็นไปตามที่ผมคาด และคำแถลงการณ์เหตุผลของอัยการในการไม่ยื่นฟ้องนั้น ล้วนเป็นการอ้างหลักการทางกฎหมายที่คลาดเคลื่อน และไม่ตรงต่อคำร้องเดิมของดีเอสไอ สมัยคุณสุนัย ที่ได้ยื่นฟ้องเอาไว้ ความผิดหลักต่อ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ที่ทางดีเอสไอ โดยคุณสุนัย ได้ตั้งไว้คือ การเปิดเผยข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของเอสซีแอสเสทว่า กลุ่มตระกูลชินวัตร ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 76 และ 61 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายไว้แล้วทั้งหมดของบริษัทก่อน และหลังการขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และสัดส่วน 61% นี้ ให้อำนาจครอบครัวชินวัตรทั้งหมด "ยกเว้นเรื่องที่กฎหมาย หรือข้อบังคับบริษัทกำหนดให้ต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น" โดยการเปิดเผยครั้งนี้ มิได้นำหุ้นที่ถือแทนโดย กองทุน OGF และ ODF มานับรวมกับการถือหุ้นของครอบครัว ซึ่งหากนับรวมแล้ว จะทำให้ครอบครัวชินวัตร ถือหุ้นรวมทั้งหมด ร้อยละ 79.87 คือ เกิน 3 ใน 4 ของหุ้นทั้งหมด จึงเป็นการจงใจปกปิดข้อมูลซึ่งดีเอสไอ และกลต. ได้ชี้ความผิดไปแล้วต่ออัยการ ว่า เป็นความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ มาตรา 278 ซึ่งตราไว้ชัดอยู่แล้วว่า
"ผู้ใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามมาตรา 65 ในสาระสำคัญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และมีการปรับด้วย" นอกจากนั้น ความเป็นเจ้าของกองทุนทั้งสอง โดยครอบครัวชินวัตรนั้น ดีเอสไอ และ กลต. ก็ได้ยื่นหลักฐานชัดเจนให้กับสำนักงานอัยการ ซึ่งรวมถึงทั้งพฤติกรรมการโอนหุ้น และเส้นทางเงินที่ใช้ในการชำระหุ้น และหลักฐานการจดทะเบียนจัดตั้งทั้งสองกองทุน โดย พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ดังนั้น การอ้างโดยอัยการว่า ผู้มีอำนาจกระทำการทั้งสองกองทุนนั้น คือผู้จัดการกองทุน ไม่ใช่ผู้ถือหน่วยลงทุน จึงเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น เพราะไม่ว่าใครมีอำนาจกระทำการก็ตาม การปกปิดความเป็นเจ้าของนั้น ก็ถือว่า เป็นการแจ้งเท็จอยู่ดี และยิ่งกว่านั้น อัยการเอง ก็มีหลักฐานในมือว่า มีการใช้อำนาจกระทำการให้ สองกองทุนในหลายกรณี โดยผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้จัดการกองทุน
ส่วนการอ้างประกาศ กจ.28/2546 ว่ามีผลบังคับใช้หลังจากการยื่นข้อมูลโดยผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของเอสซีแอสเสท นั้น ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะอย่างไรก็แล้วแต่ ประกาศย่อมมีน้ำหนักด้อยกว่า บทกฎหมายอยู่แล้ว และ กลต. ก็ทราบดีว่าเรื่องการแจ้งข้อมูลเท็จโดยครอบครัวชินวัตร ไม่ได้จบลงที่การยื่นข้อมูลในปี 46 แต่ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังได้ยืนยัน (เท็จ) อีกครั้งในวันที่ 24 มี.ค.49 ว่าทั้งสองกองทุนไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับครอบครัวชินวัตร
" ผมต้องขอเรียนกับทั้งสามท่านว่า ความจริงก็คือความจริง และผมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และตัวแทนของพี่น้องประชาชนคนไทย จะไม่ยอมให้ท่านทำร้ายประเทศ ด้วยการละเว้นต่อการปฎิบัติหน้าที่โดยความซื่อสัตย์ เพราะมิเช่นนั้น ก็เท่ากับเป็นการปล่อยให้ท่านทำลายสามองค์กร ที่มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ผมอยากจะวิงวอนขอให้ท่านทบทวนบทบาทหน้าที่ของท่าน และทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่เพื่อพยายามปกป้องประโยชน์ของอดีตผู้มีอำนาจ แต่เนื่องจากประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน ทำให้ผมไม่สามารถ ที่จะมีความไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริตของท่านได้อีกต่อไป ผมจึงจะยื่นร้องเรียนต่อสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อฟ้องร้องการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ของสำนักอัยการ และถ้าดีเอสไอ และ ก.ล.ต. ไม่ออกมาหักล้างคำวินิจฉัยของอัยการ ที่สวนทางกับการฟ้องร้องเดิมของท่าน ผมก็จะดำเนินการร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ให้สอบสวนท่านเช่นเดียวกัน
นายกรณ์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า การดำเนินการในคดีดังกล่าว ได้มีการเตรียมการเป็นขั้นตอน จนนำไปสู่การเปลี่ยนอธิบดี ดีเอสไอ และมีการยื้อคดีหลายครั้ง ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ปล่อยให้คดีดังกล่าวหลุดไปได้อย่างง่ายดาย เพราะสังคมยังเคลือบแคลง สงสัยพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเรื่องนี้ตนจึงได้นำไปหารือกับนายถาวร เสนเนียม คณะทำงานด้านกฎหมายของพรรค ประชาธิปัตย์ ในวัน 21 ต.ค.นี้ เพื่อให้คณะทำงานด้านกฎหมายได้พิจารณา และหาช่องทางเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องตามกฏหมาย และเขียนคำร้องเพื่อยื่นเรื่องให้ป.ป.ช. ตรวจสอบต่อไป
ล่าสุดเมื่อวานนี้ (19ก.ย.) นายกรณ์ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.)
เนื้อหาจดหมายเปิดผนึกระบุว่า เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา มีการแถลงข่าว กรณีอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัท เอสซี แอสเสทฯ โดยได้อ้างถึงกระบวนการทำงานว่า เป็นไปตามเกณฑ์เข้าตลาดหลักทรัพย์ตามปกติ มีที่ปรึกษาทางการเงินดูแล อ้างว่าเป็นการปฏิบัติก่อนที่ประกาศ กจ.28/2546 ซึ่งประกาศใช้วันที่ 16 พ.ย.46 ซึ่งบริษัทได้ยื่นแบบ 63-1 และเสนอขายหุ้นเสร็จสิ้นไปตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.46 และยังพยายามอธิบายว่า กองทุน OGF และกองทุน ODF เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ผู้มีอำนาจกระทำการคือ ผู้จัดการกองทุน ไม่ใช่ผู้ถือหน่วยลงทุน
"เรื่องราวทั้งหมดนี้ ยากที่ประชาชนจะเข้าใจ และมีความเห็นได้ แต่ผมขอเรียนว่า ผมเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับคดีนี้เป็นอย่างดี ผมเป็นผู้ที่ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ กลต.ในต้นปี 49 และมีความคุ้นเคยกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ จากประสบการณ์ การทำงานในวงการหลักทรัพย์มาร่วม 20 ปี และในฐานะอดีตกรรมการตลาดหลักทรัพย์ 2 สมัย ความผิดของพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวในคดีนี้มีความชัดเจนในสายตาของผม ผมจึงมั่นใจแต่แรกว่า เส้นทางสู่ความยุติธรรมในเรื่องนี้จะต้องฝ่าด่านอุปสรรคของระบบทักษิณอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน และก็เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่การยุบสภาฯ หนีการอภิปรายเรื่องนี้ในปี 49 รวมถึงการขาดความร่วมมือในการสอบสวนของหน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมายโดยตรงคือ ก.ล.ต. จนกระทั่งเกิดการัฐประหาร จึงได้มีการโอนหน้าที่การสอบสวนจาก ก.ล.ต. ไปที่ดีเอสไอ ภายใต้ อธิบดี สุนัย มโนมัยอุดม
สุดท้ายในวันที่ 19 มิ.ย. 50 ทางดีเอสไอ ได้ออกแถลงการณ์ การชื้มูลความผิดไปที่สำนักงานอัยการ เพื่อให้สำนักงานอัยการดำเนินการต่อไป แต่ก็ปรากฎว่า มีการถ่วงเวลาการพิจารณามาโดยตลอด จนมีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค.50 และการจัดตั้งรัฐบาลนอมินี ภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช และหนึ่งในเรื่องแรกๆ ที่เป็น "ผลงาน" ของรัฐบาลนี้ก็คือ การย้ายอธิบดี สุนัย ออกจากตำแหน่ง แล้วแต่งตั้งพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง มาเป็นอธิบดี ดีเอสไอ แทน สำหรับผมเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ผมแปลกใจ เพราะตระหนักว่า ต้องมีความพยายามทุกวิถีทางที่จะสกัดไม่ให้คดีเอสซี แอสเสท เข้าถึงชั้นศาล สุดท้ายผมได้มีโอกาสพบกับคุณ ชัยเกษม นิติสิริ ในคณะกรรมาธิการงบประมาณ 2552 และได้เรียนกับคุณชัยเกษม ว่า สำนักงานอัยการต้องเร่งพิจารณาเรื่องนี้ "
นายกรณ์ กล่าวว่า ได้เรียนนายชัยเกษม ด้วยว่า ประวัติของสำนักอัยการสูงสุดในเรื่องของคดีฟ้องร้อง พ.ต.ท.ทักษิณนั้น สร้างความเคลือบแคลงใจให้กับสังคม เพราะ อสส. ปฎิเสธ ยื่นฟ้องตามคำร้องของคตส. หลายคดี เช่น คดีกล้ายาง หวยบนดิน และคดีเอ็กซิมแบงก์ เป็นต้น ซึ่งในทุกกรณี คตส.ได้ใช้อำนาจการฟ้องต่อศาลโดยตรง และในทุกกรณี ศาลได้ประทับรับฟ้อง ทั้งๆ ที่อสส. ได้อ้างก่อนหน้านี้ว่า สำนวนของคตส. ยังไม่มีความสมบูรณ์
"ผมได้เรียนกับคุณชัยเกษม ว่า ผมมีความเป็นห่วงคดีเอสซี แอสเสทเป็นพิเศษ เพราะดีเอสไอ ไม่มีอำนาจฟ้องศาลโดยตรง ซึ่งต่างกับ คตส. และถึงมี ผมก็ไม่แน่ใจว่าดีเอสไอ จะใช้อำนาจนั้นหรือไม่ หลังจากที่รัฐบาลนอมินี ของคุณทักษิณ ได้ครอบงำดีเอสไอ กลับคืนไปเรียบร้อยแล้ว และแล้วทุกอย่างก็เป็นไปตามที่ผมคาด และคำแถลงการณ์เหตุผลของอัยการในการไม่ยื่นฟ้องนั้น ล้วนเป็นการอ้างหลักการทางกฎหมายที่คลาดเคลื่อน และไม่ตรงต่อคำร้องเดิมของดีเอสไอ สมัยคุณสุนัย ที่ได้ยื่นฟ้องเอาไว้ ความผิดหลักต่อ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ที่ทางดีเอสไอ โดยคุณสุนัย ได้ตั้งไว้คือ การเปิดเผยข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของเอสซีแอสเสทว่า กลุ่มตระกูลชินวัตร ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 76 และ 61 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายไว้แล้วทั้งหมดของบริษัทก่อน และหลังการขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และสัดส่วน 61% นี้ ให้อำนาจครอบครัวชินวัตรทั้งหมด "ยกเว้นเรื่องที่กฎหมาย หรือข้อบังคับบริษัทกำหนดให้ต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น" โดยการเปิดเผยครั้งนี้ มิได้นำหุ้นที่ถือแทนโดย กองทุน OGF และ ODF มานับรวมกับการถือหุ้นของครอบครัว ซึ่งหากนับรวมแล้ว จะทำให้ครอบครัวชินวัตร ถือหุ้นรวมทั้งหมด ร้อยละ 79.87 คือ เกิน 3 ใน 4 ของหุ้นทั้งหมด จึงเป็นการจงใจปกปิดข้อมูลซึ่งดีเอสไอ และกลต. ได้ชี้ความผิดไปแล้วต่ออัยการ ว่า เป็นความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ มาตรา 278 ซึ่งตราไว้ชัดอยู่แล้วว่า
"ผู้ใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามมาตรา 65 ในสาระสำคัญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และมีการปรับด้วย" นอกจากนั้น ความเป็นเจ้าของกองทุนทั้งสอง โดยครอบครัวชินวัตรนั้น ดีเอสไอ และ กลต. ก็ได้ยื่นหลักฐานชัดเจนให้กับสำนักงานอัยการ ซึ่งรวมถึงทั้งพฤติกรรมการโอนหุ้น และเส้นทางเงินที่ใช้ในการชำระหุ้น และหลักฐานการจดทะเบียนจัดตั้งทั้งสองกองทุน โดย พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ดังนั้น การอ้างโดยอัยการว่า ผู้มีอำนาจกระทำการทั้งสองกองทุนนั้น คือผู้จัดการกองทุน ไม่ใช่ผู้ถือหน่วยลงทุน จึงเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น เพราะไม่ว่าใครมีอำนาจกระทำการก็ตาม การปกปิดความเป็นเจ้าของนั้น ก็ถือว่า เป็นการแจ้งเท็จอยู่ดี และยิ่งกว่านั้น อัยการเอง ก็มีหลักฐานในมือว่า มีการใช้อำนาจกระทำการให้ สองกองทุนในหลายกรณี โดยผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้จัดการกองทุน
ส่วนการอ้างประกาศ กจ.28/2546 ว่ามีผลบังคับใช้หลังจากการยื่นข้อมูลโดยผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของเอสซีแอสเสท นั้น ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะอย่างไรก็แล้วแต่ ประกาศย่อมมีน้ำหนักด้อยกว่า บทกฎหมายอยู่แล้ว และ กลต. ก็ทราบดีว่าเรื่องการแจ้งข้อมูลเท็จโดยครอบครัวชินวัตร ไม่ได้จบลงที่การยื่นข้อมูลในปี 46 แต่ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังได้ยืนยัน (เท็จ) อีกครั้งในวันที่ 24 มี.ค.49 ว่าทั้งสองกองทุนไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับครอบครัวชินวัตร
" ผมต้องขอเรียนกับทั้งสามท่านว่า ความจริงก็คือความจริง และผมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และตัวแทนของพี่น้องประชาชนคนไทย จะไม่ยอมให้ท่านทำร้ายประเทศ ด้วยการละเว้นต่อการปฎิบัติหน้าที่โดยความซื่อสัตย์ เพราะมิเช่นนั้น ก็เท่ากับเป็นการปล่อยให้ท่านทำลายสามองค์กร ที่มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ผมอยากจะวิงวอนขอให้ท่านทบทวนบทบาทหน้าที่ของท่าน และทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่เพื่อพยายามปกป้องประโยชน์ของอดีตผู้มีอำนาจ แต่เนื่องจากประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน ทำให้ผมไม่สามารถ ที่จะมีความไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริตของท่านได้อีกต่อไป ผมจึงจะยื่นร้องเรียนต่อสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อฟ้องร้องการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ของสำนักอัยการ และถ้าดีเอสไอ และ ก.ล.ต. ไม่ออกมาหักล้างคำวินิจฉัยของอัยการ ที่สวนทางกับการฟ้องร้องเดิมของท่าน ผมก็จะดำเนินการร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ให้สอบสวนท่านเช่นเดียวกัน
นายกรณ์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า การดำเนินการในคดีดังกล่าว ได้มีการเตรียมการเป็นขั้นตอน จนนำไปสู่การเปลี่ยนอธิบดี ดีเอสไอ และมีการยื้อคดีหลายครั้ง ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ปล่อยให้คดีดังกล่าวหลุดไปได้อย่างง่ายดาย เพราะสังคมยังเคลือบแคลง สงสัยพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเรื่องนี้ตนจึงได้นำไปหารือกับนายถาวร เสนเนียม คณะทำงานด้านกฎหมายของพรรค ประชาธิปัตย์ ในวัน 21 ต.ค.นี้ เพื่อให้คณะทำงานด้านกฎหมายได้พิจารณา และหาช่องทางเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องตามกฏหมาย และเขียนคำร้องเพื่อยื่นเรื่องให้ป.ป.ช. ตรวจสอบต่อไป