ศาลฎีกานักการเมือง สั่งออกหมายจับ “ ทักษิณ ” ใบที่ 6 คดีทุจริตแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ – ดาวเทียมเป็นภาษีสรรพสามิต พร้อมมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราวจนกว่าจะได้ตัวดำเนินคดี ส่วนวันนี้ 16 ต.ค. สิบโมงเช้า ศาลนัดฟังคำสั่งอีกคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน ด้าน อัยการสั่งไม่ฟ้อง"ทักษิณและพวก"คดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น เอสซี แอสเสท อ้างการกระทำไม่เข้าข่ายความผิด
วานนี้(15 ต.ค.)เวลา 10.00 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา พร้อมองค์คณะผู้พิพากษารวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์ นัดพิจารณาครั้งแรกคดี หมายเลขดำที่ อม.9/2551 ที่นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐาน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว , เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย
เพื่อประโยชน์สำหรับตัวเอง หรือผู้อื่น , เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,152,157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 ,100 ,122 กรณีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ - ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท
โดยจำเลย และทนายจำเลยไม่ได้เดินทางมาศาล มีเพียงอัยการโจทก์เท่านั้น ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยทราบหมายโดยชอบแล้วไม่มาศาล เชื่อว่ามีพฤติการณ์มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะหลบหนี จึงให้ออกหมายจับจำเลยมา แต่ยังไม่ทราบว่าจะได้ตัวจำเลยมาพิจารณาคดีเมื่อใด จึง ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ตัวจำเลยมา ศาลจึงจะยกคดีมาพิจารณาคดีอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น จนถึงขณะนี้ศาลฎีกา ฯ ได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับแล้วรวม 4 คดี ในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกมูลค่า 772 ล้านบาทเศษ จำนวน 3 ใบ ใบแรกเพื่อติดตามตัวมานัดพิจารณาคดีครั้งแรก แต่เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมารับทราบข้อกล่าวหาและให้การต่อศาลแล้ว หมายจับจึงถูกเพิกถอนไป หมายจับใบที่ 2 เพื่อจับกุมตัว พ.ต.ท.ทักษิณให้มารายงานหลังทำผิดเงื่อนไขการเดินทางออกนอกประเทศ และหมายจับใบที่ 3 เพื่อจับกุมตัวมาฟังคำพิพากษาในวันที่ 21 ต.ค. นี้ ซึ่งในแต่ละคดีจะต้องยึดหมายจับใบสุดท้าย ทำให้หมายจับใบที่ 2 ถูกเพิกถอนไป
นอกจากนี้ศาลฎีกาฯ ยังได้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมอีก 3 ใบ คือในคดีนี้ คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงค์) ให้กับรัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาท และคดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว ( หวยบนดิน )โดยในวันที่ 16 ต.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ศาลฎีกา ฯ ยังได้นัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องหรือไม่ฟ้อง คดีที่อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดินด้วย
"ธนา"ยื้อสอบสินบนศาล
พ.ต.ท.สุเมธ จิตต์พานิชย์ รอง ผกก.สน.ชนะสงคราม เปิดเผยถึงการสอบสวนคดีสินบน 2 ล้านบาท ที่ 3 ทนายถูกศาลฎีกาลงโทษจำคุกคนละ 6 เดือน เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย นายพิชิฏ
ชื่นบาน อดีตทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ อดีตเสมียนทนายความ และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานคดี ญาติสนิทคุณหญิงพจมาน ข้อหาสินบนเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 และความผิดอื่นต่อเจ้าพนักงานนั้นว่า พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำผู้ต้องหาไปแล้ว 2 ปาก คือ นายพิชิฏ ชื่นบาน กับน.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ ส่วนนายธนา ตันศิริ ยังไม่ได้เข้าสอบปากคำ เนื่องจากทนายฝ่ายผู้ต้องหาแจ้งว่าตัวทนายติดภารกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งการเข้าสอบปากคำผู้ต้องหาฝ่ายทนายต้องร่วมรับฟังด้วย
อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนจะเร่งรัดดำเนินการให้เรียบร้อยโดยเร็ว คาดว่าประมาณปลายเดือน ต.ค.ยังจะสรุปสำนวนคดีนี้ส่งให้คณะกรรมการระดับ บช.น.พิจารณาได้
“เราได้สอบปากคำนายพิชิฏ กับ น.ส.ศุภศรีแล้ว ผู้ต้องหาทั้งสองให้ความร่วมมือให้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ด้วยดี ซึ่งการสอบก็ทำเหมือนศาลไต่สวน ส่วนนายธนาต้องรอให้ทนายกลับจากต่างประเทศก่อนถึงจะเริ่มสอบได้ ก็กำลังเร่งรัดอยู่”พ.ต.ท.สุเมธ กล่าว
อัยการสั่งไม่ฟ้องเอสซี แอสเสท
วันเดียวกัน เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยนายเศกสรร บาง
สมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายอัยการพิเศษ ร่วมกันแถลงข่าวกรณีอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มี นางเพ็ญโสม ดามาพงศ์
กรรมการบริษัท, นางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นผู้ต้องหาที่ 1-4
นายธนพิชญ์ กล่าวว่า ที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากพิจารณาหลักฐานที่ดีเอสไอ ส่งสำเนาเข้ามาแล้ว เห็นว่าการกระทำของผู้ต้องหาไม่เข้าข่ายการกระทำผิดของข้อกล่าวหา ร่วมกันแสดงข้อความอัน
เป็นการปกปิด ข้อมูลในการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวน และข้อหา เป็นบุคคลที่จำหน่ายทรัพย์สินในลักษณะที่ทำให้ตน หรือบุคคลอื่นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการนั้นลดลง ร่วมกันไม่รายงานถึงจำนวนทรัพย์สิน ของการจำหน่ายหลักทรัพย์ต่อ กลต. ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้จะส่งให้ดีเอสไอและอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณา หากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษมีความเห็นแย้ง จะต้องส่งให้อัยการสูงสุดชี้ขาดอีกครั้ง
นายธนพิฎฐ์ กล่าวอีกว่า คดีนี้พนักงานสอบดีเอสไอ มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เท่านั้น ส่วนความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการซุกหุ้น ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐ-ธรรมนูญ การป้องกันและปราบปรามปี 2542 และ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นรมต.ปี 2543 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษแยกดำเนินการต่างหาก ในชั้นนี้จึงไม่ได้วินิจฉัย
พ.ต.อ.ณรัตช์ เศวตนันท์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในฐานะโฆษกดีเอสไอ กล่าวว่า การดำเนินการของดีเอสไอในคดีดังกล่าวมี 2 แนวทาง ถ้าอธิบดีดีเอสไอ พิจารณาแล้วเห็นว่าควรทำ
ความเห็นแย้งสั่งฟ้องคดีดังกล่าว ก็ทำความเห็นให้อัยการสูงสุดชี้ขาด หรือหากอธิบดีดีเอสไอ พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ทำความเห็นแย้ง ก็จบ ส่วนขั้นตอนการดำเนินการขณะนี้ดีเอสไอได้รับเอกสารสำเนาความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าวกลับมาศึกษาว่า การสั่งไม่ฟ้องมีเหตุผลมากน้อยเพียงใด ร่วมกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าของคดี เพื่อทำความเห็นเสนออธิบดีดีเอสไอ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ พ.ร.บ.สอบสวนคดีพิเศษ ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือนในการดำเนินการดังกล่าว
วานนี้(15 ต.ค.)เวลา 10.00 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา พร้อมองค์คณะผู้พิพากษารวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์ นัดพิจารณาครั้งแรกคดี หมายเลขดำที่ อม.9/2551 ที่นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐาน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว , เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย
เพื่อประโยชน์สำหรับตัวเอง หรือผู้อื่น , เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,152,157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 ,100 ,122 กรณีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ - ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท
โดยจำเลย และทนายจำเลยไม่ได้เดินทางมาศาล มีเพียงอัยการโจทก์เท่านั้น ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยทราบหมายโดยชอบแล้วไม่มาศาล เชื่อว่ามีพฤติการณ์มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะหลบหนี จึงให้ออกหมายจับจำเลยมา แต่ยังไม่ทราบว่าจะได้ตัวจำเลยมาพิจารณาคดีเมื่อใด จึง ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ตัวจำเลยมา ศาลจึงจะยกคดีมาพิจารณาคดีอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น จนถึงขณะนี้ศาลฎีกา ฯ ได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับแล้วรวม 4 คดี ในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกมูลค่า 772 ล้านบาทเศษ จำนวน 3 ใบ ใบแรกเพื่อติดตามตัวมานัดพิจารณาคดีครั้งแรก แต่เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมารับทราบข้อกล่าวหาและให้การต่อศาลแล้ว หมายจับจึงถูกเพิกถอนไป หมายจับใบที่ 2 เพื่อจับกุมตัว พ.ต.ท.ทักษิณให้มารายงานหลังทำผิดเงื่อนไขการเดินทางออกนอกประเทศ และหมายจับใบที่ 3 เพื่อจับกุมตัวมาฟังคำพิพากษาในวันที่ 21 ต.ค. นี้ ซึ่งในแต่ละคดีจะต้องยึดหมายจับใบสุดท้าย ทำให้หมายจับใบที่ 2 ถูกเพิกถอนไป
นอกจากนี้ศาลฎีกาฯ ยังได้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมอีก 3 ใบ คือในคดีนี้ คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงค์) ให้กับรัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาท และคดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว ( หวยบนดิน )โดยในวันที่ 16 ต.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ศาลฎีกา ฯ ยังได้นัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องหรือไม่ฟ้อง คดีที่อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดินด้วย
"ธนา"ยื้อสอบสินบนศาล
พ.ต.ท.สุเมธ จิตต์พานิชย์ รอง ผกก.สน.ชนะสงคราม เปิดเผยถึงการสอบสวนคดีสินบน 2 ล้านบาท ที่ 3 ทนายถูกศาลฎีกาลงโทษจำคุกคนละ 6 เดือน เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย นายพิชิฏ
ชื่นบาน อดีตทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ อดีตเสมียนทนายความ และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานคดี ญาติสนิทคุณหญิงพจมาน ข้อหาสินบนเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 และความผิดอื่นต่อเจ้าพนักงานนั้นว่า พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำผู้ต้องหาไปแล้ว 2 ปาก คือ นายพิชิฏ ชื่นบาน กับน.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ ส่วนนายธนา ตันศิริ ยังไม่ได้เข้าสอบปากคำ เนื่องจากทนายฝ่ายผู้ต้องหาแจ้งว่าตัวทนายติดภารกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งการเข้าสอบปากคำผู้ต้องหาฝ่ายทนายต้องร่วมรับฟังด้วย
อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนจะเร่งรัดดำเนินการให้เรียบร้อยโดยเร็ว คาดว่าประมาณปลายเดือน ต.ค.ยังจะสรุปสำนวนคดีนี้ส่งให้คณะกรรมการระดับ บช.น.พิจารณาได้
“เราได้สอบปากคำนายพิชิฏ กับ น.ส.ศุภศรีแล้ว ผู้ต้องหาทั้งสองให้ความร่วมมือให้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ด้วยดี ซึ่งการสอบก็ทำเหมือนศาลไต่สวน ส่วนนายธนาต้องรอให้ทนายกลับจากต่างประเทศก่อนถึงจะเริ่มสอบได้ ก็กำลังเร่งรัดอยู่”พ.ต.ท.สุเมธ กล่าว
อัยการสั่งไม่ฟ้องเอสซี แอสเสท
วันเดียวกัน เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยนายเศกสรร บาง
สมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายอัยการพิเศษ ร่วมกันแถลงข่าวกรณีอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มี นางเพ็ญโสม ดามาพงศ์
กรรมการบริษัท, นางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นผู้ต้องหาที่ 1-4
นายธนพิชญ์ กล่าวว่า ที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากพิจารณาหลักฐานที่ดีเอสไอ ส่งสำเนาเข้ามาแล้ว เห็นว่าการกระทำของผู้ต้องหาไม่เข้าข่ายการกระทำผิดของข้อกล่าวหา ร่วมกันแสดงข้อความอัน
เป็นการปกปิด ข้อมูลในการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวน และข้อหา เป็นบุคคลที่จำหน่ายทรัพย์สินในลักษณะที่ทำให้ตน หรือบุคคลอื่นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการนั้นลดลง ร่วมกันไม่รายงานถึงจำนวนทรัพย์สิน ของการจำหน่ายหลักทรัพย์ต่อ กลต. ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้จะส่งให้ดีเอสไอและอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณา หากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษมีความเห็นแย้ง จะต้องส่งให้อัยการสูงสุดชี้ขาดอีกครั้ง
นายธนพิฎฐ์ กล่าวอีกว่า คดีนี้พนักงานสอบดีเอสไอ มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เท่านั้น ส่วนความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการซุกหุ้น ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐ-ธรรมนูญ การป้องกันและปราบปรามปี 2542 และ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นรมต.ปี 2543 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษแยกดำเนินการต่างหาก ในชั้นนี้จึงไม่ได้วินิจฉัย
พ.ต.อ.ณรัตช์ เศวตนันท์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในฐานะโฆษกดีเอสไอ กล่าวว่า การดำเนินการของดีเอสไอในคดีดังกล่าวมี 2 แนวทาง ถ้าอธิบดีดีเอสไอ พิจารณาแล้วเห็นว่าควรทำ
ความเห็นแย้งสั่งฟ้องคดีดังกล่าว ก็ทำความเห็นให้อัยการสูงสุดชี้ขาด หรือหากอธิบดีดีเอสไอ พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ทำความเห็นแย้ง ก็จบ ส่วนขั้นตอนการดำเนินการขณะนี้ดีเอสไอได้รับเอกสารสำเนาความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าวกลับมาศึกษาว่า การสั่งไม่ฟ้องมีเหตุผลมากน้อยเพียงใด ร่วมกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าของคดี เพื่อทำความเห็นเสนออธิบดีดีเอสไอ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ พ.ร.บ.สอบสวนคดีพิเศษ ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือนในการดำเนินการดังกล่าว