ASTV ผู้จัดการรายวัน - สำรวจความมั่นคงของเก้าอี้ข้าราชการประจำยุคอำนาจเปลี่ยน เจ้ากรมดีเอสไอ “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” มีสิทธิ์เก้าอี้หักรายแรก จากผลงานคดีพิเศษที่ฝากไว้ในรอบเกือบปีที่ผ่านมา
ย้อนหลังไปเมื่อ 25 ก.พ.2551 ข้อผิดพลาดอันมหันต์ของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช นอมินี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือ การที่นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม(ขณะนั้น) เห็นชอบในคำสั่งโยกย้าย นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไปช่วยราชการในตำแหน่งรักษาการเลขาธิการสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ปปท.) ซึ่งเป็นหน่วยงาน ที่เตรียมจะจัดตั้งขึ้นใหม่ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม แล้วก็มีคำสั่งให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) มาช่วยราชการในตำแหน่งรักษาการอธิบดีดีเอสไอ
หากเป็นกรณีอื่นๆ การสั่งย้ายข้าราชการประจำโดยข้าราชการการเมืองดูจะเป็นเรื่องสามัญธรรมดา แต่เรื่องนี้ถูกมองว่าการเปลี่ยนตัวจากนายสุนัย มาเป็น พ.ต.อ.ทวี มีเหตุผลเดียวก็คือ การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และ พวกพ้องมีคดีสำคัญๆค้างคาอยู่ในดีเอสไอหลายคดี หนึ่งในนั้น คือ “คดีซุกหุ้น” ภาค 2 ที่ว่ากันก่อนหน้านี้ว่าคือจุดตายของระบอบทักษิณ
เมื่อฟ้าเปลี่ยนสี การเมืองเปลี่ยนขั้วอำนาจมาเป็นพรรคประชาธิปัตย์กุมทิศทางของประเทศ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จึงน่าจะเป็นคนแรกและกรมแรกของกระทรวงตราชั่งที่เก้าอี้สั่นคลอนที่สุด
“ทีมข่าวอาชญากรรม ASTV ผู้จัดการรายวัน” ขอฉายสปอตไลต์กลับไปดูผลงานของ พ.ต.อ.ทวี ที่ได้ทำไว้ที่ดีเอสไอ และถอดปมคดีดัง คดีไหนบ้างที่จะเป็นตัวเร่งให้ พ.ต.อ.ทวี มีอันต้องระเห็จออกจากดีเอสไอ
เริ่มจาก คดีจัดซื้อเรือและรถดับเพลิงของ กทม.ซึ่งข้อตกลงสัญญาซื้อขายทำกันในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าฯกทม. และผู้รับผิดชอบสำนวนคดีคือ “พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย” ซึ่งเป็น ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษในขณะนั้น ได้เชิญ“นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน”เข้าให้ปากคำและรับทราบข้อกล่าวหาความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งในครั้งนั้น นายอภิรักษ์ ให้ปากคำถึงเรื่องดังกล่าวว่าได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาตรวจสอบรายละเอียดการจัดซื้อ อีกทั้งยังนำเรื่องหารือกับพรรค ปชป.
แต่หลังจากนั้น นายอภิรักษ์ให้ความเห็นว่าไม่มีอำนาจในการดำเนินการ และเป็นอำนาจของ“นายโภคิน พลกุล” อดีตรมว.มหาดไทย และเปิดเผยว่าจำเป็นต้องเร่งรัดให้เปิดแอลซี และแก้ไขแอลซีแก่บริษัท สไตเออร์ ทำให้ข้อตกลงสมัยนายสมัคร มีผลผูกพัน และเมื่อดีเอสไอ สรุปสำนวนว่านายอภิรักษ์ มีมูลความผิดส่งให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และป.ป.ช.เองก็ชี้มูลความผิดกับนายอภิรักษ์ ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียงโดยให้เหตุผลว่านายอภิรักษ์ทราบข้อเท็จจริงว่ามีข้อบกพร่อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่กลับอ้างว่า ไม่มีอำนาจในการดำเนินการ
สอง คดีการขายสินทรัพย์โดยมิชอบของ กองทุนปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) ก็เป็นอีกคดีหนึ่งที่เรื่องเกิดขึ้นในสมัยที่“นายชวน หลีกภัย” เป็นนายกรัฐมนตรี ปชป.เป็นรัฐบาล ซึ่งคดีนี้ดีเอสไอ สรุปสำนวนส่งฟ้อง “นายอมเรศ ศิลาอ่อน” อดีตประธานคณะกรรมการ ปรส., นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส.กับพวกรวม 7 ราย ในความผิดฐานร่วมกันละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือให้บริษัท เลแมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิงค์ ชนะการประมูลโดยไม่ต้องทำสัญญาประมูลสินเชื่อ จากนั้น ปรส.กลับไปทำสัญญาให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้เข้าประมูลตามกฎหมาย แต่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ได้รับการยกเว้นภาษี โดยกองทุนดังกล่าวเป็นของบริษัท เลแมนบราเดอร์ฯ ซึ่งเท่ากับว่าการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อช่วยเหลือให้บริษัท เลแมนบราเดอร์ฯ ไม่ต้องมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
นอกจากนี้ ดีเอสไอยังส่งสำนวนชี้มูลความผิด “นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายมนตรี เจนวิทย์การ รักษาการเลขาธิการ ปรส.ขณะนั้น รวมถึงคณะกรรมการ ปรส.ให้กับ ปปช.แม้คดีนี้บริษัท เลแมน บราเดอร์ฯ ซึ่งเป็น 1 ในบริษัทที่ดีเอสไอ ส่งฟ้องฐานสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จะล้มละลายไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่กี่วันมานี้ดีเอสไอ ยังจัดประชุมลูกหนี้ของคดีนี้อยู่ ขึ้นอยู่กับว่า ปปช.จะชี้มูลและดำเนินการอย่างไรต่อไป
ส่วนคดีที่คนจากขั้วอำนาจเก่าโดยเฉพาะ“นายใหญ่ และนายหญิง”มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างคดีการปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสแสท จำกัด (มหาชน)นั้นเห็นได้ชัดเจนว่าการทำสำนวนคดีนี้เป็นไปด้วยความรวดเร็วแม้การทำสำนวนจะอยู่ในช่วงที่ พ.ต.อ.ทวี เป็นรองอธิบดีดีเอสไอ ซึ่งในครั้งนั้นดีเอสไอ มีความเห็นสั่งฟ้องทั้งนายใหญ่และนายหญิงพร้อมเครือญาติ แต่เมื่อสำนวนถึงมืออัยการ ก็มีการให้สั่งให้ดีเอสไอ กลับมาสอบปากคำพยานเพิ่มถึง 6 ปากและขอเอกสารจากต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในส่วนของเอกสารดีเอสไอ ยอมรับว่าล่าช้าเพราะต้องขอให้สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นตัวประสานขอ แต่ในที่สุดคดีนี้อัยการก็สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดด้วยเหตุผลผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์แสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดสาระสำคัญการถือครองซื้อขายหุ้น และไม่มีภาระหน้าที่ที่จะต้องรายงานการซื้อขายหุ้นต่อ ก.ล.ต.เพราะมอบหมายให้กองทุนทำหน้าที่ให้ ซึ่งเมื่ออัยการมีความเห็นไม่ฟ้อง ดีเอสไอ สามารถมีความเห็นแย้งได้ แต่กลับเป็นว่าดีเอสไอ เองก็มีความเห็นพ้องไปกับอัยการโดยไม่ได้บอกกถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงความเห็นที่ชัดเจน
นอกจากนี้ ยังมีกรณีเงินสินบนอุโมงระบายน้ำของ กทม.ซึ่งสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งของญี่ปุ่นออกข่าวจ่ายสินบนให้“นายสมัคร สุนทรเวช” สมัยเป็นผู้ว่าฯ กทม.ในโครงการก่อสร้างอุโมงท่อระบายน้ำ แต่คดีนี้ดูจะเงียบไปเพราะเป็นคดีที่ดีเอสไอ เพียงแค่ตั้งคณะทำงานขึ้นมาติดตามแต่ไม่ได้เป็นการสืบสวนสอบสวน ที่แม้จะเป็นคดีฮั้วประมูลแต่คดีเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. การสอบสวนคดีพิเศษมีผลบังคับใช้ แต่จนถึงทุกวันนี้เรื่องก็เงียบหายไปพร้อมกับการหลุดพ้นตำแหน่งนายกฯของนายสมัคร
อีกคดีที่ดูเหมือเป็นคดีทั่วไปไม่น่าจะมีอะไร คือคดี“การจ่ายเงินแปะเจี๊ยะ”ตามโรงเรียนต่างๆ เพราะก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่ามีการจ่ายเงินแป๊ะเจี๊ยะหรือเงินสนับสนุนให้กับทางโรงเรียนเกือบทุกโรงเรียนอยู่แล้วแต่การจงใจเจาะจงไปที่โรงเรียนโยธินบูรณะ อาจเป็นการตีกระทบชิ่ง“คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณอยุธยา” เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งหากจะดูในเบื้องลึกแล้ว ผอ.โรงเรียนโยธินบูรณะคนก่อนที่กำลังถูกร้องเรียนให้ตรวจสอบอยู่ในขณะนี้มีความใกล้ชิดกับคุณหญิงกษมานั้นเอง
ย้อนหลังไปเมื่อ 25 ก.พ.2551 ข้อผิดพลาดอันมหันต์ของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช นอมินี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือ การที่นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม(ขณะนั้น) เห็นชอบในคำสั่งโยกย้าย นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไปช่วยราชการในตำแหน่งรักษาการเลขาธิการสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ปปท.) ซึ่งเป็นหน่วยงาน ที่เตรียมจะจัดตั้งขึ้นใหม่ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม แล้วก็มีคำสั่งให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) มาช่วยราชการในตำแหน่งรักษาการอธิบดีดีเอสไอ
หากเป็นกรณีอื่นๆ การสั่งย้ายข้าราชการประจำโดยข้าราชการการเมืองดูจะเป็นเรื่องสามัญธรรมดา แต่เรื่องนี้ถูกมองว่าการเปลี่ยนตัวจากนายสุนัย มาเป็น พ.ต.อ.ทวี มีเหตุผลเดียวก็คือ การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และ พวกพ้องมีคดีสำคัญๆค้างคาอยู่ในดีเอสไอหลายคดี หนึ่งในนั้น คือ “คดีซุกหุ้น” ภาค 2 ที่ว่ากันก่อนหน้านี้ว่าคือจุดตายของระบอบทักษิณ
เมื่อฟ้าเปลี่ยนสี การเมืองเปลี่ยนขั้วอำนาจมาเป็นพรรคประชาธิปัตย์กุมทิศทางของประเทศ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จึงน่าจะเป็นคนแรกและกรมแรกของกระทรวงตราชั่งที่เก้าอี้สั่นคลอนที่สุด
“ทีมข่าวอาชญากรรม ASTV ผู้จัดการรายวัน” ขอฉายสปอตไลต์กลับไปดูผลงานของ พ.ต.อ.ทวี ที่ได้ทำไว้ที่ดีเอสไอ และถอดปมคดีดัง คดีไหนบ้างที่จะเป็นตัวเร่งให้ พ.ต.อ.ทวี มีอันต้องระเห็จออกจากดีเอสไอ
เริ่มจาก คดีจัดซื้อเรือและรถดับเพลิงของ กทม.ซึ่งข้อตกลงสัญญาซื้อขายทำกันในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าฯกทม. และผู้รับผิดชอบสำนวนคดีคือ “พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย” ซึ่งเป็น ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษในขณะนั้น ได้เชิญ“นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน”เข้าให้ปากคำและรับทราบข้อกล่าวหาความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งในครั้งนั้น นายอภิรักษ์ ให้ปากคำถึงเรื่องดังกล่าวว่าได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาตรวจสอบรายละเอียดการจัดซื้อ อีกทั้งยังนำเรื่องหารือกับพรรค ปชป.
แต่หลังจากนั้น นายอภิรักษ์ให้ความเห็นว่าไม่มีอำนาจในการดำเนินการ และเป็นอำนาจของ“นายโภคิน พลกุล” อดีตรมว.มหาดไทย และเปิดเผยว่าจำเป็นต้องเร่งรัดให้เปิดแอลซี และแก้ไขแอลซีแก่บริษัท สไตเออร์ ทำให้ข้อตกลงสมัยนายสมัคร มีผลผูกพัน และเมื่อดีเอสไอ สรุปสำนวนว่านายอภิรักษ์ มีมูลความผิดส่งให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และป.ป.ช.เองก็ชี้มูลความผิดกับนายอภิรักษ์ ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียงโดยให้เหตุผลว่านายอภิรักษ์ทราบข้อเท็จจริงว่ามีข้อบกพร่อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่กลับอ้างว่า ไม่มีอำนาจในการดำเนินการ
สอง คดีการขายสินทรัพย์โดยมิชอบของ กองทุนปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) ก็เป็นอีกคดีหนึ่งที่เรื่องเกิดขึ้นในสมัยที่“นายชวน หลีกภัย” เป็นนายกรัฐมนตรี ปชป.เป็นรัฐบาล ซึ่งคดีนี้ดีเอสไอ สรุปสำนวนส่งฟ้อง “นายอมเรศ ศิลาอ่อน” อดีตประธานคณะกรรมการ ปรส., นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส.กับพวกรวม 7 ราย ในความผิดฐานร่วมกันละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือให้บริษัท เลแมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิงค์ ชนะการประมูลโดยไม่ต้องทำสัญญาประมูลสินเชื่อ จากนั้น ปรส.กลับไปทำสัญญาให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้เข้าประมูลตามกฎหมาย แต่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ได้รับการยกเว้นภาษี โดยกองทุนดังกล่าวเป็นของบริษัท เลแมนบราเดอร์ฯ ซึ่งเท่ากับว่าการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อช่วยเหลือให้บริษัท เลแมนบราเดอร์ฯ ไม่ต้องมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
นอกจากนี้ ดีเอสไอยังส่งสำนวนชี้มูลความผิด “นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายมนตรี เจนวิทย์การ รักษาการเลขาธิการ ปรส.ขณะนั้น รวมถึงคณะกรรมการ ปรส.ให้กับ ปปช.แม้คดีนี้บริษัท เลแมน บราเดอร์ฯ ซึ่งเป็น 1 ในบริษัทที่ดีเอสไอ ส่งฟ้องฐานสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จะล้มละลายไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่กี่วันมานี้ดีเอสไอ ยังจัดประชุมลูกหนี้ของคดีนี้อยู่ ขึ้นอยู่กับว่า ปปช.จะชี้มูลและดำเนินการอย่างไรต่อไป
ส่วนคดีที่คนจากขั้วอำนาจเก่าโดยเฉพาะ“นายใหญ่ และนายหญิง”มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างคดีการปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสแสท จำกัด (มหาชน)นั้นเห็นได้ชัดเจนว่าการทำสำนวนคดีนี้เป็นไปด้วยความรวดเร็วแม้การทำสำนวนจะอยู่ในช่วงที่ พ.ต.อ.ทวี เป็นรองอธิบดีดีเอสไอ ซึ่งในครั้งนั้นดีเอสไอ มีความเห็นสั่งฟ้องทั้งนายใหญ่และนายหญิงพร้อมเครือญาติ แต่เมื่อสำนวนถึงมืออัยการ ก็มีการให้สั่งให้ดีเอสไอ กลับมาสอบปากคำพยานเพิ่มถึง 6 ปากและขอเอกสารจากต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในส่วนของเอกสารดีเอสไอ ยอมรับว่าล่าช้าเพราะต้องขอให้สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นตัวประสานขอ แต่ในที่สุดคดีนี้อัยการก็สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดด้วยเหตุผลผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์แสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดสาระสำคัญการถือครองซื้อขายหุ้น และไม่มีภาระหน้าที่ที่จะต้องรายงานการซื้อขายหุ้นต่อ ก.ล.ต.เพราะมอบหมายให้กองทุนทำหน้าที่ให้ ซึ่งเมื่ออัยการมีความเห็นไม่ฟ้อง ดีเอสไอ สามารถมีความเห็นแย้งได้ แต่กลับเป็นว่าดีเอสไอ เองก็มีความเห็นพ้องไปกับอัยการโดยไม่ได้บอกกถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงความเห็นที่ชัดเจน
นอกจากนี้ ยังมีกรณีเงินสินบนอุโมงระบายน้ำของ กทม.ซึ่งสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งของญี่ปุ่นออกข่าวจ่ายสินบนให้“นายสมัคร สุนทรเวช” สมัยเป็นผู้ว่าฯ กทม.ในโครงการก่อสร้างอุโมงท่อระบายน้ำ แต่คดีนี้ดูจะเงียบไปเพราะเป็นคดีที่ดีเอสไอ เพียงแค่ตั้งคณะทำงานขึ้นมาติดตามแต่ไม่ได้เป็นการสืบสวนสอบสวน ที่แม้จะเป็นคดีฮั้วประมูลแต่คดีเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. การสอบสวนคดีพิเศษมีผลบังคับใช้ แต่จนถึงทุกวันนี้เรื่องก็เงียบหายไปพร้อมกับการหลุดพ้นตำแหน่งนายกฯของนายสมัคร
อีกคดีที่ดูเหมือเป็นคดีทั่วไปไม่น่าจะมีอะไร คือคดี“การจ่ายเงินแปะเจี๊ยะ”ตามโรงเรียนต่างๆ เพราะก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่ามีการจ่ายเงินแป๊ะเจี๊ยะหรือเงินสนับสนุนให้กับทางโรงเรียนเกือบทุกโรงเรียนอยู่แล้วแต่การจงใจเจาะจงไปที่โรงเรียนโยธินบูรณะ อาจเป็นการตีกระทบชิ่ง“คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณอยุธยา” เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งหากจะดูในเบื้องลึกแล้ว ผอ.โรงเรียนโยธินบูรณะคนก่อนที่กำลังถูกร้องเรียนให้ตรวจสอบอยู่ในขณะนี้มีความใกล้ชิดกับคุณหญิงกษมานั้นเอง