ASTVผู้จัดการรายวัน - รมว.ยุติธรรมขึงขัง อาจนำสำนวนสั่งไม่ฟ้องคดีการปกปิดผู้ถือหุ้นเอสซีแอสเซท มาดูใหม่ หากพบใช้ดุลยพินิจไม่ถูกต้อง ต้องดำเนินการกับผู้สั่งคดี ด้านโฆษกดีเอสไออ้างคดีถึงที่สุดแล้วหลังอธิบดีดีเอสไอไม่มีความเห็นแย้ง
วานนี้ (25 ธ.ค.) นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ซึ่งเดินทางไปทำงานที่กระทรวงยุติธรรมเป็นวันแรก ตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงบทบาทการสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์ เช่นคดี ปรส. โดยนายพีระพันธุ์ กล่าวว่า การทำงานคงไม่แยกแยะว่าคู่กรณีเป็นใคร อยู่ฝ่ายไหน ไม่ว่าเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ถ้าผิดก็ว่าไปตามผิด หากเอาคู่กรณีมาเป็นประเด็นจะทำให้วอกแหวก ส่วนคดีเอสซี แอสเสท คอร์เปอร์ขั่น จำกัด (มหาชน )จะเรียกสำนวนดังกล่าวมาตรวจสอบ ว่ามีการใช้ดุลพินิจถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีการใช้ดุลยพินิจไม่ถูกต้องก็ต้องดำเนินคดีกับผู้สั่งคดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปรับเปลี่ยนผู้บริหารกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ซึ่งเป็นตำรวจทั้ง 4 คน จะดำเนินการหรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ตำรวจไม่ได้หมายความว่า ปฏิบัติงานไม่ได้ ต้องดูการทำงานให้เวลาทุกคนได้พิสูจน์ ผลงาน
เมื่อถามย้ำว่า จะต้องมีการรื้อฟื้นคดีเอสซีเอสเซทฯขึ้นมาใหม่หรือไม่ รมว.ยุติธรรมกล่าวว่า ตอบตอนนี้ไม่ได้ เพราะยังไม่ได้นำมาดู แต่คงต้องเอามาดูทุกคดีว่ามันถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ถ้าถูกต้องตามข้อกฎหมายก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน
**ดีเอสไอหักดิบคดีถึงที่สุดแล้ว**
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษและโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า เดิมคดีเอสซีแอสเซทนั้นดีเอสไอ มีความเห็นสมควรฟ้องให้อัยการ แต่อัยการพิจารณาแล้วมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องพร้อมกับส่งเรื่องให้อธิบดีดีเอสไอ พิจารณาว่ามีความเห็นแย้งกับอัยการหรือไม่ ซึ่งทางอธิบดีดีเอสไอพิจารณาแล้วมีความเห็นเหมือนกับทางอัยการ โดยได้ทำหนังสือแจ้งไปยังอัยการประมาณ 1 เดือนแล้ว ส่งผลให้คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ อาญา)
สำหรับคดีการปกปิดผู้ถือหุ้นเอสซีแอสเซทนั้น เมื่อวันที่ 13 ต.ค. นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ได้แถลงถึงการพิจารณาสำนวนการสอบสวนคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง นางเพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการบริษัทบริษัทเอสซี แอสเสท นางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้ต้องหาที่ 1-4 ฐานกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่ปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัทเอสซี แอสเสท
**อัยการแจงเหตุสั่งไม่ฟ้อง**
การไม่ฟ้องคดีดังกล่าว อัยการได้ทำหนังสือชี้แจงอย่างละเอียด โดยพบ ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนฟังได้ว่า
1.บริษัท เอสซี แอสเสท ฯ ผู้ต้องหาที่ 1 แสดงรายการข้อมูลตามความเป็นจริงและครบถ้วนตามประกาศที่ กจ.44/2543 โดยบริษัทหลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน)ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในยบัญชีรายชื่อ ที่สำนักงาน ก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทำและรับรองความถูกต้องของข้อมูล และมีสำนักงานกฎหมายบริษัท ไว้ท์ แอนด์ เคส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย
2. การยื่นคำขอ การอนุมัติ ดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนปกติ เมื่อบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 ยื่นคำขอ เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต.ทำการตรวจแบบ 69-1 โดยให้เจ้าหน้าที่ของบริษัท และที่ปรึกษาทางการเงินชี้แจงเพิ่มเติมประกอบการตรวจข้อมูลหลายครั้งแล้ว เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต.ทำบันทึกการตรวจโดยมีข้อสังเกตและข้อแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลหลายประการ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นที่เป็นประเด็นในคดีนี้ เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต.เห็นว่าบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 ได้เปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้จัดกลุ่มครอบครัวชินวัตร ซึ่งประกอบด้วย น.ส.พินทองทา น.ส.แพทองธาร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นกลุ่มเดียวกัน สำนักงาน ก.ล.ต.จึงมีหนังสือแจ้งให้บริษัทผู้ต้องหาที่ 1 และที่ปรึกษาทางการเงินร่วมกันแก้ไข
3.บริษัทผู้ต้องหาที่ 1 และที่ปรึกษาทางการเงินยื่นแบบ 69-1 ฉบัยบแก้ไขตามที่ ก.ล.ต.แจ้ง สำนักงาน ก.ล.ต.เห็นว่า มีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์แล้วจึงอนุมัติและมีผบใช้บังคับเมื่อวันที่ 31 ต.ค.46 โดยระบุ ว่า ณ.วันที่ 1 ก.ย.46 น.ส.พินทองทา และ น.ส.แพทองธาร มีหุ้นคำละ จำนวน 92,990,854 หุ้น คุณหญิงพจมาน มีหุ้น 9,253,127 หุ้น รวมหุ้นครอบครัวชินวัตร 195,234,835 หุ้น ,กองทุน OGF (Overseas Growth Fund Inc.) มี 31,780,000 หุ้น , กองทุน ODF (Offshore Dynamic Fund Inc.) มี 29,385,144 หุ้น และอื่นๆ มี 21 หุ้น
4.กองทุน OGF และ ODF เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ผู้มีอำนาจกระทำการคือผู้จัดการกองทุน ไม่ใช่ผู้ถือหน่วยลงทุน
5. น.ส.สุนันท์ เลิศสีทอง ผอ.อาวุโสฝ่ายวานิจธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต ฯ ที่ปรึกษาทางการเงิน นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ ทนายความอาวุโส ที่ปรึกษากฎหมาย ยืนยันว่าการยื่นแบบ 69-1 ของบริษัท ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ดำเนินการเป็นไปตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต.ที่ กจ.44/2543 แต่หากยื่นภายหลังจากที่สำนักงาน ก.ล.ต.แก้ไขประกาศฯ ที่ กจ./2546 ใช้บังคับแล้วต้องปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย.46 หลังจากที่บริษัทผู้ต้องหาที่ 1 ได้ยื่นแบบ 69-1 และเสนอขายหุ้นเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ต.ค.46
6.เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต.ยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้ใช้บังคับตามประกาศ สำนักงาน ก.ล.ต.ที่ กจ.44 /2543 ต่อมาได้มีการแก้ไขโดยประกาศฯที่ กจ.28/2546 ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ ได้ออกหนังสือเวียน ที่ จ(ว) 2/2547 ซักซ้อมความเข้าใจและอธิบายที่มาของการแก้ไขสรุปได้ว่า การแก้ไขสืบเนื่องจากในบางกรณีชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เปิดเผยไว้เป็นชื่อนิติบุคคลที่ถือหุ้นในทอดแรก ซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ทราบว่าเป็นบุคคลใด จึงได้เพิ่มเติมให้เปิดเผยบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริง และธุรกิจหลักของบุคคลดังกล่าวด้วย
7.จากแบบ 69-1 ของบริษัทมหาชนรายอื่นซึ่งมีที่ปรึกษาทางการเงินทุกรายที่ยื่นตามประกาศที่ กจ.44/2543 ในช่วงเวลาเดียวกับผู้ต้องหาที่ 1 การเปิดเผยข้อมูลผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนแบบ 69-1 ของ บริษัทมหาชนรายอื่นที่ยื่นภายหลังเกิดเหตุจะปฏิบัติตามประกาศที่ กจ.28 /2546 ที่แก้ไขแล้ว
ส่วนข้อกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ผู้ต้องหาที่ 3 และ 4 ว่าเป็นบุคคลผู้จำหน่ายหลักทรัพย์ร่วมกันไม่รายงานการจำหน่ายหลักทรัพย์ต่อ สำนักงาน ก.ล.ต.ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 246 และ 298 โดยความผิดฐานที่คณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดที่รับมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มาตรา 317 ข้อเท็จจริงรับฟังว่า
1.ตามมาตรา 246 เป็นเรื่องบุคคลใด จำหน่ายหลักทรัพย์บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนดไว้ ในประกาศที่ กจ.58/2545 ซึ่งประกาศดังกล่าวระบุให้บุคคลที่ได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องรายงานตาม มาตรา 246 ยื่นรายงานตามแบบ 246-2 ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ยื่นรายงานนั้นคือผู้ที่จำหน่ายหลักทรัพย์
2.ประกาศที่ กจ.58/2545 ข้อ 4 ระบุว่า เมื่อบุคคลใดแจ้งข้อมูลต่อสำนักงานเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการใดๆที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ หรือได้แสดงในรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการที่ยื่นต่อสำนักงานว่าตนเป็นกลุ่มเดียวกับบุคคลใดในการเข้าถือหลักทรัพย์ของกิจการนับแต่เวลาดังกล่าวเป็นต้นไปหน้าที่ในการรายงานตามมาตรา 246 ให้พิจารณาจากผลรวมของหลักทรัพย์ที่ถือโดยบุคคลทุกรายในกลุ่มและบุคคลตามาตรา 258 ของบุคคลในกลุ่มรายงานตามวรรคหนึ่งจะจัดทำและยื่นโดยบุคคลใดที่ข้อมูลต้องถูกรวมอยู่ในรายงานตามวรรคหนึ่งก็ได้ และเมื่อได้ยื่นต่อสำนักงานแล้วให้ถือว่าผู้ได้มาหรือจำหน่ายนั้นได้รายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ต่อสำนักงานตามมาตรา 246 แล้ว แต่การแจ้งข้อมูลตามประกาศที่ กจ.44/2543 ตามตารางการเปิดเผยข้อมูลแบบ 69-1 การถือหุ้นของกองทุน OGF และODF อยู่ในลำดับที่ 4-5 โดยไม่ได้มีการจัดรวมให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับบุคคลใดจึงไม่อยู่ในข้อบังคับของประกาศที่ กจ.58 /2545 ข้อ 4
3.กองทุน OGF และODF เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซียภายใต้การควบคุมกำกับของสำนักงาน ก.ล.ต.มาเลเซีย มีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในนามกองทุน OGF และODF ที่บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด(มหาชน) ได้มอบอำนาจให้นาย มูฮัมหมัด อะวี กู เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนในการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์
4.เมื่อแต่ละกองทุนได้ขายหุ้นผ่านบริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัสฯ ระหว่างวันที่ 17 เม.ย. – 28 ส.ค. 49 หลายครั้ง นายมูฮัมหมัด ผู้รับมอบอำนาจของทั้งสองกองทุนได้รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกิดร้อยละห้าของสัดส่วนที่ตนถือครองอยู่ให้สำนักงาน ก.ล.ต.ทราบตามแบบ 246-2 ครอบถ้วนแล้ว
ดังนั้นคณะทำงานอัยการจึงมีคำสั่งไม่ฟ้องโดนส่งสำนวนการสอบสวนให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พิจารณาดำเนินการตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 34 และ ป.วิ อาญา มาตรา 145 ต่อไป และเนื่องจากคดีนี้พนักงานสอบสวนดีเอสไอดำเนินคดีเฉพาะข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ เท่านั้น ส่วนความผิดฐานอื่นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 พนักงานสอบสวนได้แยกไปดำเนินการต่างหากดังนั้นคณะทำงานอัยการจึงไม่วินิจฉัยในข้อกล่าวหาที่แยกดำเนินการไปแล้ว.
วานนี้ (25 ธ.ค.) นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ซึ่งเดินทางไปทำงานที่กระทรวงยุติธรรมเป็นวันแรก ตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงบทบาทการสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์ เช่นคดี ปรส. โดยนายพีระพันธุ์ กล่าวว่า การทำงานคงไม่แยกแยะว่าคู่กรณีเป็นใคร อยู่ฝ่ายไหน ไม่ว่าเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ถ้าผิดก็ว่าไปตามผิด หากเอาคู่กรณีมาเป็นประเด็นจะทำให้วอกแหวก ส่วนคดีเอสซี แอสเสท คอร์เปอร์ขั่น จำกัด (มหาชน )จะเรียกสำนวนดังกล่าวมาตรวจสอบ ว่ามีการใช้ดุลพินิจถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีการใช้ดุลยพินิจไม่ถูกต้องก็ต้องดำเนินคดีกับผู้สั่งคดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปรับเปลี่ยนผู้บริหารกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ซึ่งเป็นตำรวจทั้ง 4 คน จะดำเนินการหรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ตำรวจไม่ได้หมายความว่า ปฏิบัติงานไม่ได้ ต้องดูการทำงานให้เวลาทุกคนได้พิสูจน์ ผลงาน
เมื่อถามย้ำว่า จะต้องมีการรื้อฟื้นคดีเอสซีเอสเซทฯขึ้นมาใหม่หรือไม่ รมว.ยุติธรรมกล่าวว่า ตอบตอนนี้ไม่ได้ เพราะยังไม่ได้นำมาดู แต่คงต้องเอามาดูทุกคดีว่ามันถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ถ้าถูกต้องตามข้อกฎหมายก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน
**ดีเอสไอหักดิบคดีถึงที่สุดแล้ว**
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษและโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า เดิมคดีเอสซีแอสเซทนั้นดีเอสไอ มีความเห็นสมควรฟ้องให้อัยการ แต่อัยการพิจารณาแล้วมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องพร้อมกับส่งเรื่องให้อธิบดีดีเอสไอ พิจารณาว่ามีความเห็นแย้งกับอัยการหรือไม่ ซึ่งทางอธิบดีดีเอสไอพิจารณาแล้วมีความเห็นเหมือนกับทางอัยการ โดยได้ทำหนังสือแจ้งไปยังอัยการประมาณ 1 เดือนแล้ว ส่งผลให้คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ อาญา)
สำหรับคดีการปกปิดผู้ถือหุ้นเอสซีแอสเซทนั้น เมื่อวันที่ 13 ต.ค. นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ได้แถลงถึงการพิจารณาสำนวนการสอบสวนคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง นางเพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการบริษัทบริษัทเอสซี แอสเสท นางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้ต้องหาที่ 1-4 ฐานกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่ปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัทเอสซี แอสเสท
**อัยการแจงเหตุสั่งไม่ฟ้อง**
การไม่ฟ้องคดีดังกล่าว อัยการได้ทำหนังสือชี้แจงอย่างละเอียด โดยพบ ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนฟังได้ว่า
1.บริษัท เอสซี แอสเสท ฯ ผู้ต้องหาที่ 1 แสดงรายการข้อมูลตามความเป็นจริงและครบถ้วนตามประกาศที่ กจ.44/2543 โดยบริษัทหลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน)ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในยบัญชีรายชื่อ ที่สำนักงาน ก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทำและรับรองความถูกต้องของข้อมูล และมีสำนักงานกฎหมายบริษัท ไว้ท์ แอนด์ เคส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย
2. การยื่นคำขอ การอนุมัติ ดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนปกติ เมื่อบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 ยื่นคำขอ เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต.ทำการตรวจแบบ 69-1 โดยให้เจ้าหน้าที่ของบริษัท และที่ปรึกษาทางการเงินชี้แจงเพิ่มเติมประกอบการตรวจข้อมูลหลายครั้งแล้ว เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต.ทำบันทึกการตรวจโดยมีข้อสังเกตและข้อแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลหลายประการ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นที่เป็นประเด็นในคดีนี้ เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต.เห็นว่าบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 ได้เปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้จัดกลุ่มครอบครัวชินวัตร ซึ่งประกอบด้วย น.ส.พินทองทา น.ส.แพทองธาร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นกลุ่มเดียวกัน สำนักงาน ก.ล.ต.จึงมีหนังสือแจ้งให้บริษัทผู้ต้องหาที่ 1 และที่ปรึกษาทางการเงินร่วมกันแก้ไข
3.บริษัทผู้ต้องหาที่ 1 และที่ปรึกษาทางการเงินยื่นแบบ 69-1 ฉบัยบแก้ไขตามที่ ก.ล.ต.แจ้ง สำนักงาน ก.ล.ต.เห็นว่า มีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์แล้วจึงอนุมัติและมีผบใช้บังคับเมื่อวันที่ 31 ต.ค.46 โดยระบุ ว่า ณ.วันที่ 1 ก.ย.46 น.ส.พินทองทา และ น.ส.แพทองธาร มีหุ้นคำละ จำนวน 92,990,854 หุ้น คุณหญิงพจมาน มีหุ้น 9,253,127 หุ้น รวมหุ้นครอบครัวชินวัตร 195,234,835 หุ้น ,กองทุน OGF (Overseas Growth Fund Inc.) มี 31,780,000 หุ้น , กองทุน ODF (Offshore Dynamic Fund Inc.) มี 29,385,144 หุ้น และอื่นๆ มี 21 หุ้น
4.กองทุน OGF และ ODF เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ผู้มีอำนาจกระทำการคือผู้จัดการกองทุน ไม่ใช่ผู้ถือหน่วยลงทุน
5. น.ส.สุนันท์ เลิศสีทอง ผอ.อาวุโสฝ่ายวานิจธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต ฯ ที่ปรึกษาทางการเงิน นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ ทนายความอาวุโส ที่ปรึกษากฎหมาย ยืนยันว่าการยื่นแบบ 69-1 ของบริษัท ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ดำเนินการเป็นไปตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต.ที่ กจ.44/2543 แต่หากยื่นภายหลังจากที่สำนักงาน ก.ล.ต.แก้ไขประกาศฯ ที่ กจ./2546 ใช้บังคับแล้วต้องปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย.46 หลังจากที่บริษัทผู้ต้องหาที่ 1 ได้ยื่นแบบ 69-1 และเสนอขายหุ้นเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ต.ค.46
6.เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต.ยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้ใช้บังคับตามประกาศ สำนักงาน ก.ล.ต.ที่ กจ.44 /2543 ต่อมาได้มีการแก้ไขโดยประกาศฯที่ กจ.28/2546 ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ ได้ออกหนังสือเวียน ที่ จ(ว) 2/2547 ซักซ้อมความเข้าใจและอธิบายที่มาของการแก้ไขสรุปได้ว่า การแก้ไขสืบเนื่องจากในบางกรณีชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เปิดเผยไว้เป็นชื่อนิติบุคคลที่ถือหุ้นในทอดแรก ซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ทราบว่าเป็นบุคคลใด จึงได้เพิ่มเติมให้เปิดเผยบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริง และธุรกิจหลักของบุคคลดังกล่าวด้วย
7.จากแบบ 69-1 ของบริษัทมหาชนรายอื่นซึ่งมีที่ปรึกษาทางการเงินทุกรายที่ยื่นตามประกาศที่ กจ.44/2543 ในช่วงเวลาเดียวกับผู้ต้องหาที่ 1 การเปิดเผยข้อมูลผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนแบบ 69-1 ของ บริษัทมหาชนรายอื่นที่ยื่นภายหลังเกิดเหตุจะปฏิบัติตามประกาศที่ กจ.28 /2546 ที่แก้ไขแล้ว
ส่วนข้อกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ผู้ต้องหาที่ 3 และ 4 ว่าเป็นบุคคลผู้จำหน่ายหลักทรัพย์ร่วมกันไม่รายงานการจำหน่ายหลักทรัพย์ต่อ สำนักงาน ก.ล.ต.ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 246 และ 298 โดยความผิดฐานที่คณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดที่รับมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มาตรา 317 ข้อเท็จจริงรับฟังว่า
1.ตามมาตรา 246 เป็นเรื่องบุคคลใด จำหน่ายหลักทรัพย์บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนดไว้ ในประกาศที่ กจ.58/2545 ซึ่งประกาศดังกล่าวระบุให้บุคคลที่ได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องรายงานตาม มาตรา 246 ยื่นรายงานตามแบบ 246-2 ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ยื่นรายงานนั้นคือผู้ที่จำหน่ายหลักทรัพย์
2.ประกาศที่ กจ.58/2545 ข้อ 4 ระบุว่า เมื่อบุคคลใดแจ้งข้อมูลต่อสำนักงานเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการใดๆที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ หรือได้แสดงในรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการที่ยื่นต่อสำนักงานว่าตนเป็นกลุ่มเดียวกับบุคคลใดในการเข้าถือหลักทรัพย์ของกิจการนับแต่เวลาดังกล่าวเป็นต้นไปหน้าที่ในการรายงานตามมาตรา 246 ให้พิจารณาจากผลรวมของหลักทรัพย์ที่ถือโดยบุคคลทุกรายในกลุ่มและบุคคลตามาตรา 258 ของบุคคลในกลุ่มรายงานตามวรรคหนึ่งจะจัดทำและยื่นโดยบุคคลใดที่ข้อมูลต้องถูกรวมอยู่ในรายงานตามวรรคหนึ่งก็ได้ และเมื่อได้ยื่นต่อสำนักงานแล้วให้ถือว่าผู้ได้มาหรือจำหน่ายนั้นได้รายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ต่อสำนักงานตามมาตรา 246 แล้ว แต่การแจ้งข้อมูลตามประกาศที่ กจ.44/2543 ตามตารางการเปิดเผยข้อมูลแบบ 69-1 การถือหุ้นของกองทุน OGF และODF อยู่ในลำดับที่ 4-5 โดยไม่ได้มีการจัดรวมให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับบุคคลใดจึงไม่อยู่ในข้อบังคับของประกาศที่ กจ.58 /2545 ข้อ 4
3.กองทุน OGF และODF เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซียภายใต้การควบคุมกำกับของสำนักงาน ก.ล.ต.มาเลเซีย มีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในนามกองทุน OGF และODF ที่บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด(มหาชน) ได้มอบอำนาจให้นาย มูฮัมหมัด อะวี กู เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนในการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์
4.เมื่อแต่ละกองทุนได้ขายหุ้นผ่านบริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัสฯ ระหว่างวันที่ 17 เม.ย. – 28 ส.ค. 49 หลายครั้ง นายมูฮัมหมัด ผู้รับมอบอำนาจของทั้งสองกองทุนได้รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกิดร้อยละห้าของสัดส่วนที่ตนถือครองอยู่ให้สำนักงาน ก.ล.ต.ทราบตามแบบ 246-2 ครอบถ้วนแล้ว
ดังนั้นคณะทำงานอัยการจึงมีคำสั่งไม่ฟ้องโดนส่งสำนวนการสอบสวนให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พิจารณาดำเนินการตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 34 และ ป.วิ อาญา มาตรา 145 ต่อไป และเนื่องจากคดีนี้พนักงานสอบสวนดีเอสไอดำเนินคดีเฉพาะข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ เท่านั้น ส่วนความผิดฐานอื่นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 พนักงานสอบสวนได้แยกไปดำเนินการต่างหากดังนั้นคณะทำงานอัยการจึงไม่วินิจฉัยในข้อกล่าวหาที่แยกดำเนินการไปแล้ว.