xs
xsm
sm
md
lg

ธปท.ลดเป้าจีดีพีเหลือ4.3% ชี้วิกฤตโลกฉุดศก.ปีวัวบ้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นางดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยวานนี้ (17 ต.ค.) ว่า ธปท.ได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยใหม่เหลือ
4.3-5.0% จากเดิม 4.8-5.8% และปีหน้าลดลงเหลือ 3.8-5.0% เนื่องจากแรงส่งจากเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ชะลอลงกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนถูกระ

ทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลงจะส่งผลต่อภาคการส่งออก

และการลงทุนของภาคเอกชนในบางสาขา
“ความเสี่ยงด้านลบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในขณะนี้มีมากกว่าด้านบวก ไม่ว่าจะเป็น

วิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐฯที่มีโอกาสลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งรวมถึงประเทศใน

แถบเอเชียและไทยด้วยที่มีผลต่อภาคการส่งออกในระยะต่อไป แม้ในปัจจุบันราคาน้ำมันเริ่มลดลงบ้าง

ซึ่งผลดีต่อเศรษฐกิจบ้าง แต่ผลดีดังกล่าวจะน้อยกว่าผลลบผ่านภาคการส่งออก ขณะเดียวกันอัตราการ

เบิกจ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 52 นี้ก็มีความเป็นไปได้จะต่ำกว่าประมาณการณ์ คือ 94% ซึ่งมีโอกาส

ให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่ำประมาณการณ์ไว้อีก รวมถึงความเสี่ยงด้านการเมืองอาจกระทบต่อ

ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวกว่าที่คาดไว้ได้”
ทั้งนี้ ธปท.ได้ปรับประมาณการณ์การลงทุนและการบริโภคหดตัวลง โดยการบริโภคติดลบ

1.5% ถึง ลบ 0.5% จากเดิม 2-3% และปี 2552 ปรับตัวเพิ่มมาเป็น 7-8% จากเดิม 1.5-2.5% และการลง

ทุนกลับมาติดลบ 3% ถึง ลบ 2% จากเดิม 3-4% และปีหน้า 4.5-5.5% ทำให้ภาคเอกชนมีการลงทุน

และบริโภคลดลงด้วย โดยการลงทุนอยู่ที่ 4.0-5.0% และ 5.0-6.0% ในปีหน้า ส่วนการบริโภคเหลือ 2.5

-3.5% สำหรับปีนี้ และปีหน้า 3.5-4.5%
“การลงทุนและการบริโภคภาครัฐในขณะนี้มีหลายโครงการติดขัดมาก เพราะราคาต้นทุน

การก่อสร้างโครงการต่างๆ แพงขึ้น ทำให้ผู้ประมูลหลายรายทิ้งงาน และบางโครงการล่าช้าออกไป

ประกอบกับรัฐวิสาหกิจยังมีแผนการลงทุนที่ยังไม่ชัดเจนด้วย แม้ขณะนี้ภาครัฐมีความตั้งใจจะเป็นตัว

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลัก รวมถึงการออก 6 มาตรการล่าสุดของภาครัฐแสดงความมั่นใจที่ต้องการ

ให้เกิดการใช้จ่าย การเบิกจ่าย เพื่อให้เศรษฐกิจยังมีแรงล่อเลี้ยงต่อไปได้อีก”
ส่วนภาคการส่งออกยังมีการขยายตัวต่อเนื่องในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ธปท.ปรับ

ประมาณการณ์มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 20-23% จากเดิม 16-19% อย่างไรก็ตามในช่วงระยะหลัง

จากนี้เริ่มเห็นสัญญาณชัดว่าการส่งออกมีแนวโน้มลดลงจากเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ โดยเฉพาะไตร

มาสแรกของปี 2552 จะเห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่ำสุด ทำให้ปีหน้ามูลค่าการส่งออกลดลง

เหลือ 7-10% จากเดิม 12.5-15.5% ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้น 28-31% จากเดิม 27-30% ซึ่ง

เป็นผลตามราคาที่เพิ่มขึ้น และปีหน้าหดเหลือ 8-11% จากเดิม 16.5-19.5% ทำให้ธปท.ปรับดุลการค้า

กลับมาเกินดุลในปีนี้อยู่ที่ 1,000-3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมประเมินขาดดุล 1,500-3,500 ล้าน

เหรียญ แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ได้ปรับ คือ เกินดุล 1,000-4,000 ล้านเหรียญ ในปีนี้ แม้ดุลบริการจาก

การท่องเที่ยวหดตัวลงบ้าง แต่ดุลการค้ายังดีอยู่ ส่วนในปีหน้าเกินดุลไม่เกิน 3,000 ล้านเหรียญ จาก

เดิมที่มองว่าจะขาดดุล 1,000-4,000 ล้านเหรียญ
นอกจากนี้ จากราคาน้ำมันที่ลดลงมากกว่าที่คาด ส่วนหนึ่งเกิดจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

และผลของ 6 มาตรการที่มาช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมถึงการคาดการณ์เงินเฟ้อ

เริ่มปรับลดลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลง 2.0-2.5% จากเดิม 2.8-3.8% และปีหน้า 2-3% ส่วน

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงเช่นกันเหลือ 6.0-6.5% จากครั้งเก่าประเมินไว้ 7.5-8.8% และปีหน้าลดลง 3

-4% อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านราคาน้ำมันก็ยังคงมีความผันผวนอยู่ จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้

ชิด
“อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสต่ำได้ ถ้าเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากผลกระทบวิกฤตการณ์ทาง

การเงินสหรัฐ รัฐบาลไทยมีการต่ออายุมาตรการดูแลค่าครองชีพในบางส่วน ซึ่งหากไม่มีการดำเนิน

การเช่นนี้เงินเฟ้ออาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นได้ รวมถึงเศรษฐกิจโลกและของไทยที่เริ่มฟื้นตัวอาจจะเป็น

แรงกดดันให้ราคาสินค้าต่างๆ รวมถึงน้ำมันปรับตัวสูงได้”
ทั้งนี้ ธปท.ได้ปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบใหม่ โดยในกรณีฐาน ราคาน้ำมันอยู่ที่ 114

เหรียญต่อบาร์เรล และ 95 เหรียญต่อบาร์เรล ในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ จากเดิมคาดว่าจะทรงตัว

อยู่ที่ 135 เหรียญต่อบาร์เรลไปยังถึงปีหน้า และเฉลี่ยทั้งปีนี้อยู่ที่ 104.1 เหรียญต่อบาร์เรล จากเดิม 119.6

เหรียญต่อบาร์เรล ส่วนในกรณีเลวร้ายในไตรมาส 3 อยู่ที่ 114 เหรียญต่อบาร์เรล และลดลงเล็กน้อย

เหลือ 113 เหรียญต่อบาร์เรลในไตรมาส 4 และถ้าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 108.6 เหรียญต่อบาร์เรล

*ธาริษาชี้วิกฤติส่งผลมากสุดปีหน้า
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวว่า ปัญหาวิกฤติการเงินของโลกจะกระทบต่อ

เศรษฐกิจไทยในปี 2552 มากกว่าปีนี้ แต่จะมาเร็วหรือช้าแค่ไหนต้องติดตามใกล้ชิด ไม่มีใครฟันธงได้

แน่นอนว่าผลกระทบจะมากหรือน้อยขนาดไหน สิ่งที่ควรทำในขณะนี้คือสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมา
"การที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบ อาจทำให้มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อชะลอลงไปบ้าง

ธนาคารพาณิชย์ยังคงต้องปล่อยสินเชื่อด้วยความระมัดระวัง" นางธาริษากล่าวพร้อมยืนยันว่า ไม่มี

ความจำเป็นต้องประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ฉุกเฉิน เพราะในการประชุม กนง.ครั้ง

ก่อนได้พิจารณาปัจจัยเศรษฐกิจโลกไว้ครอบคลุมแล้ว

***คลังเตรียมทบทวนจีดีพีใหม่
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. กล่าวภายหลัง

มอบนโยบายให้กับข้าราชการและลูกจ้างของ สศค. ว่า ในภาวะที่ทั่วโลกกำลังประสบปัญหา

วิกฤตการณ์ทางการเงิน ไทยจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ ต้องประสานนโยบายการ

เงินการคลังอย่างใกล้ชิด เพราะขณะนี้การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกและ

สถานการณ์ทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเศรษฐกิจปีนี้ยังสามารถขยายตัวได้ถึง

ร้อยละ 5.1 ส่วนปีหน้าการขยายตัวน่าจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4 - 5 โดยในเดือนพฤศจิกายนนี้ สศค.

จะทบทวนประมาณการณ์ทางเศรษฐกิจอีกครั้ง
"ขณะนี้ สศค.อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติม จาก

ปีงบประมาณ 2252 ที่ได้ตั้งเป้าหมายขาดดุลงบประมาณเพื่อใช้ลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ 249,000 ล้าน

บาท" นายสมชัยกล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น