แบงก์ชาติปฏิเสธสั่งแบงก์พาณิชย์อัดฉีดสภาพคล่องให้บริษัทประกันภัย คาดอาจเป็นเพียงการขอเครดิตไลน์ ยืนยันสภาพคล่องระบบการเงินและสถาบันการเงินไทยในขณะนี้ไม่มีปัญหาสภาพคล่อง แบงก์พาณิชย์พร้อมปล่อยสินเชื่อ
กรณีที่นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ว่าได้มีการสั่งให้ธนาคารพาณิชย์อัดฉีดสภาพคล่องให้แก่ระบบบริษัทประกันภัยของไทยในบางแห่ง นั้น วานนี้ (24 ก.ย.) นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ยังไม่ทราบ เพราะธนาคารพาณิชย์ไม่ได้รายงานขึ้นมา และบริษัทประกันภัยไม่ได้อยู่ในความดูแลของ ธปท.
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแล้ว หากต้องการป้องกันปัญหาก่อนที่จะเกิด หรือรองรับผลกระทบต่างๆ ในการดูแลระบบการเงินในไทยและในต่างประเทศ ทางบริษัทประกันก็สามารถหารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อหาแนวทางรองรับความเสี่ยงในลักษณะสัญญาการปล่อยสภาพคล่องเมื่อถึงกรณีที่จำเป็นไว้ก่อน (เครดิต ไลน์) แต่ในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นหรือไม่ขาดสภาพคล่องก็ไม่ต้องใช้ก็เป็นไปได้หรือหาแนวทางอื่นๆ เช่น ระหว่างธนาคารกลางในอาเชี่ยนด้วยกันก็มีสัญญาที่จะปล่อยเครดิตไลน์ให้แก่ภาคเศรษฐกิจประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีปัญหา
“สภาพคล่องของระบบการเงินไทย ไม่ได้มีปัญหาใดๆ ในขณะนี้ ธปท.อยากจะชี้แจงให้เข้าใจตรงกัน เพราะในขณะนี้หลายฝ่ายออกมาระบุว่าเป็นห่วงเรื่องการขาดสภาพคล่องอของระบบการเงิน ซึ่งคิดว่าอาจจะเกิดขึ้นเพราะไม่เข้าใจข้อมูล หรือมีข้อมูลที่เพียงพอ แต่ถ้ามีข้อมูลพอเชื่อว่าจะเข้าใจว่า ประเทศยังไม่มีปัญหาเหล่านี้”
นายสรสิทธิ์กล่าวว่า จากสถานการณ์การเงินสหรัฐมีปัญหาในขณะนี้ ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องเรียกประชุมหรือหารือเป็นพิเศษในการดูแลสภาพคล่องในระบบการเงินไทย เนื่องจาก สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ยังมีจำนวนมาก ขณะเดียวกันในขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต่างมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรและในระบบโดยเฉลี่ยมีเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส เรโช) ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ธปท.กำหนดไว้ 8.5%
นอกจากนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์ มีการลงทุนโดยตรงในสถาบันการเงินต่างประเทสรวมกันทั้งหมด เพียง 1% กว่าๆ ของเงินลงทุนรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าต่ำมาก ในขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ซีดีโอ) ของธนาคารพาณิชย์ ในขณะนี้ทุกแห่งได้กันสำรองความเสียหายในส่วนนี้ครบทั้งจำนวนแล้ว ดังนั้น แม้สถาบันการเงินในต่างประเทศเกิดปัญหาจริง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้เกิด ก็จะไม่กระทบต่อฐานะของธนาคารพาณิชย์ไทย รวมทั้งไม่กระทบต่อสภาพคล่องของระบบการเงิน และสถาบันการเงินของไทย
เงินบาทปิดแข็งค่าขึ้นล็กน้อย
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวานนี้อยู่ที่ระดับ 33.75/77 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 33.80/85 บาท/ดอลลาร์ โดยมีการเคลื่อนไหวแคบๆ ประมาณ 10 สตางค์ อยู่ในกรอบ 33.70-33.80 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
"สาเหตุหลักคือการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ปัจจัยภายในประเทศค่อนข้างถูกบดบัง เน้นดูจากปัจจัยภายนอกเป็นหลักโดยเฉพาะแผนการแก้วิกฤติสถาบันเงินของสหรัฐฯ ที่กำลังรอสภาคองเครสอนุมัติ" นักบริหารเงินกล่าวและว่า หากสภาคองเกรสอนุมัติแผนช่วยเหลือสถาบันการเงินมูลค่าราว 7 แสนล้านดอลลาร์ ก็จะมีผลให้ดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นได้ แต่อีกมุมหนึ่งนักลงทุนก็ห่วงว่าแผนดังกล่าวอาจส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวนมาก
"คาดว่าวันพรุ่งนี้ (25 ก.ย.) กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทอยู่ที่ 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งหากรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่โดยเฉพาะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจออกมาเป็นที่น่าเชื่อถือของตลาด ก็คาดว่าจะมีผลให้เงินบาทปรับไปในทิศทางที่แข็งค่าได้"
กรณีที่นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ว่าได้มีการสั่งให้ธนาคารพาณิชย์อัดฉีดสภาพคล่องให้แก่ระบบบริษัทประกันภัยของไทยในบางแห่ง นั้น วานนี้ (24 ก.ย.) นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ยังไม่ทราบ เพราะธนาคารพาณิชย์ไม่ได้รายงานขึ้นมา และบริษัทประกันภัยไม่ได้อยู่ในความดูแลของ ธปท.
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแล้ว หากต้องการป้องกันปัญหาก่อนที่จะเกิด หรือรองรับผลกระทบต่างๆ ในการดูแลระบบการเงินในไทยและในต่างประเทศ ทางบริษัทประกันก็สามารถหารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อหาแนวทางรองรับความเสี่ยงในลักษณะสัญญาการปล่อยสภาพคล่องเมื่อถึงกรณีที่จำเป็นไว้ก่อน (เครดิต ไลน์) แต่ในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นหรือไม่ขาดสภาพคล่องก็ไม่ต้องใช้ก็เป็นไปได้หรือหาแนวทางอื่นๆ เช่น ระหว่างธนาคารกลางในอาเชี่ยนด้วยกันก็มีสัญญาที่จะปล่อยเครดิตไลน์ให้แก่ภาคเศรษฐกิจประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีปัญหา
“สภาพคล่องของระบบการเงินไทย ไม่ได้มีปัญหาใดๆ ในขณะนี้ ธปท.อยากจะชี้แจงให้เข้าใจตรงกัน เพราะในขณะนี้หลายฝ่ายออกมาระบุว่าเป็นห่วงเรื่องการขาดสภาพคล่องอของระบบการเงิน ซึ่งคิดว่าอาจจะเกิดขึ้นเพราะไม่เข้าใจข้อมูล หรือมีข้อมูลที่เพียงพอ แต่ถ้ามีข้อมูลพอเชื่อว่าจะเข้าใจว่า ประเทศยังไม่มีปัญหาเหล่านี้”
นายสรสิทธิ์กล่าวว่า จากสถานการณ์การเงินสหรัฐมีปัญหาในขณะนี้ ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องเรียกประชุมหรือหารือเป็นพิเศษในการดูแลสภาพคล่องในระบบการเงินไทย เนื่องจาก สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ยังมีจำนวนมาก ขณะเดียวกันในขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต่างมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรและในระบบโดยเฉลี่ยมีเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส เรโช) ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ธปท.กำหนดไว้ 8.5%
นอกจากนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์ มีการลงทุนโดยตรงในสถาบันการเงินต่างประเทสรวมกันทั้งหมด เพียง 1% กว่าๆ ของเงินลงทุนรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าต่ำมาก ในขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ซีดีโอ) ของธนาคารพาณิชย์ ในขณะนี้ทุกแห่งได้กันสำรองความเสียหายในส่วนนี้ครบทั้งจำนวนแล้ว ดังนั้น แม้สถาบันการเงินในต่างประเทศเกิดปัญหาจริง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้เกิด ก็จะไม่กระทบต่อฐานะของธนาคารพาณิชย์ไทย รวมทั้งไม่กระทบต่อสภาพคล่องของระบบการเงิน และสถาบันการเงินของไทย
เงินบาทปิดแข็งค่าขึ้นล็กน้อย
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวานนี้อยู่ที่ระดับ 33.75/77 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 33.80/85 บาท/ดอลลาร์ โดยมีการเคลื่อนไหวแคบๆ ประมาณ 10 สตางค์ อยู่ในกรอบ 33.70-33.80 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
"สาเหตุหลักคือการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ปัจจัยภายในประเทศค่อนข้างถูกบดบัง เน้นดูจากปัจจัยภายนอกเป็นหลักโดยเฉพาะแผนการแก้วิกฤติสถาบันเงินของสหรัฐฯ ที่กำลังรอสภาคองเครสอนุมัติ" นักบริหารเงินกล่าวและว่า หากสภาคองเกรสอนุมัติแผนช่วยเหลือสถาบันการเงินมูลค่าราว 7 แสนล้านดอลลาร์ ก็จะมีผลให้ดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นได้ แต่อีกมุมหนึ่งนักลงทุนก็ห่วงว่าแผนดังกล่าวอาจส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวนมาก
"คาดว่าวันพรุ่งนี้ (25 ก.ย.) กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทอยู่ที่ 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งหากรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่โดยเฉพาะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจออกมาเป็นที่น่าเชื่อถือของตลาด ก็คาดว่าจะมีผลให้เงินบาทปรับไปในทิศทางที่แข็งค่าได้"