ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมข้อมูลสินทรัพย์สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่ประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า และสิ้นปี 2550 พบว่า
สินทรัพย์สภาพคล่อง (รวมเงินสด เงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้น และเงินลงทุนสุทธิ) ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 ปรับเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 หลังจากที่ลดลงในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าว มีจำนวน 1.81 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.03 หมื่นล้านบาท จาก 1.74 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นในองค์ประกอบหลักอย่างเงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้นและเงินลงทุนสุทธิเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์สภาพคล่องในเดือนสิงหาคม เป็นทิศทางที่สอดคล้องกันกับยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่งในเดือนเดียวกันที่เพิ่มขึ้นถึง 1.33 แสนล้านบาท สูงกว่าเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อสุทธิ(จากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) ที่ 7.12 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการที่ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากประจำแบบพิเศษและตั๋วแลกเงินที่ระดับอัตราดอกเบี้ยจูงใจ เพื่อระดมเงินและรักษาฐานลูกค้า หลังจากที่สินทรัพย์สภาพคล่องได้ลดลงต่อเนื่องในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ในขณะที่ แม้ทางเลือกในการออมอย่างกองทุนรวมในเดือนสิงหาคมจะมีการออกกองทุนเพิ่มขึ้น 36 กอง แต่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) กลับมีจำนวนที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 6.00 หมื่นล้านบาท
กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และขนาดเล็กมีสินทรัพย์สภาพคล่องเพิ่มขึ้น สวนทางกับสภาพคล่องของกลุ่มธนาคารขนาดกลางที่ลดลง โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่มียอดคงค้างของสินทรัพย์สภาพคล่องจำนวน 1.10 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 6.89 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกัน กลุ่มธนาคารขนาดเล็กมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น 1.55 หมื่นล้านบาท มาที่ 2.20 แสนล้านบาท ในขณะที่ กลุ่มธนาคารขนาดกลางมีสภาพคล่องลดลง 1.41 หมื่นล้านบาท มาที่ 4.88 แสนล้านบาท
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2550 สินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง เพิ่มขึ้น 5.98 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธนาคาร นำโดยการเพิ่มขึ้นที่กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4.58 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 1.31 หมื่นล้านบาท และกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 884 ล้านบาท
สำหรับวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ทางการสหรัฐฯจะได้ตัดสินใจเข้าไปให้ความช่วยเหลือโดยการรับซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ภายใต้วงเงิน 7.0 แสนล้านดอลลาร์ฯ แต่คาดว่าอาจจะยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะถึงจุดต่ำสุดและเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ รวมทั้งยังคงต้องติดตามสถานการณ์ของสถาบันการเงินสหรัฐฯอย่างใกล้ชิดต่อไปว่า มาตรการของทางการสหรัฐฯล่าสุดดังกล่าว จะมีประสิทธิผลในการเยียวยาปัญหาครอบคลุมทั้งภาคการเงินสหรัฐฯได้มากน้อยเพียงใด
ในขณะที่การก่อหนี้ที่คงจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างมากของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อนำเงินไปใช้ในการรับซื้อสินทรัพย์ 7.0 แสนล้านดอลลาร์ฯดังกล่าว ย่อมจะส่งผลกดดันต่อสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การที่ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินลงทุนในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่ง ธปท.สามารถที่จะปล่อยให้ไหลกลับคืนสู่ระบบได้หากจำเป็น กลไกดังกล่าว ก็น่าที่จะเป็นหลักประกันสำคัญที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินไทยได้ในยามที่สถาบันการเงินสหรัฐฯกำลังเผชิญภาวะวิกฤตนี้
สินทรัพย์สภาพคล่อง (รวมเงินสด เงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้น และเงินลงทุนสุทธิ) ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 ปรับเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 หลังจากที่ลดลงในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าว มีจำนวน 1.81 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.03 หมื่นล้านบาท จาก 1.74 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นในองค์ประกอบหลักอย่างเงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้นและเงินลงทุนสุทธิเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์สภาพคล่องในเดือนสิงหาคม เป็นทิศทางที่สอดคล้องกันกับยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่งในเดือนเดียวกันที่เพิ่มขึ้นถึง 1.33 แสนล้านบาท สูงกว่าเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อสุทธิ(จากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) ที่ 7.12 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการที่ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากประจำแบบพิเศษและตั๋วแลกเงินที่ระดับอัตราดอกเบี้ยจูงใจ เพื่อระดมเงินและรักษาฐานลูกค้า หลังจากที่สินทรัพย์สภาพคล่องได้ลดลงต่อเนื่องในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ในขณะที่ แม้ทางเลือกในการออมอย่างกองทุนรวมในเดือนสิงหาคมจะมีการออกกองทุนเพิ่มขึ้น 36 กอง แต่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) กลับมีจำนวนที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 6.00 หมื่นล้านบาท
กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และขนาดเล็กมีสินทรัพย์สภาพคล่องเพิ่มขึ้น สวนทางกับสภาพคล่องของกลุ่มธนาคารขนาดกลางที่ลดลง โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่มียอดคงค้างของสินทรัพย์สภาพคล่องจำนวน 1.10 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 6.89 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกัน กลุ่มธนาคารขนาดเล็กมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น 1.55 หมื่นล้านบาท มาที่ 2.20 แสนล้านบาท ในขณะที่ กลุ่มธนาคารขนาดกลางมีสภาพคล่องลดลง 1.41 หมื่นล้านบาท มาที่ 4.88 แสนล้านบาท
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2550 สินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง เพิ่มขึ้น 5.98 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธนาคาร นำโดยการเพิ่มขึ้นที่กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4.58 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 1.31 หมื่นล้านบาท และกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 884 ล้านบาท
สำหรับวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ทางการสหรัฐฯจะได้ตัดสินใจเข้าไปให้ความช่วยเหลือโดยการรับซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ภายใต้วงเงิน 7.0 แสนล้านดอลลาร์ฯ แต่คาดว่าอาจจะยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะถึงจุดต่ำสุดและเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ รวมทั้งยังคงต้องติดตามสถานการณ์ของสถาบันการเงินสหรัฐฯอย่างใกล้ชิดต่อไปว่า มาตรการของทางการสหรัฐฯล่าสุดดังกล่าว จะมีประสิทธิผลในการเยียวยาปัญหาครอบคลุมทั้งภาคการเงินสหรัฐฯได้มากน้อยเพียงใด
ในขณะที่การก่อหนี้ที่คงจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างมากของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อนำเงินไปใช้ในการรับซื้อสินทรัพย์ 7.0 แสนล้านดอลลาร์ฯดังกล่าว ย่อมจะส่งผลกดดันต่อสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การที่ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินลงทุนในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่ง ธปท.สามารถที่จะปล่อยให้ไหลกลับคืนสู่ระบบได้หากจำเป็น กลไกดังกล่าว ก็น่าที่จะเป็นหลักประกันสำคัญที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินไทยได้ในยามที่สถาบันการเงินสหรัฐฯกำลังเผชิญภาวะวิกฤตนี้