ผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี51 จาก 4.8-6% เหลือเพียง 4.8-5.8% เผยส่งออกช่วยแค่บางส่วน เหตุการบริโภคและลงทุนฟื้นช้าจากปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงต่อเนื่อง จากเดิมวางกรอบแค่ 4-5% ล่าสุดทั้งปีอาจเฉลี่ยสูงถึง 7.5-8.8% ส่งสัญญาณดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่อง เตรียมเสนอทบทวนกรอบเงินเฟ้อใหม่ให้ กนง.ชุดใหม่เร็วๆ นี้ ระบุ 6 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาล แค่บรรเทาความเดือดร้อนค่าครองชีพชั่วคราว
นางดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้มีการปรับประมาณการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่เป็น 4.8-5.8% จากเดิม 4.8-6.0% สำหรับรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับเดือน ก.ค. เนื่องจากการลงทุนและการบริโภคมีการฟื้นตัวช้า และการนำเข้าก็ชะลอตัวเช่นกัน แม้ภาคการส่งออกจะทดแทนได้บางส่วน จึงมองว่าภาครัฐควรมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมมาช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้เพิ่มขึ้น และในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 4.3-5.8%
“แม้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมากจากความผันผวนด้านราคาเป็นสำคัญ แต่เศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้แย่กว่าที่คาดไว้ โดยครึ่งแรกของปีนี้เศรษฐกิจไทยเติบโตอยู่ที่ระดับ 5.9% และคาดว่าภาวะเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังจากนี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5.8% ส่วนทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 6% มีความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนและการบริโภคที่ฟื้นตัวช้า”
ทั้งนี้ ธปท.ยังได้ปรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใหม่เป็น 2.8-3.8% จากเดิม 1.5-2.5% และในปีหน้าอยู่ที่ระดับ 3-4% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 7.5-8.8% จากครั้งก่อนที่ประเมินไว้ 4-5% และในปี 2552 อยู่ที่ 5.0-7.5% โดยมองว่าถ้าอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สูง ธปท.ก็พร้อมจะมีมาตรการต่างๆ รวมถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบเข้มงวดมาดูแล เพื่อสกัดแรงกดดันการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต รวมทั้งไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังภาคธุรกิจด้วย
“แม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เกินกว่าเป้าหมายที่ธปท.ใช้เป็นกรอบในการดำเนินนโยบายการเงิน คือ 0-3.5% ก็ไม่ได้เกิดจากการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเราไม่ได้ละเลยในการทำหน้าที่ดูแล เพราะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ที่ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งทุกประเทศก็มีปัญหาเหมือนกับเรา แต่ก็เชื่อว่าเงินเฟ้อที่หลุดจากเป้านี้เป็นเพียงแค่ระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาวประมาณ 8 ไตรมาสหรืออีก 2 ปีข้างหน้าจะอยู่ในเป้าตามเดิม คือ เงินเฟ้อไม่เกิน 3.5%”
อย่างไรก็ตาม ในกฎหมาย พ.ร.บ.ธปท.ได้ระบุให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีการทบทวนอัตราเงินเฟ้อที่ใช้เป็นกรอบในการดำเนินนโยบายการเงินใหม่ทุกปีตามภาวะในช่วงนั้นๆ จึงรอให้คณะกรรมการ ธปท.ที่เป็นผู้แต่งตั้ง กนง. ชุดใหม่ก่อน ซึ่งคาดว่าในเร็วๆ นี้จะได้ข้อสรุป
นอกจากนี้ หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงต่อไปจะกระทบต่อภาคการส่งออกด้วยเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ เนื่องจากค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น ทำให้เสียความสามารถในการแข่งขันมาก ซึ่งขณะนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก ถือเป็นปัญหาต่อการแข่งขันในการส่งออกของไทย นอกจากนี้จากการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูงส่วนหนึ่งก็ยิ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับสูงขึ้นมาก ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้เปลี่ยนแปลงก็ตาม
ขณะเดียวกัน ธปท.ยังได้ปรับประมาณการณ์เครื่องชี้เศรษฐกิจของไทยของปีนี้ใหม่ โดยการส่งออกจะมีมูลค่าขยายตัวที่ 16-19% ปีหน้า 12.5-15.5% และการนำเข้ามีมูลค่าขยายตัว 27-30% ปีหน้า 16.5-19.5% ทำให้ในปีนี้ไทยขาดดุลการค้า 1,500-3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ปีหน้าขาดดุล 6,000-10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้มีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ 1,000-4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และปีหน้าขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 1,000-4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านการบริโภคโดยรวมอยู่ที่ระดับ 3-4% และปีหน้า 4.5-5.5% ซึ่งปีนี้ในส่วนของการบริโภคเอกชนอยู่ที่ 3-4% ภาครัฐ 2-3% การลงทุนโดยรวม 4.3-5.3% ปีหน้า 8-9% ซึ่งในปี 2551 คาดว่าเอกชนจะมีการลงทุน 4.5-5.5% ภาครัฐ 3-4%
ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.ยังได้ประเมินความเสี่ยงต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ ซึ่งมีทั้งปัจจัยด้านลบและด้านบวก โดยปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน คือ รัฐบาลต้องมีการเพิ่มการใช้จ่าย เพื่อรักษาการขาดดุลของงบประมาณ ราคาน้ำมันดูไบต่ำกว่ากรณีฐาน คือ ค่าเฉลี่ยทั้งปีที่ระดับ 119.6 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งกรณีเลวร้ายเฉลี่ยทั้งปีที่ระดับ 131.1 เหรียญสหรัฐ และค่าเงินบาทอ่อน แม้ธปท.มองว่าค่าเงินบาทในภูมิภาคเอเชียจะแข็งค่าขึ้น จากการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐที่เข้มงวดขึ้น ทำให้ทิศทางค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น แต่ค่าเงินเยนยังอ่อนค่า ขณะที่ปัจจัยฉุดการขยายตัวเศรษฐกิจต่อไป คือ ราคาน้ำมันดูไบที่สูงกว่า 119.6 เหรียญต่อบาร์เรล เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าโดยรวมที่ขยายตัวต่ำกว่า 4.8% รวมทั้งความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในอนาคต โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้น คือ ราคาน้ำมันสูงกว่าที่ธปท.ประเมินไว้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าเกษตรสูง จากที่ธปท.มองว่าราคาในปีหน้าจะเริ่มลดลง รวมทั้งค่าเงินบาทอ่อน และประเด็นที่น่าห่วงที่สุด คือ กระบวนการคาดการณ์เงินเฟ้อจะเร่งตัวสูง ด้านปัจจัยที่ช่วยให้เงินเฟ้อต่ำลงได้ คือ ราคาน้ำมันไม่สูงกว่าที่ประเมินไว้ และเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด นอกจากนี้ ธปท.ยังคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้อีก 2% และปีหน้าเพิ่มอีก 3%
สำหรับมาตรการ 6 ข้อฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นเชื่อว่าเป็นแค่การบรรเทาความเดือดร้อนด้านค่าครองชีพที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้มีผลให้เศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากเป็นมาตรการแค่ระยะสั้น เพราะถ้าจะให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องดำเนินการไม่น้อยกว่า 2 ปี และผลของมาตรการนี้จะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 0.1-0.3% อย่างไรก็ตาม 6 มาตรการ 6 เดือน จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการบันทึกราคาของกระทรวงพาณิชย์.
นางดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้มีการปรับประมาณการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่เป็น 4.8-5.8% จากเดิม 4.8-6.0% สำหรับรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับเดือน ก.ค. เนื่องจากการลงทุนและการบริโภคมีการฟื้นตัวช้า และการนำเข้าก็ชะลอตัวเช่นกัน แม้ภาคการส่งออกจะทดแทนได้บางส่วน จึงมองว่าภาครัฐควรมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมมาช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้เพิ่มขึ้น และในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 4.3-5.8%
“แม้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมากจากความผันผวนด้านราคาเป็นสำคัญ แต่เศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้แย่กว่าที่คาดไว้ โดยครึ่งแรกของปีนี้เศรษฐกิจไทยเติบโตอยู่ที่ระดับ 5.9% และคาดว่าภาวะเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังจากนี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5.8% ส่วนทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 6% มีความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนและการบริโภคที่ฟื้นตัวช้า”
ทั้งนี้ ธปท.ยังได้ปรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใหม่เป็น 2.8-3.8% จากเดิม 1.5-2.5% และในปีหน้าอยู่ที่ระดับ 3-4% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 7.5-8.8% จากครั้งก่อนที่ประเมินไว้ 4-5% และในปี 2552 อยู่ที่ 5.0-7.5% โดยมองว่าถ้าอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สูง ธปท.ก็พร้อมจะมีมาตรการต่างๆ รวมถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบเข้มงวดมาดูแล เพื่อสกัดแรงกดดันการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต รวมทั้งไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังภาคธุรกิจด้วย
“แม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เกินกว่าเป้าหมายที่ธปท.ใช้เป็นกรอบในการดำเนินนโยบายการเงิน คือ 0-3.5% ก็ไม่ได้เกิดจากการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเราไม่ได้ละเลยในการทำหน้าที่ดูแล เพราะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ที่ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งทุกประเทศก็มีปัญหาเหมือนกับเรา แต่ก็เชื่อว่าเงินเฟ้อที่หลุดจากเป้านี้เป็นเพียงแค่ระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาวประมาณ 8 ไตรมาสหรืออีก 2 ปีข้างหน้าจะอยู่ในเป้าตามเดิม คือ เงินเฟ้อไม่เกิน 3.5%”
อย่างไรก็ตาม ในกฎหมาย พ.ร.บ.ธปท.ได้ระบุให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีการทบทวนอัตราเงินเฟ้อที่ใช้เป็นกรอบในการดำเนินนโยบายการเงินใหม่ทุกปีตามภาวะในช่วงนั้นๆ จึงรอให้คณะกรรมการ ธปท.ที่เป็นผู้แต่งตั้ง กนง. ชุดใหม่ก่อน ซึ่งคาดว่าในเร็วๆ นี้จะได้ข้อสรุป
นอกจากนี้ หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงต่อไปจะกระทบต่อภาคการส่งออกด้วยเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ เนื่องจากค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น ทำให้เสียความสามารถในการแข่งขันมาก ซึ่งขณะนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก ถือเป็นปัญหาต่อการแข่งขันในการส่งออกของไทย นอกจากนี้จากการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูงส่วนหนึ่งก็ยิ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับสูงขึ้นมาก ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้เปลี่ยนแปลงก็ตาม
ขณะเดียวกัน ธปท.ยังได้ปรับประมาณการณ์เครื่องชี้เศรษฐกิจของไทยของปีนี้ใหม่ โดยการส่งออกจะมีมูลค่าขยายตัวที่ 16-19% ปีหน้า 12.5-15.5% และการนำเข้ามีมูลค่าขยายตัว 27-30% ปีหน้า 16.5-19.5% ทำให้ในปีนี้ไทยขาดดุลการค้า 1,500-3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ปีหน้าขาดดุล 6,000-10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้มีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ 1,000-4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และปีหน้าขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 1,000-4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านการบริโภคโดยรวมอยู่ที่ระดับ 3-4% และปีหน้า 4.5-5.5% ซึ่งปีนี้ในส่วนของการบริโภคเอกชนอยู่ที่ 3-4% ภาครัฐ 2-3% การลงทุนโดยรวม 4.3-5.3% ปีหน้า 8-9% ซึ่งในปี 2551 คาดว่าเอกชนจะมีการลงทุน 4.5-5.5% ภาครัฐ 3-4%
ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.ยังได้ประเมินความเสี่ยงต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ ซึ่งมีทั้งปัจจัยด้านลบและด้านบวก โดยปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน คือ รัฐบาลต้องมีการเพิ่มการใช้จ่าย เพื่อรักษาการขาดดุลของงบประมาณ ราคาน้ำมันดูไบต่ำกว่ากรณีฐาน คือ ค่าเฉลี่ยทั้งปีที่ระดับ 119.6 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งกรณีเลวร้ายเฉลี่ยทั้งปีที่ระดับ 131.1 เหรียญสหรัฐ และค่าเงินบาทอ่อน แม้ธปท.มองว่าค่าเงินบาทในภูมิภาคเอเชียจะแข็งค่าขึ้น จากการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐที่เข้มงวดขึ้น ทำให้ทิศทางค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น แต่ค่าเงินเยนยังอ่อนค่า ขณะที่ปัจจัยฉุดการขยายตัวเศรษฐกิจต่อไป คือ ราคาน้ำมันดูไบที่สูงกว่า 119.6 เหรียญต่อบาร์เรล เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าโดยรวมที่ขยายตัวต่ำกว่า 4.8% รวมทั้งความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในอนาคต โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้น คือ ราคาน้ำมันสูงกว่าที่ธปท.ประเมินไว้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าเกษตรสูง จากที่ธปท.มองว่าราคาในปีหน้าจะเริ่มลดลง รวมทั้งค่าเงินบาทอ่อน และประเด็นที่น่าห่วงที่สุด คือ กระบวนการคาดการณ์เงินเฟ้อจะเร่งตัวสูง ด้านปัจจัยที่ช่วยให้เงินเฟ้อต่ำลงได้ คือ ราคาน้ำมันไม่สูงกว่าที่ประเมินไว้ และเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด นอกจากนี้ ธปท.ยังคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้อีก 2% และปีหน้าเพิ่มอีก 3%
สำหรับมาตรการ 6 ข้อฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นเชื่อว่าเป็นแค่การบรรเทาความเดือดร้อนด้านค่าครองชีพที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้มีผลให้เศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากเป็นมาตรการแค่ระยะสั้น เพราะถ้าจะให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องดำเนินการไม่น้อยกว่า 2 ปี และผลของมาตรการนี้จะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 0.1-0.3% อย่างไรก็ตาม 6 มาตรการ 6 เดือน จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการบันทึกราคาของกระทรวงพาณิชย์.