ผู้จัดการรายวัน - ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด"สมชาย" กรณีจงใจไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมขายที่ดินเป็นเงิน 70 ล้าน สมัยเป็นปลัดยุติธรรม "ผิดวินัย" ส่งให้ "ขุนค้อน" จัดการ "ประพันธ์" แนะจับตา ก.ยุติธรรม เตะถ่วงคดีสมชาย ชี้ส่งผลต่อตำแหน่งนายกฯ เพราะขาดคุณสมบัติ ส่วน"ยุทธตู้เย็น" เจอข้อหาแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเป็นเท็จ ด้าน"กรณ์" ข้องใจคดีเอสซีแอสเซท หลุดชั้นอัยการ เชื่อมีความพยายามอุ้ม"แม้ว" และตระกูลชินฯ จับตา อสส. หากยืนตามคณะทำงานอัยการ เจอยื่นป.ป.ช. สอบแน่ ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่
วานนี้ (16 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยนายปานเทพ กล้ารงค์ราญ ประธานป.ป.ช. นายกล้านรงค์ จันทิก คณะกรรมการป.ป.ช. ร่วมแถลงข่าวกรณีการพิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายบัณฑิต รชตะนันท์ สั่งระงับเรื่องไม่ดำเนินคดีกับนายประมาณ ตียะไพบูลย์สิน อดีตอธิบดีกรมบังคับคดี และนายมานิตย์ สุธาพร อดีตรองอธิบดีกรมบังคับคดี ที่สั่งคืนเงินจำนวน 70 ล้านบาท ที่ได้จากการขายที่ดินทอดตลาด ของศาลจังหวัดธัญบุรี โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับคดีของนายประมาณ และนายมานิตย์ ไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงว่านายประมาณและนายมานิต มีเจตนาทุจริตสั่งคืนเงิน 70 ล้านบาท ให้แก่คู่ความโดยไม่หักค่าธรรมเนียมการบังคับคดีไว้ตามกฎหมาย กรณีนี้จึงไม่สามารถลงโทษทางวินัยกับ นายประมาณและนายมานิตได้ หลังจากนั้นสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการโดย นายบัณฑิต รชตะนันทน์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น และรักษาราชการเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมตุลาการ ได้มีคำสั่งระงับเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้คณะอนุกรรมการไต่สวนได้พิจารณาให้มีมติชี้มูลความผิดทั้งทางวินัยและอาญาแก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองราย คือนายบัณฑิต และนายสมชาย ว่ามีพฤติการณ์ที่มีมูลความผิดทางวินัยฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งมีความเห็นให้ระงับเรื่องการขายที่ดินทอดตลาด
สำหรับนายสุทัศน์ เงินหมื่น ซึ่งเป็นรมว.ยุติธรรม ในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้เซ็นต์รับทราบเรื่องดังกล่าว คณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า พฤติการณ์ของนายสุทัศน์ มีมูลความผิดฐานหมิ่นประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ เช่นเดียวกัน แต่กรณีของนายสุทัศน์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับวินัยใช้บังคับ ประกอบกับได้พ้นตำแหน่งไปแล้ว คณะกรรมการป.ป.ช.จึงไม่อาจจะดำเนินการต่อไปได้ คณะกรรมการป.ป.ช. จึงมีมติส่งเรื่องให้ประธานคณะกรรมการตุลาการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ แก่นายบัณฑิต และส่งเรื่องให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รมว.ยุติธรรม พิจารณาโทษทางวินัยแก่นายสมชาย ต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า มติของป.ป.ช. เกี่ยวกับการชี้มูลความผิดของนายสมชาย มีมติเป็นเอกฉันท์หรือไม่ นายกล้านรงค์กล่าวว่า คณะกรรมการป.ป.ช.ทั้ง 9 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งเมื่อ ป.ป.ช.ส่งเรื่องให้รมว.ยุติธรรม ดำเนินการภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นขั้นตอนตามกฎหมาย
เมื่อถามว่าหาก รมว.ยุติธรรมไม่ดำเนินการ ทางป.ป.ช.จะดำเนินการอย่างไร นายกล้านรงค์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องรอให้ถึงกำหนดเวลาก่อน อย่าเพิ่งคิดไปเกินกว่าอำนาจ ป.ป.ช.ที่จะพิจารณา ส่วนผลจะออกมาอย่างไร ก็ต้องรอดูกันอีกครั้ง
เมื่อถามว่าโทษทางวินัยร้ายแรงคือการปลดออกหรือไล่ออก จะมีผลต่อคุณสมบัติต่อการเป็นนายกรัฐมนตรี ของนายสมชาย หรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า การประมาท เลินเล่อ ตามมาตรา 84 วรรค 2 ไม่ได้ระบุว่า ห้ามให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปฏิเสธที่จะตอบข้อซักถามถึงกรณีที่ ป.ป.ช.ชี้มูลมีความผิดวินัยร้ายแรง ฐานไม่รักษาผลประโยชน์ของราชการในกรณีนี้ โดยกล่าวเพียงสั้นๆว่า ขออนุญาตไม่พูดเรื่องนี้ ขอเป็นคำถามอื่น
**จับตา ก.ยุติธรรมเตะถ่วง
นายประพันธ์ คูณมี อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) กล่าวถึงคดีที่ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สมัยที่เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่า ในกรณีนี้ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลแค่ว่า นายสมชาย ทำผิดวินัยร้ายแรงโทษ คือปลดออก หรือไล่ออก โดยไม่ได้ชี้ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ต้องส่งไปให้ อกพ. ยุติธรรม ซึ่งเป็นต้นสังกัดดำเนินการต่อ ซึ่งอาจทำให้มีการยื้อเวลาไปได้ แต่อย่างไรก็ดี ตามกฎหมายใหม่ที่แก้ไข ทางหน่วยงานต้นสังกัดต้องดำเนินการตามที่ ป.ป.ช.มีมติ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องสอบสวนใหม่ และโทษคือปลดออก และไล่ออกเท่านั้น
นายประพันธ์กล่าวว่า เมื่อเป็นแบบนี้ทำให้ต้องมาเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญในเรื่องคุณสมบัติต้องห้ามการเข้าสู่การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง ที่ห้ามข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เคยถูกไล่ออกหรือปลดออกเป็น ส.ส. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง
**"ยุทธตู้เย็น" แจ้งบัญชีเท็จ
นายกล้านรงค์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ ที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งแล้ว 1 ปี และในตำแหน่งส.ส.ที่ได้ยื่นบัญชีกรณีเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง ปรากฎว่านายยงยุทธ ได้แสดงในบัญชีฯรวมทั้ง 5 กรณีว่า ตนได้ขายหุ้นบริษัท มิติฟู้ดโปรดักส์ จำกัด จำนวน 24,500 หุ้น ให้แก่ พ.ต.ท.นัฐวุฒิ ยุววรรณ ซึ่งเป็นน้องภริยา เป็นเงิน 2,450,000 บาท โดย พ.ต.ท.นัฎวุฒิ ได้ชำระเงินค่าซื้อหุ้นบริษัทดังกล่าวเป็นเงินสด จำนวน 850,000 บาท ส่วนเงินที่ค้างชำระจำนวน 1,600,000 บาท พ.ต.ท.นัฐวุฒิ ได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ให้แก่ นายยงยุทธไว้ ซึ่งนายยงยุทธ ได้ยื่นสำเนาสัญญาซื้อขายหุ้นบริษัทดังกล่าว ลงวันที่ 6 มี.ค.48 ระหว่าง นายยงยุทธ ผู้ขาย และพ.ต.ท.นัฐวุฒิ ผู้ซื้อ และสัญญารับสภาพหนี้ของพ.ต.ท.นัฐวุฒิ จำนวน 1,600,000 บาท มาในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินทั้ง 5 กรณีแล้ว
จากการตรวจสอบพบว่า นับแต่วันจดทะเบียนจนถึงปัจจุบันรวม 18 ปีเศษ บริษัทดังกล่าวไม่ได้ประกอบกิจการการค้าแต่อย่างใด และพ.ต.ท.นัฐวุฒิ ไม่มีฐานะการเงินเพียงพอที่จะชำระเงินค่าหุ้นเป็นเงินสดถึงจำนวน 850,000 บาท ตามที่ได้มีการทำสัญญากันไว้จริง จึงมีเหตุอันควรเชื่อว่า ไม่มีการซื้อขายหุ้นกันจริง เป็นจำนวนเงิน 2,450,000 บาท และไม่มีเงินให้กู้ยืมจำนวน 1,600,000 บาท ตามที่นายยงยุทธได้แสดงไว้ในบัญชีฯ เหตุที่นายยงยุทธ ทำสัญญาซื้อขายหุ้นดังกล่าวขึ้นมา เพราะนายยงยุทธ ต้องการหลีกเลี่ยงจากการที่จะต้องปฎิบัติตามขั้นตอน และวิธีการที่บัญญัติใน พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตารา 4 และ 5
คณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่า การกระทำของนายยงยุทธ เป็นการจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิด ข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ให้เสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่านายยงยุทธ จงใจยื่นบัญชีด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 263 รวมทั้งให้พิพากษาลงโทษตาม มาตรา 119 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2542
** จวกอัยการอุ้มแม้วคดีเอสซี
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเงา แถลงถึงกรณีที่คณะทำงานอัยการได้แถลงว่า เสนอยกคำร้องของกรมสืบสวนคดีพิเศษ ( ดีเอสไอ) กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่มีต่อครอบครัวชินวัตร รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ในกรณี เอสซีแอสเซทว่า สิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าทำไมรัฐบาลชุดนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยึดติดกับอำนาจ และไม่พร้อมที่จะเสียสละเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ เนื่องจากความจำเป็นในการรักษาอำนาจไว้ เพื่อแก้ปมปัญหาของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และปมปัญหาของครอบครัวชินวัตร อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ตนเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะทำงานอัยการนั้นฟังไม่ขึ้น และไม่ได้หักล้างข้อกล่าวหาที่ ดีเอสไอ มีต่อพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวแต่อย่างใด โดยมีการอ้างในรายละเอียดว่า ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ มีคำวิจิฉัยว่าไม่ได้กระทำ หรือฝ่าฝืนกฎหมาย แต่เมื่อดูคำแถลงของ ดีเอสไอ ในกลางปี 2550 ปรากฏว่า ทางสำนักอัยการยังไม่ได้พิจารณาข้อกล่าวหาที่ ดีเอสไอ ได้ตั้งไว้ในกรณีนี้แต่อย่างใด
นายกรณ์กล่าวว่าดังนั้น ขั้นตอนจากนี้ไปคณะกรรมการอัยการนำเรื่องนี้เสนอกลับไปที่ ดีเอสไอ ในฐานะผู้ร้องเรียนให้พิจารณาว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย กับคำวินิจฉัยของคณะทำงานอัยการหรือไม่ ถ้าไม่เห็นด้วยสุดท้ายก็ต้องส่งไปที่อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อพิจารณาว่า จะยื่นฟ้องหรือไม่ ซึ่งตนและพรรคประชาธิปัตย์ ขอเรียนว่า เราเห็นว่าดีเอสไอ ได้ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนคำวินิจฉัยของคณะทำงานอัยการตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. ที่ผ่านมา มีข้อสงสัยว่า ทำไมถึงมีการตอบรับข้อสรุปของอัยการได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ ละครอีกหนึ่งฉากที่ ดีเอสไอ ทำขึ้นมาเพื่อตบตาประชาชนว่า ตัวเองเอาจริงกับการติดตามข้อกล่าวหาของตน เมื่อได้ยื่นกับอัยการหรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า อธิบดี ดีเอสไอ ที่เคยทำงานนี้เดิมคือนายสุนัย มโนมัยอุดม ได้ถูกสั่งย้ายตั้งแต่สมัยรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแรกที่รัฐบาลพยายามปลดคนที่ยื่นฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทางครอบครัวชินวัตร และรัฐบาลได้ตระหนักถึงภัยต่อครอบครัวชินวัตรในคดีนี้
**เตรียมร้อง ปปช.อัยการละเว้น
"ผมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า คดีนี้ทางผู้ที่มีอำนาจพยายามที่จะปกป้องครอบครัวชินวัตร ไม่สามารถที่จะปล่อยให้คดีนี้เข้าสู่กระบวนการศาลได้ เพราะคดีนี้เป็นคดีเดียวที่มีการสืบสวนสอบสวนและมีการชี้มูล โดยหน่วยงานที่ไม่ใช่ คตส. ฉะนั้นแม้รัฐบาลสามารถที่จะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อหักล้างความชอบธรรมของ คตส.ได้ในอนาคต ก็ไม่สามารถหักล้างกรณีของ เอสซีแอสเซทได้ เพราะผู้ที่ชี้มูลและยื่นฟ้องคือ ดีเอสไอ ร่วมกับ กลต. ฉะนั้นเรื่องนี้ในรัฐบาล และครอบครัวชินวัตรจึงไม่สามารถปล่อยให้ถึงมือศาลได้ จึงเป็นสาเหตุให้มีขบวนการต่อเนื่องทำลายข้อกล่าวหาที่มีอยู่ จึงชี้ให้เห็นว่าทำไมคำวินิจฉัยของอัยการจึงรับไม่ได้ เราจึงหวังว่าทางดีเอสไอ จะต้องตอบโต้ในส่วนคำวินิจฉัยนี้ และ กลต.เองซึ่งเป็นผู้ยื่นหลักฐานกับ ดีเอสไอ ตั้งแต่แรกก็ควรจะออกมาตอบโต้ และหักล้างคำวินิจฉัยของอัยการด้วย เพราะมีความชัดเจนว่า อัยการพิจารณาความผิดหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวกับพ.ร.บ.หลักทรัพย์ ซึ่งตรงนี้พรรคประชาธิปัตย์ จะต้องติดตามดูว่าสุดท้ายการตัดสินใจของสำนักงานอัยการสูงสุดจะเป็นอย่างไร แต่ด้วยหลักฐานที่มีของคณะทำงายอัยการ พอชี้ให้เห็นได้ว่า หากอัยการสูงสุดยังยืนยันตามข้อสรุปของคณะทำงาน เราจะต้องยื่นเรื่องนี้ให้ ป.ป.ช.พิจารณาอย่างแน่นอน ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ของสำนักงานอัยการหรือไม่" นายกรณ์กล่าว.
วานนี้ (16 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยนายปานเทพ กล้ารงค์ราญ ประธานป.ป.ช. นายกล้านรงค์ จันทิก คณะกรรมการป.ป.ช. ร่วมแถลงข่าวกรณีการพิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายบัณฑิต รชตะนันท์ สั่งระงับเรื่องไม่ดำเนินคดีกับนายประมาณ ตียะไพบูลย์สิน อดีตอธิบดีกรมบังคับคดี และนายมานิตย์ สุธาพร อดีตรองอธิบดีกรมบังคับคดี ที่สั่งคืนเงินจำนวน 70 ล้านบาท ที่ได้จากการขายที่ดินทอดตลาด ของศาลจังหวัดธัญบุรี โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับคดีของนายประมาณ และนายมานิตย์ ไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงว่านายประมาณและนายมานิต มีเจตนาทุจริตสั่งคืนเงิน 70 ล้านบาท ให้แก่คู่ความโดยไม่หักค่าธรรมเนียมการบังคับคดีไว้ตามกฎหมาย กรณีนี้จึงไม่สามารถลงโทษทางวินัยกับ นายประมาณและนายมานิตได้ หลังจากนั้นสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการโดย นายบัณฑิต รชตะนันทน์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น และรักษาราชการเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมตุลาการ ได้มีคำสั่งระงับเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้คณะอนุกรรมการไต่สวนได้พิจารณาให้มีมติชี้มูลความผิดทั้งทางวินัยและอาญาแก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองราย คือนายบัณฑิต และนายสมชาย ว่ามีพฤติการณ์ที่มีมูลความผิดทางวินัยฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งมีความเห็นให้ระงับเรื่องการขายที่ดินทอดตลาด
สำหรับนายสุทัศน์ เงินหมื่น ซึ่งเป็นรมว.ยุติธรรม ในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้เซ็นต์รับทราบเรื่องดังกล่าว คณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า พฤติการณ์ของนายสุทัศน์ มีมูลความผิดฐานหมิ่นประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ เช่นเดียวกัน แต่กรณีของนายสุทัศน์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับวินัยใช้บังคับ ประกอบกับได้พ้นตำแหน่งไปแล้ว คณะกรรมการป.ป.ช.จึงไม่อาจจะดำเนินการต่อไปได้ คณะกรรมการป.ป.ช. จึงมีมติส่งเรื่องให้ประธานคณะกรรมการตุลาการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ แก่นายบัณฑิต และส่งเรื่องให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รมว.ยุติธรรม พิจารณาโทษทางวินัยแก่นายสมชาย ต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า มติของป.ป.ช. เกี่ยวกับการชี้มูลความผิดของนายสมชาย มีมติเป็นเอกฉันท์หรือไม่ นายกล้านรงค์กล่าวว่า คณะกรรมการป.ป.ช.ทั้ง 9 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งเมื่อ ป.ป.ช.ส่งเรื่องให้รมว.ยุติธรรม ดำเนินการภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นขั้นตอนตามกฎหมาย
เมื่อถามว่าหาก รมว.ยุติธรรมไม่ดำเนินการ ทางป.ป.ช.จะดำเนินการอย่างไร นายกล้านรงค์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องรอให้ถึงกำหนดเวลาก่อน อย่าเพิ่งคิดไปเกินกว่าอำนาจ ป.ป.ช.ที่จะพิจารณา ส่วนผลจะออกมาอย่างไร ก็ต้องรอดูกันอีกครั้ง
เมื่อถามว่าโทษทางวินัยร้ายแรงคือการปลดออกหรือไล่ออก จะมีผลต่อคุณสมบัติต่อการเป็นนายกรัฐมนตรี ของนายสมชาย หรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า การประมาท เลินเล่อ ตามมาตรา 84 วรรค 2 ไม่ได้ระบุว่า ห้ามให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปฏิเสธที่จะตอบข้อซักถามถึงกรณีที่ ป.ป.ช.ชี้มูลมีความผิดวินัยร้ายแรง ฐานไม่รักษาผลประโยชน์ของราชการในกรณีนี้ โดยกล่าวเพียงสั้นๆว่า ขออนุญาตไม่พูดเรื่องนี้ ขอเป็นคำถามอื่น
**จับตา ก.ยุติธรรมเตะถ่วง
นายประพันธ์ คูณมี อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) กล่าวถึงคดีที่ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สมัยที่เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่า ในกรณีนี้ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลแค่ว่า นายสมชาย ทำผิดวินัยร้ายแรงโทษ คือปลดออก หรือไล่ออก โดยไม่ได้ชี้ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ต้องส่งไปให้ อกพ. ยุติธรรม ซึ่งเป็นต้นสังกัดดำเนินการต่อ ซึ่งอาจทำให้มีการยื้อเวลาไปได้ แต่อย่างไรก็ดี ตามกฎหมายใหม่ที่แก้ไข ทางหน่วยงานต้นสังกัดต้องดำเนินการตามที่ ป.ป.ช.มีมติ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องสอบสวนใหม่ และโทษคือปลดออก และไล่ออกเท่านั้น
นายประพันธ์กล่าวว่า เมื่อเป็นแบบนี้ทำให้ต้องมาเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญในเรื่องคุณสมบัติต้องห้ามการเข้าสู่การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง ที่ห้ามข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เคยถูกไล่ออกหรือปลดออกเป็น ส.ส. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง
**"ยุทธตู้เย็น" แจ้งบัญชีเท็จ
นายกล้านรงค์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ ที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งแล้ว 1 ปี และในตำแหน่งส.ส.ที่ได้ยื่นบัญชีกรณีเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง ปรากฎว่านายยงยุทธ ได้แสดงในบัญชีฯรวมทั้ง 5 กรณีว่า ตนได้ขายหุ้นบริษัท มิติฟู้ดโปรดักส์ จำกัด จำนวน 24,500 หุ้น ให้แก่ พ.ต.ท.นัฐวุฒิ ยุววรรณ ซึ่งเป็นน้องภริยา เป็นเงิน 2,450,000 บาท โดย พ.ต.ท.นัฎวุฒิ ได้ชำระเงินค่าซื้อหุ้นบริษัทดังกล่าวเป็นเงินสด จำนวน 850,000 บาท ส่วนเงินที่ค้างชำระจำนวน 1,600,000 บาท พ.ต.ท.นัฐวุฒิ ได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ให้แก่ นายยงยุทธไว้ ซึ่งนายยงยุทธ ได้ยื่นสำเนาสัญญาซื้อขายหุ้นบริษัทดังกล่าว ลงวันที่ 6 มี.ค.48 ระหว่าง นายยงยุทธ ผู้ขาย และพ.ต.ท.นัฐวุฒิ ผู้ซื้อ และสัญญารับสภาพหนี้ของพ.ต.ท.นัฐวุฒิ จำนวน 1,600,000 บาท มาในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินทั้ง 5 กรณีแล้ว
จากการตรวจสอบพบว่า นับแต่วันจดทะเบียนจนถึงปัจจุบันรวม 18 ปีเศษ บริษัทดังกล่าวไม่ได้ประกอบกิจการการค้าแต่อย่างใด และพ.ต.ท.นัฐวุฒิ ไม่มีฐานะการเงินเพียงพอที่จะชำระเงินค่าหุ้นเป็นเงินสดถึงจำนวน 850,000 บาท ตามที่ได้มีการทำสัญญากันไว้จริง จึงมีเหตุอันควรเชื่อว่า ไม่มีการซื้อขายหุ้นกันจริง เป็นจำนวนเงิน 2,450,000 บาท และไม่มีเงินให้กู้ยืมจำนวน 1,600,000 บาท ตามที่นายยงยุทธได้แสดงไว้ในบัญชีฯ เหตุที่นายยงยุทธ ทำสัญญาซื้อขายหุ้นดังกล่าวขึ้นมา เพราะนายยงยุทธ ต้องการหลีกเลี่ยงจากการที่จะต้องปฎิบัติตามขั้นตอน และวิธีการที่บัญญัติใน พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตารา 4 และ 5
คณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่า การกระทำของนายยงยุทธ เป็นการจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิด ข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ให้เสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่านายยงยุทธ จงใจยื่นบัญชีด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 263 รวมทั้งให้พิพากษาลงโทษตาม มาตรา 119 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2542
** จวกอัยการอุ้มแม้วคดีเอสซี
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเงา แถลงถึงกรณีที่คณะทำงานอัยการได้แถลงว่า เสนอยกคำร้องของกรมสืบสวนคดีพิเศษ ( ดีเอสไอ) กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่มีต่อครอบครัวชินวัตร รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ในกรณี เอสซีแอสเซทว่า สิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าทำไมรัฐบาลชุดนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยึดติดกับอำนาจ และไม่พร้อมที่จะเสียสละเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ เนื่องจากความจำเป็นในการรักษาอำนาจไว้ เพื่อแก้ปมปัญหาของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และปมปัญหาของครอบครัวชินวัตร อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ตนเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะทำงานอัยการนั้นฟังไม่ขึ้น และไม่ได้หักล้างข้อกล่าวหาที่ ดีเอสไอ มีต่อพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวแต่อย่างใด โดยมีการอ้างในรายละเอียดว่า ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ มีคำวิจิฉัยว่าไม่ได้กระทำ หรือฝ่าฝืนกฎหมาย แต่เมื่อดูคำแถลงของ ดีเอสไอ ในกลางปี 2550 ปรากฏว่า ทางสำนักอัยการยังไม่ได้พิจารณาข้อกล่าวหาที่ ดีเอสไอ ได้ตั้งไว้ในกรณีนี้แต่อย่างใด
นายกรณ์กล่าวว่าดังนั้น ขั้นตอนจากนี้ไปคณะกรรมการอัยการนำเรื่องนี้เสนอกลับไปที่ ดีเอสไอ ในฐานะผู้ร้องเรียนให้พิจารณาว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย กับคำวินิจฉัยของคณะทำงานอัยการหรือไม่ ถ้าไม่เห็นด้วยสุดท้ายก็ต้องส่งไปที่อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อพิจารณาว่า จะยื่นฟ้องหรือไม่ ซึ่งตนและพรรคประชาธิปัตย์ ขอเรียนว่า เราเห็นว่าดีเอสไอ ได้ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนคำวินิจฉัยของคณะทำงานอัยการตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. ที่ผ่านมา มีข้อสงสัยว่า ทำไมถึงมีการตอบรับข้อสรุปของอัยการได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ ละครอีกหนึ่งฉากที่ ดีเอสไอ ทำขึ้นมาเพื่อตบตาประชาชนว่า ตัวเองเอาจริงกับการติดตามข้อกล่าวหาของตน เมื่อได้ยื่นกับอัยการหรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า อธิบดี ดีเอสไอ ที่เคยทำงานนี้เดิมคือนายสุนัย มโนมัยอุดม ได้ถูกสั่งย้ายตั้งแต่สมัยรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแรกที่รัฐบาลพยายามปลดคนที่ยื่นฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทางครอบครัวชินวัตร และรัฐบาลได้ตระหนักถึงภัยต่อครอบครัวชินวัตรในคดีนี้
**เตรียมร้อง ปปช.อัยการละเว้น
"ผมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า คดีนี้ทางผู้ที่มีอำนาจพยายามที่จะปกป้องครอบครัวชินวัตร ไม่สามารถที่จะปล่อยให้คดีนี้เข้าสู่กระบวนการศาลได้ เพราะคดีนี้เป็นคดีเดียวที่มีการสืบสวนสอบสวนและมีการชี้มูล โดยหน่วยงานที่ไม่ใช่ คตส. ฉะนั้นแม้รัฐบาลสามารถที่จะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อหักล้างความชอบธรรมของ คตส.ได้ในอนาคต ก็ไม่สามารถหักล้างกรณีของ เอสซีแอสเซทได้ เพราะผู้ที่ชี้มูลและยื่นฟ้องคือ ดีเอสไอ ร่วมกับ กลต. ฉะนั้นเรื่องนี้ในรัฐบาล และครอบครัวชินวัตรจึงไม่สามารถปล่อยให้ถึงมือศาลได้ จึงเป็นสาเหตุให้มีขบวนการต่อเนื่องทำลายข้อกล่าวหาที่มีอยู่ จึงชี้ให้เห็นว่าทำไมคำวินิจฉัยของอัยการจึงรับไม่ได้ เราจึงหวังว่าทางดีเอสไอ จะต้องตอบโต้ในส่วนคำวินิจฉัยนี้ และ กลต.เองซึ่งเป็นผู้ยื่นหลักฐานกับ ดีเอสไอ ตั้งแต่แรกก็ควรจะออกมาตอบโต้ และหักล้างคำวินิจฉัยของอัยการด้วย เพราะมีความชัดเจนว่า อัยการพิจารณาความผิดหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวกับพ.ร.บ.หลักทรัพย์ ซึ่งตรงนี้พรรคประชาธิปัตย์ จะต้องติดตามดูว่าสุดท้ายการตัดสินใจของสำนักงานอัยการสูงสุดจะเป็นอย่างไร แต่ด้วยหลักฐานที่มีของคณะทำงายอัยการ พอชี้ให้เห็นได้ว่า หากอัยการสูงสุดยังยืนยันตามข้อสรุปของคณะทำงาน เราจะต้องยื่นเรื่องนี้ให้ ป.ป.ช.พิจารณาอย่างแน่นอน ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ของสำนักงานอัยการหรือไม่" นายกรณ์กล่าว.