ผู้จัดการรายวัน-โชห่วยส่อแววรอด “ไชยา”สั่งเสนอร่างกฎหมายค้าปลีกเข้าครม.สัปดาห์หน้า นำร่างเดิมที่ผ่านการพิจารณาสมัยสนช.ให้พิจารณา หวังดันเข้าสู่สภาฯ ได้ทันเดือนพ.ย.นี้ เพราะหากชักช้าโชห่วยไทยไม่รอดแน่ และหากพ้นเวลานี้ไปต้องรอเสนออีกทีส.ค.ปีหน้า
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับปากคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจการพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา ที่เดินทางมาเยี่ยมกระทรวงพาณิชย์วานนี้ (13 ต.ค.) ว่าจะเร่งผลักดันร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง โดยจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโดยเร็ว เพราะกระทรวงพาณิชย์ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ควรจะมีกฎหมายเพื่อออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่งรายย่อย (โชห่วย) ของไทย โดยจะใช้ร่างเดิมที่เคยผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นำกลับมาเสนอให้ครม.อนุมัติ
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า คาดว่าจะเสนอให้ครม.พิจารณาร่างกฎหมายได้ในวันที่ 21 ต.ค.นี้ โดยร่างกฎหมายค้าปลีกค้าส่งที่จะเสนอให้ครม. อนุมัตินั้น จะเป็นร่างกฎหมายเดิมที่กระทรวงพาณิชย์เคยยกร่างในสมัยนายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นรมว.พาณิชย์ ที่ได้ผ่านการพิจารณาจากสนช. วาระ 1 ไปแล้ว และอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการธิการสนช. แต่ต้องยุติลงไปก่อน เพราะสนช.หมดอายุการทำงาน
“สาเหตุที่ต้องเร่งนำร่างกฎหมายเข้าครม.อนุมัติก่อน เพราะเกรงว่าจะนำเสนอไม่ทันรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะถ้ารอคณะอนุกรรมการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่ตั้งขึ้นตามนโยบายของนายไชยา ศึกษาจนเสร็จอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน ดังนั้น จึงต้องมีการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณา เพื่อให้ผ่านมติครม. โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของกฤษฎีกาแล้ว สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ได้เลย” นายยรรยง กล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า ขั้นตอนการทำงาน หลังจากที่ร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบจากครม. และสามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯวาระ 1 ได้แล้ว จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการของสภาฯพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่าง ซึ่งในขั้นตอนนี้ กระทรวงฯจะนำข้อสรุปการปรับปรุงกฎหมายค้าปลีกค้าส่งที่ได้จากคณะอนุกรรมการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเสนอไปยังคณะกรรมาธิการ เพื่อปรับปรุงให้ร่างกฎหมายเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
“คณะอนุกรรมการฯ คงทำหน้าที่ศึกษากฎหมายควบคู่ไปกับการนำร่างเสนอไปตามขั้นตอนเพื่อให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย และเพื่อความรวดเร็ว โดยเป้าหมายของการออกกฎหมายคือดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบให้เกิดความเป็นธรรม รายเล็กและใหญ่ทำธุรกิจร่วมกันได้ เพราะขณะนี้การทำธุรกิจของห้างค้าปลีกสมัยใหม่ไม่ได้กระทบแต่โชห่วยอย่างเดียวเท่านั้น แต่กระทบกับตลาดนัด และร้านขายสินค้าเฉพาะอย่างไปด้วย” นายยรรยง กล่าว
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอให้กระทรวงพาณิชย์เร่งผลักดันกฎหมายค้าปลีกค้าส่งโดยเร็ว โดยจะเฉพาะการนำร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯให้ทันเดือนพ.ย. เนื่องจากสมัยนิติบัญญัติจะหมดอายุปลายพ.ย. ทำให้ไม่สามารถเสนอกฎหมายใหม่เข้าไปได้ ต้องรอเสนออีกครั้งเดือนส.ค. ปีหน้า ซึ่งจะไม่ทันการ เพราะขณะนี้โชห่วยเดือดร้อนจากการขยายสาขาห้างค้าปลีกสมัยใหม่ที่ปัจจุบันมีการขยายตัวรวดเร็วมากกว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศแล้ว
แหล่งข่าวในวงการค้าปลีกกล่าวถึงกรณีที่กรมการค้าภายในจะรีบสรุปร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งฯ เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และจะเร่งผลักดันให้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏรภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ว่า เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก เพราะพึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ยังไม่ทันได้มีการพิจารณาเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.เลยแม้แต่ครั้งเดียว ไม่ทราบว่ากรมการค้าภายในจะออกร่าง พ.ร.บ.นี้จากพื้นฐานของอะไร หรือเพียงแค่หยิบร่างเก่าที่ไม่ผ่านการพิจารณาของสภาฯมาปัดฝุ่นใหม่และยื่นเข้าไปหมือนเดิม ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น นับว่ากรมการค้าภายใน ไร้ความรับผิดชอบอย่างมาก เพราะร่าง พ.ร.บ.เดิมนั้นไม่เป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการ เนื่องจากมีเนื้อหาเอื้อประโยชน์ให้พ่อค้าคนกลางกลับมาเป็นเจ้าตลาด ส่งผลเสียให้กับผู้บริโภคที่ต้องรับภาระซื้อสินค้าในราคาแพง และจะถูกข่มขู่ให้ขึ้นราคาสินค้าด้วยการกักตุนสินค้าอยู่ตลอดเวลา
“อยากทราบว่า กรมการค้าภายใน ใช้หลักการอะไรในการกำหนดเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการยังไม่มีการประชุมกันเลย รวมทั้งข้อเท็จริงต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปมาก การนำร่างเก่ากลับมาใช้ใหม่โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไข เหมือนเป็นการตบหน้านักวิชาการและ ส.ส.ในสภาฯที่เคยคัดค้านจนร่างเดิมตกมาแล้ว” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ นอกจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรานโชห่วยที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เนื่องจากปัจจุบันร้านโชห่วยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ค้าสามารถสั่งซื้อของจากโมเดิร์นเทรดได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ทำให้ผลประกอบการดีขึ้น จึงไม่เข้าใจว่ากรมการค้าภายในจะมาควบคุมอะไร นอกจากนี้ ผู้บริโภคเองก็กำลังอยู่ในฐานะลำบากจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะตกต่ำอย่างรุนแรง แต่กรมการค้าภายใน กลับมาควบคุมช่องทางการจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด เหมือนต้องการผลักให้ผู้บริโภคต้องตกเป็นเหยื่อของพ่อค้าหน้าเลือดให้โขกราคาสินค้าตามใจชอบ ซึ่งการรีบเร่งเช่นนี้ คิดเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นการเตรียมหาทุนเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับปากคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจการพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา ที่เดินทางมาเยี่ยมกระทรวงพาณิชย์วานนี้ (13 ต.ค.) ว่าจะเร่งผลักดันร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง โดยจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโดยเร็ว เพราะกระทรวงพาณิชย์ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ควรจะมีกฎหมายเพื่อออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่งรายย่อย (โชห่วย) ของไทย โดยจะใช้ร่างเดิมที่เคยผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นำกลับมาเสนอให้ครม.อนุมัติ
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า คาดว่าจะเสนอให้ครม.พิจารณาร่างกฎหมายได้ในวันที่ 21 ต.ค.นี้ โดยร่างกฎหมายค้าปลีกค้าส่งที่จะเสนอให้ครม. อนุมัตินั้น จะเป็นร่างกฎหมายเดิมที่กระทรวงพาณิชย์เคยยกร่างในสมัยนายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นรมว.พาณิชย์ ที่ได้ผ่านการพิจารณาจากสนช. วาระ 1 ไปแล้ว และอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการธิการสนช. แต่ต้องยุติลงไปก่อน เพราะสนช.หมดอายุการทำงาน
“สาเหตุที่ต้องเร่งนำร่างกฎหมายเข้าครม.อนุมัติก่อน เพราะเกรงว่าจะนำเสนอไม่ทันรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะถ้ารอคณะอนุกรรมการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่ตั้งขึ้นตามนโยบายของนายไชยา ศึกษาจนเสร็จอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน ดังนั้น จึงต้องมีการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณา เพื่อให้ผ่านมติครม. โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของกฤษฎีกาแล้ว สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ได้เลย” นายยรรยง กล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า ขั้นตอนการทำงาน หลังจากที่ร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบจากครม. และสามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯวาระ 1 ได้แล้ว จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการของสภาฯพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่าง ซึ่งในขั้นตอนนี้ กระทรวงฯจะนำข้อสรุปการปรับปรุงกฎหมายค้าปลีกค้าส่งที่ได้จากคณะอนุกรรมการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเสนอไปยังคณะกรรมาธิการ เพื่อปรับปรุงให้ร่างกฎหมายเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
“คณะอนุกรรมการฯ คงทำหน้าที่ศึกษากฎหมายควบคู่ไปกับการนำร่างเสนอไปตามขั้นตอนเพื่อให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย และเพื่อความรวดเร็ว โดยเป้าหมายของการออกกฎหมายคือดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบให้เกิดความเป็นธรรม รายเล็กและใหญ่ทำธุรกิจร่วมกันได้ เพราะขณะนี้การทำธุรกิจของห้างค้าปลีกสมัยใหม่ไม่ได้กระทบแต่โชห่วยอย่างเดียวเท่านั้น แต่กระทบกับตลาดนัด และร้านขายสินค้าเฉพาะอย่างไปด้วย” นายยรรยง กล่าว
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอให้กระทรวงพาณิชย์เร่งผลักดันกฎหมายค้าปลีกค้าส่งโดยเร็ว โดยจะเฉพาะการนำร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯให้ทันเดือนพ.ย. เนื่องจากสมัยนิติบัญญัติจะหมดอายุปลายพ.ย. ทำให้ไม่สามารถเสนอกฎหมายใหม่เข้าไปได้ ต้องรอเสนออีกครั้งเดือนส.ค. ปีหน้า ซึ่งจะไม่ทันการ เพราะขณะนี้โชห่วยเดือดร้อนจากการขยายสาขาห้างค้าปลีกสมัยใหม่ที่ปัจจุบันมีการขยายตัวรวดเร็วมากกว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศแล้ว
แหล่งข่าวในวงการค้าปลีกกล่าวถึงกรณีที่กรมการค้าภายในจะรีบสรุปร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งฯ เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และจะเร่งผลักดันให้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏรภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ว่า เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก เพราะพึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ยังไม่ทันได้มีการพิจารณาเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.เลยแม้แต่ครั้งเดียว ไม่ทราบว่ากรมการค้าภายในจะออกร่าง พ.ร.บ.นี้จากพื้นฐานของอะไร หรือเพียงแค่หยิบร่างเก่าที่ไม่ผ่านการพิจารณาของสภาฯมาปัดฝุ่นใหม่และยื่นเข้าไปหมือนเดิม ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น นับว่ากรมการค้าภายใน ไร้ความรับผิดชอบอย่างมาก เพราะร่าง พ.ร.บ.เดิมนั้นไม่เป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการ เนื่องจากมีเนื้อหาเอื้อประโยชน์ให้พ่อค้าคนกลางกลับมาเป็นเจ้าตลาด ส่งผลเสียให้กับผู้บริโภคที่ต้องรับภาระซื้อสินค้าในราคาแพง และจะถูกข่มขู่ให้ขึ้นราคาสินค้าด้วยการกักตุนสินค้าอยู่ตลอดเวลา
“อยากทราบว่า กรมการค้าภายใน ใช้หลักการอะไรในการกำหนดเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการยังไม่มีการประชุมกันเลย รวมทั้งข้อเท็จริงต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปมาก การนำร่างเก่ากลับมาใช้ใหม่โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไข เหมือนเป็นการตบหน้านักวิชาการและ ส.ส.ในสภาฯที่เคยคัดค้านจนร่างเดิมตกมาแล้ว” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ นอกจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรานโชห่วยที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เนื่องจากปัจจุบันร้านโชห่วยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ค้าสามารถสั่งซื้อของจากโมเดิร์นเทรดได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ทำให้ผลประกอบการดีขึ้น จึงไม่เข้าใจว่ากรมการค้าภายในจะมาควบคุมอะไร นอกจากนี้ ผู้บริโภคเองก็กำลังอยู่ในฐานะลำบากจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะตกต่ำอย่างรุนแรง แต่กรมการค้าภายใน กลับมาควบคุมช่องทางการจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด เหมือนต้องการผลักให้ผู้บริโภคต้องตกเป็นเหยื่อของพ่อค้าหน้าเลือดให้โขกราคาสินค้าตามใจชอบ ซึ่งการรีบเร่งเช่นนี้ คิดเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นการเตรียมหาทุนเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้