รอยเตอร์/เอเอฟพี – วุฒิสภาสหรัฐฯกำหนดลงมติเช้าวันนี้(2) แผน7แสนล้านเหรียญช่วยแบงก์ฉบับปรับปรุงใหม่ คาดกันว่าน่าจะผ่านซึ่งจะส่งแรงบีบ ให้สภาล่างต้องเร่งพิจารณาอนุมัติกันใหม่อีกรอบในวันพรุ่งนี้ ทางด้านผู้นำยุโรปก็ระดมกำลังกัน ต่อสู้วิกฤตธนาคารที่ลุกลามรวดเร็วในบ้านของพวกเขาเอง
วุฒิสภาสหรัฐฯวานนี้(1) เปิดการพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยแผนการช่วยชีวิตภาคการเงินที่อาจมีมูลค่าสูงถึง 700,000 ล้านดอลลาร์ โดยคาดหมายกันว่าจะมีการลงมติ ภายหลังเวลา 19.30 น.ตามเวลาในกรุงวอชิงตัน (ตรงกับภายหลัง 6.30 น.วันนี้ เวลาเมืองไทย)
ร่างกฎหมายที่วุฒิสภาพิจารณา มีเนื้อหาปรับปรุงใหม่อยู่บ้างจากฉบับที่ถูกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ล้มคว่ำอย่างสร้างความตกตะลึงไปทั่วโลกเมื่อวันจันทร์(29ก.ย.) ในประเด็นที่บรรษัทรับประกันเงินฝากสหรัฐฯ อันเป็นหน่วยงานของทางการ จะรับประกันวงเงินฝากในบัญชีธนาคารของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็นบัญชีละไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์ จากเดิมไม่เกิน 100,000 ดอลลาร์
การเปลี่ยนแปลงคราวนี้ มุ่งหวังที่จะดึงดูดใจสมาชิกรัฐสภาของพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นสัดส่วนสำคัญที่ลงมติคัดค้านและทำให้แผนการช่วยภาคการเงินนี้ต้องคว่ำไปในสภาล่าง ทั้งนี้ การเพิ่มวงเงินรับประกันดังกล่าว คาดกันว่าจะทำให้ทางรีพับลิกันอ้างแก่ผู้ลงคะแนนในเขตเลือกตั้งของพวกตนว่า ได้ผลักดันจนทำให้ผู้เสียภาษีได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้มากขึ้นแล้ว
สำหรับหลักการใหญ่ๆ ของร่างกฎหมายนี้ยังคงเดิม นั่นคือ การให้กระทรวงการคลังระดมเงินกู้มารับซื้อสินทรัพย์อันพัวพันกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่กำลังอยู่ในสภาพเน่าเสีย จากบรรดาแบงก์และสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้แบงก์เหล่านี้ “สะอาด” และมีความไว้วางใจซึ่งกันและกันจนกล้าที่จะปล่อยกู้ให้แก่กัน ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินกลับมีเสถียรภาพ และสามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางหล่อลื่นระบบเศรษฐกิจได้ตามปกติ
โฆษกทำเนียบขาว โทนี แฟรตโต แถลงวานนี้แสดงความหวังว่า วุฒิสภาจะผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วยเสียงสนับสนุนที่แข็งแกร่ง โดยที่ “ท่านประธานาธิบดีจะพูดคุยกับท่านวุฒิสมาชิกทั้งหลายด้วยในวันนี้” เขาเผย
หากร่างกฎหมายนี้ผ่านวุฒิสภาไปแล้ว ก็จะต้องนำกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยที่สภาล่างกำหนดจะเปิดประชุมใหม่ในวันพรุ่งนี้ หลังจากหยุดพักเนื่องในเทศกาลปีใหม่ของชาวยิว
ส.ส.จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำฝ่ายรีพับลิกันในสภาผู้แทนราษฎร เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่กระทำไปในร่างกฎหมายที่นำเสนอต่อวุฒิสภานี้ จะสามารถดึงดูดความสนใจของพวก ส.ส.รีพับลิกัน ซึ่งได้ออกเสียงคัดค้านเมื่อวันจันทร์ ทั้งนี้ตามการแถลงของโฆษกผู้หนึ่ง
พวก ส.ส.รีพับลิกันที่ลงมติคว่ำเหล่านี้ระบุว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจเช่นนี้ก็คือเสียงวิจารณ์ตำหนิจากบรรดาผู้มีสิทธิออกเสียงในเขตเลือกตั้งของพวกเขา ซึ่งไม่พอใจที่เห็นว่ามีการนำเอาเงินภาษีของประชาชนมาใช้จ่ายเพื่อช่วยชีวิตวอลล์สตรีท อย่างไรก็ตาม ส.ส.เหล่านี้หลายคนได้บอกกับสื่อมวลชนว่า ภายหลังที่ตลาดหุ้นทรุดตัวฮวบฮาบในวันจันทร์ สืบเนื่องจากร่างกฎหมายนี้ถูกคว่ำ ก็ได้ส่งผลให้การลงทุนเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณของชาวอเมริกันจำนวนหลายๆ ล้านคนประสบความเสียหายไปด้วย จึงทำให้เสียงตำหนิคัดค้านแปรเปลี่ยนกลายมาเป็นเสียงสนับสนุนแผนการนี้
นอกจากนั้น ยังมีบริษัทสหรัฐฯระดับบิ๊กเบิ้มสุดๆ หลายราย อาทิ ไมโครซอฟท์ คอร์ป, เจเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี), และเวอริซอน คอมมิวนิเคชั่น อิงก์ พากันออกมากดดันรัฐสภาให้ต้องลงมือแก้ไขปัญหาด้วย ทั้งนี้ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล
ความคาดหมายที่ว่าอย่างไรเสียรัฐสภาก็จะอนุมัติแผนการช่วยชีวิตภาคการเงิน ยังได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทดีดตัวทะยานกลับขึ้นมาตั้งแต่วันอังคารแล้ว โดยในตอนปิดตลาด ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ซึ่งตกลงไป 778 จุดในวันจันทร์ ได้พุ่งกลับขึ้นมา 485.21 จุด หรือ 4.68%
ต่อมาเมื่อวานนี้ แม้ว่าตลาดหุ้นหลายแห่งในแถบเอเชียปิดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด แต่ที่เปิดก็สามารถเคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นส่วนใหญ่ แม้จะเป็นการขึ้นในลักษณะค่อนข้างอ่อนแรง โดยที่โตเกียว บวกขึ้นมา 0.96%
ทางยุโรปในตอนช่วงบ่ายๆ ลอนดอนบวกขึ้นมาได้ 1.69% ถึงแม้แฟรงเฟิร์ตจะติดลบ 0.56% ส่วนวอลล์สตรีทช่วงเปิดตลาดวานนี้ ดัชนีดาวโจนส์ลดลงมา 0.95%
ในยุโรปซึ่งช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา วิกฤตภาคธนาคารก็ได้ปะทุรุนแรง มีแบงก์หลายแห่งเจอปัญหาหนักจนทางการต้องเข้าไปช่วยด้วยการอัดฉีดเงินสด หรือไม่ก็เป็นตัวกลางให้มีการควบรวมนั้น บรรดารัฐมนตรีคลังของสมาชิกรายใหญ่ที่ใช้เงินสกุลยูโรของสหภาพยุโรป ได้แก่ เยอรมนี, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, และอิตาลี นัดหมายประชุมกันในวันเสาร์(4)นี้เพื่อหารือถึงวิธีรับมือกับวิกฤต ถึงแม้ ประธานรัฐมนตรีคลังเขตยูโรโซน ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ยืนยันว่า ระบบการธนาคารของยุโรป “ไม่ได้มีภัยคุกคามอะไร”
ขณะที่ โจเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เรียกร้องให้ยุโรปดำเนินปฏิบัติการอย่างสอดประสานกัน “มันไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเท่านั้น แต่เรายังจำเป็นที่จะต้องอัดฉีดความน่าเชื่อถือเข้าไปในการตอบโต้ของทางยุโรปอีกด้วย” พร้อมกันนี้เขาก็ยืนยันว่า ภาคธนาคารของยุโรปสามารถที่จะรับมือกับสถานการณ์ได้ “ระบบของเราสามารถรับมือ ระบบการเงินของยุโรปมีความสามารถที่จะตอบโต้สถานการณ์” เขาประกาศ
แต่เขาก็ส่งสัญญาณว่ายุโรปกำลังมีการอภิปรายถกเถียงกันว่าจะดำเนินการปฏิรูปภาคการเงินการธนาคารกันอย่างไร โดยระบุว่ายุโรปจำเป็นต้องเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องกฎเกณฑ์ของการกำกับตรวจสอบภาคการเงิน, การเปลี่ยนแปลงเรื่องการจัดทำบัญชีเพื่อแก้ปัญหาวิธีคำนวณราคามูลค่าการลงทุน
ขณะเดียวกัน อังเกล กูร์เรีย ผู้อำนวยการใหญ่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ซึ่งเป็นหน่วยงานคลังสมองของบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว ก็ได้ออกมาเรียกร้องว่า “เราควรต้องเริ่มต้นขบคิดเรื่องแผนการอย่างเป็นระบบสำหรับยุโรป ถ้าหากสิ่งต่างๆ ไม่ได้มีการปรับปรุงดีขึ้นในอีกฟากฝั่งหนึ่งของแอตแลนติก (หมายถึงสหรัฐฯ) วิธีแก้ปัญหาแบบชั่วครั้งชั่วคราวก็น่าจะใช้ไม่ได้ผลสำหรับยุโรปเช่นกัน”
วุฒิสภาสหรัฐฯวานนี้(1) เปิดการพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยแผนการช่วยชีวิตภาคการเงินที่อาจมีมูลค่าสูงถึง 700,000 ล้านดอลลาร์ โดยคาดหมายกันว่าจะมีการลงมติ ภายหลังเวลา 19.30 น.ตามเวลาในกรุงวอชิงตัน (ตรงกับภายหลัง 6.30 น.วันนี้ เวลาเมืองไทย)
ร่างกฎหมายที่วุฒิสภาพิจารณา มีเนื้อหาปรับปรุงใหม่อยู่บ้างจากฉบับที่ถูกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ล้มคว่ำอย่างสร้างความตกตะลึงไปทั่วโลกเมื่อวันจันทร์(29ก.ย.) ในประเด็นที่บรรษัทรับประกันเงินฝากสหรัฐฯ อันเป็นหน่วยงานของทางการ จะรับประกันวงเงินฝากในบัญชีธนาคารของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็นบัญชีละไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์ จากเดิมไม่เกิน 100,000 ดอลลาร์
การเปลี่ยนแปลงคราวนี้ มุ่งหวังที่จะดึงดูดใจสมาชิกรัฐสภาของพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นสัดส่วนสำคัญที่ลงมติคัดค้านและทำให้แผนการช่วยภาคการเงินนี้ต้องคว่ำไปในสภาล่าง ทั้งนี้ การเพิ่มวงเงินรับประกันดังกล่าว คาดกันว่าจะทำให้ทางรีพับลิกันอ้างแก่ผู้ลงคะแนนในเขตเลือกตั้งของพวกตนว่า ได้ผลักดันจนทำให้ผู้เสียภาษีได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้มากขึ้นแล้ว
สำหรับหลักการใหญ่ๆ ของร่างกฎหมายนี้ยังคงเดิม นั่นคือ การให้กระทรวงการคลังระดมเงินกู้มารับซื้อสินทรัพย์อันพัวพันกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่กำลังอยู่ในสภาพเน่าเสีย จากบรรดาแบงก์และสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้แบงก์เหล่านี้ “สะอาด” และมีความไว้วางใจซึ่งกันและกันจนกล้าที่จะปล่อยกู้ให้แก่กัน ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินกลับมีเสถียรภาพ และสามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางหล่อลื่นระบบเศรษฐกิจได้ตามปกติ
โฆษกทำเนียบขาว โทนี แฟรตโต แถลงวานนี้แสดงความหวังว่า วุฒิสภาจะผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วยเสียงสนับสนุนที่แข็งแกร่ง โดยที่ “ท่านประธานาธิบดีจะพูดคุยกับท่านวุฒิสมาชิกทั้งหลายด้วยในวันนี้” เขาเผย
หากร่างกฎหมายนี้ผ่านวุฒิสภาไปแล้ว ก็จะต้องนำกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยที่สภาล่างกำหนดจะเปิดประชุมใหม่ในวันพรุ่งนี้ หลังจากหยุดพักเนื่องในเทศกาลปีใหม่ของชาวยิว
ส.ส.จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำฝ่ายรีพับลิกันในสภาผู้แทนราษฎร เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่กระทำไปในร่างกฎหมายที่นำเสนอต่อวุฒิสภานี้ จะสามารถดึงดูดความสนใจของพวก ส.ส.รีพับลิกัน ซึ่งได้ออกเสียงคัดค้านเมื่อวันจันทร์ ทั้งนี้ตามการแถลงของโฆษกผู้หนึ่ง
พวก ส.ส.รีพับลิกันที่ลงมติคว่ำเหล่านี้ระบุว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจเช่นนี้ก็คือเสียงวิจารณ์ตำหนิจากบรรดาผู้มีสิทธิออกเสียงในเขตเลือกตั้งของพวกเขา ซึ่งไม่พอใจที่เห็นว่ามีการนำเอาเงินภาษีของประชาชนมาใช้จ่ายเพื่อช่วยชีวิตวอลล์สตรีท อย่างไรก็ตาม ส.ส.เหล่านี้หลายคนได้บอกกับสื่อมวลชนว่า ภายหลังที่ตลาดหุ้นทรุดตัวฮวบฮาบในวันจันทร์ สืบเนื่องจากร่างกฎหมายนี้ถูกคว่ำ ก็ได้ส่งผลให้การลงทุนเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณของชาวอเมริกันจำนวนหลายๆ ล้านคนประสบความเสียหายไปด้วย จึงทำให้เสียงตำหนิคัดค้านแปรเปลี่ยนกลายมาเป็นเสียงสนับสนุนแผนการนี้
นอกจากนั้น ยังมีบริษัทสหรัฐฯระดับบิ๊กเบิ้มสุดๆ หลายราย อาทิ ไมโครซอฟท์ คอร์ป, เจเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี), และเวอริซอน คอมมิวนิเคชั่น อิงก์ พากันออกมากดดันรัฐสภาให้ต้องลงมือแก้ไขปัญหาด้วย ทั้งนี้ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล
ความคาดหมายที่ว่าอย่างไรเสียรัฐสภาก็จะอนุมัติแผนการช่วยชีวิตภาคการเงิน ยังได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทดีดตัวทะยานกลับขึ้นมาตั้งแต่วันอังคารแล้ว โดยในตอนปิดตลาด ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ซึ่งตกลงไป 778 จุดในวันจันทร์ ได้พุ่งกลับขึ้นมา 485.21 จุด หรือ 4.68%
ต่อมาเมื่อวานนี้ แม้ว่าตลาดหุ้นหลายแห่งในแถบเอเชียปิดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด แต่ที่เปิดก็สามารถเคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นส่วนใหญ่ แม้จะเป็นการขึ้นในลักษณะค่อนข้างอ่อนแรง โดยที่โตเกียว บวกขึ้นมา 0.96%
ทางยุโรปในตอนช่วงบ่ายๆ ลอนดอนบวกขึ้นมาได้ 1.69% ถึงแม้แฟรงเฟิร์ตจะติดลบ 0.56% ส่วนวอลล์สตรีทช่วงเปิดตลาดวานนี้ ดัชนีดาวโจนส์ลดลงมา 0.95%
ในยุโรปซึ่งช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา วิกฤตภาคธนาคารก็ได้ปะทุรุนแรง มีแบงก์หลายแห่งเจอปัญหาหนักจนทางการต้องเข้าไปช่วยด้วยการอัดฉีดเงินสด หรือไม่ก็เป็นตัวกลางให้มีการควบรวมนั้น บรรดารัฐมนตรีคลังของสมาชิกรายใหญ่ที่ใช้เงินสกุลยูโรของสหภาพยุโรป ได้แก่ เยอรมนี, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, และอิตาลี นัดหมายประชุมกันในวันเสาร์(4)นี้เพื่อหารือถึงวิธีรับมือกับวิกฤต ถึงแม้ ประธานรัฐมนตรีคลังเขตยูโรโซน ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ยืนยันว่า ระบบการธนาคารของยุโรป “ไม่ได้มีภัยคุกคามอะไร”
ขณะที่ โจเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เรียกร้องให้ยุโรปดำเนินปฏิบัติการอย่างสอดประสานกัน “มันไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเท่านั้น แต่เรายังจำเป็นที่จะต้องอัดฉีดความน่าเชื่อถือเข้าไปในการตอบโต้ของทางยุโรปอีกด้วย” พร้อมกันนี้เขาก็ยืนยันว่า ภาคธนาคารของยุโรปสามารถที่จะรับมือกับสถานการณ์ได้ “ระบบของเราสามารถรับมือ ระบบการเงินของยุโรปมีความสามารถที่จะตอบโต้สถานการณ์” เขาประกาศ
แต่เขาก็ส่งสัญญาณว่ายุโรปกำลังมีการอภิปรายถกเถียงกันว่าจะดำเนินการปฏิรูปภาคการเงินการธนาคารกันอย่างไร โดยระบุว่ายุโรปจำเป็นต้องเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องกฎเกณฑ์ของการกำกับตรวจสอบภาคการเงิน, การเปลี่ยนแปลงเรื่องการจัดทำบัญชีเพื่อแก้ปัญหาวิธีคำนวณราคามูลค่าการลงทุน
ขณะเดียวกัน อังเกล กูร์เรีย ผู้อำนวยการใหญ่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ซึ่งเป็นหน่วยงานคลังสมองของบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว ก็ได้ออกมาเรียกร้องว่า “เราควรต้องเริ่มต้นขบคิดเรื่องแผนการอย่างเป็นระบบสำหรับยุโรป ถ้าหากสิ่งต่างๆ ไม่ได้มีการปรับปรุงดีขึ้นในอีกฟากฝั่งหนึ่งของแอตแลนติก (หมายถึงสหรัฐฯ) วิธีแก้ปัญหาแบบชั่วครั้งชั่วคราวก็น่าจะใช้ไม่ได้ผลสำหรับยุโรปเช่นกัน”