รอยเตอร์ – รัฐสภาสหรัฐฯที่พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมาก เดินหน้าเมื่อวันพฤหัสบดี(15) ในการผลักดันร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่รวมกันแล้วจะทำให้ว่าที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา มีงบประมาณฉุกเฉินร่วม 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ไว้ใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังเลวร้ายลงทุกที ภายหลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันอังคารหน้า(20)นี้
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐฯ ต่างเดินหน้าร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกัน แต่ล้วนมีเนื้อหามุ่งจัดสรรเม็ดเงินให้ประธานาธิบดีคนใหม่สามารถใช้จ่ายได้ ภายหลังสาบานตัวรับตำแหน่ง
ในสภาผู้แทนราษฎรนั้น ได้มีการเสนอร่างกฎหมายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 825,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีทั้งมาตรการด้านการลดภาษี, มาตรการที่เป็นโครงการใช้จ่ายของรัฐบาล, ตลอดจนโครงการช่วยเหลือคนยากจน
ว่าที่ประธานาธิบดีโอบามากล่าวถึงร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า เป็น “เงินดาวน์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง” ในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่รออยู่ และได้แสดงความชื่นชมการเคลื่อนไหวเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วยความรวดเร็วของสภาผู้แทนราษฎร
ทางด้านประธานสภา แนนซี เปโลซี ซึ่งเป็นส.ส.พรรคเดโมแครต แถลงว่า บรรดา ส.ส.ต้องการเห็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดจากงบประมาณทุกดอลลาร์ที่อนุมัติให้รัฐบาลใช้จ่าย และคาดหวังว่ากฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับนี้จะช่วยให้คนอเมริกันมีงานทำต่อไปประมาณ 4 ล้านคนและจะช่วยยับยั้งอัตราการว่างงานไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม ส.ส.จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำเสียงข้างน้อยในสภา ซึ่งมาจากพรรครีพับลิกัน ได้วิพากษ์วิจารณ์ร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า มียอดการใช้จ่ายที่สูงเกินไป ขณะที่มาตรการปรับลดภาษีให้แก่ครอบครัวชนชั้นกลางและธุรกิจขนาดเล็กนั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังอาจถูกแปรญัตติแก้ไข ในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยทางฝ่ายเดโมแครตคาดหวังไว้ว่าจะผ่านสภาทั้งสองและยื่นให้ประธานาธิบดีโอบามาลงนามได้ในราวกลางเดือนกุมภาพันธ์
ในส่วนของวุฒิสภานั้น เมื่อวันพฤหัสบดีเช่นกัน ได้มีการลงมติด้วยคะแนนเสียง 52 ต่อ 42 ยินยอมให้ประธานาธิบดีใช้จ่ายงบประมาณอีก 350,000 ล้านดอลลาร์ที่เหลืออยู่ ในแผนการกอบกู้ช่วยชีวิตวิกฤตการณ์ภาคการเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรัฐสภาได้อนุมัติไปตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้แผนการดังกล่าวนี้รู้จักกันในนาม “โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่ประสบปัญหา” (Troubled Asset Relief Program หรือ TARP)
จากมติคราวนี้ จะทำให้กระทรวงการคลังในคณะรัฐบาลโอบามา มีอำนาจที่จะใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวน 350,000 ล้านดอลลาร์ดังกล่าว โดยตามข้อบังคับของรัฐสภาแล้ว เงินงบประมาณจากกฎหมายในลักษณะเช่น TARP นี้จะถูกระงับไม่ให้ใช้ได้ ก็ต่อเมื่อทั้งสองสภาต่างลงมติยับยั้ง
วุฒิสภาลงมติยินยอมคราวนี้ หลังจาก ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของว่าที่ประธานาธิบดีโอบามา ได้ให้คำมั่นว่า จะใช้งบประมาณส่วนที่เหลือในการฟื้นฟูตลาดเงินให้มีประสิทธิภาพกว่าสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
มติของวุฒิสภาครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางสัญญาณร้ายที่บ่งชี้ว่า วิกฤตการณ์สินเชื่อในสหรัฐฯทำให้
สถาบันการเงินส่วนใหญ่ประสบปัญหารุนแรงกว่าที่คาดกันไว้ โดยล่าสุดมีรายงานว่า แบงก์ออฟอเมริกากำลังจะเสนอขอความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลเป็นเงิน 20,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ซิตี้กรุ๊ป อิงค์ ก็กำลังประสบปัญหาในเรื่องสถานะทางการเงินเช่นเดียวกัน
วุฒิสมาชิก บ๊อบ คอร์กเกอร์ แห่งพรรครีพับลิกัน ซึ่งลงมติคัดค้านการอนุมัติคราวนี้ ได้แสดงความวิตกกังวลว่า รัฐบาลอาจต้องเข้าไปช่วยเหลือแบงก์และสถาบันการเงินอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เนื่องจากธนาคารและสถาบันการเงินเกือบทุกแห่งมีสถานะทางการเงินที่เปราะบางเป็นอย่างมาก
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐฯ ต่างเดินหน้าร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกัน แต่ล้วนมีเนื้อหามุ่งจัดสรรเม็ดเงินให้ประธานาธิบดีคนใหม่สามารถใช้จ่ายได้ ภายหลังสาบานตัวรับตำแหน่ง
ในสภาผู้แทนราษฎรนั้น ได้มีการเสนอร่างกฎหมายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 825,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีทั้งมาตรการด้านการลดภาษี, มาตรการที่เป็นโครงการใช้จ่ายของรัฐบาล, ตลอดจนโครงการช่วยเหลือคนยากจน
ว่าที่ประธานาธิบดีโอบามากล่าวถึงร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า เป็น “เงินดาวน์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง” ในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่รออยู่ และได้แสดงความชื่นชมการเคลื่อนไหวเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วยความรวดเร็วของสภาผู้แทนราษฎร
ทางด้านประธานสภา แนนซี เปโลซี ซึ่งเป็นส.ส.พรรคเดโมแครต แถลงว่า บรรดา ส.ส.ต้องการเห็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดจากงบประมาณทุกดอลลาร์ที่อนุมัติให้รัฐบาลใช้จ่าย และคาดหวังว่ากฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับนี้จะช่วยให้คนอเมริกันมีงานทำต่อไปประมาณ 4 ล้านคนและจะช่วยยับยั้งอัตราการว่างงานไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม ส.ส.จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำเสียงข้างน้อยในสภา ซึ่งมาจากพรรครีพับลิกัน ได้วิพากษ์วิจารณ์ร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า มียอดการใช้จ่ายที่สูงเกินไป ขณะที่มาตรการปรับลดภาษีให้แก่ครอบครัวชนชั้นกลางและธุรกิจขนาดเล็กนั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังอาจถูกแปรญัตติแก้ไข ในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยทางฝ่ายเดโมแครตคาดหวังไว้ว่าจะผ่านสภาทั้งสองและยื่นให้ประธานาธิบดีโอบามาลงนามได้ในราวกลางเดือนกุมภาพันธ์
ในส่วนของวุฒิสภานั้น เมื่อวันพฤหัสบดีเช่นกัน ได้มีการลงมติด้วยคะแนนเสียง 52 ต่อ 42 ยินยอมให้ประธานาธิบดีใช้จ่ายงบประมาณอีก 350,000 ล้านดอลลาร์ที่เหลืออยู่ ในแผนการกอบกู้ช่วยชีวิตวิกฤตการณ์ภาคการเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรัฐสภาได้อนุมัติไปตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้แผนการดังกล่าวนี้รู้จักกันในนาม “โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่ประสบปัญหา” (Troubled Asset Relief Program หรือ TARP)
จากมติคราวนี้ จะทำให้กระทรวงการคลังในคณะรัฐบาลโอบามา มีอำนาจที่จะใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวน 350,000 ล้านดอลลาร์ดังกล่าว โดยตามข้อบังคับของรัฐสภาแล้ว เงินงบประมาณจากกฎหมายในลักษณะเช่น TARP นี้จะถูกระงับไม่ให้ใช้ได้ ก็ต่อเมื่อทั้งสองสภาต่างลงมติยับยั้ง
วุฒิสภาลงมติยินยอมคราวนี้ หลังจาก ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของว่าที่ประธานาธิบดีโอบามา ได้ให้คำมั่นว่า จะใช้งบประมาณส่วนที่เหลือในการฟื้นฟูตลาดเงินให้มีประสิทธิภาพกว่าสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
มติของวุฒิสภาครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางสัญญาณร้ายที่บ่งชี้ว่า วิกฤตการณ์สินเชื่อในสหรัฐฯทำให้
สถาบันการเงินส่วนใหญ่ประสบปัญหารุนแรงกว่าที่คาดกันไว้ โดยล่าสุดมีรายงานว่า แบงก์ออฟอเมริกากำลังจะเสนอขอความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลเป็นเงิน 20,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ซิตี้กรุ๊ป อิงค์ ก็กำลังประสบปัญหาในเรื่องสถานะทางการเงินเช่นเดียวกัน
วุฒิสมาชิก บ๊อบ คอร์กเกอร์ แห่งพรรครีพับลิกัน ซึ่งลงมติคัดค้านการอนุมัติคราวนี้ ได้แสดงความวิตกกังวลว่า รัฐบาลอาจต้องเข้าไปช่วยเหลือแบงก์และสถาบันการเงินอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เนื่องจากธนาคารและสถาบันการเงินเกือบทุกแห่งมีสถานะทางการเงินที่เปราะบางเป็นอย่างมาก