นิวยอร์กไทมส์/เอเอฟพี/รอยเตอร์ - การเจรจารัฐบาล-รัฐสภาสหรัฐฯ เรื่องแผนการ 700,000 ล้านดอลลาร์ช่วยระบบการเงินไม่ให้พังครืน มีความคืบหน้าหลังรัฐบาลอ่อนข้อ ประธานาธิบดีบุชส่งสัญญาณยอมให้คุมเข้มเรื่องวิธีใช้จ่ายเงินก้อนนี้ พร้อมเรียกประชุมฉุกเฉินเหล่าผู้นำรัฐสภาเมื่อคืนนี้(25) โดยเชิญทั้ง "โอบามา" และ "แมคเคน" 2 คู่ชิงตำแหน่งประมุขอเมริกันคนใหม่เข้าร่วม
หลังจากการเจรจาอย่างเคร่งเครียดดำเนินมาหลายวัน ขณะที่ตลาดโลกเฝ้ารอลุ้นด้วยความกระวนกระวาย บรรดาผู้นำรัฐสภาก็เริ่มแสดงความหวังเมื่อวันพุธ(24)ว่า พวกเขาจะสามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลายส่วน ในแผนการมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ที่ฝ่ายรัฐบาลเสนอออกมา
พวกผู้นำสมาชิกรัฐสภาฝ่ายพรรคเดโมแครตแถลงว่า ความคืบหน้าในการเจรจาทำข้อตกลง บังเกิดขึ้นภายหลังทำเนียบขาวได้เสนอที่จะอ่อนข้อในประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น นั่นคือ การจำกัดเพดานเงินตอบแทนที่จะจ่ายให้แก่พวกผู้บริหารของบริษัทที่มาขอความช่วยเหลือจากทางการตามแผนการคราวนี้ และการกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้ทางการได้รับหุ้นเป็นการตอบแทนจากบริษัทที่รับความช่วยเหลือ เพื่อให้การใช้เงินภาษีของประชาชนไปในคราวนี้มีโอกาสทำกำไรบ้างในกรณีที่บริษัทเหล่านี้เกิดฟื้นตัวเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ในอนาคต ทั้งนี้ รายละเอียดของประเด็นเหล่านี้ ตลอดจนเรื่องอื่นๆ อีก ยังคงอยู่ระหว่างการเจรจาหารือกัน
ส่วนทางประธานาธิบดี จอร์จ ดัลเบิลยู บุช ออกมากล่าวปราศรัยถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ช่วงไพรม์ไทม์คืนวันพุธ เรียกร้องให้ประชาชนทั่วประเทศสนับสนุนแผนการที่ใช้เงินจำนวนมหาศาลของเขา โดยเตือนคนอเมริกันว่า จะต้องประสบกับ "ภาวะเศรษฐกิจซบเซาอันยาวนานและเจ็บปวด" ถ้าหากรัฐสภาไม่รีบลงมือกระทำการโดยเร่งด่วน และ "เศรษฐกิจของเราทั่วทั้งหมดกำลังอยู่ในอันตราย" เขากล่าวย้ำ
ในการปราศรัยช่วงไพรม์ไทม์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจล้วนๆ เป็นครั้งแรกในวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบุชคราวนี้ เขายังประกาศข้อเสนอจัดการประชุมซัมมิต โดยที่มี 2 คู่แข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯสมัยต่อไป นั่นคือ วุฒิสมาชิก บารัค โอบามา แห่งพรรคเดโมแครต และ วุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคน ของพรรครีพับลิกัน กับบรรดาผู้นำรัฐสภาคนอื่นๆ มาร่วมหารือกับเขาในบ่ายวันพฤหัสบดี (ตรงกับตอนดึกเมื่อคืนนี้ เวลาเมืองไทย)
ความเคลื่อนไหวของเขาคราวนี้ โดยเฉพาะการเชื้อเชิญ 2 คู่แข่งขันในขณะที่เหลืออีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะถึงกำหนดการเลือกตั้งประธานาธิบดีแล้วเช่นนี้ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่าฝ่ายรัฐบาลรู้สึกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างยิ่งที่รัฐสภาจะต้องอนุมัติผ่านแผนการช่วยเหลือนี้เป็นกฎหมายบังคับใช้กัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจพังพาบกันไปหมด
ทั้งนี้ภายหลังการล้มครืนหรือประสบภาวะเซซวดของพวกสถาบันการเงินที่เคยเป็นดาวเด่นในแวดวงวอลล์สตรีท อย่างเช่น เลห์แมน บราเธอร์ส และ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) ทางการสหรัฐฯก็เสนอแผนการที่มุ่งหมายจะฟื้นฟูสภาพคล่องของตลาดและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยการเข้าซื้อบรรดาหลักทรัพย์ที่ประสบปัญหาทั้งหลาย ซึ่งจำนวนมากทีเดียวเป็นตราสารที่ผูกติดกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ จากพวกบริษัททางการเงินที่ทำท่าจะไปไม่ไหว
ทว่าการเจรจาอันละเอียดอ่อนที่รัฐสภา ระหว่างรัฐมนตรีคลัง เฮนรี พอลสัน กับพวกผู้นำรัฐสภาดูจะประสบปัญหามากในช่วงวันแรกๆ โดยที่มีเสียงต่อต้านหนักจากบรรดาสมาชิกรัฐสภาระดับล่างๆ ผู้ซึ่งกำลังถูกร้องเรียนกดดันจากผู้ออกเสียงในเขตเลือกตั้งของพวกเขา โดยผู้ออกเสียงเหล่านี้แสดงความโกรธเกรี้ยวที่กำลังจะมีการนำเงินภาษีอากรของพวกเขาไปใช้เพื่อสะสางความเลอะเทอะเปรอะเปื้อน ซึ่งสร้างขึ้นโดยเหล่าผู้บริหารสถาบันการเงินที่ได้เงินเดือนผลตอบแทนสูงลิ่ว
แต่ในวันพุธ วุฒิสมาชิกคริสโตเฟอร์ ด็อดด์ แห่งพรรคเดโมแครต ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภา ได้แถลงว่า น่าจะสามารถทำข้อตกลงออกมาได้อย่างเร็วภายในวันพฤหัสบดี ขณะที่ทางสภาผู้แทนราษฎร ประธานสภา แนนซี เปโลซี ซึ่งเป็นฝ่ายเดโมแครต และ จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำ ส.ส.รีพับลิกัน ก็ออกคำแถลงร่วมระบุว่า จากการทำงานในลักษณะไม่คำนึงถึงพรรคฝ่าย ทำให้มีความคืบหน้า
"เราเห็นพ้องกันว่าควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงจุดสำคัญๆ ในข้อเสนอของฝ่ายรัฐบาล โดยที่จะต้องบรรจุเรื่องหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมาภิบาล อันรวมถึงการกำกับตรวจสอบที่เข้มงวดและเป็นอิสระ, มาตรฐานการให้ผลตอบแทนชดเชยแก่ผู้บริหารบริษัทที่เข้มแข็ง, และการพิทักษ์คุ้มครองผู้เสียภาษี"
ขณะที่ ส.ส.บาร์นีย์ แฟรงก์ ซึ่งเป็นผู้นำของคณะเจรจาของฝ่ายเดโมแครต ได้บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ทางสมาชิกรัฐสภาเดโมแครตเวลานี้สามารถบรรลุข้อตกลงจำนวนมากในเรื่ององค์ประกอบหลักๆ ของร่างกฎหมายให้เงินกอบกู้ระบบการเงินคราวนี้แล้ว
เขาระบุว่าองค์ประกอบเหล่านี้มีอาทิ การคุ้มครองเจ้าของบ้านที่กำลังจะถูกบังคับยึดบ้าน ตลอดจนกระบวนวิธีที่จะทำให้ผู้เสียภาษีได้ผลประโยชน์ในกรณีที่บริษัทซึ่งมารับความช่วยเหลือ เกิดสามารถเติบโตทำกำไรได้อนาคต
ส่วน ส.ส.พอล แคนจอร์สกี ประธานคณะอนุกรรมการตลาดทุนของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็น ส.ส.ฝ่ายรีพับลิกัน ได้พูดทางโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีว่า มี "ความก้าวหน้าอย่างมโหฬาร" ไปแล้ว และการทำข้อตกลงกันได้ "แทบจะเป็นข้อเท็จจริงที่บรรลุแล้วด้วยซ้ำ"
เขายังแสดงความหวังว่า ฝ่ายรัฐสภาจะสามารถทำงานไปตลอดสุดสัปดาห์นี้ เพื่อขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่ยังเหลืออยู่
ขณะที่บุชก็ใช้คำปราศรัยช่วงไพรม์ไทม์ของเขาส่งสัญญาณว่า เขายินดีที่จะแก้ไขความวิตกห่วงใยของฝ่ายรัฐสภา โดยเฉพาะในประเด็นความหวั่นเกรงที่ว่าเงินภาษีจะถูกใช้ไปเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้แก่พวกผู้บริหารในวอลล์สตรีท ตลอดจนประเด็นเรื่องมีการให้อำนาจมากเกินไปแก่รัฐมนตรีคลัง โดยที่ไม่มีมาตรการกำกับตรวจสอบเท่าที่ควร
"แผนการกู้ภัยใดๆ ก็ตาม ควรจะต้องจัดวางขึ้นมาเพื่อรับประกันว่า ผู้เสียภาษีจะได้รับการพิทักษ์คุ้มครอง" บุชกล่าว "แผนการนี้ควรต้อนรับการเข้าร่วมของสถาบันการเงินไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก และควรที่จะสร้างความมั่นใจว่าพวกผู้บริหารที่ดำเนินงานล้มเหลวจะไม่ได้รับลาภลอยจากเงินภาษีของพวกท่าน ควรที่จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ไม่แบ่งพรรคฝ่าย ขึ้นมากำกับดูแลการปฏิบัติตามแผนการนี้ และควรที่จะออกเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้โดยเร็วที่สุด"
สำหรับการประชุมซัมมิตที่ทำเนียบขาวระหว่างเขากับผู้นำรัฐสภารวมทั้ง 2 ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น บุชบอกว่า จะเป็นการประชุมด้วย "จิตวิญญาณแห่งความร่วมมือกัน" ทั้งนี้ทำเนียบขาวแจ้งว่า การประชุมกำหนดจะจัดขึ้นในเวลา 15.55 น. วันพฤหัสบดีตามเวลากรุงวอชิงตัน (ตรงกับเวลา 02.55 น.วันศุกร์ เวลาเมืองไทย)
ทั้งโอบามาและแมคเคนต่างตอบรับคำเชิญที่จะไปร่วมประชุมที่ทำเนียบขาวแล้ว โดยที่แมคเคนได้เสนอขอให้ระงับการโต้วาทีนัดแรกระหว่างเขากับโอบามา ที่กำหนดจัดขึ้นในวันนี้(26) ด้วยเหตุผลว่าจำเป็นจะต้องมีการเตรียมการเกี่ยวกับแผนการกอบกู้ช่วยเหลือสถาบันการเงินนี้ ขณะที่โอบามาแถลงเรียกร้องให้มีการดีเบตตามกำหนด โดยบอกว่า ไม่ควรนำเอาเรื่องของรัฐสภามาปะปนยุ่งเหยิงกับการเมืองชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี
**จีอีลดประมาณการรายรับ**
ทางด้านบริษัทเจเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี) ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีกิจการครอบคลุมทั้งด้านอุตสาหกรรมและการเงิน จนถือเป็นหนึ่งในสัญญาณชี้นำความเป็นไปของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ออกคำแถลงวานนี้ ตัดลดการคาดหมายรายรับประจำไตรมาสสาม และตลอดทั้งปีนี้ลงมา โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจาก "ความอ่อนแอและความผันผวนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในตลาดบริการทางการเงิน" โดยที่เงื่อนไขยากลำบากเหล่านี้ดูจะไม่น่ากระเตื้องขึ้นในอนาคตอันใกล้
จีอีบอกว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ บริษัทจึงจะระงับโครงการซื้อหุ้นคืนจากตลาด
บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อใหญ่ที่สุดของโลก ทั้ง มูดีส์ อินเวสเตอร์ และ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ต่างแถลงยืนยันให้เรตติ้งสูงสุด คือ AAA แก่จีอีเหมือนเดิม อีกทั้งเรตติ้งทิศทางอนาคตก็อยู่ในระดับ "คงที่" โดยบริษัทเครดิตเรตติ้งทั้งสองพูดคล้ายๆ กันว่า พอใจกับมาตรการที่จีอีกำลังดำเนินการอยู่ เอสแอนด์พียังสำทับด้วยว่า สถาบันการเงินใหญ่ในเครือจีอี นั่นคือ จีอี แคปิตอล ยังคงมีผลประกอบการที่ดีกว่าพวกคู่แข่งทั้งหลาย
หลังจากการเจรจาอย่างเคร่งเครียดดำเนินมาหลายวัน ขณะที่ตลาดโลกเฝ้ารอลุ้นด้วยความกระวนกระวาย บรรดาผู้นำรัฐสภาก็เริ่มแสดงความหวังเมื่อวันพุธ(24)ว่า พวกเขาจะสามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลายส่วน ในแผนการมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ที่ฝ่ายรัฐบาลเสนอออกมา
พวกผู้นำสมาชิกรัฐสภาฝ่ายพรรคเดโมแครตแถลงว่า ความคืบหน้าในการเจรจาทำข้อตกลง บังเกิดขึ้นภายหลังทำเนียบขาวได้เสนอที่จะอ่อนข้อในประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น นั่นคือ การจำกัดเพดานเงินตอบแทนที่จะจ่ายให้แก่พวกผู้บริหารของบริษัทที่มาขอความช่วยเหลือจากทางการตามแผนการคราวนี้ และการกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้ทางการได้รับหุ้นเป็นการตอบแทนจากบริษัทที่รับความช่วยเหลือ เพื่อให้การใช้เงินภาษีของประชาชนไปในคราวนี้มีโอกาสทำกำไรบ้างในกรณีที่บริษัทเหล่านี้เกิดฟื้นตัวเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ในอนาคต ทั้งนี้ รายละเอียดของประเด็นเหล่านี้ ตลอดจนเรื่องอื่นๆ อีก ยังคงอยู่ระหว่างการเจรจาหารือกัน
ส่วนทางประธานาธิบดี จอร์จ ดัลเบิลยู บุช ออกมากล่าวปราศรัยถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ช่วงไพรม์ไทม์คืนวันพุธ เรียกร้องให้ประชาชนทั่วประเทศสนับสนุนแผนการที่ใช้เงินจำนวนมหาศาลของเขา โดยเตือนคนอเมริกันว่า จะต้องประสบกับ "ภาวะเศรษฐกิจซบเซาอันยาวนานและเจ็บปวด" ถ้าหากรัฐสภาไม่รีบลงมือกระทำการโดยเร่งด่วน และ "เศรษฐกิจของเราทั่วทั้งหมดกำลังอยู่ในอันตราย" เขากล่าวย้ำ
ในการปราศรัยช่วงไพรม์ไทม์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจล้วนๆ เป็นครั้งแรกในวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบุชคราวนี้ เขายังประกาศข้อเสนอจัดการประชุมซัมมิต โดยที่มี 2 คู่แข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯสมัยต่อไป นั่นคือ วุฒิสมาชิก บารัค โอบามา แห่งพรรคเดโมแครต และ วุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคน ของพรรครีพับลิกัน กับบรรดาผู้นำรัฐสภาคนอื่นๆ มาร่วมหารือกับเขาในบ่ายวันพฤหัสบดี (ตรงกับตอนดึกเมื่อคืนนี้ เวลาเมืองไทย)
ความเคลื่อนไหวของเขาคราวนี้ โดยเฉพาะการเชื้อเชิญ 2 คู่แข่งขันในขณะที่เหลืออีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะถึงกำหนดการเลือกตั้งประธานาธิบดีแล้วเช่นนี้ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่าฝ่ายรัฐบาลรู้สึกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างยิ่งที่รัฐสภาจะต้องอนุมัติผ่านแผนการช่วยเหลือนี้เป็นกฎหมายบังคับใช้กัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจพังพาบกันไปหมด
ทั้งนี้ภายหลังการล้มครืนหรือประสบภาวะเซซวดของพวกสถาบันการเงินที่เคยเป็นดาวเด่นในแวดวงวอลล์สตรีท อย่างเช่น เลห์แมน บราเธอร์ส และ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) ทางการสหรัฐฯก็เสนอแผนการที่มุ่งหมายจะฟื้นฟูสภาพคล่องของตลาดและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยการเข้าซื้อบรรดาหลักทรัพย์ที่ประสบปัญหาทั้งหลาย ซึ่งจำนวนมากทีเดียวเป็นตราสารที่ผูกติดกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ จากพวกบริษัททางการเงินที่ทำท่าจะไปไม่ไหว
ทว่าการเจรจาอันละเอียดอ่อนที่รัฐสภา ระหว่างรัฐมนตรีคลัง เฮนรี พอลสัน กับพวกผู้นำรัฐสภาดูจะประสบปัญหามากในช่วงวันแรกๆ โดยที่มีเสียงต่อต้านหนักจากบรรดาสมาชิกรัฐสภาระดับล่างๆ ผู้ซึ่งกำลังถูกร้องเรียนกดดันจากผู้ออกเสียงในเขตเลือกตั้งของพวกเขา โดยผู้ออกเสียงเหล่านี้แสดงความโกรธเกรี้ยวที่กำลังจะมีการนำเงินภาษีอากรของพวกเขาไปใช้เพื่อสะสางความเลอะเทอะเปรอะเปื้อน ซึ่งสร้างขึ้นโดยเหล่าผู้บริหารสถาบันการเงินที่ได้เงินเดือนผลตอบแทนสูงลิ่ว
แต่ในวันพุธ วุฒิสมาชิกคริสโตเฟอร์ ด็อดด์ แห่งพรรคเดโมแครต ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภา ได้แถลงว่า น่าจะสามารถทำข้อตกลงออกมาได้อย่างเร็วภายในวันพฤหัสบดี ขณะที่ทางสภาผู้แทนราษฎร ประธานสภา แนนซี เปโลซี ซึ่งเป็นฝ่ายเดโมแครต และ จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำ ส.ส.รีพับลิกัน ก็ออกคำแถลงร่วมระบุว่า จากการทำงานในลักษณะไม่คำนึงถึงพรรคฝ่าย ทำให้มีความคืบหน้า
"เราเห็นพ้องกันว่าควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงจุดสำคัญๆ ในข้อเสนอของฝ่ายรัฐบาล โดยที่จะต้องบรรจุเรื่องหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมาภิบาล อันรวมถึงการกำกับตรวจสอบที่เข้มงวดและเป็นอิสระ, มาตรฐานการให้ผลตอบแทนชดเชยแก่ผู้บริหารบริษัทที่เข้มแข็ง, และการพิทักษ์คุ้มครองผู้เสียภาษี"
ขณะที่ ส.ส.บาร์นีย์ แฟรงก์ ซึ่งเป็นผู้นำของคณะเจรจาของฝ่ายเดโมแครต ได้บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ทางสมาชิกรัฐสภาเดโมแครตเวลานี้สามารถบรรลุข้อตกลงจำนวนมากในเรื่ององค์ประกอบหลักๆ ของร่างกฎหมายให้เงินกอบกู้ระบบการเงินคราวนี้แล้ว
เขาระบุว่าองค์ประกอบเหล่านี้มีอาทิ การคุ้มครองเจ้าของบ้านที่กำลังจะถูกบังคับยึดบ้าน ตลอดจนกระบวนวิธีที่จะทำให้ผู้เสียภาษีได้ผลประโยชน์ในกรณีที่บริษัทซึ่งมารับความช่วยเหลือ เกิดสามารถเติบโตทำกำไรได้อนาคต
ส่วน ส.ส.พอล แคนจอร์สกี ประธานคณะอนุกรรมการตลาดทุนของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็น ส.ส.ฝ่ายรีพับลิกัน ได้พูดทางโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีว่า มี "ความก้าวหน้าอย่างมโหฬาร" ไปแล้ว และการทำข้อตกลงกันได้ "แทบจะเป็นข้อเท็จจริงที่บรรลุแล้วด้วยซ้ำ"
เขายังแสดงความหวังว่า ฝ่ายรัฐสภาจะสามารถทำงานไปตลอดสุดสัปดาห์นี้ เพื่อขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่ยังเหลืออยู่
ขณะที่บุชก็ใช้คำปราศรัยช่วงไพรม์ไทม์ของเขาส่งสัญญาณว่า เขายินดีที่จะแก้ไขความวิตกห่วงใยของฝ่ายรัฐสภา โดยเฉพาะในประเด็นความหวั่นเกรงที่ว่าเงินภาษีจะถูกใช้ไปเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้แก่พวกผู้บริหารในวอลล์สตรีท ตลอดจนประเด็นเรื่องมีการให้อำนาจมากเกินไปแก่รัฐมนตรีคลัง โดยที่ไม่มีมาตรการกำกับตรวจสอบเท่าที่ควร
"แผนการกู้ภัยใดๆ ก็ตาม ควรจะต้องจัดวางขึ้นมาเพื่อรับประกันว่า ผู้เสียภาษีจะได้รับการพิทักษ์คุ้มครอง" บุชกล่าว "แผนการนี้ควรต้อนรับการเข้าร่วมของสถาบันการเงินไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก และควรที่จะสร้างความมั่นใจว่าพวกผู้บริหารที่ดำเนินงานล้มเหลวจะไม่ได้รับลาภลอยจากเงินภาษีของพวกท่าน ควรที่จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ไม่แบ่งพรรคฝ่าย ขึ้นมากำกับดูแลการปฏิบัติตามแผนการนี้ และควรที่จะออกเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้โดยเร็วที่สุด"
สำหรับการประชุมซัมมิตที่ทำเนียบขาวระหว่างเขากับผู้นำรัฐสภารวมทั้ง 2 ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น บุชบอกว่า จะเป็นการประชุมด้วย "จิตวิญญาณแห่งความร่วมมือกัน" ทั้งนี้ทำเนียบขาวแจ้งว่า การประชุมกำหนดจะจัดขึ้นในเวลา 15.55 น. วันพฤหัสบดีตามเวลากรุงวอชิงตัน (ตรงกับเวลา 02.55 น.วันศุกร์ เวลาเมืองไทย)
ทั้งโอบามาและแมคเคนต่างตอบรับคำเชิญที่จะไปร่วมประชุมที่ทำเนียบขาวแล้ว โดยที่แมคเคนได้เสนอขอให้ระงับการโต้วาทีนัดแรกระหว่างเขากับโอบามา ที่กำหนดจัดขึ้นในวันนี้(26) ด้วยเหตุผลว่าจำเป็นจะต้องมีการเตรียมการเกี่ยวกับแผนการกอบกู้ช่วยเหลือสถาบันการเงินนี้ ขณะที่โอบามาแถลงเรียกร้องให้มีการดีเบตตามกำหนด โดยบอกว่า ไม่ควรนำเอาเรื่องของรัฐสภามาปะปนยุ่งเหยิงกับการเมืองชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี
**จีอีลดประมาณการรายรับ**
ทางด้านบริษัทเจเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี) ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีกิจการครอบคลุมทั้งด้านอุตสาหกรรมและการเงิน จนถือเป็นหนึ่งในสัญญาณชี้นำความเป็นไปของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ออกคำแถลงวานนี้ ตัดลดการคาดหมายรายรับประจำไตรมาสสาม และตลอดทั้งปีนี้ลงมา โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจาก "ความอ่อนแอและความผันผวนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในตลาดบริการทางการเงิน" โดยที่เงื่อนไขยากลำบากเหล่านี้ดูจะไม่น่ากระเตื้องขึ้นในอนาคตอันใกล้
จีอีบอกว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ บริษัทจึงจะระงับโครงการซื้อหุ้นคืนจากตลาด
บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อใหญ่ที่สุดของโลก ทั้ง มูดีส์ อินเวสเตอร์ และ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ต่างแถลงยืนยันให้เรตติ้งสูงสุด คือ AAA แก่จีอีเหมือนเดิม อีกทั้งเรตติ้งทิศทางอนาคตก็อยู่ในระดับ "คงที่" โดยบริษัทเครดิตเรตติ้งทั้งสองพูดคล้ายๆ กันว่า พอใจกับมาตรการที่จีอีกำลังดำเนินการอยู่ เอสแอนด์พียังสำทับด้วยว่า สถาบันการเงินใหญ่ในเครือจีอี นั่นคือ จีอี แคปิตอล ยังคงมีผลประกอบการที่ดีกว่าพวกคู่แข่งทั้งหลาย