แบงก์ชาติหวั่นปัญหาการเงินสหรัฐลากยาว ลำพังปัญหาสภาพคล่องพอรับมือไหว แต่ไม่พอ รัฐบาลต้องทำงานด้วย จี้ออกนโยบายดูแลภาคธุรกิจจริง-ฟื้นความเชื่อมั่น ยุติปัญหาการเมือง "ณรงค์ชัย" แนะคุมบาทบอนด์ เตือนดอลลาร์วิกฤต ขณะที่ รองฯโอฬารตื่นเรียกผู้เกี่ยวข้องถกก่อนแถลงข่าวด่วน ครอบคลุมทุกด้านแต่ไม่มีมาตรการที่ชัดเจน แถมชวนซื้อหุ้นราคาถูก รมว.คลังแหกโค้งเสนออัดฉีด SML สู่รากหญ้า อ้างเป็นการชดเชยความเสียหายวิกฤตสหรัฐ
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) เปิดเผยกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ (สภาคองเกรส) ไม่อนุมัติงบประมาณ 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อแก้ปัญหาสถาบันการเงิน ว่า ผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ยอมรับว่ายากเกินที่จะประเมิน แต่เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคาพาณิชย์ไทยได้มีการกู้ยืมหรือไปลงทุนในต่างประเทศมีสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ผลที่เกิดขึ้นจึงไม่ทำให้เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินของไทยต้องเสียหาย แต่ไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบ ที่เห็นชัดเจนที่สุดได้ในขณะนี้ คือการตกต่ำของตลาดหุ้นไทย และทั่วโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
"ตอนนี้ปัญหาอยู่ที่ว่าจะลงลึกและลากยาวไปถึงระดับไหน ซึ่งปัญหาในขณะนี้มันน่าจะลากยาว หากเป็นอย่างนั้น รัฐบาลควรดำเนินการคือ การวางนโยบายเพื่อรองรับผลกระทบของภาคเศรษฐกิจจริงให้มากที่สุด เร่งฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการใช้จ่ายในประเทศ"
รองผู้ว่าฯ ธปท.ระบุว่า ในส่วนของ ธปท.คือ การดูแลสภาพคล่องของสถาบันการเงิน คือการหาช่องทางอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ ซึ่ง ธปท.พร้อมอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อให้สภาพคล่องเพียงพอต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ เชื่อว่าควบคุมได้ แต่รัฐบาลควรมีมาตรการอื่นๆ มาดูแลเพิ่มเติมด้วยนอกเหนือไปจากนโยบายการเงิน และควรมีมาตรการตั้งรับด้วย ขณะที่ปัจจัยในประเทศไม่ควรซ้ำเติมเศรษฐกิจอีก โดยเฉพาะปัญหาการเมืองควรยุติได้แล้ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นสถานการณ์ในประเทศ
"ต้องไม่ยอมให้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจริงมากเกินจำเป็น เพราะความเสี่ยงของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมีสูงอยู่แล้ว" นางอัจนา กล่าว
**ย้ำคุมบาทบอนด์-เตือนดอลล์ร่วง
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี กรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และอดีตคณะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรีช่วงที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากปัญหาวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ได้ส่งผลต่อตลาดการเงินดอลลาร์ในทุกประเทศ พบว่าหลายประเทศขาดเงินเหรียญสหรัฐหรือไม่มีสภาพคล่องของเงินดอลลาร์ เนื่องจากทุกธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินดอลลาร์ออกมาซึ่งจะส่งผลในอนาคตคือเงินเหรียญสหรัฐจะอ่อนค่าลงมาก ขณะที่เงินดอลลาร์ก็ยังจำเป็นกับเศรษฐกิจทั่วโลก จึงจะส่งผลให้การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนของโลกทำได้ยากขึ้น
สำหรับประเทศไทยแม้จะมีปัญหาขาดสภาพคล่องเงินดอลลาร์เช่นกันแต่ถือว่าโชคดีมากที่มีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากถึง 1.2 แสนเหรียญสหรัฐ จากการที่มีปัญหาการเมืองต่อเนื่องถึง 3 ปีทำให้เรามีเงินสำรองมากแทบจะไม่ได้ใช้ใดๆ ซึ่งหากจะได้รับผลกระทบบ้างก็จะเพียงทำให้เงินสำรองลดลงเล็กน้อย แต่ปัญหาอย่างอื่นยังไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงซึ่งต้องชื่นชม ธปท. ที่เข้ามาดูแลปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะการดูแลสภาพคล่องในระบบมาได้สักระยะแล้ว
"สภาพคล่องในระบบของเราขณะนี้มีมากถึง 4-5 แสนล้านบาท แต่ก็เป็นความจำเป็นตามที่นายแบงก์ทั้งหลายเรียกร้องให้รัฐระงับการระดมทุนของต่างชาติในรูปของบาทบอนด์แล้วขอแลกเป็นเงินดอลลาร์ส่งออกนอกประเทศ เพราะจะช่วยดูแลสภาพคล่องในประเทศได้ทางหนึ่ง แม้ตอนนี้เราจะยังไม่ได้รับผลเท่ายุโรปแต่ก็ต้องเตรียมการไว้เพราะเหตุการณ์ในวอลสตรีทเหมือนกับเจอสึนามิที่มีแรงสั่นสะเทือนถึง 7.5 ริกเตอร์"
สำหรับเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 แม้จะยังไม่ปรากฏความเสียหายที่เกิดจากผลกระทบวิกฤตการเงินสหรัฐ แต่รายได้หลักของประเทศในช่วงเวลานี้ที่มาจากการท่องเที่ยวกระทบไปแล้วทั้งจากเหตุการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกซบเซา จึงคาดว่าจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่คาดกันว่าจะขยายตัวถึง 5.6% ก็จะเหลือเพียง 5.1% ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องอุดช่องโหว่ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น จะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐอย่างเข้มงวดที่สุด
**"โอฬาร" แถลงมาตรการสั้นและยาว
เช้าวานนี้ (30 ก.ย.) นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการติดตามแก้ไขสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินหารือเร่งด่วนเพื่อกำหนดมาตรการรับมือผลกระทบ จากวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐที่อาจลุกลามและส่งผลกระทบมาถึงไทย โดยจะเสนอผลการประชุมให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบด้วย
หลังการประชุมได้เปิดแถลงข่าวพร้อมด้วยนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง และ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. โดยนายโอฬารเปิดเผยว่า มาตรการที่ได้หารือกันมีทั้งระยะสั้น 3 เดือน และมาตรการระยะยาวหลังจากผ่านพ้นระยะดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มมีการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยเฉพาะการแสวงหาความร่วมมือในระดับนานาชาติ โดยมาตรการทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ตลาดทุน, สภาพคล่อง ต้นทุนทางการเงิน, การส่งออก และ ความร่วมมือทางการเงินกับเอเชีย โดยแนวทางของไทย คือการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้เชื้อโรคลุกลามเข้ามาในประเทศ โดยแผนรับมือจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ การบริหารจัดการวิกฤติในช่วง 3 เดือน และใช้วิกฤติด้านการเงินของโลกพลิกเป็นโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือทางการเงินกับประเทศในภูมิภาคเอเชียร่วมกัน
ส่วนด้านตลาดทุนนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จะชี้แจงไม่ให้นักลงทุนตื่นตระหนก และแนะนำให้ใช้จังหวะที่ค่าพีอีของตลาดหุ้นไทยต่ำมากเพื่อเข้าลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีและผลประกอบการให้ดี พร้อมทั้งผลักดันให้นักลงทุนสถาบัน ซึ่งได้แก่ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐบาลและเอกชนต่างๆ รวมทั้ง กองทุนที่จัดตั้งโดย ตลท. และบริษัทกองทุนรวม และบริษัทจดทะเบียนที่มั่นคง เช่น กองทุนร่วมลงทุน กองทุนพลังงาน ควรเข้าซื้อหุ้นที่พื้นฐานดี ราคาถูก เพื่อเป็นตัวชี้แนะให้แก่นักลงทุนรายย่อย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังก็จะพิจารณาขยายวงเงินและสัดส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินออมที่ลงทุนในกองทุนระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนระยะยาวเพื่อการลงทุนหุ้น (LTF) ในระยะ 3 เดือนก่อนสิ้นปี ตลท.และบริษัทจัดการกองทุนรวม ร่วมกันจัดงานตลาดนัดกองทุนรวมตั้งแต่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป
นายโอฬาร กล่าวถึงสภาพคล่องว่าไม่มีปัญหาเพราะประเทศไทยมีทุนสำรองกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ สามารถรองรับการขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ ส่วนกรณีที่ต้องการสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศเมื่อมีการลงทุนขนาดใหญ่ กระทรวงการคลังสามารถกู้จีทูจีได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ธปท.จะดูแลสภาพคล่องอย่างใกล้ชิดพร้อมใช้กลไกเสริมสภาพคล่องในระยะสั้นให้กับสถาบันการเงินทุกแห่งทันที กระทรวงการคลังสามารถดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีสินเชื่อให้ประชาชนและเอสเอ็มอีอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดตั้งแต่ ต.ค.เป็นต้นไป เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ พัฒนาท้องถิ่นสู่มือประชาชนโดยเร็ว และงบลงทุนภาครัฐ ชะลอการระดมทุนของต่างประเทศในรูปของบาทบอนด์ จนกว่าปัญหาสภาพคล่องภายในจะคลี่คลาย เช่นเดียวกันการส่งออกต้องดูแลตลาดในเอเชียให้ดี และสร้างความต้องการในประเทศชดเชย และสุดท้ายการดำเนินการเชิงรุก โดยร่วมมือกับเอเชีย และความร่วมมือทางการเงินของประชาคมเอเชีย
"ในที่ประชุมคณะกรรมการฯ เชื่อว่าสถาบันการเงินของไทยจะไม่ประสบปัญหาวิกฤติ เนื่องจากไม่ได้ปล่อยสินเชื่อด้อยคุณภาพเหมือนเช่นสหรัฐฯ ขณะที่ผลกระทบจากการออกไปลงทุนในตราสารหนี้ เช่น ซับไพร์มโลน อาจมีปัญหาอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก และได่มีการตั้งสำรองรับความเสี่ยงทั้งหมดไปแล้ว" นายโอฬารกล่าว
รายงานข่าวจากระทรวงการคลังแจ้งว่า วันนี้ (1 ต.ค.) รมว.คลัง จะเดินทางตรวจเยี่ยมและหารือกับผู้บริหาร ตลท.และสมาชิกสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เพื่อขอความร่วมมือในการดูแลสภาพคล่องในระบบ ร่วมถึงการวางมาตรการดูแลตลาดทุน ที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐ
**สุชาติลั่นอัดฉีดSML 1.9 หมื่นล้าน
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภากระทรวงการคลัง จะอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบ โดยผ่านโครงการ SML รอบใหม่ จำนวน 19,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังซื้อในประเทศให้สูงขึ้น เพื่อทดแทนการชะลอตัวจากการลงทุนที่อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา และตนไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนสินทรัพย์ เพื่อเข้าซื้อสถาบันทางการเงินของสหรัฐเนื่องจากตลาดประเทศไทยเป็นตลาดประเทศที่มีฐานะทางการเงินต่ำกว่าสหรัฐ จึงไม่ควรเข้าไปอุ้มประเทศที่มีฐานะทางการเงินที่ดีกว่า ควรนำเงินมาเสริมสภาพคล่องภายในประเทศ จะเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่า.
**ธปท.ยันคุมสภาพคล่อง-แบงก์ได้
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. ยืนยันในการแถลงข่าวร่วมกับรัฐบาลว่า ขณะนี้ระบบสถาบันการเงินในไทยยังมีความมั่นคงเข้มแข็ง โดยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) เกินกว่า 15% การเจริญเติบโตของสินเชื่อยังมีแนวโน้มที่ดี และมีโอกาสทำกำไร ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีแนวโน้มลดลงจากระดับ 3% ส่วนสภาพคล่องในตลาดการเงินของไทยในปัจจุบันยืนยันว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าสภาพคล่องในต่างประเทศเริ่มมีความตึงตัวบ้าง จากผลกระทบวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐ และหากมีผลกระทบมาถึงไทย ธปท.ก็มีกลไกที่พร้อมจะเข้าไปเสริมสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินทุกแห่งทันที
"ขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นในตลาดหุ้นไทย แม้ว่าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลออกไป แต่เงินทุนสำรองทางการที่อยู่ในระดับสูงมากสามารถรองรับได้อย่างเพียงพอ ขณะที่เงินลงทุนส่วนหนึ่งที่อยู่ในตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งตลาดพันธบัตรของไทยที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงเชื่อว่าหากนักลงทุนต่างประเทศต้องการนำเงินลงทุนกลับไปช่วยบริษัทแม่คงเลือกหาแหล่งเงินจากประเทศอื่นมากกว่า" นางธาริษากล่าว
**สมชายเชื่อน้ำยา "โอฬาร-สุชาติ"
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ก่อนเข้าวาระการประชุมนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯ แจ้งให้ครม.ทราบเรื่องสำคัญคือ วิกฤตเศรษฐกิจของอเมริกาและชาติอื่นๆเพราะอเมริกามีปัญหาสถาบันการเงินทำให้ระบบการเงินและการลงทุนนั้น ไม่ใช่เฉพาะอเมริกามีปัญหาแต่อาจกระทบประเทศในเอเชียและไทย รัฐบาลชุดที่แล้วได้แต่งตั้งคณะทำงานคือปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ว่าฯธปท. ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ และหน่วยงานประกันภัยที่มีการประชุมติดตามวิกฤตนี้มาตลอด และเมื่อมีครม.ชุดนี้แล้วนายกฯมอบหมายให้นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกฯและนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลังรับผิดชอบร่วมกัน
นายสุขุมพงศ์ เปิดเผยด้วยว่า ล่าสุดสภาคองเกรสไม่อนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ งบประมาณ 7 แสนล้านเหรียญ คณะทำงานฯ จึงได้ประชุมเร่งด่วนกันในเช้าวันนี้ (30 ก.ย.) เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนสำคัญแม้รัฐบาลยังไม่แถลงนโยบายรัฐบาลก็ตาม แต่ต้องรีบดำเนินการเพื่อไม่ให้ประเทศเสียหาย และมีการรายงานให้นายกฯ และ ครม.รับทราบตามลำดับ
“วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกานั้น นายกฯ ไม่ห่วงนักเพราะทราบมาตรการรองรับของคณะกรรมการฯชุดดังกล่าวที่วางแนวทางไว้ดีแล้ว โดยนายกฯ ขอบคุณกรรมการชุดนั้นที่มองกันว่าผลกระทบกับไทยจะไม่มากนัก และมีมาตรการไว้แล้วด้วย” นายสุขุมพงศ์กล่าว
**"เติ้ง" รู้ดีวิธีแก้ต้องใช้งบประมาณ
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงเศรษฐกิจของอเมริกากำลังดิ่งลงในขณะนี้ที่อาจจะส่งผลกระทบมาสู่ไทยได้ว่า ต้องดูก่อนว่ามันจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยหรือไม่ เพราะขณะนี้มันกระจายไปทั่ว ดังนั้นทีมเศรษฐกิจต้องไปดูว่ามีความกระทบไหม ต้องดูแบงก์ในประเทศว่าสภาพคล่องเป็นอย่างไร ตรงนี้เป็นตัวชี้ ถ้าแบงก์ขาดสภาพคล่องตรงนี้มีปัญหา ที่สำคัญอย่าให้ประชาชนตื่นตระหนกในการถอนเงิน ถ้าตื่นตระหนกเมื่อไรมีปัญหาเกิดขึ้นทันที เหมือนปี 2540 เท่าที่ตนดูคิดว่าสภาพคล่องทางการเงินมีอยู่มาพอสมควร ถ้าไม่มีสภาพคล่องอัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่านี้ คิดว่าไม่น่ามีปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองการทำงาน รมว.การคลังคนใหม่อย่างไร นายบรรหารกล่าวว่า เป็นคนมีความรู้ความสามารถ ท่านก็คงช่วยกันแก้ ซึ่งการจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น การเงินหมุนเวียนไหลเร็ว ก็คือเมื่องบประมาณผ่านไปแล้ว 1 ต.ค.ต้องเร่งรัดเอางบประมาณาต่างๆ มาใช้โดยเร็ว ไม่เช่นนั้นงบประมาณจะไหลไปสู่ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ถ้าสามารถใช้ได้ทันในไตรมาส 1 ก็จะทำให้สภาพคล่องดีขึ้น
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) เปิดเผยกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ (สภาคองเกรส) ไม่อนุมัติงบประมาณ 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อแก้ปัญหาสถาบันการเงิน ว่า ผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ยอมรับว่ายากเกินที่จะประเมิน แต่เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคาพาณิชย์ไทยได้มีการกู้ยืมหรือไปลงทุนในต่างประเทศมีสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ผลที่เกิดขึ้นจึงไม่ทำให้เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินของไทยต้องเสียหาย แต่ไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบ ที่เห็นชัดเจนที่สุดได้ในขณะนี้ คือการตกต่ำของตลาดหุ้นไทย และทั่วโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
"ตอนนี้ปัญหาอยู่ที่ว่าจะลงลึกและลากยาวไปถึงระดับไหน ซึ่งปัญหาในขณะนี้มันน่าจะลากยาว หากเป็นอย่างนั้น รัฐบาลควรดำเนินการคือ การวางนโยบายเพื่อรองรับผลกระทบของภาคเศรษฐกิจจริงให้มากที่สุด เร่งฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการใช้จ่ายในประเทศ"
รองผู้ว่าฯ ธปท.ระบุว่า ในส่วนของ ธปท.คือ การดูแลสภาพคล่องของสถาบันการเงิน คือการหาช่องทางอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ ซึ่ง ธปท.พร้อมอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อให้สภาพคล่องเพียงพอต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ เชื่อว่าควบคุมได้ แต่รัฐบาลควรมีมาตรการอื่นๆ มาดูแลเพิ่มเติมด้วยนอกเหนือไปจากนโยบายการเงิน และควรมีมาตรการตั้งรับด้วย ขณะที่ปัจจัยในประเทศไม่ควรซ้ำเติมเศรษฐกิจอีก โดยเฉพาะปัญหาการเมืองควรยุติได้แล้ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นสถานการณ์ในประเทศ
"ต้องไม่ยอมให้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจริงมากเกินจำเป็น เพราะความเสี่ยงของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมีสูงอยู่แล้ว" นางอัจนา กล่าว
**ย้ำคุมบาทบอนด์-เตือนดอลล์ร่วง
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี กรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และอดีตคณะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรีช่วงที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากปัญหาวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ได้ส่งผลต่อตลาดการเงินดอลลาร์ในทุกประเทศ พบว่าหลายประเทศขาดเงินเหรียญสหรัฐหรือไม่มีสภาพคล่องของเงินดอลลาร์ เนื่องจากทุกธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินดอลลาร์ออกมาซึ่งจะส่งผลในอนาคตคือเงินเหรียญสหรัฐจะอ่อนค่าลงมาก ขณะที่เงินดอลลาร์ก็ยังจำเป็นกับเศรษฐกิจทั่วโลก จึงจะส่งผลให้การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนของโลกทำได้ยากขึ้น
สำหรับประเทศไทยแม้จะมีปัญหาขาดสภาพคล่องเงินดอลลาร์เช่นกันแต่ถือว่าโชคดีมากที่มีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากถึง 1.2 แสนเหรียญสหรัฐ จากการที่มีปัญหาการเมืองต่อเนื่องถึง 3 ปีทำให้เรามีเงินสำรองมากแทบจะไม่ได้ใช้ใดๆ ซึ่งหากจะได้รับผลกระทบบ้างก็จะเพียงทำให้เงินสำรองลดลงเล็กน้อย แต่ปัญหาอย่างอื่นยังไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงซึ่งต้องชื่นชม ธปท. ที่เข้ามาดูแลปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะการดูแลสภาพคล่องในระบบมาได้สักระยะแล้ว
"สภาพคล่องในระบบของเราขณะนี้มีมากถึง 4-5 แสนล้านบาท แต่ก็เป็นความจำเป็นตามที่นายแบงก์ทั้งหลายเรียกร้องให้รัฐระงับการระดมทุนของต่างชาติในรูปของบาทบอนด์แล้วขอแลกเป็นเงินดอลลาร์ส่งออกนอกประเทศ เพราะจะช่วยดูแลสภาพคล่องในประเทศได้ทางหนึ่ง แม้ตอนนี้เราจะยังไม่ได้รับผลเท่ายุโรปแต่ก็ต้องเตรียมการไว้เพราะเหตุการณ์ในวอลสตรีทเหมือนกับเจอสึนามิที่มีแรงสั่นสะเทือนถึง 7.5 ริกเตอร์"
สำหรับเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 แม้จะยังไม่ปรากฏความเสียหายที่เกิดจากผลกระทบวิกฤตการเงินสหรัฐ แต่รายได้หลักของประเทศในช่วงเวลานี้ที่มาจากการท่องเที่ยวกระทบไปแล้วทั้งจากเหตุการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกซบเซา จึงคาดว่าจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่คาดกันว่าจะขยายตัวถึง 5.6% ก็จะเหลือเพียง 5.1% ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องอุดช่องโหว่ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น จะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐอย่างเข้มงวดที่สุด
**"โอฬาร" แถลงมาตรการสั้นและยาว
เช้าวานนี้ (30 ก.ย.) นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการติดตามแก้ไขสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินหารือเร่งด่วนเพื่อกำหนดมาตรการรับมือผลกระทบ จากวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐที่อาจลุกลามและส่งผลกระทบมาถึงไทย โดยจะเสนอผลการประชุมให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบด้วย
หลังการประชุมได้เปิดแถลงข่าวพร้อมด้วยนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง และ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. โดยนายโอฬารเปิดเผยว่า มาตรการที่ได้หารือกันมีทั้งระยะสั้น 3 เดือน และมาตรการระยะยาวหลังจากผ่านพ้นระยะดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มมีการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยเฉพาะการแสวงหาความร่วมมือในระดับนานาชาติ โดยมาตรการทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ตลาดทุน, สภาพคล่อง ต้นทุนทางการเงิน, การส่งออก และ ความร่วมมือทางการเงินกับเอเชีย โดยแนวทางของไทย คือการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้เชื้อโรคลุกลามเข้ามาในประเทศ โดยแผนรับมือจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ การบริหารจัดการวิกฤติในช่วง 3 เดือน และใช้วิกฤติด้านการเงินของโลกพลิกเป็นโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือทางการเงินกับประเทศในภูมิภาคเอเชียร่วมกัน
ส่วนด้านตลาดทุนนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จะชี้แจงไม่ให้นักลงทุนตื่นตระหนก และแนะนำให้ใช้จังหวะที่ค่าพีอีของตลาดหุ้นไทยต่ำมากเพื่อเข้าลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีและผลประกอบการให้ดี พร้อมทั้งผลักดันให้นักลงทุนสถาบัน ซึ่งได้แก่ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐบาลและเอกชนต่างๆ รวมทั้ง กองทุนที่จัดตั้งโดย ตลท. และบริษัทกองทุนรวม และบริษัทจดทะเบียนที่มั่นคง เช่น กองทุนร่วมลงทุน กองทุนพลังงาน ควรเข้าซื้อหุ้นที่พื้นฐานดี ราคาถูก เพื่อเป็นตัวชี้แนะให้แก่นักลงทุนรายย่อย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังก็จะพิจารณาขยายวงเงินและสัดส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินออมที่ลงทุนในกองทุนระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนระยะยาวเพื่อการลงทุนหุ้น (LTF) ในระยะ 3 เดือนก่อนสิ้นปี ตลท.และบริษัทจัดการกองทุนรวม ร่วมกันจัดงานตลาดนัดกองทุนรวมตั้งแต่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป
นายโอฬาร กล่าวถึงสภาพคล่องว่าไม่มีปัญหาเพราะประเทศไทยมีทุนสำรองกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ สามารถรองรับการขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ ส่วนกรณีที่ต้องการสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศเมื่อมีการลงทุนขนาดใหญ่ กระทรวงการคลังสามารถกู้จีทูจีได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ธปท.จะดูแลสภาพคล่องอย่างใกล้ชิดพร้อมใช้กลไกเสริมสภาพคล่องในระยะสั้นให้กับสถาบันการเงินทุกแห่งทันที กระทรวงการคลังสามารถดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีสินเชื่อให้ประชาชนและเอสเอ็มอีอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดตั้งแต่ ต.ค.เป็นต้นไป เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ พัฒนาท้องถิ่นสู่มือประชาชนโดยเร็ว และงบลงทุนภาครัฐ ชะลอการระดมทุนของต่างประเทศในรูปของบาทบอนด์ จนกว่าปัญหาสภาพคล่องภายในจะคลี่คลาย เช่นเดียวกันการส่งออกต้องดูแลตลาดในเอเชียให้ดี และสร้างความต้องการในประเทศชดเชย และสุดท้ายการดำเนินการเชิงรุก โดยร่วมมือกับเอเชีย และความร่วมมือทางการเงินของประชาคมเอเชีย
"ในที่ประชุมคณะกรรมการฯ เชื่อว่าสถาบันการเงินของไทยจะไม่ประสบปัญหาวิกฤติ เนื่องจากไม่ได้ปล่อยสินเชื่อด้อยคุณภาพเหมือนเช่นสหรัฐฯ ขณะที่ผลกระทบจากการออกไปลงทุนในตราสารหนี้ เช่น ซับไพร์มโลน อาจมีปัญหาอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก และได่มีการตั้งสำรองรับความเสี่ยงทั้งหมดไปแล้ว" นายโอฬารกล่าว
รายงานข่าวจากระทรวงการคลังแจ้งว่า วันนี้ (1 ต.ค.) รมว.คลัง จะเดินทางตรวจเยี่ยมและหารือกับผู้บริหาร ตลท.และสมาชิกสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เพื่อขอความร่วมมือในการดูแลสภาพคล่องในระบบ ร่วมถึงการวางมาตรการดูแลตลาดทุน ที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐ
**สุชาติลั่นอัดฉีดSML 1.9 หมื่นล้าน
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภากระทรวงการคลัง จะอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบ โดยผ่านโครงการ SML รอบใหม่ จำนวน 19,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังซื้อในประเทศให้สูงขึ้น เพื่อทดแทนการชะลอตัวจากการลงทุนที่อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา และตนไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนสินทรัพย์ เพื่อเข้าซื้อสถาบันทางการเงินของสหรัฐเนื่องจากตลาดประเทศไทยเป็นตลาดประเทศที่มีฐานะทางการเงินต่ำกว่าสหรัฐ จึงไม่ควรเข้าไปอุ้มประเทศที่มีฐานะทางการเงินที่ดีกว่า ควรนำเงินมาเสริมสภาพคล่องภายในประเทศ จะเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่า.
**ธปท.ยันคุมสภาพคล่อง-แบงก์ได้
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. ยืนยันในการแถลงข่าวร่วมกับรัฐบาลว่า ขณะนี้ระบบสถาบันการเงินในไทยยังมีความมั่นคงเข้มแข็ง โดยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) เกินกว่า 15% การเจริญเติบโตของสินเชื่อยังมีแนวโน้มที่ดี และมีโอกาสทำกำไร ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีแนวโน้มลดลงจากระดับ 3% ส่วนสภาพคล่องในตลาดการเงินของไทยในปัจจุบันยืนยันว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าสภาพคล่องในต่างประเทศเริ่มมีความตึงตัวบ้าง จากผลกระทบวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐ และหากมีผลกระทบมาถึงไทย ธปท.ก็มีกลไกที่พร้อมจะเข้าไปเสริมสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินทุกแห่งทันที
"ขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นในตลาดหุ้นไทย แม้ว่าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลออกไป แต่เงินทุนสำรองทางการที่อยู่ในระดับสูงมากสามารถรองรับได้อย่างเพียงพอ ขณะที่เงินลงทุนส่วนหนึ่งที่อยู่ในตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งตลาดพันธบัตรของไทยที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงเชื่อว่าหากนักลงทุนต่างประเทศต้องการนำเงินลงทุนกลับไปช่วยบริษัทแม่คงเลือกหาแหล่งเงินจากประเทศอื่นมากกว่า" นางธาริษากล่าว
**สมชายเชื่อน้ำยา "โอฬาร-สุชาติ"
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ก่อนเข้าวาระการประชุมนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯ แจ้งให้ครม.ทราบเรื่องสำคัญคือ วิกฤตเศรษฐกิจของอเมริกาและชาติอื่นๆเพราะอเมริกามีปัญหาสถาบันการเงินทำให้ระบบการเงินและการลงทุนนั้น ไม่ใช่เฉพาะอเมริกามีปัญหาแต่อาจกระทบประเทศในเอเชียและไทย รัฐบาลชุดที่แล้วได้แต่งตั้งคณะทำงานคือปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ว่าฯธปท. ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ และหน่วยงานประกันภัยที่มีการประชุมติดตามวิกฤตนี้มาตลอด และเมื่อมีครม.ชุดนี้แล้วนายกฯมอบหมายให้นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกฯและนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลังรับผิดชอบร่วมกัน
นายสุขุมพงศ์ เปิดเผยด้วยว่า ล่าสุดสภาคองเกรสไม่อนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ งบประมาณ 7 แสนล้านเหรียญ คณะทำงานฯ จึงได้ประชุมเร่งด่วนกันในเช้าวันนี้ (30 ก.ย.) เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนสำคัญแม้รัฐบาลยังไม่แถลงนโยบายรัฐบาลก็ตาม แต่ต้องรีบดำเนินการเพื่อไม่ให้ประเทศเสียหาย และมีการรายงานให้นายกฯ และ ครม.รับทราบตามลำดับ
“วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกานั้น นายกฯ ไม่ห่วงนักเพราะทราบมาตรการรองรับของคณะกรรมการฯชุดดังกล่าวที่วางแนวทางไว้ดีแล้ว โดยนายกฯ ขอบคุณกรรมการชุดนั้นที่มองกันว่าผลกระทบกับไทยจะไม่มากนัก และมีมาตรการไว้แล้วด้วย” นายสุขุมพงศ์กล่าว
**"เติ้ง" รู้ดีวิธีแก้ต้องใช้งบประมาณ
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงเศรษฐกิจของอเมริกากำลังดิ่งลงในขณะนี้ที่อาจจะส่งผลกระทบมาสู่ไทยได้ว่า ต้องดูก่อนว่ามันจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยหรือไม่ เพราะขณะนี้มันกระจายไปทั่ว ดังนั้นทีมเศรษฐกิจต้องไปดูว่ามีความกระทบไหม ต้องดูแบงก์ในประเทศว่าสภาพคล่องเป็นอย่างไร ตรงนี้เป็นตัวชี้ ถ้าแบงก์ขาดสภาพคล่องตรงนี้มีปัญหา ที่สำคัญอย่าให้ประชาชนตื่นตระหนกในการถอนเงิน ถ้าตื่นตระหนกเมื่อไรมีปัญหาเกิดขึ้นทันที เหมือนปี 2540 เท่าที่ตนดูคิดว่าสภาพคล่องทางการเงินมีอยู่มาพอสมควร ถ้าไม่มีสภาพคล่องอัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่านี้ คิดว่าไม่น่ามีปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองการทำงาน รมว.การคลังคนใหม่อย่างไร นายบรรหารกล่าวว่า เป็นคนมีความรู้ความสามารถ ท่านก็คงช่วยกันแก้ ซึ่งการจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น การเงินหมุนเวียนไหลเร็ว ก็คือเมื่องบประมาณผ่านไปแล้ว 1 ต.ค.ต้องเร่งรัดเอางบประมาณาต่างๆ มาใช้โดยเร็ว ไม่เช่นนั้นงบประมาณจะไหลไปสู่ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ถ้าสามารถใช้ได้ทันในไตรมาส 1 ก็จะทำให้สภาพคล่องดีขึ้น