ข่าวเชิงวิเคราะห์โดยทีมข่าวพิเศษ
ผู้จัดการรายวัน – เปิดแผลครอบครัวนายกรัฐมนตรีน้องเขยทักษิณ เจอข้อกล่าวหาพัวพันทุจริตอื้อ จี้ ป.ป.ช.ลุยสางคดี “เจ๊แดง” ร่ำรวยผิดปกติ ปกปิดบัญชีทรัพย์สิน หลังตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีมาร่วม 2 ปี ตรวจสอบสุดอืด
ในการขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยของนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ทำเนียบรัฐบาล ในรอบสัปดาห์นี้ ได้เปิดโปงพฤติกรรมซึ่งอาจเข้าข่ายการกระทำที่ทุจริตของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภริยา ในหลายกรณีทั้งข้อกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ ปกปิดบัญชีทรัพย์สิน และอาจเกี่ยวพันการทุจริตการประมูลงานในสนามบินสุวรรณภูมิหลายโครงการ
นายสมเกียรติ และนายสนธิ ได้ยกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของนายสมชาย - นางเยาวภา วงศ์สวัดิ์ และพวก คือ
**1) กรณีกล่าวหานางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ร่ำรวยผิดปกติ ปกปิดบัญชีทรัพย์สิน โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2549 และ ป.ป.ช. มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2550**
2) กรณีกล่าวหานางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการบริหารเขตปลอดอากรและศูนย์โลจิสติกส์ ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท โครงการนี้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ว่าจ้างบริษัทไทยแอร์พอร์ต กราวด์เซอร์วิสเซส จำกัด (แท็กส์) โดยไม่มีการเปิดประมูล ซึ่งขณะนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ทอท. อยู่ด้วย
** 3) กรณีการประมูลงานจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัยสนามบินสุวรรณภูมิ โดยวิธีพิเศษ และเพิ่มงบประมาณ จากเดิม 3,086 ล้านบาท เป็น 5,400 ล้านบาท คดีนี้ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2550 ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับพวก (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล, นายศรีสุข จันทรางศุ รวมถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) โดยมอบหมายให้นายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน**
4) กรณีกล่าวหานายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกับพวก ซึ่งมีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รวมอยู่ด้วย ร่วมกันทุจริตโครงการจัดตั้งร้านค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานภูมิภาค และการบริหารกิจการเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดย ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2550 ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยมีนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธาน
นอกจากนั้น นายสนธิ ยังระบุว่าโครงการทุจริตในสนามบินสุวรรณภูมิหลายโครงการที่อยู่ในมือของ ป.ป.ช. เป็นไปอย่างล่าช้า ไม่ว่าจะเป็นโครงการคดีเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์, คดีท่อร้อยสาย และคดีแอร์พอร์ตลิงก์ ฯลฯ เพราะมี ป.ป.ช. บางคนใกล้ชิดกับอดีตผู้นำและพวก
***พลิกคดี “เจ๊แดง” ร่ำรวยผิดปกติ
ข้อกล่าวหานางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร่ำรวยผิดปกติและจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันควรแจ้งให้ทราบนั้น
คดีดังกล่าว นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 โดยกล่าวหา นางเยาวภา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง ส.ส. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ระหว่างปี 2544-2549 ว่าร่ำรวยผิดปกติตามมาตรา 66 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ
ตามข้อร้องเรียน กล่าวหาว่า นางเยาวภา มีพฤติการณ์ ซื้อมา ขายไป ยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สิน และมีทรัพย์สินในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ภายหลังเข้ารับตำแหน่งทางการเมือง โดยเพิ่มขึ้นในชื่อของบุคคลในครอบครัว คือ บุตรสาวและบุตรชาย ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งมิได้มีกิจการเป็นของตนเองแต่เป็นกิจการในครอบครัวของผู้ถูกกล่าวหา เนื่องมาจากขณะได้มาซึ่งทรัพย์สินบางรายการ บุตรทั้งสามของผู้ถูกกล่าวหาพึ่งบรรลุนิติภาวะ และยังศึกษาอยู่ และในชื่อของบุคคลอื่นๆ อีกหลายคน ในกรณีต่างๆ โดยการเข้าถือหุ้นในบริษัทต่างๆ แทนผู้ถูกกล่าวหาอันควรเชื่อได้ว่าได้มีการปกปิดทรัพย์สินอันควรแจ้ง และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
และปรากฏว่ามีการทำธุรกรรมมีลักษณะที่เป็นการทำแทนผู้ถูกกล่าวหา ในหลายกรณี โดยมีบุคคลผู้เกี่ยวข้อง คือ 1.นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ 2.นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ 3.นางสาวชยาภา วงศ์สวัสดิ์ 4.นางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ หรือ เวชยชัย 5.บุคคลอื่นที่ต้องสงสัยจากการขยายผลการสอบสวน โดยมีพฤติการณ์และรายละเอียดดังนี้
**** กรณีที่ 1 การถือหุ้นในโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ และการซื้อโครงการจาก บสท.
การเปิดตัวโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ (ชื่อบุตรสาวของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์) ของบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 ผู้ถูกกล่าวหาและสามี เป็นผู้ให้การต้อนรับและส่งแขก รวมทั้งร่วมรับกระเช้าแสดงความยินดี แสดงตนว่าเป็นเจ้าของโดยเปิดเผย มิใช่เป็นลูกค้าคนหนึ่งตามกล่าวอ้าง
ซึ่งในขณะที่นางวัสสา จินะวิจารณะ ภรรยาของนายเฉลิมชัย จินะวิจารณะ (อดีต ส.ส.เขตจตุจักร พรรคไทยรักไทย ) อ้างว่าเป็นเจ้าของโดยซื้อโครงการจาก บสท. แต่ต่อมาได้ออกมายอมรับว่าเป็นเพียงผู้บริหารโครงการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการโครงการเท่านั้น ส่วนนายเฉลิมชัย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
นอกจากภาพที่ปรากฏในวันเปิดตัวโครงการบ้านจัดสรร "ชินณิชา วิลล์" เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2546 อย่างอลังการซึ่งสร้างความเข้าใจและยอมรับว่าโครงการดังกล่าวเป็นของนางเยาวภา แล้ว ยังปรากฏว่า แขกผู้มาร่วมงานล้วนคราคร่ำไปด้วยสมาชิกพรรคไทยรักไทย ตั้งแต่ "คุณหญิง พจมาน ชินวัตร" ภริยานายกรัฐมนตรี "ทักษิณ ชินวัตร" ประธานเปิดงาน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, สุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจ, สมศักดิ์ เทพสุทิน, สุดารัตน์ เกยุราพันธ์, เนวิน ชิดชอบ, ประยุทธ มหากิจศิริ, พงศ์เทพ เทพกาญจนา ฯลฯ จนเรียกขานกันว่าเป็นหมู่บ้านนักการเมือง
**ชื่อโครงการชินณิชา วิลล์ นั้น นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ คนสนิทที่ได้ชื่อว่าเป็น 'มือขวา' ของนางเยาวภา ตอบคำถามสื่อมวลชนในการให้สัมภาษณ์ขณะนั้นว่า “ตอนพวกเราไปขอชื่อลูกสาวพี่แดงมาเป็นชื่อโครงการ พี่แดงใช้เวลาคิดนานเป็นสัปดาห์ถึงจะตอบตกลง เพราะชื่อน้องเชียร์ (ชินณิชา) ตอบโจทย์ได้ทุกข้อ คือฟังเพราะทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หวาน หรู และไม่เกิน 3 พยางค์"** (“เนชั่นสุดสัปดาห์” ปีที่ 14 ฉบับที่ 762 วันที่ วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2549)
ตามหนังสือของนายอลงกรณ์ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. ระบุว่า จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ปรากฏว่า กลุ่มผู้เกี่ยวข้องซื้อโครงการนี้ของบริษัท การ์เด้นท์ซิตี้ ลากูน จำกัด จาก บสท. เมื่อปี 2546 อย่างมีเงื่อนงำในราคา 800 ล้านบาท และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด" โดยมีผู้ถือหุ้นคือ บริษัท ทีเอสบี. โฮลดิ้งก์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 60 (มีนายสุธรรม มลิลา อดีต ผอ.องค์การโทรศัพท์ฯ เป็นผู้ถือหุ้นคนสำคัญ) และบริษัท สินมหัต จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 40 (มีนางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ หรือเวชยชัย น้องสาวนายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99) จำนวน 18 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าหุ้น 180 ล้านบาท
เมื่อตรวจสอบฐานะการประกอบการและสถานภาพทางการเงินของ บริษัท สินมหัต จำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท พบว่า ปี 2545 มีรายได้ 120,000 บาท ขาดทุน 50,000 บาท ปี 2546 มีรายได้ 1,200,000 บาท กำไร 120,000 บาท (ปีที่ซื้อหุ้นบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้) ปี 2547 มีรายได้ 2,600,000 บาท ขาดทุน 1,400,000 บาท
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่า บริษัท สินมหัต จำกัด ไม่อยู่ในฐานะที่จะมีเงินลงทุนซื้อหุ้นจำนาน 180 ล้านบาทได้ ในปี 2546 และในเดือนมิถุนายน 2547 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้าน เป็น 100 ล้านบาท โดยไม่ทราบแหล่งที่มาของเงินทุน ต่อมาได้โอนหุ้น 18 ล้านหุ้นให้กับนายสุธรรม มลิลา และบุตรชายของนายสุธรรม จำนวน 9 ล้านหุ้น และผู้อื่นอีก 9 ล้านหุ้นในปี 2548
สิ่งที่ต้องตั้งคำถาม และเป็นประเด็นสำคัญในการได้มาซึ่งทรัพย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ นางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ ว่านำเงินจากไหนมาซื้อหุ้นบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ถึง 180 ล้านบาททั้งที่เป็นบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท
**เมื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างนางสุนิสา และผู้ถูกกล่าวหา ปรากฏว่า นางสุนิสา เป็นกรรมการ บริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัวผู้ถูกกล่าวหาและบริษัทในเครือของครอบครัวนางเยาวภาอีกกว่า 10 บริษัท**
โดยเฉพาะการดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัท และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินและบัญชี บริษัท วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัววงศ์สวัสดิ์ โดยถือหุ้นมูลค่าเพียง 3 แสนกว่าบาท แต่ทำหน้าที่ประธานกรรมการ และผู้ดูแลบัญชีและการเงินของบริษัทหลายบริษัทของครอบครัววงศ์สวัสดิ์ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์พิเศษ ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่านางสุนิสา เป็นผู้ถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหาในโครงการชินณิชา วิลล์ ของบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
** กรณีที่ 2 กรณีการซื้อที่ดิน 8 ไร่ มูลค่า 256 ล้านบาท ในโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์**
ในวันเปิดตัวโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 ผู้ถูกกล่าวหายอมรับว่าซื้อที่ดินจำนวน 8 ไร่ มูลค่า 256 ล้านบาท ของหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ ต่อมาเมื่อมีข่าวการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาปรากฏในสื่อมวลชน เมื่อต้นปี 2549 ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าบุตรสาวเป็นผู้ซื้อ และกู้เงินจากธนาคาร
แต่เมื่อพิจารณาจากฐานะของบุตรสาวของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะมีเงินและเครดิตในการซื้อที่ดินมูลค่า 256 ล้าน (ทั้งนี้ยังไม่รวมสิ่งปลูกสร้างและอาคารประกอบ) โดยเฉพาะ บริษัท เอ็มลิงค์ฯ กิจการของครอบครัววงศ์สวัสดิ์ ได้ทำรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 ว่าบริษัทขาดทุนถึง 123 ล้านบาท (ปี 2546 บุตรทั้ง 3 คนของผู้ถูกกล่าวหามีอายุระหว่าง 19 ปี-24 ปี และยังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาทั้ง 3 คน)
*** กรณีที่ 3 กรณีที่บุตรทั้ง 3 คนซื้อหุ้น 4 บริษัท กว่า 1,000 ล้านบาท ระหว่างเดือน มี.ค.-ส.ค. พ.ศ. 2547**
ในปี พ.ศ. 2547 นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ อายุ 24 ปี นางสาวชยาภา วงศ์สวัสดิ์ อายุ 20 ปี และนายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อายุ 25 ปี บุตรทั้ง 3 คนของผู้ถูกกล่าวหา และบุคคลอื่นที่อยู่ในเครือข่ายธุรกิจของผู้ถูกกล่าวหาได้ซื้อหุ้น บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 140 ล้านหุ้น มูลค่า 420 ล้านบาท เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547
และได้ซื้อหุ้นของบริษัท สยามสตริป มิลล์ (มหาชน) จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท จีสตีล จำกัด (มหาชน)) จำนวน 210 ล้านหุ้น มูลค่า 336 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2547
นอกจากนี้ ยังได้ซื้อหุ้นของบริษัท แอสคอนคอนสตรัคชั่น จำกัด จำนวนร้อยละ 19 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และบริษัท วินโคสท์ อินดัสเทรียลพาร์ค จำกัด จำนวนร้อยละ 62 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ในเดือนพฤษภาคม และสิงหาคม 2547 ตามลำดับ คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท
**เมื่อพิจารณาจากฐานะและสถานภาพทางการเงินของบุตรทั้ง 3 ของผู้ถูกกล่าวหาแล้วไม่น่าเป็นไปได้ว่าจะมีเงินกว่า 1000 ล้านบาท ในการซื้อหุ้นของทั้ง 4 บริษัท**
พฤติการณ์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งหมด มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลทั้ง 3 ถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหา ดังคำพูดบางตอนของนายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ให้สัมภาษณ์นิตยสาร มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน 2548 ว่า
**"ผมบอกกับพี่เขาไปแล้ว ถ้าพี่แดง (ชื่อเล่นของผู้ถูกกล่าวหา) จะขายหุ้นที่ถืออยู่ในทราฟฟิกคอร์นเนอร์ ผมก็ไม่ขัดข้อง" "ที่ผ่านมาพี่เขาอึดอัด ไม่ว่าอะไรก็มาลงที่พี่เขา ตอนนี้พี่เขาถืออยู่ 20 ล้านหุ้น รวมๆ แล้วก็เป็นร้อยละ 8 เห็นจะได้"**
จากคำสัมภาษณ์ของนายสุรพงษ์ ยืนยันว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด 20 ล้านหุ้น ขณะปี 2548 และปรากฏในรายงานตลาดหลักทรัพย์ ได้ปรากฏชื่อนายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ บุตรของผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นในบริษัททราฟฟิกคอร์นเนอร์ 20 ล้านหุ้น เท่ากับจำนวนที่นายสุรพงษ์ ให้สัมภาษณ์ว่าเป็นของผู้ถูกกล่าวหา
ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏดังกล่าวข้างต้น การได้มาซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาและบุคคลในครอบครัว รวมทั้งผู้ใกล้ชิดและบุคคลผู้มีความสัมพันธ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้ถูกกล่าวหา เป็นการได้มา ขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งสิ้น
และมีเหตุอันควรเชื่อซึ่งทำให้ผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ ตามมาตรา 66 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และยังจงใจที่จะไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ตามมาตรา 32 วรรคสอง "ทรัพย์สินและหนี้สินที่ต้องแสดงรายการ ให้รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินในต่างประเทศ และทรัพย์สินที่มิได้อยู่ในความครอบครองของผู้ยื่น คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย"
ประกอบกับมาตรา 34 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 อาศัยเหตุและผลข้างต้น นายอลงกรณ์ จึงมีความประสงค์ที่จะขอให้ ป.ป.ช.ดำเนินการสอบสวนและได้โปรดวินิจฉัยรับเรื่องดังกล่าวไว้เพื่อพิจารณา ตรวจสอบว่าผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ และจงใจที่จะไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันควรแจ้งให้ทราบหรือไม่
**** ป.ป.ช. ตั้งอนุไต่สวนฯ ตรวจสอบอืด
ภายหลังการรับเรื่องร้องเรียนจากนายอลงกรณ์ นายศราวุธ เมนะเศวต ป.ป.ช. แถลงผลการประชุม ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550 ว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ และจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ โดยมีนายเมธี ครองแก้ว กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานอนุกรรมการฯ และ น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ ป.ป.ช.เป็นอนุกรรมการ
**น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่า กรณีกล่าวหาว่า น.ส.เยาวภา มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ตามมาตรา 66 ของ พ.ร.บ. ป.ป.ช.จากการถือครองหุ้นในหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ ที่มีการใช้ชื่อบุคคลอื่นถือหุ้นแทนนางเยาวภา และกรณีที่บุตรทั้งสามคนของนางเยาวภา ซื้อหุ้นจาก 4 บริษัทเอกชน เป็นเงินมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งที่บุคคลทั้งสามเพิ่งบรรลุนิติภาวะ และบางคนยังไม่จบการศึกษา จึงไม่น่าจะมีฐานะมีเงินกว่า 1,000 ล้านบาท จึงเชื่อได้ว่า บุคคลทั้งสามน่าจะถือครองหุ้นแทนนางเยาวภา และมีฐานะร่ำรวยผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม น.ส.สมลักษณ์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 ว่า ขณะนี้ธนาคารต่างๆ ได้ส่งข้อมูลทางการเงินตามที่ ป.ป.ช.ร้องขอมา ให้ ป.ป.ช.เรียบร้อยแล้วเบื้องต้นพบว่า มีบางบัญชีที่นางเยาวภาไม่ได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินและ หนี้สินต่อ ป.ป.ช. แต่ไม่มีจุดสังเกตว่าบัญชีทั้งหมดเข้าข่าย การร่ำรวยผิดปกติแต่อย่างใดเพราะเงินที่มีอยู่แต่ละบัญชี มีจำนวนไม่มาก ทว่าหากพิจารณาดูการโยงใยของเงิน รวมไปถึงที่ดิน และหมู่บ้านชินณิชา ที่เป็นของ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ บุตรสาว ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันหรือไม่ การตรวจสอบดังกล่าวเป็นเรื่องน่าหนักใจพอสมควร เนื่องจาก น.ส.ชินณิชา บรรลุนิติภาวะแล้ว
อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการต้องตรวจสอบต่อไปว่า มีการนำทรัพย์สินไปฝากไว้ในชื่อของบุคคลอื่นหรือไม่ ซึ่งจะนำเรื่องดังกล่าวเข้า หารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อหาแนวทางไต่สวนต่อไป
หลังจากนั้น ป.ป.ช. ยังไม่แถลงความคืบหน้าในการไต่สวนคดีนี้อีกแต่อย่างใด
**ภายหลังนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายอลงกรณ์ ได้ออกมาเรียกร้องต่อ ป.ป.ช. ให้เร่งสอบสวนเรื่องดังกล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาจงใจปกปิดทรัพย์สินหรือแจ้งทรัพย์สินอันเป็นเท็จหรือไม่ และในช่วงที่ตรวจสอบขอให้ ป.ป.ช. มีคำสั่งอายัดทรัพย์สินเป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินในครอบครัวของผู้ถูกกล่าวหา**
** ขณะที่นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ได้เรียกร้องให้ ป.ป.ช. เร่งดำเนินการตรวจสอบเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังกล่าวสรุปพฤติกรรมของครอบครัวอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขยของทักษิณ ว่ามีพฤติกรรมซุกหุ้น ซุกทรัพย์สิน ไม่แตกต่างกัน**
ผู้จัดการรายวัน – เปิดแผลครอบครัวนายกรัฐมนตรีน้องเขยทักษิณ เจอข้อกล่าวหาพัวพันทุจริตอื้อ จี้ ป.ป.ช.ลุยสางคดี “เจ๊แดง” ร่ำรวยผิดปกติ ปกปิดบัญชีทรัพย์สิน หลังตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีมาร่วม 2 ปี ตรวจสอบสุดอืด
ในการขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยของนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ทำเนียบรัฐบาล ในรอบสัปดาห์นี้ ได้เปิดโปงพฤติกรรมซึ่งอาจเข้าข่ายการกระทำที่ทุจริตของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภริยา ในหลายกรณีทั้งข้อกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ ปกปิดบัญชีทรัพย์สิน และอาจเกี่ยวพันการทุจริตการประมูลงานในสนามบินสุวรรณภูมิหลายโครงการ
นายสมเกียรติ และนายสนธิ ได้ยกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของนายสมชาย - นางเยาวภา วงศ์สวัดิ์ และพวก คือ
**1) กรณีกล่าวหานางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ร่ำรวยผิดปกติ ปกปิดบัญชีทรัพย์สิน โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2549 และ ป.ป.ช. มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2550**
2) กรณีกล่าวหานางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการบริหารเขตปลอดอากรและศูนย์โลจิสติกส์ ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท โครงการนี้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ว่าจ้างบริษัทไทยแอร์พอร์ต กราวด์เซอร์วิสเซส จำกัด (แท็กส์) โดยไม่มีการเปิดประมูล ซึ่งขณะนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ทอท. อยู่ด้วย
** 3) กรณีการประมูลงานจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัยสนามบินสุวรรณภูมิ โดยวิธีพิเศษ และเพิ่มงบประมาณ จากเดิม 3,086 ล้านบาท เป็น 5,400 ล้านบาท คดีนี้ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2550 ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับพวก (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล, นายศรีสุข จันทรางศุ รวมถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) โดยมอบหมายให้นายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน**
4) กรณีกล่าวหานายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกับพวก ซึ่งมีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รวมอยู่ด้วย ร่วมกันทุจริตโครงการจัดตั้งร้านค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานภูมิภาค และการบริหารกิจการเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดย ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2550 ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยมีนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธาน
นอกจากนั้น นายสนธิ ยังระบุว่าโครงการทุจริตในสนามบินสุวรรณภูมิหลายโครงการที่อยู่ในมือของ ป.ป.ช. เป็นไปอย่างล่าช้า ไม่ว่าจะเป็นโครงการคดีเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์, คดีท่อร้อยสาย และคดีแอร์พอร์ตลิงก์ ฯลฯ เพราะมี ป.ป.ช. บางคนใกล้ชิดกับอดีตผู้นำและพวก
***พลิกคดี “เจ๊แดง” ร่ำรวยผิดปกติ
ข้อกล่าวหานางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร่ำรวยผิดปกติและจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันควรแจ้งให้ทราบนั้น
คดีดังกล่าว นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 โดยกล่าวหา นางเยาวภา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง ส.ส. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ระหว่างปี 2544-2549 ว่าร่ำรวยผิดปกติตามมาตรา 66 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ
ตามข้อร้องเรียน กล่าวหาว่า นางเยาวภา มีพฤติการณ์ ซื้อมา ขายไป ยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สิน และมีทรัพย์สินในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ภายหลังเข้ารับตำแหน่งทางการเมือง โดยเพิ่มขึ้นในชื่อของบุคคลในครอบครัว คือ บุตรสาวและบุตรชาย ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งมิได้มีกิจการเป็นของตนเองแต่เป็นกิจการในครอบครัวของผู้ถูกกล่าวหา เนื่องมาจากขณะได้มาซึ่งทรัพย์สินบางรายการ บุตรทั้งสามของผู้ถูกกล่าวหาพึ่งบรรลุนิติภาวะ และยังศึกษาอยู่ และในชื่อของบุคคลอื่นๆ อีกหลายคน ในกรณีต่างๆ โดยการเข้าถือหุ้นในบริษัทต่างๆ แทนผู้ถูกกล่าวหาอันควรเชื่อได้ว่าได้มีการปกปิดทรัพย์สินอันควรแจ้ง และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
และปรากฏว่ามีการทำธุรกรรมมีลักษณะที่เป็นการทำแทนผู้ถูกกล่าวหา ในหลายกรณี โดยมีบุคคลผู้เกี่ยวข้อง คือ 1.นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ 2.นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ 3.นางสาวชยาภา วงศ์สวัสดิ์ 4.นางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ หรือ เวชยชัย 5.บุคคลอื่นที่ต้องสงสัยจากการขยายผลการสอบสวน โดยมีพฤติการณ์และรายละเอียดดังนี้
**** กรณีที่ 1 การถือหุ้นในโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ และการซื้อโครงการจาก บสท.
การเปิดตัวโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ (ชื่อบุตรสาวของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์) ของบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 ผู้ถูกกล่าวหาและสามี เป็นผู้ให้การต้อนรับและส่งแขก รวมทั้งร่วมรับกระเช้าแสดงความยินดี แสดงตนว่าเป็นเจ้าของโดยเปิดเผย มิใช่เป็นลูกค้าคนหนึ่งตามกล่าวอ้าง
ซึ่งในขณะที่นางวัสสา จินะวิจารณะ ภรรยาของนายเฉลิมชัย จินะวิจารณะ (อดีต ส.ส.เขตจตุจักร พรรคไทยรักไทย ) อ้างว่าเป็นเจ้าของโดยซื้อโครงการจาก บสท. แต่ต่อมาได้ออกมายอมรับว่าเป็นเพียงผู้บริหารโครงการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการโครงการเท่านั้น ส่วนนายเฉลิมชัย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
นอกจากภาพที่ปรากฏในวันเปิดตัวโครงการบ้านจัดสรร "ชินณิชา วิลล์" เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2546 อย่างอลังการซึ่งสร้างความเข้าใจและยอมรับว่าโครงการดังกล่าวเป็นของนางเยาวภา แล้ว ยังปรากฏว่า แขกผู้มาร่วมงานล้วนคราคร่ำไปด้วยสมาชิกพรรคไทยรักไทย ตั้งแต่ "คุณหญิง พจมาน ชินวัตร" ภริยานายกรัฐมนตรี "ทักษิณ ชินวัตร" ประธานเปิดงาน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, สุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจ, สมศักดิ์ เทพสุทิน, สุดารัตน์ เกยุราพันธ์, เนวิน ชิดชอบ, ประยุทธ มหากิจศิริ, พงศ์เทพ เทพกาญจนา ฯลฯ จนเรียกขานกันว่าเป็นหมู่บ้านนักการเมือง
**ชื่อโครงการชินณิชา วิลล์ นั้น นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ คนสนิทที่ได้ชื่อว่าเป็น 'มือขวา' ของนางเยาวภา ตอบคำถามสื่อมวลชนในการให้สัมภาษณ์ขณะนั้นว่า “ตอนพวกเราไปขอชื่อลูกสาวพี่แดงมาเป็นชื่อโครงการ พี่แดงใช้เวลาคิดนานเป็นสัปดาห์ถึงจะตอบตกลง เพราะชื่อน้องเชียร์ (ชินณิชา) ตอบโจทย์ได้ทุกข้อ คือฟังเพราะทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หวาน หรู และไม่เกิน 3 พยางค์"** (“เนชั่นสุดสัปดาห์” ปีที่ 14 ฉบับที่ 762 วันที่ วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2549)
ตามหนังสือของนายอลงกรณ์ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. ระบุว่า จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ปรากฏว่า กลุ่มผู้เกี่ยวข้องซื้อโครงการนี้ของบริษัท การ์เด้นท์ซิตี้ ลากูน จำกัด จาก บสท. เมื่อปี 2546 อย่างมีเงื่อนงำในราคา 800 ล้านบาท และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด" โดยมีผู้ถือหุ้นคือ บริษัท ทีเอสบี. โฮลดิ้งก์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 60 (มีนายสุธรรม มลิลา อดีต ผอ.องค์การโทรศัพท์ฯ เป็นผู้ถือหุ้นคนสำคัญ) และบริษัท สินมหัต จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 40 (มีนางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ หรือเวชยชัย น้องสาวนายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99) จำนวน 18 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าหุ้น 180 ล้านบาท
เมื่อตรวจสอบฐานะการประกอบการและสถานภาพทางการเงินของ บริษัท สินมหัต จำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท พบว่า ปี 2545 มีรายได้ 120,000 บาท ขาดทุน 50,000 บาท ปี 2546 มีรายได้ 1,200,000 บาท กำไร 120,000 บาท (ปีที่ซื้อหุ้นบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้) ปี 2547 มีรายได้ 2,600,000 บาท ขาดทุน 1,400,000 บาท
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่า บริษัท สินมหัต จำกัด ไม่อยู่ในฐานะที่จะมีเงินลงทุนซื้อหุ้นจำนาน 180 ล้านบาทได้ ในปี 2546 และในเดือนมิถุนายน 2547 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้าน เป็น 100 ล้านบาท โดยไม่ทราบแหล่งที่มาของเงินทุน ต่อมาได้โอนหุ้น 18 ล้านหุ้นให้กับนายสุธรรม มลิลา และบุตรชายของนายสุธรรม จำนวน 9 ล้านหุ้น และผู้อื่นอีก 9 ล้านหุ้นในปี 2548
สิ่งที่ต้องตั้งคำถาม และเป็นประเด็นสำคัญในการได้มาซึ่งทรัพย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ นางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ ว่านำเงินจากไหนมาซื้อหุ้นบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ถึง 180 ล้านบาททั้งที่เป็นบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท
**เมื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างนางสุนิสา และผู้ถูกกล่าวหา ปรากฏว่า นางสุนิสา เป็นกรรมการ บริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัวผู้ถูกกล่าวหาและบริษัทในเครือของครอบครัวนางเยาวภาอีกกว่า 10 บริษัท**
โดยเฉพาะการดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัท และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินและบัญชี บริษัท วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัววงศ์สวัสดิ์ โดยถือหุ้นมูลค่าเพียง 3 แสนกว่าบาท แต่ทำหน้าที่ประธานกรรมการ และผู้ดูแลบัญชีและการเงินของบริษัทหลายบริษัทของครอบครัววงศ์สวัสดิ์ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์พิเศษ ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่านางสุนิสา เป็นผู้ถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหาในโครงการชินณิชา วิลล์ ของบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
** กรณีที่ 2 กรณีการซื้อที่ดิน 8 ไร่ มูลค่า 256 ล้านบาท ในโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์**
ในวันเปิดตัวโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 ผู้ถูกกล่าวหายอมรับว่าซื้อที่ดินจำนวน 8 ไร่ มูลค่า 256 ล้านบาท ของหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ ต่อมาเมื่อมีข่าวการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาปรากฏในสื่อมวลชน เมื่อต้นปี 2549 ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าบุตรสาวเป็นผู้ซื้อ และกู้เงินจากธนาคาร
แต่เมื่อพิจารณาจากฐานะของบุตรสาวของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะมีเงินและเครดิตในการซื้อที่ดินมูลค่า 256 ล้าน (ทั้งนี้ยังไม่รวมสิ่งปลูกสร้างและอาคารประกอบ) โดยเฉพาะ บริษัท เอ็มลิงค์ฯ กิจการของครอบครัววงศ์สวัสดิ์ ได้ทำรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 ว่าบริษัทขาดทุนถึง 123 ล้านบาท (ปี 2546 บุตรทั้ง 3 คนของผู้ถูกกล่าวหามีอายุระหว่าง 19 ปี-24 ปี และยังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาทั้ง 3 คน)
*** กรณีที่ 3 กรณีที่บุตรทั้ง 3 คนซื้อหุ้น 4 บริษัท กว่า 1,000 ล้านบาท ระหว่างเดือน มี.ค.-ส.ค. พ.ศ. 2547**
ในปี พ.ศ. 2547 นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ อายุ 24 ปี นางสาวชยาภา วงศ์สวัสดิ์ อายุ 20 ปี และนายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อายุ 25 ปี บุตรทั้ง 3 คนของผู้ถูกกล่าวหา และบุคคลอื่นที่อยู่ในเครือข่ายธุรกิจของผู้ถูกกล่าวหาได้ซื้อหุ้น บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 140 ล้านหุ้น มูลค่า 420 ล้านบาท เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547
และได้ซื้อหุ้นของบริษัท สยามสตริป มิลล์ (มหาชน) จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท จีสตีล จำกัด (มหาชน)) จำนวน 210 ล้านหุ้น มูลค่า 336 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2547
นอกจากนี้ ยังได้ซื้อหุ้นของบริษัท แอสคอนคอนสตรัคชั่น จำกัด จำนวนร้อยละ 19 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และบริษัท วินโคสท์ อินดัสเทรียลพาร์ค จำกัด จำนวนร้อยละ 62 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ในเดือนพฤษภาคม และสิงหาคม 2547 ตามลำดับ คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท
**เมื่อพิจารณาจากฐานะและสถานภาพทางการเงินของบุตรทั้ง 3 ของผู้ถูกกล่าวหาแล้วไม่น่าเป็นไปได้ว่าจะมีเงินกว่า 1000 ล้านบาท ในการซื้อหุ้นของทั้ง 4 บริษัท**
พฤติการณ์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งหมด มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลทั้ง 3 ถือหุ้นแทนผู้ถูกกล่าวหา ดังคำพูดบางตอนของนายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ให้สัมภาษณ์นิตยสาร มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน 2548 ว่า
**"ผมบอกกับพี่เขาไปแล้ว ถ้าพี่แดง (ชื่อเล่นของผู้ถูกกล่าวหา) จะขายหุ้นที่ถืออยู่ในทราฟฟิกคอร์นเนอร์ ผมก็ไม่ขัดข้อง" "ที่ผ่านมาพี่เขาอึดอัด ไม่ว่าอะไรก็มาลงที่พี่เขา ตอนนี้พี่เขาถืออยู่ 20 ล้านหุ้น รวมๆ แล้วก็เป็นร้อยละ 8 เห็นจะได้"**
จากคำสัมภาษณ์ของนายสุรพงษ์ ยืนยันว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด 20 ล้านหุ้น ขณะปี 2548 และปรากฏในรายงานตลาดหลักทรัพย์ ได้ปรากฏชื่อนายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ บุตรของผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นในบริษัททราฟฟิกคอร์นเนอร์ 20 ล้านหุ้น เท่ากับจำนวนที่นายสุรพงษ์ ให้สัมภาษณ์ว่าเป็นของผู้ถูกกล่าวหา
ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏดังกล่าวข้างต้น การได้มาซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาและบุคคลในครอบครัว รวมทั้งผู้ใกล้ชิดและบุคคลผู้มีความสัมพันธ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้ถูกกล่าวหา เป็นการได้มา ขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งสิ้น
และมีเหตุอันควรเชื่อซึ่งทำให้ผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ ตามมาตรา 66 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และยังจงใจที่จะไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ตามมาตรา 32 วรรคสอง "ทรัพย์สินและหนี้สินที่ต้องแสดงรายการ ให้รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินในต่างประเทศ และทรัพย์สินที่มิได้อยู่ในความครอบครองของผู้ยื่น คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย"
ประกอบกับมาตรา 34 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 อาศัยเหตุและผลข้างต้น นายอลงกรณ์ จึงมีความประสงค์ที่จะขอให้ ป.ป.ช.ดำเนินการสอบสวนและได้โปรดวินิจฉัยรับเรื่องดังกล่าวไว้เพื่อพิจารณา ตรวจสอบว่าผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ และจงใจที่จะไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันควรแจ้งให้ทราบหรือไม่
**** ป.ป.ช. ตั้งอนุไต่สวนฯ ตรวจสอบอืด
ภายหลังการรับเรื่องร้องเรียนจากนายอลงกรณ์ นายศราวุธ เมนะเศวต ป.ป.ช. แถลงผลการประชุม ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550 ว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ และจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ โดยมีนายเมธี ครองแก้ว กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานอนุกรรมการฯ และ น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ ป.ป.ช.เป็นอนุกรรมการ
**น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่า กรณีกล่าวหาว่า น.ส.เยาวภา มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ตามมาตรา 66 ของ พ.ร.บ. ป.ป.ช.จากการถือครองหุ้นในหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ ที่มีการใช้ชื่อบุคคลอื่นถือหุ้นแทนนางเยาวภา และกรณีที่บุตรทั้งสามคนของนางเยาวภา ซื้อหุ้นจาก 4 บริษัทเอกชน เป็นเงินมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งที่บุคคลทั้งสามเพิ่งบรรลุนิติภาวะ และบางคนยังไม่จบการศึกษา จึงไม่น่าจะมีฐานะมีเงินกว่า 1,000 ล้านบาท จึงเชื่อได้ว่า บุคคลทั้งสามน่าจะถือครองหุ้นแทนนางเยาวภา และมีฐานะร่ำรวยผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม น.ส.สมลักษณ์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 ว่า ขณะนี้ธนาคารต่างๆ ได้ส่งข้อมูลทางการเงินตามที่ ป.ป.ช.ร้องขอมา ให้ ป.ป.ช.เรียบร้อยแล้วเบื้องต้นพบว่า มีบางบัญชีที่นางเยาวภาไม่ได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินและ หนี้สินต่อ ป.ป.ช. แต่ไม่มีจุดสังเกตว่าบัญชีทั้งหมดเข้าข่าย การร่ำรวยผิดปกติแต่อย่างใดเพราะเงินที่มีอยู่แต่ละบัญชี มีจำนวนไม่มาก ทว่าหากพิจารณาดูการโยงใยของเงิน รวมไปถึงที่ดิน และหมู่บ้านชินณิชา ที่เป็นของ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ บุตรสาว ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันหรือไม่ การตรวจสอบดังกล่าวเป็นเรื่องน่าหนักใจพอสมควร เนื่องจาก น.ส.ชินณิชา บรรลุนิติภาวะแล้ว
อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการต้องตรวจสอบต่อไปว่า มีการนำทรัพย์สินไปฝากไว้ในชื่อของบุคคลอื่นหรือไม่ ซึ่งจะนำเรื่องดังกล่าวเข้า หารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อหาแนวทางไต่สวนต่อไป
หลังจากนั้น ป.ป.ช. ยังไม่แถลงความคืบหน้าในการไต่สวนคดีนี้อีกแต่อย่างใด
**ภายหลังนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายอลงกรณ์ ได้ออกมาเรียกร้องต่อ ป.ป.ช. ให้เร่งสอบสวนเรื่องดังกล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาจงใจปกปิดทรัพย์สินหรือแจ้งทรัพย์สินอันเป็นเท็จหรือไม่ และในช่วงที่ตรวจสอบขอให้ ป.ป.ช. มีคำสั่งอายัดทรัพย์สินเป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินในครอบครัวของผู้ถูกกล่าวหา**
** ขณะที่นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ได้เรียกร้องให้ ป.ป.ช. เร่งดำเนินการตรวจสอบเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังกล่าวสรุปพฤติกรรมของครอบครัวอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขยของทักษิณ ว่ามีพฤติกรรมซุกหุ้น ซุกทรัพย์สิน ไม่แตกต่างกัน**