ในการประชุมสภาผู้แทนราษฏรเมื่อวานนี้ (24ก.ย.) ได้มีการพิจารณาเรื่องด่วนคือ ร่าง
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.... ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอโดยนายสมพงษ์
อมรวิวัฒน์ รักษาการ รมว.ยุติธรรม และร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ....ตาม
ที่นายจุมพฎ บุญใหญ่ ส.ส. สกลนคร พรรคพลังประชาชน และคณะเป็นผู้เสนอ
ทั้งนี้ก่อนเข้าระเบียบวาระการประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การ
พิจารณากฏหมายในระหว่างที่เป็นรัฐมนตรีรักษาการ ไม่น่าจะเหมาะสม เพราะนายกฯได้รับการ
โปรดเกล้าไปแล้ว แต่คณะรัฐมนตรียังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ จึงอยากให้มีรัฐมนตรีขึ้นมารับผิด
ชอบอย่างเป็นทางการก่อน แต่นายสมพงษ์ ชี้แจงว่า ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แม้จะ
กำหนดให้ความเป็นนายกฯพ้นสภาพไปเป็นการเฉพาะตัว แต่ให้มีการรักษาการ ครม.ขึ้นมาปฏิบัติ
หน้าที่ไปจนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่ ดังนั้นครม.รักษาการ จึงมีสิทธิ์ในการเสนอ
กฎหมายฉบับดังกล่าวได้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมได้ข้อสรุปตรงกันว่า รัฐมนตรีรักษาการสามารถเสนอ
กฎหมายเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมได้ จึงมีมติเห็นชอบให้นำ พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ มาพิจารณา
รวมกัน
จากนั้น นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้
เป็นฉบับแรก ที่เสนอโดย ครม.จึงอยากถามว่าเพราะเหตุใดจึงต้องเร่งรีบในการเสนอเข้ามา และ
พ.ร.บ.เดิมที่มีอยู่ มีปัญหาในการปฎิบัติอย่างไร และเกิดผลกระทบอย่างไร ต่อสำนักงานคณะ
กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นอกจากนี้ยังมีการอ้างถึงความจำเป็นที่
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งเรื่องมาหารือ ปปง.เรื่องความจำเป็นในการเสนอ พ.ร.บ.ดัง
กล่าวนี้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐมนตรีได้ชี้แจงหนังสือของ ธปท.ด้วย ว่ามี
เหตุผลอย่างไร
"สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 16 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพ ต้อง
รายงานธุรกรรม ในวรรค 6 ที่ได้มีการเพิ่มผู้ประกอบอาชีพ อื่นซึ่งอาจมีการใช้เป็นช่องทางการฟอก
เงินโดยโดยง่าย ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกระทรวง โดยวรรคนี้ ไม่ได้มีการระบุอาชีพอย่างชัดเจน ถือ
เป็นการเปิดช่องว่าให้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณา ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติได้โดยเฉพาะ
รัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ที่อาจจะนำไปสู่การกลั่นแกล้งทางการเมือง หากรัฐมนตรีหรือ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่ไม่มีคุณธรรม ที่สำคัญอาจจะเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการแสวงหา
ผลประโยชน์" นายสาทิตย์ กล่าว
ส.ส.ตรัง กล่าวว่า สำหรับร่างกฎหมายฉบับในส่วนที่ ส.ส.เสนอ หากเป็นไปตามหลักการ
และเหตุผลตามที่เสนอในการเพิ่มความผิดมูลฐาน ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตาม
กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จะเป็นเรื่องดีในการติดตามโครงสร้างผู้ถือหุ้นและ
การซื้อขายหุ้นของบริษัทกุหลาบแก้ว และบริษัทแอมเพิลริช อินเวสเมนท์
นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเพิ่มมูลฐานความ
ผิดที่มากขึ้นและบางข้อไม่ได้มีการกำหนดอาชีพที่ชัดเจน แต่เป็นแบบกว้างๆ จะส่งผลกระทบใน
การปฏิบัติ หรือใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และการแสดงหาผลประโยชน์ ซึ่งกฏหมายฉบับนี้จะ
เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะพรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยโดนกลั้นแกล้งมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการ
ตรวจสอบ นางถ้วน หลีกภัย มารดาของนายชวน หลีกภัย หรือแม้แต่สื่อมวลชนยังถูกตรวจสอบใน
กรณีของนายสุทธิชัย หยุ่น ผู้บริหารเครือเนชั่น ดังนั้นจึงอยากให้มีการพิจารณาด้วยความรอบคอบ
อย่างไรก็ตามหลังจากสมาชิกได้อภิปรายกันกว้างขวาง และประธานในที่ประชุมจะให้มี
การโหวต แต่เมื่อนับองค์ประชุม ปรากฏว่า จำนวนส.ส.มีไม่ครบองค์ประชุม ประธานจึงได้สั่งให้
เลื่อนการโหวตออกไปก่อน และสั่งปิดประชุม
สำหรับร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ ครม.เป็นผู้เสนอ มีหลักการและ
เหตุผล โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ฟอกเงินปี 2524 ที่น่าสนใจคือ การแก้ไข มาตรา 16 ให้ผู้
ประกอบการอาชีพต้องรายงานการทำธุรกรรม ประกอบด้วย 1. ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการลงทุน
หรือเคลื่อนย้ายเงินทุน ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 2. ผู้ประกอบการค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือ
เครื่องประดับด้วยอัญมณีประเภทดังกล่าว 3. ผู้ประกอบอาชีพให้เช่าซื้อรถยนต์ หรือจักรยานยนต์ 4.
ผู้ประกอบการเกี่ยวกับตัวแทนหรือนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ 5. ผู้ประกอบการค้าของเก่า
ขายทอดตลาด 6. ผู้ประกอบอาชีพอื่นซึ่งอาจมีการใช้เป็นช่องทางการฟอกเงินได้โดยง่าย ทั้งนี้ ตาม
ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน เป็นผู้
เสนอมีหลักการและเหตุผล คือแก้ไขมาตรา 3 มีการเพิ่มความผิดมูลฐาน ประกอบด้วย ความผิด
เกี่ยวกับการสมยอมราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ความผิดเกี่ยวกับ
การค้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ที่มีการนำเข้า เปลี่ยนแปลง ประกอบ ซ่อมแซม โดยไม่ได้รับ
อนุญาต มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ความผิดเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต การหลีกเลี่ยงหรือ
ลักลอบภาษีสรรพสามิตที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทขึ้นไป ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกง หรือปลอมแปลง
เอกสารตามประมวลกฏหมายอาญา ที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทขึ้นไป
รวมถึงความผิดเกี่ยวกับการใช้ ยึดถือ หรือ ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ และ
กระบวนการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบ ความผิดเกี่ยวกับการควบคุม
การแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีความผิดตั้งแต่ 50
ล้านบาทขึ้นไป และความผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะความผิดที่มีการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื่อขายหลักทรัพย์ และ
ความผิดเกี่ยวกับการทุจริตของผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบในการทำงาน ของบริษัทที่ออกแบบและ
เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ ศูนย์หลักทรัพย์
ที่มีมูลค่าทรัพย์สิน 50 ล้านบาทขึ้นไป
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.... ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอโดยนายสมพงษ์
อมรวิวัฒน์ รักษาการ รมว.ยุติธรรม และร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ....ตาม
ที่นายจุมพฎ บุญใหญ่ ส.ส. สกลนคร พรรคพลังประชาชน และคณะเป็นผู้เสนอ
ทั้งนี้ก่อนเข้าระเบียบวาระการประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การ
พิจารณากฏหมายในระหว่างที่เป็นรัฐมนตรีรักษาการ ไม่น่าจะเหมาะสม เพราะนายกฯได้รับการ
โปรดเกล้าไปแล้ว แต่คณะรัฐมนตรียังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ จึงอยากให้มีรัฐมนตรีขึ้นมารับผิด
ชอบอย่างเป็นทางการก่อน แต่นายสมพงษ์ ชี้แจงว่า ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แม้จะ
กำหนดให้ความเป็นนายกฯพ้นสภาพไปเป็นการเฉพาะตัว แต่ให้มีการรักษาการ ครม.ขึ้นมาปฏิบัติ
หน้าที่ไปจนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่ ดังนั้นครม.รักษาการ จึงมีสิทธิ์ในการเสนอ
กฎหมายฉบับดังกล่าวได้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมได้ข้อสรุปตรงกันว่า รัฐมนตรีรักษาการสามารถเสนอ
กฎหมายเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมได้ จึงมีมติเห็นชอบให้นำ พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ มาพิจารณา
รวมกัน
จากนั้น นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้
เป็นฉบับแรก ที่เสนอโดย ครม.จึงอยากถามว่าเพราะเหตุใดจึงต้องเร่งรีบในการเสนอเข้ามา และ
พ.ร.บ.เดิมที่มีอยู่ มีปัญหาในการปฎิบัติอย่างไร และเกิดผลกระทบอย่างไร ต่อสำนักงานคณะ
กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นอกจากนี้ยังมีการอ้างถึงความจำเป็นที่
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งเรื่องมาหารือ ปปง.เรื่องความจำเป็นในการเสนอ พ.ร.บ.ดัง
กล่าวนี้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐมนตรีได้ชี้แจงหนังสือของ ธปท.ด้วย ว่ามี
เหตุผลอย่างไร
"สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 16 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพ ต้อง
รายงานธุรกรรม ในวรรค 6 ที่ได้มีการเพิ่มผู้ประกอบอาชีพ อื่นซึ่งอาจมีการใช้เป็นช่องทางการฟอก
เงินโดยโดยง่าย ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกระทรวง โดยวรรคนี้ ไม่ได้มีการระบุอาชีพอย่างชัดเจน ถือ
เป็นการเปิดช่องว่าให้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณา ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติได้โดยเฉพาะ
รัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ที่อาจจะนำไปสู่การกลั่นแกล้งทางการเมือง หากรัฐมนตรีหรือ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่ไม่มีคุณธรรม ที่สำคัญอาจจะเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการแสวงหา
ผลประโยชน์" นายสาทิตย์ กล่าว
ส.ส.ตรัง กล่าวว่า สำหรับร่างกฎหมายฉบับในส่วนที่ ส.ส.เสนอ หากเป็นไปตามหลักการ
และเหตุผลตามที่เสนอในการเพิ่มความผิดมูลฐาน ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตาม
กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จะเป็นเรื่องดีในการติดตามโครงสร้างผู้ถือหุ้นและ
การซื้อขายหุ้นของบริษัทกุหลาบแก้ว และบริษัทแอมเพิลริช อินเวสเมนท์
นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเพิ่มมูลฐานความ
ผิดที่มากขึ้นและบางข้อไม่ได้มีการกำหนดอาชีพที่ชัดเจน แต่เป็นแบบกว้างๆ จะส่งผลกระทบใน
การปฏิบัติ หรือใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และการแสดงหาผลประโยชน์ ซึ่งกฏหมายฉบับนี้จะ
เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะพรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยโดนกลั้นแกล้งมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการ
ตรวจสอบ นางถ้วน หลีกภัย มารดาของนายชวน หลีกภัย หรือแม้แต่สื่อมวลชนยังถูกตรวจสอบใน
กรณีของนายสุทธิชัย หยุ่น ผู้บริหารเครือเนชั่น ดังนั้นจึงอยากให้มีการพิจารณาด้วยความรอบคอบ
อย่างไรก็ตามหลังจากสมาชิกได้อภิปรายกันกว้างขวาง และประธานในที่ประชุมจะให้มี
การโหวต แต่เมื่อนับองค์ประชุม ปรากฏว่า จำนวนส.ส.มีไม่ครบองค์ประชุม ประธานจึงได้สั่งให้
เลื่อนการโหวตออกไปก่อน และสั่งปิดประชุม
สำหรับร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ ครม.เป็นผู้เสนอ มีหลักการและ
เหตุผล โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ฟอกเงินปี 2524 ที่น่าสนใจคือ การแก้ไข มาตรา 16 ให้ผู้
ประกอบการอาชีพต้องรายงานการทำธุรกรรม ประกอบด้วย 1. ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการลงทุน
หรือเคลื่อนย้ายเงินทุน ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 2. ผู้ประกอบการค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือ
เครื่องประดับด้วยอัญมณีประเภทดังกล่าว 3. ผู้ประกอบอาชีพให้เช่าซื้อรถยนต์ หรือจักรยานยนต์ 4.
ผู้ประกอบการเกี่ยวกับตัวแทนหรือนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ 5. ผู้ประกอบการค้าของเก่า
ขายทอดตลาด 6. ผู้ประกอบอาชีพอื่นซึ่งอาจมีการใช้เป็นช่องทางการฟอกเงินได้โดยง่าย ทั้งนี้ ตาม
ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน เป็นผู้
เสนอมีหลักการและเหตุผล คือแก้ไขมาตรา 3 มีการเพิ่มความผิดมูลฐาน ประกอบด้วย ความผิด
เกี่ยวกับการสมยอมราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ความผิดเกี่ยวกับ
การค้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ที่มีการนำเข้า เปลี่ยนแปลง ประกอบ ซ่อมแซม โดยไม่ได้รับ
อนุญาต มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ความผิดเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต การหลีกเลี่ยงหรือ
ลักลอบภาษีสรรพสามิตที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทขึ้นไป ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกง หรือปลอมแปลง
เอกสารตามประมวลกฏหมายอาญา ที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทขึ้นไป
รวมถึงความผิดเกี่ยวกับการใช้ ยึดถือ หรือ ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ และ
กระบวนการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบ ความผิดเกี่ยวกับการควบคุม
การแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีความผิดตั้งแต่ 50
ล้านบาทขึ้นไป และความผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะความผิดที่มีการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื่อขายหลักทรัพย์ และ
ความผิดเกี่ยวกับการทุจริตของผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบในการทำงาน ของบริษัทที่ออกแบบและ
เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ ศูนย์หลักทรัพย์
ที่มีมูลค่าทรัพย์สิน 50 ล้านบาทขึ้นไป