คณะเปรียบเทียบปรับ ก.ล.ต.สั่งปรับบล.เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์ 8.71 แสนบาท เหตุ ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนพบลูกค้ามีธุรกรรมเข้าข่ายสงสัยต้องรายงานต่อ ปปง.หลังลูกค้าซื้อหุ้นแห่งหนึ่งมูลค่าสูงบนกระดานบิ๊กล็อต-ขายในวันเดียวกัน ระบบควบคุมภายในไม่ดี -ไม่บันทึกเทปการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า 2 ราย
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แจ้งว่าคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ ได้สั่งปรับ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) มูลค่ารวม 871,800 บาท 3 กรณี เนื่องจาก บล.เมอร์ชั่นฯในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มิได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กำหนด คือ 1.ไม่ได้ตรวจสอบเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทำธุรกรรมในทอดสุดท้าย และมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการเมื่อปรากฏรายการธุรกรรมของลูกค้าที่เข้าข่ายต้องพิจารณาว่าเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย อันจะต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือไม่
ทั้งนี้ โดยข้อเท็จจริงเกี่ยวเนื่องกับรายการซื้อและขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของลูกค้ารายหนึ่งของบริษัทเมื่อวันที่ 7 และวันที่ 10 กันยายน 2550 โดยลูกค้าได้ทำรายการซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งผ่านกระดานซื้อขายรายใหญ่ และได้ทำรายการขายหุ้นจำนวนดังกล่าวในวันเดียวกันผ่านกระดานซื้อขายรายใหญ่ ด้วยราคาขายที่เท่ากับราคาซื้อ ซึ่งเนื้อหาของรายการไม่สามารถแสดงได้ถึงความสมเหตุสมผลหรือไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลในเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรายการธุรกรรมแต่ละรายการมีมูลค่าที่มีนัยสำคัญ (กรณีหนึ่งมีมูลค่ารายการละ 65 ล้านบาท และอีกกรณีหนึ่งมีมูลค่ารายการละ 228 ล้านบาท)
ดังนั้น สภาพข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว จึงเข้าข่ายที่ทำให้บริษัทต้องมีการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากรายการซื้อขายดังกล่าว อีกทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการเพื่อการพิจารณาว่ารายการธุรกรรมของลูกค้าในลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยอันจะต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือไม่ สำหรับกรณีที่2. สั่งปรับ 69,600บาท เพราะระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 บล. เมอร์ชั่น ฯ มิได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กำหนด โดยมิได้จัดเก็บบันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า 2 ราย ทางโทรศัพท์ให้ครบถ้วน กรณีที่ 3 สั่งปรับ 202,200 บาท
เนื่องจาก ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน 2550 ถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 บล.เมอร์ชั่นฯ กระทำการอันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. กล่าวคือ บล. เมอร์ชั่นฯ มิได้จัดให้มีระบบควบคุมภายในที่ดีในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดยจัดให้ผู้ที่ทำหน้าที่จัดทำบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาหลักทรัพย์ของลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกัน
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แจ้งว่าคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ ได้สั่งปรับ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) มูลค่ารวม 871,800 บาท 3 กรณี เนื่องจาก บล.เมอร์ชั่นฯในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มิได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กำหนด คือ 1.ไม่ได้ตรวจสอบเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการทำธุรกรรมในทอดสุดท้าย และมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการเมื่อปรากฏรายการธุรกรรมของลูกค้าที่เข้าข่ายต้องพิจารณาว่าเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย อันจะต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือไม่
ทั้งนี้ โดยข้อเท็จจริงเกี่ยวเนื่องกับรายการซื้อและขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของลูกค้ารายหนึ่งของบริษัทเมื่อวันที่ 7 และวันที่ 10 กันยายน 2550 โดยลูกค้าได้ทำรายการซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งผ่านกระดานซื้อขายรายใหญ่ และได้ทำรายการขายหุ้นจำนวนดังกล่าวในวันเดียวกันผ่านกระดานซื้อขายรายใหญ่ ด้วยราคาขายที่เท่ากับราคาซื้อ ซึ่งเนื้อหาของรายการไม่สามารถแสดงได้ถึงความสมเหตุสมผลหรือไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลในเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรายการธุรกรรมแต่ละรายการมีมูลค่าที่มีนัยสำคัญ (กรณีหนึ่งมีมูลค่ารายการละ 65 ล้านบาท และอีกกรณีหนึ่งมีมูลค่ารายการละ 228 ล้านบาท)
ดังนั้น สภาพข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว จึงเข้าข่ายที่ทำให้บริษัทต้องมีการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากรายการซื้อขายดังกล่าว อีกทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการเพื่อการพิจารณาว่ารายการธุรกรรมของลูกค้าในลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยอันจะต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือไม่ สำหรับกรณีที่2. สั่งปรับ 69,600บาท เพราะระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 บล. เมอร์ชั่น ฯ มิได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กำหนด โดยมิได้จัดเก็บบันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า 2 ราย ทางโทรศัพท์ให้ครบถ้วน กรณีที่ 3 สั่งปรับ 202,200 บาท
เนื่องจาก ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน 2550 ถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 บล.เมอร์ชั่นฯ กระทำการอันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. กล่าวคือ บล. เมอร์ชั่นฯ มิได้จัดให้มีระบบควบคุมภายในที่ดีในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดยจัดให้ผู้ที่ทำหน้าที่จัดทำบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาหลักทรัพย์ของลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกัน