ช่วงก่อนกีฬาโอลิมปิกจะเริ่มขึ้นที่ปักกิ่งในเดือนสิงหาคม 2008 นั้น ได้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ รุมล้อมจีนในฐานะประเทศเจ้าภาพกีฬาระดับโลกนี้อยู่มากมายหลายเรื่อง หากว่ากันเฉพาะปีนี้ จีนต้องประสบกับภัยธรรมชาติตั้งแต่ต้นปี เมื่อเกิดพายุหิมะโหมกระหน่ำอย่างรุนแรงในหลายมณฑล จนชาวจีนนับแสนนับล้านต้องได้รับผลกระทบจากการเดินทางในช่วงเทศกาลตรุษจีนไปถ้วนทั่วหน้า
ครั้นพอถึงเดือนมีนาคม ก็ปรากฏมีชาวทิเบตในหลายมณฑลได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพและสิทธิมนุษยชนจากรัฐบาลจีน การเคลื่อนไหวครั้งนี้ยังเกิดขึ้นในอีกหลายประเทศด้วย แต่กล่าวเฉพาะที่จีนแล้วการประท้วงได้นำไปสู่การจลาจลขึ้นในหลายเมือง และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินไปจำนวนไม่น้อย และแน่นอนว่า จีนย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกนานาชาติรุมวิพากษ์วิจารณ์
ในขณะที่ “ความวัว” ยังไม่ทันหาย “ความควาย” ก็เข้ามาแทรกอีกเมื่อถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ภัยพิบัติครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 7-8 หมื่นคน และจนถึงขณะนี้การเยียวยาชีวิตและเมืองหลังภัยพิบัติก็ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งเชื่อว่าคงอีกนานนับปีกว่าที่ทุกอย่างจะกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติ
นอกจากเหตุการณ์ที่ดูเสมือนเป็นลางร้ายแก่จีนแล้ว ก็ยังมีเหตุการณ์อื่นที่รุนแรงพอกัน ซึ่งมักจะเป็นภัยธรรมชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ทำให้หลายฝ่ายเฝ้าจับตาดูว่า พอถึงเดือนสิงหาคมที่พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะเริ่มขึ้น จีนยังจะต้องเจอเรื่องร้ายๆ อะไรอีกหรือไม่ เพราะแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็น “ลางดี” แก่จีนตรงไหนเลย
จะว่าไปแล้ว สิ่งอันเป็นอุปสรรคหรือปัญหาในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของจีนนี้หาได้เกิดขึ้นเฉพาะแต่ในปีนี้ไม่ ก่อนหน้านี้หลายปีก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าเกิดตั้งแต่วันแรกที่คณะกรรมการกีฬาโอลิมปิกมีมติเลือกให้จีนเป็นเจ้าภาพตั้งแต่เมื่อ 8 ปีก่อนแล้วก็ว่าได้ ปัญหาหรืออุปสรรคที่ว่านี้มีตั้งแต่ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนที่จีนยังต้องปรับปรุง จนถึงสภาพความพร้อมของจีนเองในฐานะเจ้าภาพ ความพร้อมที่ว่านี้มีตั้งแต่สถานที่จัดแข่งกีฬา สิ่งแวดล้อม และอัธยาศัยของผู้คนชาวจีน เป็นต้น
แต่จนแล้วจนรอด จีนก็สามารถนำพาตัวเองมาถึงปี 2008 ได้ และสิ่งที่เราคาดไม่ถึงก็คือว่า จีนได้ทำในหลายเรื่องที่ออกจะดู “เกินไป” และออกจะเหลือเชื่อ เช่น การเตรียมความพร้อมของผู้คน ที่จีนเฝ้าเพียรพยายามป่าวร้องให้ประชาชนของตนตระหนักถึงความสำคัญของกีฬาโอลิมปิก ว่าหากชาวจีนประพฤติปฏิบัติได้ไม่ดีแล้วอาจจะทำให้ประเทศเสียชื่อเสียเสียงอย่างไรบ้าง หรือความพยายามที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมในปักกิ่งดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นต้น
เรื่องแบบนี้อาจจะเป็นที่แปลกใจของชาวต่างชาติ และหลายคนอาจไม่เข้าใจ เช่นไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องเตรียมความพร้อมของชาวจีนเองด้วย ก็ในเมื่อชาวจีนเองทั้งดีใจและภูมิใจกันแทบทั่วทั้งประเทศเมื่อรู้ว่าตนได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกไม่ใช่หรือ? ถ้าไม่พร้อมแล้วจะดีใจภูมิใจไปทำไมกัน? ครับ, เรื่องแบบนี้ถ้าไม่รู้จักจีนในระดับหนึ่งแล้วก็ยากที่จะเข้าใจจริงๆ
อย่างไรก็ตาม ผมขอแบ่งความพร้อมที่ว่าออกเป็น 2 เรื่องด้วยกัน หนึ่ง ความพร้อมของคน และสอง ความพร้อมของเมืองปักกิ่ง
เรื่องความพร้อมของคนนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลจีนเองก็ปวดเศียรเวียนเกล้า เพราะต่อให้จีนไม่ได้เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก รัฐบาลจีนก็อยากจะเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของประชาชนของตัวเองอยู่แล้ว เรื่องที่ว่ามีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น การไม่มีนิสัยในการเข้าคิว การถ่มน้ำลายรดพื้น การไม่มีอัธยาศัยไมตรี การไม่มีกิริยามารยาทที่ดี เป็นต้น
ในเรื่องแรกนี้ จีนได้รณรงค์มาอย่างต่อเนื่องนับแต่ที่รู้ตัวว่าตนได้เป็นเจ้าภาพ ซ้ำบางเรื่อง เช่น การถ่มน้ำลายนั้น จีนรณรงค์มานานโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าภาพในงานใหญ่ๆ อะไรทั้งสิ้น ในเรื่องนี้ว่ากันว่าจีนทำได้สำเร็จตลอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เรื่องต่อมา สถานที่ที่จัดแข่งขันกีฬานั้น จีนสามารถทำได้สำเร็จอย่างน่าชื่นชม แต่ที่เป็นปัญหามากๆ และแก้ได้ยากก็คือ ปัญหาการจราจรและสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษในเมืองปักกิ่ง
ปัญหาการจราจรนั้น จีนแก้โดยใช้วิธีแบ่งเลขคู่เลขคี่ของรถเพื่อให้วิ่งคนละวัน ส่วนปัญหาสิ่งแวดล้อมก็แก้โดยให้โรงงานรอบๆ ปักกิ่งปิดชั่วคราวในช่วงที่มีการแข่งขัน มีคนไม่น้อยสงสัยว่า โรงงานเหล่านี้สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่ปักกิ่งรุนแรงแค่ไหนจนถึงกับต้องปิดชั่วคราวกันขนาดนั้น
จะรุนแรงแค่ไหนนั้น ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า เวลาที่ฝนตกนั้น ฝนย่อมชะเอาฝุ่นบนอากาศลงมาด้วย (ซึ่งเป็นเรื่องที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว) แต่กับที่ปักกิ่งกลับปรากฏว่า เม็ดฝนที่ตกลงมาแล้วไปถูกตัวรถที่กำลังแล่นหรือจอดอยู่นั้น จะไม่ใช่หยดน้ำใสๆ อย่างที่เป็นกันทั่วไป หากจะเป็นหยดน้ำสีดำคล้ำคล้ายๆ โคลน และหากเราเอานิ้วไปแตะก็จะพบว่า หยดน้ำสีดำนี้จะหนืดๆ เหนียวๆ คล้ายมีน้ำมันผสมอยู่ด้วย
ลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่ใช่ฝุ่นละอองที่ถูกลมพัดพามาจากทะเลทรายทางตอนเหนือของจีนขึ้นไปแต่เพียงอย่างเดียวอย่างแน่นอน (ถือเป็นเรื่องปกติของปักกิ่งแม้ในยามที่ฝนไม่ตกที่จะมีฝุ่นทรายเหล่านี้ เพียงแค่เรายืนอยู่เฉยๆ กลางที่โล่งสักครู่ใหญ่ ก็สามารถสัมผัสฝุ่นทรายเหล่านี้ที่มาเกาะตามเสื้อผ้าได้ไม่ยาก) หากแต่เป็นเขม่าจากรถที่วิ่งอยู่หรือจากโรงงาน ซึ่งต่างล้วนเป็นมลพิษทั้งนั้น
ดังนั้น รถที่ปักกิ่งหลังฝนตกจึงไม่ใช่รถที่ไปลุยน้ำลุยโคลนมา ที่ยังไงเสียก็จะเปื้อนเฉพาะด้านซ้ายขวาของตัวรถเป็นส่วนใหญ่ แต่จะเป็นรถเปื้อนไปทั้งคันเหมือนถูกสาดด้วยโคลน เมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงพอนึกภาพออกได้ว่า หากรถวิ่งขณะฝนตกแล้ว ที่ปัดน้ำฝนจะช่วยอะไรได้ไม่มาก เพราะยิ่งปัดไปกระจกก็ยิ่งเปื้อนจนมัวและมองไม่เห็นทางนั่นเอง
สภาพความรุนแรงแบบนี้แหละครับ ที่ทำให้ทางการปักกิ่งต้องปิดโรงงานเหล่านี้ชั่วคราว และจำกัดรถให้วิ่งด้วยเลขคู่เลขคี่ ลองคิดกันเล่นๆ ก็ได้ว่า ขนาดกรุงเทพฯ ที่ใครๆ ต่างก็ว่าอากาศแย่แล้วนั้น ก็ยังไม่แย่เท่าที่ปักกิ่งประสบอยู่ ปัญหานี้ทางการปักกิ่งคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะแก้ไขได้ เพราะภายหลังจากกีฬาโอลิมปิกปิดฉากไปแล้ว โรงงานเหล่านี้ก็จะต้องเปิดต่อไป และการจำกัดเวลารถวิ่งดังกล่าวก็จะถูกยกเลิกไปเช่นกัน จากนั้นปัญหาเดิมๆ ก็จะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
ครับ, ประเด็นของผมก็อยู่ตรงนี้เองแหละครับ คือหลังกีฬาโอลิมปิกไปแล้ว ปัญหาเดิมๆ ที่เคยเป็นจะกลับมาอีกครั้งหนึ่งหรือไม่อย่างไร แล้วจีนจะแก้อย่างไรต่อไป?
จะมีก็แต่เรื่องเดียวที่ผมยังสงสัยอยู่ นั่นก็คือ เรื่องความพร้อมของคนที่จีนสู้อุตส่าห์รณรงค์มานานปี และดูเหมือนจะได้ผลก่อนกีฬาโอลิมปิกจะเปิดการแข่งขันเสียอีกนั้น หลังกีฬาผ่านไปแล้ว คนจีนจะหันกลับไปมีชีวิตอย่างเดิมๆ ด้วยหรือไม่ เพราะถ้ากลับไปอย่างเดิมก็ต้องนับว่าคนจีนเป็นนักแสดงที่เก่งมาก แต่ถ้าไม่ก็แสดงว่าคนจีนได้ทำให้ชาวโลกเห็นเป็นตัวอย่างว่า เรื่องนิสัยของคนเรานั้นเปลี่ยนกันได้
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ จีนได้ปฏิรูปตนเองไปอย่างมาก หลายๆ เรื่องผมเห็นว่าดี แต่หลายเรื่องก็ให้รู้สึกว่าจีนทำไปโดยที่ไม่คิดถึงหัวอกของคนระดับล่าง ในขณะที่อีกหลายเรื่องก็ยังเป็นที่ชวนให้เคลือบแคลงใจแก่มิตรประเทศ (เช่นเรื่องการพัฒนาแม่น้ำโขงของจีน) แต่ถ้าคิดถึงว่าจีนเองก็เป็นมนุษยชาติร่วมโลกแล้ว ผมก็อดไม่ได้ที่จะเอาใจช่วยจีนในเรื่องกีฬาโอลิมปิกมาโดยตลอด เพราะถ้าหากจีนทำได้ไม่ดี หรือทำพัง หรือเกิดเหตุร้ายๆ อะไรขึ้นมาเหมือนเมื่อต้นปีแล้ว จีนจะเสียศูนย์ไปอีกนาน
ด้วยเหตุนี้ วันที่มีพิธีเปิดนั้น ผมจึงเฝ้าอยู่หน้าจอโทรทัศน์อย่างใจจดใจจ่อ เพื่อคอยดูว่าจีนจะทำได้ดังที่ผมตั้งโจทย์ไว้ในใจหรือไม่ ผลก็คือ จีนทำได้และทำได้ดีกว่าที่คิดไว้เสียอีก
โจทย์ที่ผมตั้งไว้ในใจนั้น มีประเด็นอารยธรรมจีนอันเก่าแก่และรุ่งโรจน์เป็นพื้นฐาน แต่จากสามทศวรรษที่ผ่านมานี้ จีนมุ่งเน้นแต่ความทันสมัยแบบตะวันตก ชาวจีนจำนวนมากมีค่านิยมแบบตะวันตก บางคนถึงกับดูถูกวัฒนธรรมเดิมที่ดีๆ ของตนก็มี
แต่พอเห็นพิธีเปิดที่มีการนำเสนออารยธรรมของจีนแล้วก็ให้รู้สึกโล่งอก และพอตอนท้ายๆ ของการแสดงที่เป็นเรื่องที่ทันสมัยนั้น จีนก็ยังสามารถหยิบเอาลีลาจากวิชาตัวเบาที่เราเห็นได้ในหนังกำลังภายในมาใช้ได้อย่างลงตัวอีกด้วย เรื่องนี้ต้องถือเป็นการใช้เอกลักษณ์ของตนได้อย่างร่วมสมัย และต้องยกให้เป็นฝีมือของ จางอี้โหม่ว ยอดผู้กำกับภาพยนตร์ของจีนโดยแท้
หลังจากพิธีเปิดแล้ว ผมก็ไม่ได้ติดตามอะไรอีกเลย นอกจากตอนที่มีการถ่ายทอดสดนักกีฬาของไทยลงแข่งเท่านั้น (ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกนัดไป) มาติดตามอีกทีก็ในพิธีปิด ซึ่งก็ทำได้ดีไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะการนำเสนอเรื่องราวปัจจุบันของจีน และนำเอาดาราจีน ฮ่องกง ไต้หวัน หรือเกาหลีใต้ ที่ต่างก็เป็นชาว “เอเชียตะวันออก” เหมือนกัน เหมือนจะประกาศแก่ชาวโลกว่า จากนี้ไปจีนพร้อมที่จะก้าวไปกับประชาคมโลกอย่างเสมอกันแล้ว
กีฬาโอลิมปิกที่จีนเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนหลักหมายสำคัญที่จีนได้แสดงให้เห็นว่า จีนได้เปลี่ยนไปจากอดีตแล้วอย่างสิ้นเชิง การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นผลจากความพยายามมาตลอดสมัยการปฏิรูปเมื่อสามทศวรรษก่อน จากนี้ไปจึงเหลือแต่เพียงว่า หลังกีฬาโอลิมปิกปิดฉากไปแล้ว ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาที่ก่อปัญหา การเมืองภายใน และการต่างประเทศ จีนจะแก้อย่างไรเท่านั้น?
ครั้นพอถึงเดือนมีนาคม ก็ปรากฏมีชาวทิเบตในหลายมณฑลได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพและสิทธิมนุษยชนจากรัฐบาลจีน การเคลื่อนไหวครั้งนี้ยังเกิดขึ้นในอีกหลายประเทศด้วย แต่กล่าวเฉพาะที่จีนแล้วการประท้วงได้นำไปสู่การจลาจลขึ้นในหลายเมือง และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินไปจำนวนไม่น้อย และแน่นอนว่า จีนย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกนานาชาติรุมวิพากษ์วิจารณ์
ในขณะที่ “ความวัว” ยังไม่ทันหาย “ความควาย” ก็เข้ามาแทรกอีกเมื่อถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ภัยพิบัติครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 7-8 หมื่นคน และจนถึงขณะนี้การเยียวยาชีวิตและเมืองหลังภัยพิบัติก็ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งเชื่อว่าคงอีกนานนับปีกว่าที่ทุกอย่างจะกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติ
นอกจากเหตุการณ์ที่ดูเสมือนเป็นลางร้ายแก่จีนแล้ว ก็ยังมีเหตุการณ์อื่นที่รุนแรงพอกัน ซึ่งมักจะเป็นภัยธรรมชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ทำให้หลายฝ่ายเฝ้าจับตาดูว่า พอถึงเดือนสิงหาคมที่พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะเริ่มขึ้น จีนยังจะต้องเจอเรื่องร้ายๆ อะไรอีกหรือไม่ เพราะแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็น “ลางดี” แก่จีนตรงไหนเลย
จะว่าไปแล้ว สิ่งอันเป็นอุปสรรคหรือปัญหาในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของจีนนี้หาได้เกิดขึ้นเฉพาะแต่ในปีนี้ไม่ ก่อนหน้านี้หลายปีก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าเกิดตั้งแต่วันแรกที่คณะกรรมการกีฬาโอลิมปิกมีมติเลือกให้จีนเป็นเจ้าภาพตั้งแต่เมื่อ 8 ปีก่อนแล้วก็ว่าได้ ปัญหาหรืออุปสรรคที่ว่านี้มีตั้งแต่ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนที่จีนยังต้องปรับปรุง จนถึงสภาพความพร้อมของจีนเองในฐานะเจ้าภาพ ความพร้อมที่ว่านี้มีตั้งแต่สถานที่จัดแข่งกีฬา สิ่งแวดล้อม และอัธยาศัยของผู้คนชาวจีน เป็นต้น
แต่จนแล้วจนรอด จีนก็สามารถนำพาตัวเองมาถึงปี 2008 ได้ และสิ่งที่เราคาดไม่ถึงก็คือว่า จีนได้ทำในหลายเรื่องที่ออกจะดู “เกินไป” และออกจะเหลือเชื่อ เช่น การเตรียมความพร้อมของผู้คน ที่จีนเฝ้าเพียรพยายามป่าวร้องให้ประชาชนของตนตระหนักถึงความสำคัญของกีฬาโอลิมปิก ว่าหากชาวจีนประพฤติปฏิบัติได้ไม่ดีแล้วอาจจะทำให้ประเทศเสียชื่อเสียเสียงอย่างไรบ้าง หรือความพยายามที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมในปักกิ่งดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นต้น
เรื่องแบบนี้อาจจะเป็นที่แปลกใจของชาวต่างชาติ และหลายคนอาจไม่เข้าใจ เช่นไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องเตรียมความพร้อมของชาวจีนเองด้วย ก็ในเมื่อชาวจีนเองทั้งดีใจและภูมิใจกันแทบทั่วทั้งประเทศเมื่อรู้ว่าตนได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกไม่ใช่หรือ? ถ้าไม่พร้อมแล้วจะดีใจภูมิใจไปทำไมกัน? ครับ, เรื่องแบบนี้ถ้าไม่รู้จักจีนในระดับหนึ่งแล้วก็ยากที่จะเข้าใจจริงๆ
อย่างไรก็ตาม ผมขอแบ่งความพร้อมที่ว่าออกเป็น 2 เรื่องด้วยกัน หนึ่ง ความพร้อมของคน และสอง ความพร้อมของเมืองปักกิ่ง
เรื่องความพร้อมของคนนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลจีนเองก็ปวดเศียรเวียนเกล้า เพราะต่อให้จีนไม่ได้เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก รัฐบาลจีนก็อยากจะเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของประชาชนของตัวเองอยู่แล้ว เรื่องที่ว่ามีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น การไม่มีนิสัยในการเข้าคิว การถ่มน้ำลายรดพื้น การไม่มีอัธยาศัยไมตรี การไม่มีกิริยามารยาทที่ดี เป็นต้น
ในเรื่องแรกนี้ จีนได้รณรงค์มาอย่างต่อเนื่องนับแต่ที่รู้ตัวว่าตนได้เป็นเจ้าภาพ ซ้ำบางเรื่อง เช่น การถ่มน้ำลายนั้น จีนรณรงค์มานานโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าภาพในงานใหญ่ๆ อะไรทั้งสิ้น ในเรื่องนี้ว่ากันว่าจีนทำได้สำเร็จตลอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เรื่องต่อมา สถานที่ที่จัดแข่งขันกีฬานั้น จีนสามารถทำได้สำเร็จอย่างน่าชื่นชม แต่ที่เป็นปัญหามากๆ และแก้ได้ยากก็คือ ปัญหาการจราจรและสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษในเมืองปักกิ่ง
ปัญหาการจราจรนั้น จีนแก้โดยใช้วิธีแบ่งเลขคู่เลขคี่ของรถเพื่อให้วิ่งคนละวัน ส่วนปัญหาสิ่งแวดล้อมก็แก้โดยให้โรงงานรอบๆ ปักกิ่งปิดชั่วคราวในช่วงที่มีการแข่งขัน มีคนไม่น้อยสงสัยว่า โรงงานเหล่านี้สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่ปักกิ่งรุนแรงแค่ไหนจนถึงกับต้องปิดชั่วคราวกันขนาดนั้น
จะรุนแรงแค่ไหนนั้น ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า เวลาที่ฝนตกนั้น ฝนย่อมชะเอาฝุ่นบนอากาศลงมาด้วย (ซึ่งเป็นเรื่องที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว) แต่กับที่ปักกิ่งกลับปรากฏว่า เม็ดฝนที่ตกลงมาแล้วไปถูกตัวรถที่กำลังแล่นหรือจอดอยู่นั้น จะไม่ใช่หยดน้ำใสๆ อย่างที่เป็นกันทั่วไป หากจะเป็นหยดน้ำสีดำคล้ำคล้ายๆ โคลน และหากเราเอานิ้วไปแตะก็จะพบว่า หยดน้ำสีดำนี้จะหนืดๆ เหนียวๆ คล้ายมีน้ำมันผสมอยู่ด้วย
ลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่ใช่ฝุ่นละอองที่ถูกลมพัดพามาจากทะเลทรายทางตอนเหนือของจีนขึ้นไปแต่เพียงอย่างเดียวอย่างแน่นอน (ถือเป็นเรื่องปกติของปักกิ่งแม้ในยามที่ฝนไม่ตกที่จะมีฝุ่นทรายเหล่านี้ เพียงแค่เรายืนอยู่เฉยๆ กลางที่โล่งสักครู่ใหญ่ ก็สามารถสัมผัสฝุ่นทรายเหล่านี้ที่มาเกาะตามเสื้อผ้าได้ไม่ยาก) หากแต่เป็นเขม่าจากรถที่วิ่งอยู่หรือจากโรงงาน ซึ่งต่างล้วนเป็นมลพิษทั้งนั้น
ดังนั้น รถที่ปักกิ่งหลังฝนตกจึงไม่ใช่รถที่ไปลุยน้ำลุยโคลนมา ที่ยังไงเสียก็จะเปื้อนเฉพาะด้านซ้ายขวาของตัวรถเป็นส่วนใหญ่ แต่จะเป็นรถเปื้อนไปทั้งคันเหมือนถูกสาดด้วยโคลน เมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงพอนึกภาพออกได้ว่า หากรถวิ่งขณะฝนตกแล้ว ที่ปัดน้ำฝนจะช่วยอะไรได้ไม่มาก เพราะยิ่งปัดไปกระจกก็ยิ่งเปื้อนจนมัวและมองไม่เห็นทางนั่นเอง
สภาพความรุนแรงแบบนี้แหละครับ ที่ทำให้ทางการปักกิ่งต้องปิดโรงงานเหล่านี้ชั่วคราว และจำกัดรถให้วิ่งด้วยเลขคู่เลขคี่ ลองคิดกันเล่นๆ ก็ได้ว่า ขนาดกรุงเทพฯ ที่ใครๆ ต่างก็ว่าอากาศแย่แล้วนั้น ก็ยังไม่แย่เท่าที่ปักกิ่งประสบอยู่ ปัญหานี้ทางการปักกิ่งคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะแก้ไขได้ เพราะภายหลังจากกีฬาโอลิมปิกปิดฉากไปแล้ว โรงงานเหล่านี้ก็จะต้องเปิดต่อไป และการจำกัดเวลารถวิ่งดังกล่าวก็จะถูกยกเลิกไปเช่นกัน จากนั้นปัญหาเดิมๆ ก็จะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
ครับ, ประเด็นของผมก็อยู่ตรงนี้เองแหละครับ คือหลังกีฬาโอลิมปิกไปแล้ว ปัญหาเดิมๆ ที่เคยเป็นจะกลับมาอีกครั้งหนึ่งหรือไม่อย่างไร แล้วจีนจะแก้อย่างไรต่อไป?
จะมีก็แต่เรื่องเดียวที่ผมยังสงสัยอยู่ นั่นก็คือ เรื่องความพร้อมของคนที่จีนสู้อุตส่าห์รณรงค์มานานปี และดูเหมือนจะได้ผลก่อนกีฬาโอลิมปิกจะเปิดการแข่งขันเสียอีกนั้น หลังกีฬาผ่านไปแล้ว คนจีนจะหันกลับไปมีชีวิตอย่างเดิมๆ ด้วยหรือไม่ เพราะถ้ากลับไปอย่างเดิมก็ต้องนับว่าคนจีนเป็นนักแสดงที่เก่งมาก แต่ถ้าไม่ก็แสดงว่าคนจีนได้ทำให้ชาวโลกเห็นเป็นตัวอย่างว่า เรื่องนิสัยของคนเรานั้นเปลี่ยนกันได้
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ จีนได้ปฏิรูปตนเองไปอย่างมาก หลายๆ เรื่องผมเห็นว่าดี แต่หลายเรื่องก็ให้รู้สึกว่าจีนทำไปโดยที่ไม่คิดถึงหัวอกของคนระดับล่าง ในขณะที่อีกหลายเรื่องก็ยังเป็นที่ชวนให้เคลือบแคลงใจแก่มิตรประเทศ (เช่นเรื่องการพัฒนาแม่น้ำโขงของจีน) แต่ถ้าคิดถึงว่าจีนเองก็เป็นมนุษยชาติร่วมโลกแล้ว ผมก็อดไม่ได้ที่จะเอาใจช่วยจีนในเรื่องกีฬาโอลิมปิกมาโดยตลอด เพราะถ้าหากจีนทำได้ไม่ดี หรือทำพัง หรือเกิดเหตุร้ายๆ อะไรขึ้นมาเหมือนเมื่อต้นปีแล้ว จีนจะเสียศูนย์ไปอีกนาน
ด้วยเหตุนี้ วันที่มีพิธีเปิดนั้น ผมจึงเฝ้าอยู่หน้าจอโทรทัศน์อย่างใจจดใจจ่อ เพื่อคอยดูว่าจีนจะทำได้ดังที่ผมตั้งโจทย์ไว้ในใจหรือไม่ ผลก็คือ จีนทำได้และทำได้ดีกว่าที่คิดไว้เสียอีก
โจทย์ที่ผมตั้งไว้ในใจนั้น มีประเด็นอารยธรรมจีนอันเก่าแก่และรุ่งโรจน์เป็นพื้นฐาน แต่จากสามทศวรรษที่ผ่านมานี้ จีนมุ่งเน้นแต่ความทันสมัยแบบตะวันตก ชาวจีนจำนวนมากมีค่านิยมแบบตะวันตก บางคนถึงกับดูถูกวัฒนธรรมเดิมที่ดีๆ ของตนก็มี
แต่พอเห็นพิธีเปิดที่มีการนำเสนออารยธรรมของจีนแล้วก็ให้รู้สึกโล่งอก และพอตอนท้ายๆ ของการแสดงที่เป็นเรื่องที่ทันสมัยนั้น จีนก็ยังสามารถหยิบเอาลีลาจากวิชาตัวเบาที่เราเห็นได้ในหนังกำลังภายในมาใช้ได้อย่างลงตัวอีกด้วย เรื่องนี้ต้องถือเป็นการใช้เอกลักษณ์ของตนได้อย่างร่วมสมัย และต้องยกให้เป็นฝีมือของ จางอี้โหม่ว ยอดผู้กำกับภาพยนตร์ของจีนโดยแท้
หลังจากพิธีเปิดแล้ว ผมก็ไม่ได้ติดตามอะไรอีกเลย นอกจากตอนที่มีการถ่ายทอดสดนักกีฬาของไทยลงแข่งเท่านั้น (ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกนัดไป) มาติดตามอีกทีก็ในพิธีปิด ซึ่งก็ทำได้ดีไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะการนำเสนอเรื่องราวปัจจุบันของจีน และนำเอาดาราจีน ฮ่องกง ไต้หวัน หรือเกาหลีใต้ ที่ต่างก็เป็นชาว “เอเชียตะวันออก” เหมือนกัน เหมือนจะประกาศแก่ชาวโลกว่า จากนี้ไปจีนพร้อมที่จะก้าวไปกับประชาคมโลกอย่างเสมอกันแล้ว
กีฬาโอลิมปิกที่จีนเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนหลักหมายสำคัญที่จีนได้แสดงให้เห็นว่า จีนได้เปลี่ยนไปจากอดีตแล้วอย่างสิ้นเชิง การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นผลจากความพยายามมาตลอดสมัยการปฏิรูปเมื่อสามทศวรรษก่อน จากนี้ไปจึงเหลือแต่เพียงว่า หลังกีฬาโอลิมปิกปิดฉากไปแล้ว ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาที่ก่อปัญหา การเมืองภายใน และการต่างประเทศ จีนจะแก้อย่างไรเท่านั้น?