ปธ.สภาหอการค้าฯ เผยกองทุนสนับสนุนเอสเอ็มอีเพื่อส่งออกวงเงิน 5 พันล้านถึงจุดจบ ระบุผลไม่เข้าเป้า เพราะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ จากเงื่อนไขที่ซับซ้อนยุ่งยาก
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการกองทุนสนับสนุนเอสเอ็มอีเพื่อการส่งออกที่มีงบประมาณ 5,000 ล้านบาท ขณะนี้ได้ยกเลิกแล้ว เนื่องจากมีการปล่อยสินเชื่อไม่ถึง 50% ของงบประมาณทั้งหมด สาเหตุมาจากการความซับซ้อนของเงื่อนไขทำให้มีผู้ได้รับการอนุมัติเป็นจำนวนน้อย อย่างไรก็ดี ผู้ที่ได้รับสินเชื่อจากโครงการดังกล่าวไปแล้วต้องชำระตามกำหนดต่อไปเช่นเดิม
ทั้งนี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) 3 สถาบัน ได้พิจารณาเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ให้เข้าถึงแหล่งทุน โดยผลักดันโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเป็นการปล่อยกู้ร่วมกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 20,000 ล้านบาท และสถาบันการเงินเอกชน วงเงิน 20,000 ล้านบาท รวมเป็นวงเงิน 40,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ในการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ย MLR-2.25 ไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท แก่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีคนงานไม่เกิน 200 คน ทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 3 ปี โดยครบกำหนดการกู้ถึงเดือนกันยายน 2554 หากเลยเวลาดังกล่าวจะคิดดอกเบี้ยปกติ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะส่งให้ ธปท.เป็นผู้พิจารณาขนาดของกิจการต่อไป โดยมีตั๋วของผู้ประกอบการเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรม (ส.อ.ท.) ในฐานะประธาน กกร. กล่าวว่า โครงการนี้จะสามารถกระจายเงินได้ทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เอสเอ็มอีมีทุนเพื่อพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งอาจนำไปใช้ในการปรับปรุงศักยภาพในองค์กรทั้งด้านเทคโนโลยีและการจัดการ โดยมีการจำกัดเวลาชำระไม่เกินเดือนกันยายน ปี 2554 แต่หากชำระไม่ทันกำหนดผู้ประกอบการต้องจ่ายดอกเบี้ยตามที่ธนาคารกำหนด ซึ่งโครงการนี้ ธปท.จะใช้เวลาในการอนุมัติให้เร็วที่สุด คาดว่าประมาณ 1 สัปดาห์จะรู้ผล
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการกองทุนสนับสนุนเอสเอ็มอีเพื่อการส่งออกที่มีงบประมาณ 5,000 ล้านบาท ขณะนี้ได้ยกเลิกแล้ว เนื่องจากมีการปล่อยสินเชื่อไม่ถึง 50% ของงบประมาณทั้งหมด สาเหตุมาจากการความซับซ้อนของเงื่อนไขทำให้มีผู้ได้รับการอนุมัติเป็นจำนวนน้อย อย่างไรก็ดี ผู้ที่ได้รับสินเชื่อจากโครงการดังกล่าวไปแล้วต้องชำระตามกำหนดต่อไปเช่นเดิม
ทั้งนี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) 3 สถาบัน ได้พิจารณาเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ให้เข้าถึงแหล่งทุน โดยผลักดันโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเป็นการปล่อยกู้ร่วมกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 20,000 ล้านบาท และสถาบันการเงินเอกชน วงเงิน 20,000 ล้านบาท รวมเป็นวงเงิน 40,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ในการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ย MLR-2.25 ไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท แก่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีคนงานไม่เกิน 200 คน ทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 3 ปี โดยครบกำหนดการกู้ถึงเดือนกันยายน 2554 หากเลยเวลาดังกล่าวจะคิดดอกเบี้ยปกติ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะส่งให้ ธปท.เป็นผู้พิจารณาขนาดของกิจการต่อไป โดยมีตั๋วของผู้ประกอบการเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรม (ส.อ.ท.) ในฐานะประธาน กกร. กล่าวว่า โครงการนี้จะสามารถกระจายเงินได้ทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เอสเอ็มอีมีทุนเพื่อพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งอาจนำไปใช้ในการปรับปรุงศักยภาพในองค์กรทั้งด้านเทคโนโลยีและการจัดการ โดยมีการจำกัดเวลาชำระไม่เกินเดือนกันยายน ปี 2554 แต่หากชำระไม่ทันกำหนดผู้ประกอบการต้องจ่ายดอกเบี้ยตามที่ธนาคารกำหนด ซึ่งโครงการนี้ ธปท.จะใช้เวลาในการอนุมัติให้เร็วที่สุด คาดว่าประมาณ 1 สัปดาห์จะรู้ผล