คึกรับรัฐบาลนอมินีแม้ว ธนาคารออมสินฟื้นโครงการธนาคารประชาชนหลังรัฐบาลพลังประชาชนเข้าบริหารประเทศ เตรียมเงิน 5 พันล้าน เอาใจรากหญ้า โชว์กำไรสุทธิปี 50 สูงถึงหมื่นล้านบาท หลังหักสำรองตามเกณฑ์ IAS39 มั่นใจเศรษฐกิจปีหนูยังดีเล็ง เปิดศึกสินเชื่อเคหะจับลูกค้าสวัสดิการของรัฐเหตุความเสี่ยงต่ำ
นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี รองผู้อำนวยการ ธนาคารออมสินอาวุโส เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน ในปี 2550 โดยภาพรวมแล้ว โดยรวมมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง แต่ยังไม่เลวร้ายมากนัก จะเห็นได้จากยอดสินเชื่อสุทธิอยู่ที่ 37,600 ล้านบาท จากยอดที่ตั้งไว้ 25,200 ล้านบาท หรือ 8.7% ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ปล่อยจริงจำนวน 160,000 ล้านบาท
สำหรับเงินลงทุนในหลักทรัพย์จากแผนการดำเนินงานตั้งไว้ที่ 17,200 ล้านบาท สามารถลงทุนได้จริง 26,228 ล้านบาท ขณะที่เงินฝากขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.8% มาอยู่ที่ 29,713 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 25,000 ล้านบาท ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อยู่ที่ 1.45% ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น 12.79% ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ 4.06% ของพอร์ตสินเชื่อต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 4.35%
“แม้ว่าการดำเนินงานของธนาคารออมสินในปีที่ผ่านมา จะดูเหมือนชะลอตัวลงแต่จากตัวเลขสินเชื่อที่ออกมาพบว่ายังมีการขยายตัวที่ดี โดยกำไรสุทธิของธนาคารยังอยู่ในระดับที่ตั้งไว้ คือ ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ธนาคารสามารถทำได้ 10,831 ล้านบาท ซึ่งเป็นกำไรที่ได้มีการตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS 39 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และตั้งสำรองพิเศษอีก 1% ของสินเชื่อที่ปล่อยไปทั้งหมดด้วย” นายวรวิทย์ กล่าว
สำหรับแผนการดำเนินงานของธนาคารออมสินในปี 2551 ธนาคารตั้งเป้าขยายฐานเงินฝากเพิ่มขึ้น 23,000 ล้านบาท สินเชื่อสุทธิ 31,000 ล้านบาท เงินลงทุนเพิ่ม 12,900 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10,500 ล้านบาทและเอ็นพีแอลไม่เกิน 4.3% ของพอร์ตสินเชื่อ
ทั้งนี้ ในปี 2551 ธนาคารจะให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อในโครงการธนาคารประชาชนมากขึ้น เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนที่ดีแม้จะเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันก็ตาม ซึ่งจะเห็นว่าในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) ต่างให้ความสำคัญกับสินเชื่อประเภทนี้กันมาก ธนาคารออมสินจึงจำเป็นต้องรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนี้ไว้
“เราจะเน้นการปล่อยสินเชื่อธนาคารประชาชนมากขึ้นเพราะเป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจซึ่งจะใช้เครือข่ายสาขาทำงานในเชิงรุกมากขึ้น โดยธนาคารได้เตรียมวงเงินสำหรับปล่อยกู้โครงการธนาคารประชาชนในปีนี้จำนวน 5 พันล้านบาท จากเดิมในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการนี้ประมาณ 2-3 พันล้านบาทเท่านั้น” นายวรวิทย์ กล่าว
นอกจากนี้ ธนาคารออมสินยังจะเน้นขยายสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นสินเชื่อที่ดีจึงน่าจะขยายสัดส่วนสินเชื่อประเภทนี้ในพอร์ตด้วย โดยธนาคารได้ตั้งเป้าการขายสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ไว้ที่ 22,000 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่ขยายตัวที่ 10,000 ล้านบาทเท่านั้น
**เกี่ยงปล่อยกู้กองทุนอ้อย-น้ำตาล**
สำหรับกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการที่จะให้ออมสินปล่อยสินเชื่อให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อแก้ไขปัญหาราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้นตามมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาจำนวน 5.277 พันล้านบาทนั้น ธนาคารยังไม่ได้มีการหารือกันในขณะนี้ ซึ่งคงจะต้องมีการหารือกันในคณะกรรมการแบงก์ก่อนว่าจะสามารถปล่อยกู้ดังกล่าวให้ได้หรือไม่
ทั้งนี้ การปล่อยกู้ให้กับกองทุนอ้อยฯ นั้น ถือเป็นการกู้ในระยะยาวถึง 20 ปี ซึ่งทางกองทุนต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้านอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยปีละ 200 ล้านบาท ดังนั้น การที่ธนาคารจะพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้หรือไม่นั้น ต้องเข้าไปดูถึงสถานะและความสามารถในการชำระหนี้ของกองทุนด้วย ในขณะที่เงินต้นเป็นส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมจะของบประมาณปีละ 450 ล้านบาท ขึ้นมาชดเชยให้นั้น ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด
“ถ้าอยากให้ออมสินปล่อยกู้ให้จริงๆ แบบไม่มีความเสี่ยงมากนัก คงต้องให้กลับไปแก้มติครม.เดิมก่อนว่า กระทรวงอุตสาหกรรมต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเอง เพราะถ้าให้กองทุนฯ จ่ายเงินดอกเบี้ยเอง จะเสี่ยงได้ เพราะตอนนี้กองทุนก็ยังขาดทุนอยู่” นายวรวิทย์ กล่าว
นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี รองผู้อำนวยการ ธนาคารออมสินอาวุโส เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน ในปี 2550 โดยภาพรวมแล้ว โดยรวมมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง แต่ยังไม่เลวร้ายมากนัก จะเห็นได้จากยอดสินเชื่อสุทธิอยู่ที่ 37,600 ล้านบาท จากยอดที่ตั้งไว้ 25,200 ล้านบาท หรือ 8.7% ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ปล่อยจริงจำนวน 160,000 ล้านบาท
สำหรับเงินลงทุนในหลักทรัพย์จากแผนการดำเนินงานตั้งไว้ที่ 17,200 ล้านบาท สามารถลงทุนได้จริง 26,228 ล้านบาท ขณะที่เงินฝากขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.8% มาอยู่ที่ 29,713 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 25,000 ล้านบาท ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อยู่ที่ 1.45% ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น 12.79% ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ 4.06% ของพอร์ตสินเชื่อต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 4.35%
“แม้ว่าการดำเนินงานของธนาคารออมสินในปีที่ผ่านมา จะดูเหมือนชะลอตัวลงแต่จากตัวเลขสินเชื่อที่ออกมาพบว่ายังมีการขยายตัวที่ดี โดยกำไรสุทธิของธนาคารยังอยู่ในระดับที่ตั้งไว้ คือ ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ธนาคารสามารถทำได้ 10,831 ล้านบาท ซึ่งเป็นกำไรที่ได้มีการตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS 39 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และตั้งสำรองพิเศษอีก 1% ของสินเชื่อที่ปล่อยไปทั้งหมดด้วย” นายวรวิทย์ กล่าว
สำหรับแผนการดำเนินงานของธนาคารออมสินในปี 2551 ธนาคารตั้งเป้าขยายฐานเงินฝากเพิ่มขึ้น 23,000 ล้านบาท สินเชื่อสุทธิ 31,000 ล้านบาท เงินลงทุนเพิ่ม 12,900 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10,500 ล้านบาทและเอ็นพีแอลไม่เกิน 4.3% ของพอร์ตสินเชื่อ
ทั้งนี้ ในปี 2551 ธนาคารจะให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อในโครงการธนาคารประชาชนมากขึ้น เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนที่ดีแม้จะเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันก็ตาม ซึ่งจะเห็นว่าในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) ต่างให้ความสำคัญกับสินเชื่อประเภทนี้กันมาก ธนาคารออมสินจึงจำเป็นต้องรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนี้ไว้
“เราจะเน้นการปล่อยสินเชื่อธนาคารประชาชนมากขึ้นเพราะเป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจซึ่งจะใช้เครือข่ายสาขาทำงานในเชิงรุกมากขึ้น โดยธนาคารได้เตรียมวงเงินสำหรับปล่อยกู้โครงการธนาคารประชาชนในปีนี้จำนวน 5 พันล้านบาท จากเดิมในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการนี้ประมาณ 2-3 พันล้านบาทเท่านั้น” นายวรวิทย์ กล่าว
นอกจากนี้ ธนาคารออมสินยังจะเน้นขยายสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นสินเชื่อที่ดีจึงน่าจะขยายสัดส่วนสินเชื่อประเภทนี้ในพอร์ตด้วย โดยธนาคารได้ตั้งเป้าการขายสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ไว้ที่ 22,000 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่ขยายตัวที่ 10,000 ล้านบาทเท่านั้น
**เกี่ยงปล่อยกู้กองทุนอ้อย-น้ำตาล**
สำหรับกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการที่จะให้ออมสินปล่อยสินเชื่อให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อแก้ไขปัญหาราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้นตามมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาจำนวน 5.277 พันล้านบาทนั้น ธนาคารยังไม่ได้มีการหารือกันในขณะนี้ ซึ่งคงจะต้องมีการหารือกันในคณะกรรมการแบงก์ก่อนว่าจะสามารถปล่อยกู้ดังกล่าวให้ได้หรือไม่
ทั้งนี้ การปล่อยกู้ให้กับกองทุนอ้อยฯ นั้น ถือเป็นการกู้ในระยะยาวถึง 20 ปี ซึ่งทางกองทุนต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้านอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยปีละ 200 ล้านบาท ดังนั้น การที่ธนาคารจะพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้หรือไม่นั้น ต้องเข้าไปดูถึงสถานะและความสามารถในการชำระหนี้ของกองทุนด้วย ในขณะที่เงินต้นเป็นส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมจะของบประมาณปีละ 450 ล้านบาท ขึ้นมาชดเชยให้นั้น ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด
“ถ้าอยากให้ออมสินปล่อยกู้ให้จริงๆ แบบไม่มีความเสี่ยงมากนัก คงต้องให้กลับไปแก้มติครม.เดิมก่อนว่า กระทรวงอุตสาหกรรมต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเอง เพราะถ้าให้กองทุนฯ จ่ายเงินดอกเบี้ยเอง จะเสี่ยงได้ เพราะตอนนี้กองทุนก็ยังขาดทุนอยู่” นายวรวิทย์ กล่าว