ผู้จัดการรายวัน – คลังเปิดทางให้กองทุนอ้อยฯ กู้ออมสิน 5.2 พันล้านบาทเพื่อใช้หนี้คืนโรงงานน้ำตาลกรณีราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 49/50 ต่ำกว่าขั้นต้น แต่รายละเอียดต้องเจรจากันเอง
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้เสนอธนาคารออมสินเป็นแหล่งเงินกู้ให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในการแก้ไขปัญหาราคาค่าอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2549/50 ต่ำกว่าขั้นต้นวงเงิน 5,277 ล้านบาท โดยขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมโดยกองทุนอ้อยฯอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียดและเงื่อนไขอยู่ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติว่าท้ายสุดออมสินจะตอบรับหรือไม่
“กรณีเงินดังกล่าวทางครม.ได้สั่งให้คลังหาแหล่งเงินกู้ให้ ก็เสนอมาแล้วแต่รายละเอียดทางกระทรวงอุตสาหกรรมต้องคุยเองก็ยอมรับว่าไม่ง่ายนักเนื่องจากตามแผนรายได้ที่จะจ่ายหนี้ดังกล่าวคือกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องตั้งงบประมาณเบิกจ่าย 450 ล้านบาทต่อปีเป็นเวลา 13 ปีแล้วส่วนดอกเบี้ยทางกองทุนฯอาจต้องรับภาระซึ่งทางออมสินเองก็ยอมรับว่าไม่เคยให้กู้กับนิติบุคคลเช่นนี้มาก่อน”แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม วงเงินดังกล่าวตามระเบียบต้องจ่ายคืนโรงงานน้ำตาลเนื่องจากได้จ่ายค่าอ้อยไปเกินกว่าขั้นสุดท้ายที่ออกมา ซึ่งล่าสุดทางฝ่ายโรงงานเองได้เร่งให้สรุปโดยเร็วเพราะต้องการเงินดังกล่าวไปใช้หมุนเวียนเป็นสภาพคล่อง
นอกจากนี้ กองทุนฯยังอยู่ระหว่างการหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) ในการกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2550/51 ที่กำหนดระดับ 600 บาทต่อตันในการเพิ่มค่าอ้อยให้แก่ชาวไร่เพื่อสอดรับกับต้นทุนที่สูงขึ้นอีก 62 บาทต่อตันหรือคิดเป็นเงินกู้ 4,225 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ระหว่างการหารือรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้คืน
สำหรับแผนเบื้องต้นยึดตามมติครม.คือ หนี้ทั้งหมดที่มีอยู่กับธ.ก.ส.ประมาณ 12,000 ล้านบาทเมื่อรวมกับหนี้ใหม่อีก 4,225 ล้านบาทจึงทำให้กองทุนฯจะต้องปรับโครงสร้างการชำระหนี้จากเดิมจะหมดใน 5 ปีเป็น 12 ปี โดยหลักการใช้กองทุนฯจะมีรายได้หลักสำคัญมาชำระคือจากกรณีการแยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาน้ำตาลทรายที่จะมีเงินไหลเข้ากองทุนปีละ 1,300 ล้านบาทกับหลักการกำหนดให้มีการหักราคาอ้อยขั้นสุดท้าย 15 บาทต่อตันซึ่งจะมีเงินส่วนนี้อีก 900-1,000 ล้านบาทต่อปี
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้เสนอธนาคารออมสินเป็นแหล่งเงินกู้ให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในการแก้ไขปัญหาราคาค่าอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2549/50 ต่ำกว่าขั้นต้นวงเงิน 5,277 ล้านบาท โดยขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมโดยกองทุนอ้อยฯอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียดและเงื่อนไขอยู่ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติว่าท้ายสุดออมสินจะตอบรับหรือไม่
“กรณีเงินดังกล่าวทางครม.ได้สั่งให้คลังหาแหล่งเงินกู้ให้ ก็เสนอมาแล้วแต่รายละเอียดทางกระทรวงอุตสาหกรรมต้องคุยเองก็ยอมรับว่าไม่ง่ายนักเนื่องจากตามแผนรายได้ที่จะจ่ายหนี้ดังกล่าวคือกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องตั้งงบประมาณเบิกจ่าย 450 ล้านบาทต่อปีเป็นเวลา 13 ปีแล้วส่วนดอกเบี้ยทางกองทุนฯอาจต้องรับภาระซึ่งทางออมสินเองก็ยอมรับว่าไม่เคยให้กู้กับนิติบุคคลเช่นนี้มาก่อน”แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม วงเงินดังกล่าวตามระเบียบต้องจ่ายคืนโรงงานน้ำตาลเนื่องจากได้จ่ายค่าอ้อยไปเกินกว่าขั้นสุดท้ายที่ออกมา ซึ่งล่าสุดทางฝ่ายโรงงานเองได้เร่งให้สรุปโดยเร็วเพราะต้องการเงินดังกล่าวไปใช้หมุนเวียนเป็นสภาพคล่อง
นอกจากนี้ กองทุนฯยังอยู่ระหว่างการหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) ในการกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2550/51 ที่กำหนดระดับ 600 บาทต่อตันในการเพิ่มค่าอ้อยให้แก่ชาวไร่เพื่อสอดรับกับต้นทุนที่สูงขึ้นอีก 62 บาทต่อตันหรือคิดเป็นเงินกู้ 4,225 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ระหว่างการหารือรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้คืน
สำหรับแผนเบื้องต้นยึดตามมติครม.คือ หนี้ทั้งหมดที่มีอยู่กับธ.ก.ส.ประมาณ 12,000 ล้านบาทเมื่อรวมกับหนี้ใหม่อีก 4,225 ล้านบาทจึงทำให้กองทุนฯจะต้องปรับโครงสร้างการชำระหนี้จากเดิมจะหมดใน 5 ปีเป็น 12 ปี โดยหลักการใช้กองทุนฯจะมีรายได้หลักสำคัญมาชำระคือจากกรณีการแยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาน้ำตาลทรายที่จะมีเงินไหลเข้ากองทุนปีละ 1,300 ล้านบาทกับหลักการกำหนดให้มีการหักราคาอ้อยขั้นสุดท้าย 15 บาทต่อตันซึ่งจะมีเงินส่วนนี้อีก 900-1,000 ล้านบาทต่อปี