ทีแอลเอ็ม มีลุ้นรอดตัว หลัง ครม.ขิงแก่ตีเรื่องกลับให้ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมโยนให้รัฐบาลใหม่เป็นผู้ตัดสินใจ ระบุ ต้องหารือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐต้องเสียหายน้อยที่สุด ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เผย การขายหุ้นจะเร็วหรือช้าไม่มีผล เหตุมูลค่าหุ้นลดต่ำสุดแล้ว หากรอบริษัทเดินตามแผนใหม่อีก 2 ปี อาจสดใสขึ้น
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯจะนำเรื่อง การจำหน่ายหุ้น บริษัท ไทยจัดการลองสเตย์ จำกัด (ทีแอลเอ็ม) กลับมาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้นำเรื่องดังกล่าวกลับมาหารือเพิ่มเติม โดยหน่วยงานที่จะหารือร่วม คือ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และกฤษฎีกา จุดประสงค์ เพื่อหาข้อมูลในทุกด้านทั้งผลดีและผลเสีย ของการลงทุนในธุรกิจดังกล่าว รวมถึงความเหมาะสม และการแข่งขันของประเทศ ด้วย เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาว่าจะให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขายหรือไม่ขายหุ้นในทีแอลเอ็ม
ทางด้าน ร.ท.สุวิทย์ ยอมมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ที่ ครม.ให้นำเรื่องการขายหุ้นบริษัท ทีแอลเอ็ม กลับมาศึกษาใหม่ เพราะเห็นว่า ต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณา พิจารณาถึงผลดี-ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการพิจารณาครั้งใหม่ อาจเป็นของรัฐบาลชุดใหม่ก็ตาม คงไม่มีผลอะไร เพราะแม้จะรีบร้อนพิจารณาในรัฐบาลชุดนี้ เมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามาก็สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่นกัน เราต้องศึกษาเยอะ ถึงผลดี-ผลเสียในการขายหุ้นในบริษัทดังกล่าว ต้องใช้ความรอบคอบ ดังนั้น คงต้องให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว
***อ้างเร็วหรือช้าไม่แตกต่าง***
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า การศึกษาของกระทรวงการท่องเที่ยวเบื้องต้น เห็นว่า ถ้า ททท.ตัดสินใจขายหุ้นในบริษัททีแอลเอ็ม รัฐบาลก็ต้องสูญเสียรายได้ เพราะได้ลงทุนไปในบริษัทดังกล่าว 30 ล้านบาท เพื่อถือหุ้นจำนวน 30% หากตัดสินใจขายในตอนนี้ ซึ่งจากผลประกอบการของบริษัทที่ขาดทุนมาตลอด 4-5 ปี ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าหุ้นลดลงไปกว่า 10 เท่าตัว หากขายก็จะได้เงินกลับมาเพียง 3 แสนบาท
ทั้งนี้ จากแผนธุรกิจฉบับใหม่ ของ ทีแอลเอ็ม ที่ระบุว่า บริษัทได้ปรับลดขนาดของบริษัท และ มีแผนบุกตลาดที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยคาดว่า ประมาณ 3 ปี หรือในปี 2553 บริษัทก็สามารถล้างขาดทุนสะสมได้หมด และทยอยคืนเงินให้แก่ผู้ถือหุ้นได้นั้น จึงมองว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ททท.ก็น่าจะรอไปอีก 1-2 ปี เพื่อให้เวลาแก้บริษัท ทีแอลเอ็ม ได้ดำเนินการตามแผน ซึ่งความเสียหายก็คงไม่ต่างจากปัจจุบันนี้มากนัก ซึ่งทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะเรียก บริษัท ทีแอลเอ็ม เข้ามาชี้แจงพร้อมเอกสารอีกครั้งในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจเรื่องความผิดทางกฎหมาย ล่าสุด ทางสำนักกฎหมายของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่า มี พ.ร.บ.ฉบับใด ที่อาจทำให้กระทรวงถูกบริษัท ทีแอลเอ็ม ฟ้องกลับได้บ้าง หากต้องตัดสินใจขายหุ้นในบริษัทดังกล่าวออกไป โดยข้อมูลที่ได้ จะนำมาประกอบการพิจารณาทั้งหมด ส่วนจะต้องนำเรื่องเข้าหารือในคณะกรรมการบริหาร ททท.(บอร์ด) ใหม่หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณากันอีกครั้งก่อนตัดสินใจ ซึ่งเรื่องนี้ต้องทำอย่างรอบคอบ เนื่องจาก เราเป็นหน่วยงานราชการ ใช้เงินงบประมาณจากภาษีของประชาชน การตัดสินใจ จะอยู่บนพื้นฐานที่รัฐต้องเสียหายน้อยที่สุด
****ยังไม่ให้บอร์ดลาออก***
ทางด้าน นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ในส่วนของ ททท.ยังไม่ได้พิจารณาเอกสารเรื่องการลาออกของตัวแทน ททท.3 คน ที่เข้าไปร่วมเป็นบอร์ดของบริษัท ทีแอลเอ็ม เนื่องจากต้องรอให้ ครม.มีมติอนุมัติให้ ททท.ขายหุ้นใน บริษัท ทีแอลเอ็ม ออกไปเสียก่อน เพราะตราบใดที่บริษัทยังดำเนินการต่อ โดยมี ททท.เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วยนั้น จำต้องมีเจ้าหน้าที่ของ ททท.เข้าไปร่วมบริหารอยู่ด้วย ดังนั้น คงต้องรอให้ ครม.เป็นผู้ชี้ขาดทั้งหมด
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯจะนำเรื่อง การจำหน่ายหุ้น บริษัท ไทยจัดการลองสเตย์ จำกัด (ทีแอลเอ็ม) กลับมาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้นำเรื่องดังกล่าวกลับมาหารือเพิ่มเติม โดยหน่วยงานที่จะหารือร่วม คือ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และกฤษฎีกา จุดประสงค์ เพื่อหาข้อมูลในทุกด้านทั้งผลดีและผลเสีย ของการลงทุนในธุรกิจดังกล่าว รวมถึงความเหมาะสม และการแข่งขันของประเทศ ด้วย เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาว่าจะให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขายหรือไม่ขายหุ้นในทีแอลเอ็ม
ทางด้าน ร.ท.สุวิทย์ ยอมมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ที่ ครม.ให้นำเรื่องการขายหุ้นบริษัท ทีแอลเอ็ม กลับมาศึกษาใหม่ เพราะเห็นว่า ต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณา พิจารณาถึงผลดี-ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการพิจารณาครั้งใหม่ อาจเป็นของรัฐบาลชุดใหม่ก็ตาม คงไม่มีผลอะไร เพราะแม้จะรีบร้อนพิจารณาในรัฐบาลชุดนี้ เมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามาก็สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่นกัน เราต้องศึกษาเยอะ ถึงผลดี-ผลเสียในการขายหุ้นในบริษัทดังกล่าว ต้องใช้ความรอบคอบ ดังนั้น คงต้องให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว
***อ้างเร็วหรือช้าไม่แตกต่าง***
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า การศึกษาของกระทรวงการท่องเที่ยวเบื้องต้น เห็นว่า ถ้า ททท.ตัดสินใจขายหุ้นในบริษัททีแอลเอ็ม รัฐบาลก็ต้องสูญเสียรายได้ เพราะได้ลงทุนไปในบริษัทดังกล่าว 30 ล้านบาท เพื่อถือหุ้นจำนวน 30% หากตัดสินใจขายในตอนนี้ ซึ่งจากผลประกอบการของบริษัทที่ขาดทุนมาตลอด 4-5 ปี ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าหุ้นลดลงไปกว่า 10 เท่าตัว หากขายก็จะได้เงินกลับมาเพียง 3 แสนบาท
ทั้งนี้ จากแผนธุรกิจฉบับใหม่ ของ ทีแอลเอ็ม ที่ระบุว่า บริษัทได้ปรับลดขนาดของบริษัท และ มีแผนบุกตลาดที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยคาดว่า ประมาณ 3 ปี หรือในปี 2553 บริษัทก็สามารถล้างขาดทุนสะสมได้หมด และทยอยคืนเงินให้แก่ผู้ถือหุ้นได้นั้น จึงมองว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ททท.ก็น่าจะรอไปอีก 1-2 ปี เพื่อให้เวลาแก้บริษัท ทีแอลเอ็ม ได้ดำเนินการตามแผน ซึ่งความเสียหายก็คงไม่ต่างจากปัจจุบันนี้มากนัก ซึ่งทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะเรียก บริษัท ทีแอลเอ็ม เข้ามาชี้แจงพร้อมเอกสารอีกครั้งในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจเรื่องความผิดทางกฎหมาย ล่าสุด ทางสำนักกฎหมายของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่า มี พ.ร.บ.ฉบับใด ที่อาจทำให้กระทรวงถูกบริษัท ทีแอลเอ็ม ฟ้องกลับได้บ้าง หากต้องตัดสินใจขายหุ้นในบริษัทดังกล่าวออกไป โดยข้อมูลที่ได้ จะนำมาประกอบการพิจารณาทั้งหมด ส่วนจะต้องนำเรื่องเข้าหารือในคณะกรรมการบริหาร ททท.(บอร์ด) ใหม่หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณากันอีกครั้งก่อนตัดสินใจ ซึ่งเรื่องนี้ต้องทำอย่างรอบคอบ เนื่องจาก เราเป็นหน่วยงานราชการ ใช้เงินงบประมาณจากภาษีของประชาชน การตัดสินใจ จะอยู่บนพื้นฐานที่รัฐต้องเสียหายน้อยที่สุด
****ยังไม่ให้บอร์ดลาออก***
ทางด้าน นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ในส่วนของ ททท.ยังไม่ได้พิจารณาเอกสารเรื่องการลาออกของตัวแทน ททท.3 คน ที่เข้าไปร่วมเป็นบอร์ดของบริษัท ทีแอลเอ็ม เนื่องจากต้องรอให้ ครม.มีมติอนุมัติให้ ททท.ขายหุ้นใน บริษัท ทีแอลเอ็ม ออกไปเสียก่อน เพราะตราบใดที่บริษัทยังดำเนินการต่อ โดยมี ททท.เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วยนั้น จำต้องมีเจ้าหน้าที่ของ ททท.เข้าไปร่วมบริหารอยู่ด้วย ดังนั้น คงต้องรอให้ ครม.เป็นผู้ชี้ขาดทั้งหมด