ผู้จัดการรายวัน - วงจรค้าข้าวพังพาบ หลัง “สมัคร” พ้นเก้าอี้ เหตุไร้คนดูแล เพราะเดิมถูกดึงไปดูแลเองทั้งหมด คาดปัญหาเกิดขึ้นเพียบแน่ ทั้งข้าวค้างสต๊อกเก่า 3.6 ล้านตันที่ยังระบายไม่ออก และข้าวใหม่ที่จะทะลักเข้ามาอีก จากการตั้งราคาจำนำสูง คาดฉุดราคาวูบแน่ หากสต๊อกรัฐเพิ่มไม่ยั้ง ผู้ส่งออกเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ทบทวนราคารับจำนำ พร้อมโยกงานดูแลข้าวคืนพาณิชย์
รายงานข่าวจากวงการค้าข้าว เปิดเผยว่า จากการที่นายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้การบริหารงานข้าวมีปัญหาอย่างหนัก และมีโอกาสเกิดภาวะข้าวล้นสต๊อกจนกระทบให้ราคาข้าวในประเทศ เพราะขณะนี้อำนาจการบริหารข้าวทั้งหมด เป็นของนายสมัคร ภายใต้อำนาจประธานคณะกรรมการบริหารข้าวแบบครบวงจร ดังนั้น เมื่อนายกฯ พ้นตำแหน่ง ทำให้การบริหารข้าวต้องหยุดชะงักตาม รวมถึงการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาล จะมีปัญหาไม่ทันการเปิดรับจำนำข้าวนาปีกลางเดือน ต.ค.นี้
ทั้งนี้ เดิมทีรัฐบาลมีแผนระบายข้าว 2.1 ล้านตันให้หมดโดยเร็ว ผ่านการขายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) เพื่อเคลียร์สต็อกเก่า รอรับข้าวนาปีที่จะเข้ามาใหม่อีก 8 ล้านตันข้าวเปลือก แต่ถึงขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีความคืบหน้าการขายข้าวออกไป เพียงแต่ล่าสุด นายไชยา สะสมทรัพย์ แจ้งว่าคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ข้าวจากต่างชาติ มีเลขานุการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลอยู่ จึงน่าเป็นห่วงว่าเมื่อนายสมัครไม่อยู่ เลขานุการจะมีอำนาจในการประสานงานขายออเดอร์ข้าวต่อหรือไม่
ปัจจุบัน สต็อกข้าวรัฐบาลมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาเป็น 3.6 ล้านตัน แยกเป็นข้าวสต็อกเก่า 2.1 ล้านตัน และข้าวที่รัฐบาลเพิ่งเปิดรับจำนำนาปรังอีก 1.5 ล้านตัน ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีการเปิดระบายข้าว จนถึงช่วงรับจำนำนาปีออกในกลางเดือน ต.ค. นี้ จะทำให้มีข้าวเปลือกไหลทะลักเข้าสต๊อกอีก 8 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเป็นข้าวที่สีแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ล้านตันได้ ทำให้สต๊อกรัฐบาลพุ่งสูงขึ้นไปถึง 7.5 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นปริมาณที่สูงมาก และอาจเป็นจุดเปลี่ยนทำให้ราคาข้าวตกต่ำลงได้
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวไทย กล่าวว่า จะเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ารับตำแหน่ง ทบทวนโครงการเปิดรับจำนำข้าวนาปีปีการผลิต 2551/52 ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดนายสมัคร อนุมัติตั้งราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 14,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ 16,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียว 10,000 บาท เพราะถือเป็นราคาที่สูงเกินความจริง และจะทำให้วงจรข้าวของประเทศเสียหายทั้งระบบ ผู้สงออกไม่สามารถส่งออกข้าวได้ ขณะที่รัฐบาลต้องเสียงบประมาณนับแสนล้านบาท เป็นการใช้จ่ายที่สูงเกินจริง
ราคารับจำนำนี้สูงมาก โดยเฉพาะข้าวขาว เพราะที่จริงรับจำนำ 12,000 บาท ก็สูงมากแล้ว เพราะต้นทุนจริงแค่ 6,000-7,000 บาทเท่านั้น และเมื่อเปิดโครงการจะมีชาวนาแห่จำนำไม่ต่ำกว่า 5-6 ล้านตันข้าวเปลือก ทำให้รัฐจะมีปัญหาข้าวล้นสต็อกแน่นอน เพราะตอนนี้ก็มากอยู่แล้วถึง 3.6 ล้านตัน แถมจะมีทั้งข้าวใหม่ที่จะเข้ามาจากนาปีอีกมหาศาล ขณะเดียวกันจะการระบายก็ทำไม่ได้ เพราะเอกชนไม่มีใครซื้อ สู้ราคาไม่ไหว กลายเป็นภาระให้รัฐต้องเสียเงินฟรีเพื่อรักษาสภาพข้าวอีก
“การระบายข้าว ก็ไม่มีความชัดเจน ไม่รู้ว่าทีมขายข้าวจะขายต่อไปได้หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เป็นทีมของอดีตนายกรัฐมนตรีเกือบทั้งหมด ดังนั้น การแก้ไขปัญหา ควรจะดึงงานบริหารจัดการข้าวกลับเข้าสู่ระบบ และให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลเหมือนเดิม เพราะมีความชำนาญ หากการเมืองเปลี่ยนแปลงก็ไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน”นายชูเกียรติกล่าว
รายงานข่าวจากวงการค้าข้าว เปิดเผยว่า จากการที่นายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้การบริหารงานข้าวมีปัญหาอย่างหนัก และมีโอกาสเกิดภาวะข้าวล้นสต๊อกจนกระทบให้ราคาข้าวในประเทศ เพราะขณะนี้อำนาจการบริหารข้าวทั้งหมด เป็นของนายสมัคร ภายใต้อำนาจประธานคณะกรรมการบริหารข้าวแบบครบวงจร ดังนั้น เมื่อนายกฯ พ้นตำแหน่ง ทำให้การบริหารข้าวต้องหยุดชะงักตาม รวมถึงการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาล จะมีปัญหาไม่ทันการเปิดรับจำนำข้าวนาปีกลางเดือน ต.ค.นี้
ทั้งนี้ เดิมทีรัฐบาลมีแผนระบายข้าว 2.1 ล้านตันให้หมดโดยเร็ว ผ่านการขายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) เพื่อเคลียร์สต็อกเก่า รอรับข้าวนาปีที่จะเข้ามาใหม่อีก 8 ล้านตันข้าวเปลือก แต่ถึงขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีความคืบหน้าการขายข้าวออกไป เพียงแต่ล่าสุด นายไชยา สะสมทรัพย์ แจ้งว่าคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ข้าวจากต่างชาติ มีเลขานุการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลอยู่ จึงน่าเป็นห่วงว่าเมื่อนายสมัครไม่อยู่ เลขานุการจะมีอำนาจในการประสานงานขายออเดอร์ข้าวต่อหรือไม่
ปัจจุบัน สต็อกข้าวรัฐบาลมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาเป็น 3.6 ล้านตัน แยกเป็นข้าวสต็อกเก่า 2.1 ล้านตัน และข้าวที่รัฐบาลเพิ่งเปิดรับจำนำนาปรังอีก 1.5 ล้านตัน ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีการเปิดระบายข้าว จนถึงช่วงรับจำนำนาปีออกในกลางเดือน ต.ค. นี้ จะทำให้มีข้าวเปลือกไหลทะลักเข้าสต๊อกอีก 8 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเป็นข้าวที่สีแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ล้านตันได้ ทำให้สต๊อกรัฐบาลพุ่งสูงขึ้นไปถึง 7.5 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นปริมาณที่สูงมาก และอาจเป็นจุดเปลี่ยนทำให้ราคาข้าวตกต่ำลงได้
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวไทย กล่าวว่า จะเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ารับตำแหน่ง ทบทวนโครงการเปิดรับจำนำข้าวนาปีปีการผลิต 2551/52 ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดนายสมัคร อนุมัติตั้งราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 14,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ 16,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียว 10,000 บาท เพราะถือเป็นราคาที่สูงเกินความจริง และจะทำให้วงจรข้าวของประเทศเสียหายทั้งระบบ ผู้สงออกไม่สามารถส่งออกข้าวได้ ขณะที่รัฐบาลต้องเสียงบประมาณนับแสนล้านบาท เป็นการใช้จ่ายที่สูงเกินจริง
ราคารับจำนำนี้สูงมาก โดยเฉพาะข้าวขาว เพราะที่จริงรับจำนำ 12,000 บาท ก็สูงมากแล้ว เพราะต้นทุนจริงแค่ 6,000-7,000 บาทเท่านั้น และเมื่อเปิดโครงการจะมีชาวนาแห่จำนำไม่ต่ำกว่า 5-6 ล้านตันข้าวเปลือก ทำให้รัฐจะมีปัญหาข้าวล้นสต็อกแน่นอน เพราะตอนนี้ก็มากอยู่แล้วถึง 3.6 ล้านตัน แถมจะมีทั้งข้าวใหม่ที่จะเข้ามาจากนาปีอีกมหาศาล ขณะเดียวกันจะการระบายก็ทำไม่ได้ เพราะเอกชนไม่มีใครซื้อ สู้ราคาไม่ไหว กลายเป็นภาระให้รัฐต้องเสียเงินฟรีเพื่อรักษาสภาพข้าวอีก
“การระบายข้าว ก็ไม่มีความชัดเจน ไม่รู้ว่าทีมขายข้าวจะขายต่อไปได้หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เป็นทีมของอดีตนายกรัฐมนตรีเกือบทั้งหมด ดังนั้น การแก้ไขปัญหา ควรจะดึงงานบริหารจัดการข้าวกลับเข้าสู่ระบบ และให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลเหมือนเดิม เพราะมีความชำนาญ หากการเมืองเปลี่ยนแปลงก็ไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน”นายชูเกียรติกล่าว