"นักวิชาการ" หนุนยุบสภาผ่าทางตัน เสนอตั้ง "รัฐบาลแห่งชาติ" ร่วมแก้ไขวิกฤติ จี้นักการเมืองรุ่นใหม่รวมพลังไล่ ส.ส.น้ำเน่าตกเวที สภาที่ปรึกษาฯแนะไม่ควรเสนอชื่อ “สมัคร” เป็นนายกรัฐมนตรีสวนกระแสต้าน ด้าน "เสกสรรค์" ชี้ผู้นำดีต้องเสียสละ เพื่อความสงบสุขส่วนรวม
ศ.ดรวิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) เปิดเผยว่า การเมืองในขณะนี้ เป็นช่วงที่หาทางออกลำบาก จึงอยากเสนอให้มีการยุบสภา จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะหากการเสนอชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี มีผลและมีการยื้อกันให้นายสมัคร เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ประชาชนก็จะแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายหนักขึ้น มีทั้งประชาชนที่พอใจและไม่พอใจ บ้านเมืองจะเลวร้ายเข้าไปอีก
“อยากให้พรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค ตัดสินใจยุบสภา ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้ ควรจะปิดบัญชีความขัดแย้งลงให้เร็วที่สุด เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้”
ทางด้าน รศ.ดร.เทพ พงษ์พานิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า การประชุมสภาเพื่อโหวตนายกฯ คนใหม่ แทนนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินชี้ขาดคุณสมบัติ ที่ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เพราะจำนวน ส.ส.ไม่ครบองค์ประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ส.พรรคพลังประชาชนที่มาร่วมเพียงเล็กน้อย เพราะสวนทางกับมติพรรคที่มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ว่าจะเสนอให้นายสมัคร กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง
สิ่งดังกล่าวแสดงให้เห็นแล้วว่า เกิดจากการแบ่งผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว และที่สำคัญส.ส.กลุ่มที่บอยคอตไม่เข้าร่วมประชุมเห็นว่านายสมัคร ไม่เหมาะที่จะกลับมาเป็นผู้นำประเทศอีกครั้ง และหากนายสมัคร กลับมาจริงๆ ปัญหาก็จะไม่จบ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะต้องออกมาเคลื่อนไหวทำให้สถานการณ์ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอีก
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระบุว่า อยากเสนอให้มีการตั้งรัฐบาลพิเศษขึ้นมาแก้ไขวิกฤตทางการเมืองที่เป็นอยู่ โดยให้สรรหานายกฯ จากคนนอกเข้ามาเป็นผู้นำประเทศ อาจจะเป็นนักวิชาการ นักการเมืองอาวุโสที่เป็นที่ยอมรับในอดีต หรืออาจจะเป็นอธิการบดี ให้เข้ามาบริหารประเทศชั่วคราว ส่วนคณะรัฐมนตรีก็อยากเสนอให้จัดสรรเป็นคนนอกและพรรคร่วมรัฐบาลอย่างละครึ่ง เป็นการลดความตึงเครียดทางการเมือง และร่วมกันแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้น
"ผมเห็นว่าองค์กรการศึกษา สถาบันการศึกษา ยังเป็นองค์กรที่บริสุทธิ์ และประชาชนให้ความเชื่อถือ รวมทั้งเคารพมากที่สุด และอธิการบดีหลายสถาบันการศึกษาในประเทศไทยมีศักยภาพมากพอในการบริหารประเทศและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองที่เป็นอยู่ได้ และ ยังเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งประเทศ ทั้ง ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์" รศ.ดร.เทพ กล่าว
สป.แนะไม่ควรเสนอชื่อ“สมัคร”
ทางด้านสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) แถลงเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาวิกฤติชาติ (ฉบับที่ 2) ดังนี้ 1. พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลไม่ควรเสนอชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป เพราะจะเป็นการสวนทางกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งอาจทำให้ความขัดแย้งขยายตัวและลุกลามต่อไปอย่างกว้างขวาง หากจะมีการเสนอชื่อนายสมัคร ในสภาฯ ก็ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละคนลงคะแนนเสียงตามมโนธรรมสำนึก เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้เปิดกว้างให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติของพรรคการเมืองได้
2.หลังจากได้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ขอให้นายกรัฐมนตรีเลือกสรรผู้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยคำนึงถึงความสามารถและคุณธรรม ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ 3.คณะรัฐมนตรีควรยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครโดยทันที
4.ขอให้กลุ่มต่างๆ ที่ขัดแย้งกันในขณะนี้ ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในแนวทางสร้างสรรค์และไม่ผิดกฎหมาย เพื่อมิให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น 5.ขอให้สภาฯ พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองจากบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม ประกอบด้วย บุคคลจากภาคการเมือง ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม โดยดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จภายในระยะเวลา 1-2 ปี
"เสกสรรค์" ชี้ผู้นำดีต้องเสียสละ
นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวในการปาฐกถาพุทธธรรม นำไทยพ้นวิกฤต ว่า ผู้นำทางการเมืองที่จะนำประเทศชาติและประชาชนไปสู่ความสงบสุขได้จะต้องเป็นผู้นำที่ยอมเสียสละตนเองเพื่อรักษาความสงบสุขให้กับสังคมโดยรวม ซึ่งผู้นำทางการเมืองไม่ได้หมายความถึงผู้ที่มีอำนาจเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงผู้ที่ต่อต้านอำนาจด้วย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียสละเพื่อให้สังคมหรือประเทศชาติสงบสุขก็ถือเป็นผู้ชนะได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีอำนาจ ในขณะเดียวกันหากผู้ที่มีอำนาจอยู่ในมือไม่สามารถปกครองให้เกิดความปรองดองได้ ควรเปลี่ยนผู้นำจนกว่าสังคมจะเกิดการยอมรับอย่างแท้จริงและจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงด้วยการใช้ความรุนแรง
นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่า สถานการณ์แบบนี้ต้องใช้ระบบของสภาแก้ปัญหาไปก่อน ประชาชนสื่อสารให้ ส.ส.เห็นแล้วว่า ทิศทางของประเทศไทยควรมีนายกรัฐมนตรีที่มีความสามารถแก้ปัญหาวิกฤติ สามารถเจรจา มีคุณธรรม จริยธรรม และไม่เคยต้องคดีคำพิพากษา ทำให้มีความชอบธรรมแก้ปัญหาบ้านเมืองสูง เป็นความหวังของประชาชน ต้องให้ความหวังนี้สะท้อนผ่านยังสภาฯ
“หากหานายกรัฐมนตรีใหม่ไม่ได้ แล้วเลือกท่านเก่ากลับมาจะทำให้ปัญหาเกิดความรุนแรงมากขึ้น และวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสภาส่วนหนึ่ง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือเป็นการเปิดทิศทาง และชะตากรรมประเทศ ขึ้นอยู่กับ ส.ส.เป็นหลัก หากนายกฯ ท่านเก่ากลับมา มีความสามารถเจรจาถือเป็นเรื่องดี แต่ถ้าไม่ดีก็ทำให้สถานการณ์ลุกลาม ในที่สุดทำให้เกิดการปฏิวัติทางการเมืองอีก เราอยากให้เป็นไปด้วยวิธีการสงบ ทั้งเรื่องการยุบสภาหรือวิธีอื่นๆ“นายปณิธาน กล่าว
ส่วนกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลไม่เข้าโหวตนายกรัฐมนตรี พรรคพลังประชาชนจำเป็นต้องทบทวนมติพรรคหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า คงพิจารณาตั้งแต่เมื่อคืนแล้วว่า กระแสต่อต้านที่จะให้นายสมัคร เข้ามาเป็นนายกฯอีกค่อนข้างสูง ประชาชนหลายกลุ่ม สถาบันการศึกษา แสดงจุดยืนค่อนข้างชัดเจน หากจะรักษาเสถียรภาพในสภาอย่างเดียว ไม่ตอบรับวิกฤติการณ์นอกสภา สถานการณ์ค่อนข้างวิกฤตมากขึ้น
ในประเด็นความเป็นไปได้การตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือยุบสภานั้น นายปณิธาน กล่าวว่า การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ต้องศึกษาเรื่องกฎหมาย รวมถึงวัฒนธรรมทางการเมืองไทย ทั้งการทำงานของฝ่ายค้านและการทำงานของรัฐบาลร่วมกัน แม้เกิดวิกฤติแนวทางที่คุ้นเคยกัน คือ การยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน แต่ตรงนี้ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ทั้งหลักเกณฑ์ความเหมาะสม งบประมาณ ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับสภา ขณะนี้เรามอบให้สภาแก้ปัญหาในวิกฤติการณ์ทางการเมือง
สำหรับสถานการณ์ขณะนี้จะผลักดันให้ทหารออกมาหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า ต้องระมัดระวัง เพราะทิศทางกองทัพมีความชัดเจนขึ้น กองทัพต้องการเห็นความปรองดองความสงบ จุดยืนกองทัพชัดเจนว่า กลไกรัฐสภาไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ อาจต้องคิดถึงรัฐบาลแห่งชาติ อย่างที่ ผบ.ทบ. พูดไว้มิเช่นนั้นอาจจะเกิดการเผชิญหน้า ซึ่งการตั้งรัฐบาลแห่งชาติไม่ใช่เรื่องง่าย ที่กองทัพจะออกมาแทรกแซงการเมืองโดยตรง
ปลุกนักการเมืองรุ่นใหม่ไล่น้ำเน่า
ผศ.ปกรณ์ ปรียากร คณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า การที่สภาไม่สามารถประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้ สะท้อนให้เห็นถึงความชัดเจนว่า หมดเวลาของนาย สมัคร สุนทรเวช เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาล และ ส.ส.ของพรรคพลังประชาชนไม่ต้องการเป็นเครื่องมือที่ผลักดันให้นายสมัคร ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เนื่องจากไม่ต้องการให้ เกิดการเผชิญหน้า สร้างความขัดแย้งในสังคมให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเราจะเห็นได้ว่าในครั้งนี้มีนักการเมืองรุ่นใหม่ที่ออกมาแสดงบทบาททางการเมืองที่สร้างสรรค์มากขึ้น เช่น นาย สมชาย เทพประเสริฐ และนาย ประชา ประสบดี พรรคพลังประชาชน
ทั้งนี้ จึงอยากให้ ส.ส.รุ่นใหม่ ไม่ว่าจะสังกัดพรรคการเมืองใดก็ตาม ร่วมกันออกมาแสดงจุดยืน ต่อสู้กับกลุ่ม ส.ส.เก่าที่อยู่มาหลายสมัยที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ กดดันให้ยุติบทบาททางการเมือง เพื่อยกภาพลักษณ์ของ ส.ส.ให้ดีขึ้น หลังจากที่ผ่านมาภาพลักษณ์ของ ส.ส.ที่เป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ในสภา ถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนที่ต้องการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่
คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวด้วยว่า ส่วนทางออกของการเมืองในสถานการณ์นี้ อยากให้ ส.ส.สำนึกถึงการเป็นตัวแทนของประชาชนในการทำหน้าที่เข้ามาบริหารประเทศ โดยขอให้ ส.ส.ทุกคน หันหน้าเจรจาร่วมกันไม่ว่าจะสังกัดพรรคใด เพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยไม่หวังผลทางการเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาของการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทั้งนี้ จึงอยากเสนอให้ทุกพรรคการเมืองร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลเพื่อเข้ามาทำงานแก้ไขปัญหาที่เป็นบ่อเกิดวิกฤติการเมืองในขณะนี้ ทั้งรัฐธรรมนูญ และการเจรจากับฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อยุติปัญหาโดยเร็ว
ม.บูรพา อัดพวกเห็นประโยชน์ไม่ลงตัว
นายโอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี ให้ความเห็นกรณีการประชุมสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ว่า ปัญหาหลักๆ นั้น เนื่องจากการต่อรองเรื่องของผลประโยชน์ที่จะได้รับจากกลุ่ม ส.ส.ต่างๆ ไม่ลงตัวจึงต้องเลื่อนออกไปถึงสัปดาห์หน้า เพื่อให้มีเวลาในการต่อรองถึงผลประโยชน์ เพราะที่ผ่านมาการสรรหาตัวนายกรัฐมนตรีมีเวลารวดเร็วเกินไป ทำให้ ส.ส.ยังไม่ได้วางรูปแบบของผลประโยชน์ ดังนั้น เมื่อผลประโยชน์ยังไม่ลงตัว การเจรจาอะไรต่างๆ จึงไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงจำเป็นต้องเลื่อนออกไปก่อน
นายโอฬาร กล่าวต่อว่า ปัจจุบันนี้การทำงานของ ส.ส.ซึ่งไม่ได้มองถึงความชอบธรรมหรือความถูกต้องเท่าที่ควร โดยมองถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจในเกมการเมืองเท่านั้น ทำให้ ส.ส.ขาดคุณธรรมและจริยธรรมในการเป็นตัวแทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้งมา ที่สำคัญ ส.ส.มีการประกาศว่า ยึดมั่นในระบบประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงเป็นประชาธิปไตยจอมปลอมเท่านั้น
ปัญหาที่เกิดขึ้น สร้างความเจ็บปวดต่อประชาชน และสังคมที่มีผู้บริหารประเทศเช่นนี้ แล้วในอนาคตสังคมจะเดินไปในทิศทางใด ดังนั้นหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ให้มีการเมืองรูปแบบใหม่ ประเทศชาติคงจะเสียหายไปมากกว่านี้อย่างแน่นอน
ศ.ดรวิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) เปิดเผยว่า การเมืองในขณะนี้ เป็นช่วงที่หาทางออกลำบาก จึงอยากเสนอให้มีการยุบสภา จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะหากการเสนอชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี มีผลและมีการยื้อกันให้นายสมัคร เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ประชาชนก็จะแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายหนักขึ้น มีทั้งประชาชนที่พอใจและไม่พอใจ บ้านเมืองจะเลวร้ายเข้าไปอีก
“อยากให้พรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค ตัดสินใจยุบสภา ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้ ควรจะปิดบัญชีความขัดแย้งลงให้เร็วที่สุด เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้”
ทางด้าน รศ.ดร.เทพ พงษ์พานิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า การประชุมสภาเพื่อโหวตนายกฯ คนใหม่ แทนนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินชี้ขาดคุณสมบัติ ที่ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เพราะจำนวน ส.ส.ไม่ครบองค์ประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ส.พรรคพลังประชาชนที่มาร่วมเพียงเล็กน้อย เพราะสวนทางกับมติพรรคที่มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ว่าจะเสนอให้นายสมัคร กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง
สิ่งดังกล่าวแสดงให้เห็นแล้วว่า เกิดจากการแบ่งผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว และที่สำคัญส.ส.กลุ่มที่บอยคอตไม่เข้าร่วมประชุมเห็นว่านายสมัคร ไม่เหมาะที่จะกลับมาเป็นผู้นำประเทศอีกครั้ง และหากนายสมัคร กลับมาจริงๆ ปัญหาก็จะไม่จบ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะต้องออกมาเคลื่อนไหวทำให้สถานการณ์ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอีก
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระบุว่า อยากเสนอให้มีการตั้งรัฐบาลพิเศษขึ้นมาแก้ไขวิกฤตทางการเมืองที่เป็นอยู่ โดยให้สรรหานายกฯ จากคนนอกเข้ามาเป็นผู้นำประเทศ อาจจะเป็นนักวิชาการ นักการเมืองอาวุโสที่เป็นที่ยอมรับในอดีต หรืออาจจะเป็นอธิการบดี ให้เข้ามาบริหารประเทศชั่วคราว ส่วนคณะรัฐมนตรีก็อยากเสนอให้จัดสรรเป็นคนนอกและพรรคร่วมรัฐบาลอย่างละครึ่ง เป็นการลดความตึงเครียดทางการเมือง และร่วมกันแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้น
"ผมเห็นว่าองค์กรการศึกษา สถาบันการศึกษา ยังเป็นองค์กรที่บริสุทธิ์ และประชาชนให้ความเชื่อถือ รวมทั้งเคารพมากที่สุด และอธิการบดีหลายสถาบันการศึกษาในประเทศไทยมีศักยภาพมากพอในการบริหารประเทศและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองที่เป็นอยู่ได้ และ ยังเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งประเทศ ทั้ง ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์" รศ.ดร.เทพ กล่าว
สป.แนะไม่ควรเสนอชื่อ“สมัคร”
ทางด้านสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) แถลงเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาวิกฤติชาติ (ฉบับที่ 2) ดังนี้ 1. พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลไม่ควรเสนอชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป เพราะจะเป็นการสวนทางกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งอาจทำให้ความขัดแย้งขยายตัวและลุกลามต่อไปอย่างกว้างขวาง หากจะมีการเสนอชื่อนายสมัคร ในสภาฯ ก็ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละคนลงคะแนนเสียงตามมโนธรรมสำนึก เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้เปิดกว้างให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติของพรรคการเมืองได้
2.หลังจากได้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ขอให้นายกรัฐมนตรีเลือกสรรผู้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยคำนึงถึงความสามารถและคุณธรรม ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ 3.คณะรัฐมนตรีควรยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครโดยทันที
4.ขอให้กลุ่มต่างๆ ที่ขัดแย้งกันในขณะนี้ ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในแนวทางสร้างสรรค์และไม่ผิดกฎหมาย เพื่อมิให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น 5.ขอให้สภาฯ พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองจากบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม ประกอบด้วย บุคคลจากภาคการเมือง ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม โดยดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จภายในระยะเวลา 1-2 ปี
"เสกสรรค์" ชี้ผู้นำดีต้องเสียสละ
นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวในการปาฐกถาพุทธธรรม นำไทยพ้นวิกฤต ว่า ผู้นำทางการเมืองที่จะนำประเทศชาติและประชาชนไปสู่ความสงบสุขได้จะต้องเป็นผู้นำที่ยอมเสียสละตนเองเพื่อรักษาความสงบสุขให้กับสังคมโดยรวม ซึ่งผู้นำทางการเมืองไม่ได้หมายความถึงผู้ที่มีอำนาจเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงผู้ที่ต่อต้านอำนาจด้วย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียสละเพื่อให้สังคมหรือประเทศชาติสงบสุขก็ถือเป็นผู้ชนะได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีอำนาจ ในขณะเดียวกันหากผู้ที่มีอำนาจอยู่ในมือไม่สามารถปกครองให้เกิดความปรองดองได้ ควรเปลี่ยนผู้นำจนกว่าสังคมจะเกิดการยอมรับอย่างแท้จริงและจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงด้วยการใช้ความรุนแรง
นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่า สถานการณ์แบบนี้ต้องใช้ระบบของสภาแก้ปัญหาไปก่อน ประชาชนสื่อสารให้ ส.ส.เห็นแล้วว่า ทิศทางของประเทศไทยควรมีนายกรัฐมนตรีที่มีความสามารถแก้ปัญหาวิกฤติ สามารถเจรจา มีคุณธรรม จริยธรรม และไม่เคยต้องคดีคำพิพากษา ทำให้มีความชอบธรรมแก้ปัญหาบ้านเมืองสูง เป็นความหวังของประชาชน ต้องให้ความหวังนี้สะท้อนผ่านยังสภาฯ
“หากหานายกรัฐมนตรีใหม่ไม่ได้ แล้วเลือกท่านเก่ากลับมาจะทำให้ปัญหาเกิดความรุนแรงมากขึ้น และวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสภาส่วนหนึ่ง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือเป็นการเปิดทิศทาง และชะตากรรมประเทศ ขึ้นอยู่กับ ส.ส.เป็นหลัก หากนายกฯ ท่านเก่ากลับมา มีความสามารถเจรจาถือเป็นเรื่องดี แต่ถ้าไม่ดีก็ทำให้สถานการณ์ลุกลาม ในที่สุดทำให้เกิดการปฏิวัติทางการเมืองอีก เราอยากให้เป็นไปด้วยวิธีการสงบ ทั้งเรื่องการยุบสภาหรือวิธีอื่นๆ“นายปณิธาน กล่าว
ส่วนกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลไม่เข้าโหวตนายกรัฐมนตรี พรรคพลังประชาชนจำเป็นต้องทบทวนมติพรรคหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า คงพิจารณาตั้งแต่เมื่อคืนแล้วว่า กระแสต่อต้านที่จะให้นายสมัคร เข้ามาเป็นนายกฯอีกค่อนข้างสูง ประชาชนหลายกลุ่ม สถาบันการศึกษา แสดงจุดยืนค่อนข้างชัดเจน หากจะรักษาเสถียรภาพในสภาอย่างเดียว ไม่ตอบรับวิกฤติการณ์นอกสภา สถานการณ์ค่อนข้างวิกฤตมากขึ้น
ในประเด็นความเป็นไปได้การตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือยุบสภานั้น นายปณิธาน กล่าวว่า การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ต้องศึกษาเรื่องกฎหมาย รวมถึงวัฒนธรรมทางการเมืองไทย ทั้งการทำงานของฝ่ายค้านและการทำงานของรัฐบาลร่วมกัน แม้เกิดวิกฤติแนวทางที่คุ้นเคยกัน คือ การยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน แต่ตรงนี้ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ทั้งหลักเกณฑ์ความเหมาะสม งบประมาณ ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับสภา ขณะนี้เรามอบให้สภาแก้ปัญหาในวิกฤติการณ์ทางการเมือง
สำหรับสถานการณ์ขณะนี้จะผลักดันให้ทหารออกมาหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า ต้องระมัดระวัง เพราะทิศทางกองทัพมีความชัดเจนขึ้น กองทัพต้องการเห็นความปรองดองความสงบ จุดยืนกองทัพชัดเจนว่า กลไกรัฐสภาไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ อาจต้องคิดถึงรัฐบาลแห่งชาติ อย่างที่ ผบ.ทบ. พูดไว้มิเช่นนั้นอาจจะเกิดการเผชิญหน้า ซึ่งการตั้งรัฐบาลแห่งชาติไม่ใช่เรื่องง่าย ที่กองทัพจะออกมาแทรกแซงการเมืองโดยตรง
ปลุกนักการเมืองรุ่นใหม่ไล่น้ำเน่า
ผศ.ปกรณ์ ปรียากร คณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า การที่สภาไม่สามารถประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้ สะท้อนให้เห็นถึงความชัดเจนว่า หมดเวลาของนาย สมัคร สุนทรเวช เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาล และ ส.ส.ของพรรคพลังประชาชนไม่ต้องการเป็นเครื่องมือที่ผลักดันให้นายสมัคร ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เนื่องจากไม่ต้องการให้ เกิดการเผชิญหน้า สร้างความขัดแย้งในสังคมให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเราจะเห็นได้ว่าในครั้งนี้มีนักการเมืองรุ่นใหม่ที่ออกมาแสดงบทบาททางการเมืองที่สร้างสรรค์มากขึ้น เช่น นาย สมชาย เทพประเสริฐ และนาย ประชา ประสบดี พรรคพลังประชาชน
ทั้งนี้ จึงอยากให้ ส.ส.รุ่นใหม่ ไม่ว่าจะสังกัดพรรคการเมืองใดก็ตาม ร่วมกันออกมาแสดงจุดยืน ต่อสู้กับกลุ่ม ส.ส.เก่าที่อยู่มาหลายสมัยที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ กดดันให้ยุติบทบาททางการเมือง เพื่อยกภาพลักษณ์ของ ส.ส.ให้ดีขึ้น หลังจากที่ผ่านมาภาพลักษณ์ของ ส.ส.ที่เป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ในสภา ถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนที่ต้องการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่
คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวด้วยว่า ส่วนทางออกของการเมืองในสถานการณ์นี้ อยากให้ ส.ส.สำนึกถึงการเป็นตัวแทนของประชาชนในการทำหน้าที่เข้ามาบริหารประเทศ โดยขอให้ ส.ส.ทุกคน หันหน้าเจรจาร่วมกันไม่ว่าจะสังกัดพรรคใด เพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยไม่หวังผลทางการเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาของการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทั้งนี้ จึงอยากเสนอให้ทุกพรรคการเมืองร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลเพื่อเข้ามาทำงานแก้ไขปัญหาที่เป็นบ่อเกิดวิกฤติการเมืองในขณะนี้ ทั้งรัฐธรรมนูญ และการเจรจากับฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อยุติปัญหาโดยเร็ว
ม.บูรพา อัดพวกเห็นประโยชน์ไม่ลงตัว
นายโอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี ให้ความเห็นกรณีการประชุมสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ว่า ปัญหาหลักๆ นั้น เนื่องจากการต่อรองเรื่องของผลประโยชน์ที่จะได้รับจากกลุ่ม ส.ส.ต่างๆ ไม่ลงตัวจึงต้องเลื่อนออกไปถึงสัปดาห์หน้า เพื่อให้มีเวลาในการต่อรองถึงผลประโยชน์ เพราะที่ผ่านมาการสรรหาตัวนายกรัฐมนตรีมีเวลารวดเร็วเกินไป ทำให้ ส.ส.ยังไม่ได้วางรูปแบบของผลประโยชน์ ดังนั้น เมื่อผลประโยชน์ยังไม่ลงตัว การเจรจาอะไรต่างๆ จึงไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงจำเป็นต้องเลื่อนออกไปก่อน
นายโอฬาร กล่าวต่อว่า ปัจจุบันนี้การทำงานของ ส.ส.ซึ่งไม่ได้มองถึงความชอบธรรมหรือความถูกต้องเท่าที่ควร โดยมองถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจในเกมการเมืองเท่านั้น ทำให้ ส.ส.ขาดคุณธรรมและจริยธรรมในการเป็นตัวแทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้งมา ที่สำคัญ ส.ส.มีการประกาศว่า ยึดมั่นในระบบประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงเป็นประชาธิปไตยจอมปลอมเท่านั้น
ปัญหาที่เกิดขึ้น สร้างความเจ็บปวดต่อประชาชน และสังคมที่มีผู้บริหารประเทศเช่นนี้ แล้วในอนาคตสังคมจะเดินไปในทิศทางใด ดังนั้นหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ให้มีการเมืองรูปแบบใหม่ ประเทศชาติคงจะเสียหายไปมากกว่านี้อย่างแน่นอน