ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินอย่างไรต่อกรณีรายการ “ชิมไปบ่นไป” ซึ่งนายกรัฐมนตรีไปให้การว่าเขาไม่ได้เป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนแต่อย่างใด เพียงแต่ไป “รับจ้าง”ทำรายการเท่านั้นและเงินทองที่ได้รับมาเป็นแสนนั้นก็ไม่ได้เอา แต่ผ่องถ่ายให้กับคนขับรถเท่านั้นเช่นกัน
คนอย่างนายสมัครนั้น มีคุณลักษณะอย่างหนึ่งคือมักไม่เคยคิดว่าตัวเองเคยทำอะไรผิด แถมยังบอกกับศาลด้วยว่า ที่คิดว่าไม่ได้ทำอะไรผิดก็เพราะว่าได้ถามทนายแล้วว่าทำได้
แต่เหตุใดนายสมัครจึงหยุดทำรายการเล่า?
นายสมัครบอกว่า ที่หยุดก็เพราะมีคนทัก ซึ่งมันก็ผิดไปจากคุณลักษณะของตัวเอง ที่มักจะมั่นใจนั่นประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง นายสมัครเป็นคนประเภท “ดื้อตาใส”
ผมใช้คำนี้เพราะเป็นคำที่เพื่อนรุ่นพี่ ซึ่งผมนับถือคนหนึ่งคือคุณพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร แห่งมติชน เป็นคนประดิษฐ์คำนี้ เพื่อเรียกประเภทบุคคลที่มักจะ “ดื้อแพ่ง” ทั้งๆ ที่รู้ว่าผิด โดยพยายามทำตัวอินโนเซนต์เข้าไว้
คนแบบนี้ด้านหนึ่งก็เห็นแก่ตัวถึงที่สุด
อีกด้านหนึ่งนั้นก็อยากรักษาผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
ดังนั้นการที่นายสมัครหยุดทำรายการโดยสมัครใจจึงเป็นเรื่องพิลึก และน่าจะมีอะไรแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง
เป็นไปได้ว่า ลึกๆ แล้วรู้ว่าผิด
ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินนั้น เข้าใจว่าทนายประจำตัวได้บอกใบ้ให้นายสมัครรู้ว่าเห็นทีเขาอาจจะไม่รอดในคดีนี้ก็ได้
เพราะว่ามันน่าจะผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267
นายสมัครไปให้การต่อศาลนั้น เขายังติดที่จะสาบานต่อหน้าศาลด้วย
อย่าลืมว่าเขาชอบสาบานเป็นอาจิณ
แต่ทุกครั้ง คำสาบานเขาไม่มีความหมายอะไรเลย
ที่น่าเวทนาก็คือพวกลิ่วล้อ สมุนในพรรคนั้นระบุว่า หากปรากฏว่าเขาผิดจริง และลาออกไป ก็จะเลือกเขากลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มาปราบพันธมิตรฯ ต่อไป
มีแต่สมัคร “ดื้อตาใส” เท่านั้นที่จะสู้กับพันธมิตรฯ ได้
นี่ดีนะที่สมัคร ในเวลานี้ขาดแนวร่วม สมัยหนึ่งเขามีวิทยุคอยปลุกระดมให้คนออกไปฆ่านักศึกษาในธรรมศาสตร์และมีทหารกระหายเลือดอยู่ในมือ
มันจึงกลายเป็นฆาตกรหมู่ เวทีทุ่งสังหารกลางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519
แต่ทุกวันนี้ กองทัพเลือกจุดยืนที่ไม่ตกหลุมนักเมือง มันไม่ใช่เรื่องที่จะเอากองทัพมายืนสยบอยู่กับนักการเมือง
แต่กองทัพเป็นของในหลวงและดูแลประชาชนไม่ให้ปะทะกัน
ดังนั้น การที่กองทัพให้ฝ่ายการเมืองแก้ปัญหากันเอง เพราะมันยังมีทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นไปได้ จึงเท่ากับว่ากองทัพเลือกเดินตามหนทางที่ถูกต้อง
ทหารไม่ได้มีไว้รับใช้นักการเมืองนี่ครับ
ปัจจุบันทหารปรับบทบาทไปมากแล้ว ทหารคือรั้วของชาติอย่างแท้จริง
การที่นักการเมืองยังมัวเมากับอำนาจ ยังมีการโกงกินชาติบ้านเมือง ยังเสพสุขอยู่บนความทุกข์ของราษฎรนั้น ทหารก็รู้สึกเช่นเดียวกับราษฎร คือต้องการการเมืองในรูปแบบใหม่
ไม่ใช่แบบน้ำเน่า จมปลักอยู่กับอาจมแบบเดิมๆ
จริงอยู่สูตร “การเมืองใหม่” นั้นยังเป็นแค่ความคิด แต่มันก็ต้องผ่านกระบวนการหารือกันในหมู่คนจำนวนมาก ไม่ใช่ว่าจะมีใครผูกขาด
เราเปิดกว้างและไม่คิดจะให้นักการเมืองเท่านั้นที่เอาแต่คิดว่า การเลือกตั้งและการเลือกผู้แทนในรูปแบบเก่าคือการได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์หรือดีที่สุดแล้ว
นักการเมืองยังอยากแก้รัฐธรรมนูญฉันใด
ประชาชนก็อยากแก้ “ระบบการเมือง” ให้ดีกว่าปัจจุบันได้ฉันนั้น
ความจริงแล้ว ทั้งตัวนายสมัครและพรรคของเขานั้น ใช่ว่าจะยังหมดจากกรรมเก่า ซึ่งเป็นกรรมชั่วที่ก่อจากการโกงก็หาไม่ เนื่องจากยังมีกรณีที่จะต้องถูกยุบพรรครอคิวอยู่
แต่การที่พรรคขาด “ตัวเลือก” ที่จะมาเป็นนายกฯ ได้ดีกว่านายสมัครนั้น มันส่อชัดว่าพรรคของเขานั้นขาดแคลนบุคลากรอย่างยิ่ง
ครั้งจะหันไปหาคนอย่างนายบรรหาร ศิลปอาชา ก็ดูจะไว้ใจไม่ได้เสียอีก เพราะในทางการเมือง นายบรรหารนั้นอาจเป็นคนที่บังคับไม่ได้ และคนที่อยู่เบื้องหลัง คือ ทักษิณ ชินวัตร ก็ใช่ว่าจะไว้วางใจนายบรรหารเสียด้วย
สรุปแล้วก็ปรากฏว่า ทางเลือกที่มีให้กับนายสมัครกับพวกคงจะเหลือน้อยเต็มที
ถ้านายสมัครและกรรมการบริหารโดนชะตากรรมตกม้าตายจากการยุบพรรค ก็เท่ากับว่าพรรคนี้น่าจะจบเห่
คราวนี้จะหาใครมาอีกล่ะ
ครับ... เราคงต้องรออีกไม่กี่ชั่วโมงนับไปเลยว่านายสมัครจะฝ่าด่านแรกจาก “ชิมไปบ่นไป” ได้หรือเปล่า!
คนอย่างนายสมัครนั้น มีคุณลักษณะอย่างหนึ่งคือมักไม่เคยคิดว่าตัวเองเคยทำอะไรผิด แถมยังบอกกับศาลด้วยว่า ที่คิดว่าไม่ได้ทำอะไรผิดก็เพราะว่าได้ถามทนายแล้วว่าทำได้
แต่เหตุใดนายสมัครจึงหยุดทำรายการเล่า?
นายสมัครบอกว่า ที่หยุดก็เพราะมีคนทัก ซึ่งมันก็ผิดไปจากคุณลักษณะของตัวเอง ที่มักจะมั่นใจนั่นประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง นายสมัครเป็นคนประเภท “ดื้อตาใส”
ผมใช้คำนี้เพราะเป็นคำที่เพื่อนรุ่นพี่ ซึ่งผมนับถือคนหนึ่งคือคุณพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร แห่งมติชน เป็นคนประดิษฐ์คำนี้ เพื่อเรียกประเภทบุคคลที่มักจะ “ดื้อแพ่ง” ทั้งๆ ที่รู้ว่าผิด โดยพยายามทำตัวอินโนเซนต์เข้าไว้
คนแบบนี้ด้านหนึ่งก็เห็นแก่ตัวถึงที่สุด
อีกด้านหนึ่งนั้นก็อยากรักษาผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
ดังนั้นการที่นายสมัครหยุดทำรายการโดยสมัครใจจึงเป็นเรื่องพิลึก และน่าจะมีอะไรแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง
เป็นไปได้ว่า ลึกๆ แล้วรู้ว่าผิด
ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินนั้น เข้าใจว่าทนายประจำตัวได้บอกใบ้ให้นายสมัครรู้ว่าเห็นทีเขาอาจจะไม่รอดในคดีนี้ก็ได้
เพราะว่ามันน่าจะผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267
นายสมัครไปให้การต่อศาลนั้น เขายังติดที่จะสาบานต่อหน้าศาลด้วย
อย่าลืมว่าเขาชอบสาบานเป็นอาจิณ
แต่ทุกครั้ง คำสาบานเขาไม่มีความหมายอะไรเลย
ที่น่าเวทนาก็คือพวกลิ่วล้อ สมุนในพรรคนั้นระบุว่า หากปรากฏว่าเขาผิดจริง และลาออกไป ก็จะเลือกเขากลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มาปราบพันธมิตรฯ ต่อไป
มีแต่สมัคร “ดื้อตาใส” เท่านั้นที่จะสู้กับพันธมิตรฯ ได้
นี่ดีนะที่สมัคร ในเวลานี้ขาดแนวร่วม สมัยหนึ่งเขามีวิทยุคอยปลุกระดมให้คนออกไปฆ่านักศึกษาในธรรมศาสตร์และมีทหารกระหายเลือดอยู่ในมือ
มันจึงกลายเป็นฆาตกรหมู่ เวทีทุ่งสังหารกลางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519
แต่ทุกวันนี้ กองทัพเลือกจุดยืนที่ไม่ตกหลุมนักเมือง มันไม่ใช่เรื่องที่จะเอากองทัพมายืนสยบอยู่กับนักการเมือง
แต่กองทัพเป็นของในหลวงและดูแลประชาชนไม่ให้ปะทะกัน
ดังนั้น การที่กองทัพให้ฝ่ายการเมืองแก้ปัญหากันเอง เพราะมันยังมีทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นไปได้ จึงเท่ากับว่ากองทัพเลือกเดินตามหนทางที่ถูกต้อง
ทหารไม่ได้มีไว้รับใช้นักการเมืองนี่ครับ
ปัจจุบันทหารปรับบทบาทไปมากแล้ว ทหารคือรั้วของชาติอย่างแท้จริง
การที่นักการเมืองยังมัวเมากับอำนาจ ยังมีการโกงกินชาติบ้านเมือง ยังเสพสุขอยู่บนความทุกข์ของราษฎรนั้น ทหารก็รู้สึกเช่นเดียวกับราษฎร คือต้องการการเมืองในรูปแบบใหม่
ไม่ใช่แบบน้ำเน่า จมปลักอยู่กับอาจมแบบเดิมๆ
จริงอยู่สูตร “การเมืองใหม่” นั้นยังเป็นแค่ความคิด แต่มันก็ต้องผ่านกระบวนการหารือกันในหมู่คนจำนวนมาก ไม่ใช่ว่าจะมีใครผูกขาด
เราเปิดกว้างและไม่คิดจะให้นักการเมืองเท่านั้นที่เอาแต่คิดว่า การเลือกตั้งและการเลือกผู้แทนในรูปแบบเก่าคือการได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์หรือดีที่สุดแล้ว
นักการเมืองยังอยากแก้รัฐธรรมนูญฉันใด
ประชาชนก็อยากแก้ “ระบบการเมือง” ให้ดีกว่าปัจจุบันได้ฉันนั้น
ความจริงแล้ว ทั้งตัวนายสมัครและพรรคของเขานั้น ใช่ว่าจะยังหมดจากกรรมเก่า ซึ่งเป็นกรรมชั่วที่ก่อจากการโกงก็หาไม่ เนื่องจากยังมีกรณีที่จะต้องถูกยุบพรรครอคิวอยู่
แต่การที่พรรคขาด “ตัวเลือก” ที่จะมาเป็นนายกฯ ได้ดีกว่านายสมัครนั้น มันส่อชัดว่าพรรคของเขานั้นขาดแคลนบุคลากรอย่างยิ่ง
ครั้งจะหันไปหาคนอย่างนายบรรหาร ศิลปอาชา ก็ดูจะไว้ใจไม่ได้เสียอีก เพราะในทางการเมือง นายบรรหารนั้นอาจเป็นคนที่บังคับไม่ได้ และคนที่อยู่เบื้องหลัง คือ ทักษิณ ชินวัตร ก็ใช่ว่าจะไว้วางใจนายบรรหารเสียด้วย
สรุปแล้วก็ปรากฏว่า ทางเลือกที่มีให้กับนายสมัครกับพวกคงจะเหลือน้อยเต็มที
ถ้านายสมัครและกรรมการบริหารโดนชะตากรรมตกม้าตายจากการยุบพรรค ก็เท่ากับว่าพรรคนี้น่าจะจบเห่
คราวนี้จะหาใครมาอีกล่ะ
ครับ... เราคงต้องรออีกไม่กี่ชั่วโมงนับไปเลยว่านายสมัครจะฝ่าด่านแรกจาก “ชิมไปบ่นไป” ได้หรือเปล่า!