ประมุข 2 สภาร่วม 7 พรรคการเมืองถกแก้วิกฤติยังมืดมน เคาะมติ โยนหมอเลี้ยบกล่อม "หมัก" ลาออกหรือยุบสภา "อภิสิทธิ์" รับผลการหารือยังไร้ทางออก ทุกอย่างต้องอยู่ที่นายกฯ และพรรคร่วมรัฐบาล ขณะที่หมอเลี้ยบชี้มีทางออกมากกว่ายุบสภาหรือลาออก
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (8 ก.ย.) มีการหารือแกนนำฝ่ายนิติบัญญัติ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ร่วมด้วยรองประธานสภาของทั้งสองสภา เพื่อหาทางออกแก้วิกฤติการเมืองในขณะนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประสพสุข ได้แจกเอกสารรายงานความก้าวหน้า ในการประสานงานว่า ภายหลังที่ได้หารือร่วมกับ 3 ฝ่ายเมื่อวันศุกร์ที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา ตนได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 8 คน ประกอบด้วย ส.ว. 7 คน และนางสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการวุฒิสภาเป็นเลขานุการคณะทำงานเพื่อไปหารือและเจรจากับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
โดยได้เข้าเจรจากับ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. โดยมี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช และ พล.ร.อ.ณรงค์ ยุทธวงศ์ ส.ว.สรรหา ซึ่งเป็นคณะทำงา เป็นผู้ประสาน ซึ่งจากการหารือกัน พล.อ.อนุพงษ์ ได้แสดงความห่วงใยกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และอยากให้ทุกฝ่ายยึดความมั่นคงและประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก พร้อมทั้งเรียกร้องให้หันหน้าเข้าหากัน ถอยคนละก้าว ขณะเดียวกันพล.อ.อนุพงษ์ ได้สนับสนุนให้ฝ่ายรัฐสภาช่วยกันแก้ปัญหาของประเทศชาติ โดยทางทหารยืนยันจะไม่ใช้กำลังสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และจะไม่มีการทำปฏิวัติรัฐประหารอยางเด็ดขาด เพราะเห็นว่าวิธีการของรัฐสภาจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
เอกสารยังระบุว่า นายประสพสุข ยังได้ประสานไปยังกลุ่มพันธมิตรฯ แต่ยังไม่มีการพบปะเจรจากัน เพราะจังหวะเวลาไม่เอื้ออำนวย ซึ่งตนเข้าใจว่าจะต้องให้เวลา โดยยืนยันว่าตนยังรออยู่และจะเปิดประตูที่จะเป็นคนกลางในการเจรจาต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากที่คณะทำงานได้นำข้อมูลข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ มาสนทนาอภิปรายร่วมกันถึงแนวทางการแก้ปัญหา แนวทางที่น่าจะเป็นทางออก ในขณะนี้คือทุกฝ่ายควรลดทิฐิและเสียสละเพื่อประเทศชาติ และถอยกันคนละก้าว โดยมีแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ คือ 1.นายกรัฐมนตรี ควรประกาศลาออกเพื่อเปิดให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ทุกฝ่ายรับได้และรัฐบาลใหม่ทำหน้าที่ชั่วคราวในระยะสั้นก่อนคืนอำนาจให้ประชาชน หรือนายกรัฐมนตรี ควรประกาศยุบสภา เพื่อคืนอำนาจ ให้ประชาชนได้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้ามาใหม่ 2.พันธมิตรฯ ต้องเคารพและปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎหมายและยุติการชุมนุม และ 3.สำหรับแนวทางการทำประชามติที่นายกรัฐมนตรีเสนอนั้น คณะทำงานเห็นว่าไม่น่าปฏิบัติในตอนนี้
อย่างไรก็ตามหลังการประชุมแกนนำฝ่ายนิติบัญญัติประมาณ 1 ชม. พ.อ.ภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาฯ กล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป แต่จะหารือร่วมกับแกนนำทุกพรรคการเมือง ในช่วงเที่ยงต่อไป
ต่อมาเวลา 12.00 น. มีการหารือของตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ และตัวแทนพรรคการเมืองเพื่อหาทางออกแก้วิกฤติ โดยมีนาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยแกนนำพรรคต่างๆ 7 พรรค อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน พล.อ. เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พล.ต. สนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานที่ปรึกษา พรรคชาติไทย นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน นายมั่น พัธโนทัย รองนายกฯ และรมว.เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
โยนพรรรคร่วมชี้ขาดเติ้งนายกฯ
ส่วนข้อเสนอที่มีไปยังพันธมิตรฯนั้น นายชัย กล่าวว่า ไม่กล้าบังอาจ เมื่อถามว่า มีข้อเสนอให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ได้สอบถาม 6 พรรคร่วมรัฐบาลแล้ว เขาร่วมมือผนึกกันแน่น ไม่มีพรรคใดถอนตัว ขณะนี้เราขอร้องให้ทุกฝ่ายถอยคนละก้าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการเสนอชื่อนาย บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกฯคนต่อไปหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ยังไม่ทราบ อยู่ที่พรรคร่วมรัฐบาลว่าจะมีมติอย่างไร เมื่อถามว่าการประชุมร่วมกันของฝ่ายนิติบัญญัติและพรรคร่วมรัฐบาลครั้งนี้ถือว่าล้มเหลวหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ไม่ล้มเหลว บรรยากาศของบ้านเมืองจะเริ่มดีขึ้นเพราะลูกเห็บตกแล้ว และทันทีที่ต่างฝ่ายต่างถอยคนละก้าวก็ควรจะยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินได้แล้ว
จำนนระบบรัฐสภาอยู่ที่ 6 พรรค
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่า การหารือดังกล่าวมีความเห็นที่หลากหลายและมองสถานการณ์ในหลายแง่มุม แต่ในส่วนของตน ไม่ได้มีการเสนออะไรเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังได้มีการวิเคราะห์ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาจากหลายแง่มุม แต่ในที่สุด การดำเนินการโดยระบบรัฐสภาต้องขึ้นอยู่กับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรซึ่งก็คือพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค โดยพรรคเหล่านี้ได้รับความเห็นต่างๆ ในวันนี้ไปแจ้งกับฝ่ายรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่นายชัยระบุว่ากระบวนการแก้ปัญหาทั้งหมดอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรี จะหมายความถึงการยุบสภาหรือการลาออกใช่หรือไม่ ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวว่า อำนาจตรงนี้อยู่ที่นายกฯ ไม่มีใครสามารถไปบังคับหรือตัดสินแทนได้ ทั้งนี้มีความพยายามจะเจรจากันอีกครั้ง ซึ่งเราไม่ได้ปฏิเสธ แต่เป็นเรื่องที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องไปดูว่าจะเจรจาในกรอบใด เพราะที่ผ่านมา การพยายามเจรจาของประธานวุฒิสภายังไม่ได้รับกรอบการเจรจาจากรัฐบาล
"ทุกฝ่ายเห็นว่าควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการรัฐสภา ซึ่งคนที่จะมาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารจะต้องมาจากเสียงข้างมาก ทั้งนี้ยังไม่ได้มีการพูดถึงการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง และไม่ได้คิดไปไกลกว่านั้น เพียงแต่พูดให้ทุกคนได้รับทราบว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติที่ต้องสรรหาผู้มาเป็นนายกฯ"
อภิสิทธิ์รับสถานการณ์ยังน่าห่วง
ผู้สื่อข่าวถามว่าคาดหวังหรือไม่ว่าจากการหารือในวันนี้ สถานการณ์จะคลี่คลาย หรือจะคงอยู่อย่างนี้ต่อไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังเป็นห่วงอยู่ อย่างไรก็ตาม ไม่คิดว่าฝ่ายค้านและวุฒิสภาเป็นตัวประกอบ เพราะเราทำตามหน้าที่ และรัฐบาลก็เรียกร้องให้ทุกอย่างอยู่ในระบบ
ต่อข้อถามว่าการเจรจาดังกล่าวดูจะยืดเยื้อเกินไปหรือไม่ เพราะสถานการณ์ขณะนี้มีความรุนแรงต่อเนื่อง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าไม่เจรจา จะปล่อยตามสภาพหรือ อย่างไร ซึ่งถ้าปิดช่องทางการเจรจาไปเลย ก็จะเป็นสิ่งที่อันตราย แต่เมื่อมีการเจรจา ก็ต้องมีความตั้งใจของทั้ง 2 ฝ่ายที่จะหาข้อยุติร่วมกัน ซึ่งตรงนี้ยังไม่เกิด จึงดูเหมือนว่ายังยากอยู่
"ผมรู้สึกหนักใจและเป็นห่วงว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้อย่างไร เพราะยังมองไม่เห็นว่ามีวิธีใดจะเป็นหลักประกันได้ว่าสามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ และเห็นได้ชัดว่าประชาชนมีความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและสังคม แต่การทำให้แต่ละฝ่ายพยายามเข้าใจอีกฝ่ายยังมีน้อยมาก คือ ต่างฝ่ายต่างมองในมุมของตัวเอง ซึ่งนี่เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุด ไม่ใช่ในกลุ่มผู้นำเท่านั้น แต่รวมถึงประชาชนด้วย ผมคิดว่าถ้าสามารถทำให้สังคมสมานฉันท์ได้ ต้องเริ่มต้นจากการพยายามเข้าใจ คนอื่นก่อน มิฉะนั้นคงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก"
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องขึ้นอยู่กับคนทำงาน ถ้าเขามั่นใจว่า ยกเลิกแล้ว สามารถควบคุมไม่ให้เกิดปัญหา ก็ทำได้ เพราะการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้ทำให้เศรษฐกิจได้รับความเสียหาย
ข้อเสนอให้หมักออกหรือยุบสภา
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการหารือระหว่างตัวแทน 7 พรรรคการเมือง และวุฒิกสภา โดยนายประสพสุข ได้นำข้อเสนอจากการประสานงานระหว่างรัฐบาล พันธมิตรฯ และทหาร ที่สรุปว่า นายสมัคร ควรจะลาออกจากตำแหน่งนายกฯ และเปิดทางให้มีรัฐบาลใหม่ หรือไม่ก็ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ต่อที่ประชุม และให้ฝ่ายพันธมิตรยุติการชุมนุม โดยไม่มีการทำประชามติ จากนั้น ตัวแทนแต่ละพรรค ได้แสดงความคิดเห็น โดย พล.ต.สนั่น แสดงความเห็นว่า ขณะนี้เริ่มมองเห็น ทางออกแล้ว แต่ต้องใช้ความอดทน เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นาน และคาดว่า จะมีการนำมาสู่ การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ซึ่งทุกคนในที่ประชุม เข้าใจว่า พล.ต.สนั่น หมายถึงการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีการจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" ของนายสมัคร
ด้านนายเสนาะ แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของกลุ่มพันธมิตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปัญหาทั้งหมดอยู่ที่คนเดียวเท่านั้น จึงเห็นว่าพรรคพลังประชาชน ต้องไปพูดคุยกับนายสมัคร ขณะที่นายสุวิทย์ ได้เสนอทางออก โดยให้นายกฯลาออก และยุบสภา
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมมีหลายคนได้แสดงความเป็นห่วงว่า หากนายกฯ ไม่ตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งตามข้อเสนอของประธานวุฒิสภา และไม่มีทางออกต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก็หนีไม่พ้นที่ต้องใช้มาตรการกฎหมายจัดการกับกลุ่มพันธมิตรฯ ยิ่งส่งผลให้สถานการณ์รุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทุกฝ่ายมีความเห็นสรุปตรงกันว่า หากปล่อยสถานการณ์บานปลายบ้านเมืองจะเกิดวิกฤตมากขึ้น เพราะขณะนี้รัฐบาลไม่สามารถ สั่งการทหาร ตำรวจได้ ดังนั้น นายสมัคร ควรจะประกาศท่าทีให้ชัดเจนบนเวทีปราศรัย ที่จ.อุดร และจากนั้นต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่การแสดงความคิดเห็นเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงได้ข้อสรุปว่าเป็นเรื่องที่พรรคพลังประชาชน ต้องไปหารือกันในพรรค โดยเห็นว่า แนวทางการดับชนวนวิกฤตคนที่รับผิดชอบคือฝ่ายบริหาร เพราะเป็นผู้มีอำนาจ ดังนั้นต้องให้พรรคพลังประชาชนไปคุยกันเอง โดยต้องให้เวลานายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาด้วย ดังนั้นจึงมีมติให้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน นำข้อเสนอในที่ประชุมไปหารือกับนายสมัคร
รายงานข่าวแจ้งว่า นพ.สุรพงษ์ ไม่ได้แสดงความเห็นต่อแนวทางต่างๆ เพียงแต่ยืนยันว่าการทำประชามติเพื่อหาทางออกของปัญหาสามารถทำได้ในหลักการ แต่ต้องใช้เทคนิคหลีกเลี่ยง เพื่อรักษาบ้านเมืองเอาไว้ แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แย้งว่า ในหลักการทำไม่ได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ และยันยืนยันว่า สิ่งสำคัญคือรัฐบาลต้องพูดความจริง และอย่าหลอกให้ประชาชนมีความหวังและไม่ทำตาม เหมือนกรณีพฤษภาฯทมิฬ ที่หลอกว่าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญแล้วไม่แก้ จนไปสู่ความรุนแรง
ชี้ทางออกมากกว่ายุบสภา-ลาออก
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้ตน ไปพูดคุยกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีข้อเสนอหลากหลาย หลายฝ่ายร่วมกันหาทางออก ตนจะนำไปพูดคุยกันในพรรคพลังประชาชนแต่ขอพูดกันเป็นการภายในก่อน เพื่อให้เห็นตรงกันก่อนว่า ประเทศต้องการทางออกอย่างไร ซึ่งมีข้อเสนอมากมาย ตนก็รับมาว่าจะเรียนให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีทราบ ซึ่งก็จะหาโอกาสพูดคุยกันหลังจากเสร็จภารกิจในค่ำนี้แล้ว แต่ไม่จำเป็นว่า จะต้องรีบสรุปภายในคืนนี้ เพราะเป็นเพียงการนำเสนอทางออก ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีหลากหลาย
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยกรณีรายการ "ชิมไปบ่นไป" พรรคก็ไม่ได้เตรียมอะไรเป็นพิเศษ ต้องรอคำพิพากษาของศาลก่อน ถึงจะให้ความเห็นได้
"รอฟังคำพิพากษาแล้วจะแลกเปลี่ยนกันอีกครั้ง คืนนี้หากมีเวลาจะพบปะกับท่าน โดยขณะนี้มีหลายทางจะคุยจะเล่าให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งมีมากกว่าสองทาง" นพ.สุรพงษ์กล่าว
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า พรรคพลังประชาชน ได้เตรียมคนสำรอง ไว้เป็นนายกฯ แทนนายสมัคร นั้นยืนยันว่าไม่มีอะไรทั้งสิ้น
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (8 ก.ย.) มีการหารือแกนนำฝ่ายนิติบัญญัติ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ร่วมด้วยรองประธานสภาของทั้งสองสภา เพื่อหาทางออกแก้วิกฤติการเมืองในขณะนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประสพสุข ได้แจกเอกสารรายงานความก้าวหน้า ในการประสานงานว่า ภายหลังที่ได้หารือร่วมกับ 3 ฝ่ายเมื่อวันศุกร์ที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา ตนได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 8 คน ประกอบด้วย ส.ว. 7 คน และนางสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการวุฒิสภาเป็นเลขานุการคณะทำงานเพื่อไปหารือและเจรจากับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
โดยได้เข้าเจรจากับ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. โดยมี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช และ พล.ร.อ.ณรงค์ ยุทธวงศ์ ส.ว.สรรหา ซึ่งเป็นคณะทำงา เป็นผู้ประสาน ซึ่งจากการหารือกัน พล.อ.อนุพงษ์ ได้แสดงความห่วงใยกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และอยากให้ทุกฝ่ายยึดความมั่นคงและประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก พร้อมทั้งเรียกร้องให้หันหน้าเข้าหากัน ถอยคนละก้าว ขณะเดียวกันพล.อ.อนุพงษ์ ได้สนับสนุนให้ฝ่ายรัฐสภาช่วยกันแก้ปัญหาของประเทศชาติ โดยทางทหารยืนยันจะไม่ใช้กำลังสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และจะไม่มีการทำปฏิวัติรัฐประหารอยางเด็ดขาด เพราะเห็นว่าวิธีการของรัฐสภาจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
เอกสารยังระบุว่า นายประสพสุข ยังได้ประสานไปยังกลุ่มพันธมิตรฯ แต่ยังไม่มีการพบปะเจรจากัน เพราะจังหวะเวลาไม่เอื้ออำนวย ซึ่งตนเข้าใจว่าจะต้องให้เวลา โดยยืนยันว่าตนยังรออยู่และจะเปิดประตูที่จะเป็นคนกลางในการเจรจาต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากที่คณะทำงานได้นำข้อมูลข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ มาสนทนาอภิปรายร่วมกันถึงแนวทางการแก้ปัญหา แนวทางที่น่าจะเป็นทางออก ในขณะนี้คือทุกฝ่ายควรลดทิฐิและเสียสละเพื่อประเทศชาติ และถอยกันคนละก้าว โดยมีแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ คือ 1.นายกรัฐมนตรี ควรประกาศลาออกเพื่อเปิดให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ทุกฝ่ายรับได้และรัฐบาลใหม่ทำหน้าที่ชั่วคราวในระยะสั้นก่อนคืนอำนาจให้ประชาชน หรือนายกรัฐมนตรี ควรประกาศยุบสภา เพื่อคืนอำนาจ ให้ประชาชนได้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้ามาใหม่ 2.พันธมิตรฯ ต้องเคารพและปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎหมายและยุติการชุมนุม และ 3.สำหรับแนวทางการทำประชามติที่นายกรัฐมนตรีเสนอนั้น คณะทำงานเห็นว่าไม่น่าปฏิบัติในตอนนี้
อย่างไรก็ตามหลังการประชุมแกนนำฝ่ายนิติบัญญัติประมาณ 1 ชม. พ.อ.ภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาฯ กล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป แต่จะหารือร่วมกับแกนนำทุกพรรคการเมือง ในช่วงเที่ยงต่อไป
ต่อมาเวลา 12.00 น. มีการหารือของตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ และตัวแทนพรรคการเมืองเพื่อหาทางออกแก้วิกฤติ โดยมีนาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยแกนนำพรรคต่างๆ 7 พรรค อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน พล.อ. เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พล.ต. สนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานที่ปรึกษา พรรคชาติไทย นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน นายมั่น พัธโนทัย รองนายกฯ และรมว.เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
โยนพรรรคร่วมชี้ขาดเติ้งนายกฯ
ส่วนข้อเสนอที่มีไปยังพันธมิตรฯนั้น นายชัย กล่าวว่า ไม่กล้าบังอาจ เมื่อถามว่า มีข้อเสนอให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ได้สอบถาม 6 พรรคร่วมรัฐบาลแล้ว เขาร่วมมือผนึกกันแน่น ไม่มีพรรคใดถอนตัว ขณะนี้เราขอร้องให้ทุกฝ่ายถอยคนละก้าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการเสนอชื่อนาย บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกฯคนต่อไปหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ยังไม่ทราบ อยู่ที่พรรคร่วมรัฐบาลว่าจะมีมติอย่างไร เมื่อถามว่าการประชุมร่วมกันของฝ่ายนิติบัญญัติและพรรคร่วมรัฐบาลครั้งนี้ถือว่าล้มเหลวหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ไม่ล้มเหลว บรรยากาศของบ้านเมืองจะเริ่มดีขึ้นเพราะลูกเห็บตกแล้ว และทันทีที่ต่างฝ่ายต่างถอยคนละก้าวก็ควรจะยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินได้แล้ว
จำนนระบบรัฐสภาอยู่ที่ 6 พรรค
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่า การหารือดังกล่าวมีความเห็นที่หลากหลายและมองสถานการณ์ในหลายแง่มุม แต่ในส่วนของตน ไม่ได้มีการเสนออะไรเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังได้มีการวิเคราะห์ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาจากหลายแง่มุม แต่ในที่สุด การดำเนินการโดยระบบรัฐสภาต้องขึ้นอยู่กับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรซึ่งก็คือพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค โดยพรรคเหล่านี้ได้รับความเห็นต่างๆ ในวันนี้ไปแจ้งกับฝ่ายรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่นายชัยระบุว่ากระบวนการแก้ปัญหาทั้งหมดอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรี จะหมายความถึงการยุบสภาหรือการลาออกใช่หรือไม่ ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวว่า อำนาจตรงนี้อยู่ที่นายกฯ ไม่มีใครสามารถไปบังคับหรือตัดสินแทนได้ ทั้งนี้มีความพยายามจะเจรจากันอีกครั้ง ซึ่งเราไม่ได้ปฏิเสธ แต่เป็นเรื่องที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องไปดูว่าจะเจรจาในกรอบใด เพราะที่ผ่านมา การพยายามเจรจาของประธานวุฒิสภายังไม่ได้รับกรอบการเจรจาจากรัฐบาล
"ทุกฝ่ายเห็นว่าควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการรัฐสภา ซึ่งคนที่จะมาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารจะต้องมาจากเสียงข้างมาก ทั้งนี้ยังไม่ได้มีการพูดถึงการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง และไม่ได้คิดไปไกลกว่านั้น เพียงแต่พูดให้ทุกคนได้รับทราบว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติที่ต้องสรรหาผู้มาเป็นนายกฯ"
อภิสิทธิ์รับสถานการณ์ยังน่าห่วง
ผู้สื่อข่าวถามว่าคาดหวังหรือไม่ว่าจากการหารือในวันนี้ สถานการณ์จะคลี่คลาย หรือจะคงอยู่อย่างนี้ต่อไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังเป็นห่วงอยู่ อย่างไรก็ตาม ไม่คิดว่าฝ่ายค้านและวุฒิสภาเป็นตัวประกอบ เพราะเราทำตามหน้าที่ และรัฐบาลก็เรียกร้องให้ทุกอย่างอยู่ในระบบ
ต่อข้อถามว่าการเจรจาดังกล่าวดูจะยืดเยื้อเกินไปหรือไม่ เพราะสถานการณ์ขณะนี้มีความรุนแรงต่อเนื่อง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าไม่เจรจา จะปล่อยตามสภาพหรือ อย่างไร ซึ่งถ้าปิดช่องทางการเจรจาไปเลย ก็จะเป็นสิ่งที่อันตราย แต่เมื่อมีการเจรจา ก็ต้องมีความตั้งใจของทั้ง 2 ฝ่ายที่จะหาข้อยุติร่วมกัน ซึ่งตรงนี้ยังไม่เกิด จึงดูเหมือนว่ายังยากอยู่
"ผมรู้สึกหนักใจและเป็นห่วงว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้อย่างไร เพราะยังมองไม่เห็นว่ามีวิธีใดจะเป็นหลักประกันได้ว่าสามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ และเห็นได้ชัดว่าประชาชนมีความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและสังคม แต่การทำให้แต่ละฝ่ายพยายามเข้าใจอีกฝ่ายยังมีน้อยมาก คือ ต่างฝ่ายต่างมองในมุมของตัวเอง ซึ่งนี่เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุด ไม่ใช่ในกลุ่มผู้นำเท่านั้น แต่รวมถึงประชาชนด้วย ผมคิดว่าถ้าสามารถทำให้สังคมสมานฉันท์ได้ ต้องเริ่มต้นจากการพยายามเข้าใจ คนอื่นก่อน มิฉะนั้นคงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก"
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องขึ้นอยู่กับคนทำงาน ถ้าเขามั่นใจว่า ยกเลิกแล้ว สามารถควบคุมไม่ให้เกิดปัญหา ก็ทำได้ เพราะการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้ทำให้เศรษฐกิจได้รับความเสียหาย
ข้อเสนอให้หมักออกหรือยุบสภา
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการหารือระหว่างตัวแทน 7 พรรรคการเมือง และวุฒิกสภา โดยนายประสพสุข ได้นำข้อเสนอจากการประสานงานระหว่างรัฐบาล พันธมิตรฯ และทหาร ที่สรุปว่า นายสมัคร ควรจะลาออกจากตำแหน่งนายกฯ และเปิดทางให้มีรัฐบาลใหม่ หรือไม่ก็ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ต่อที่ประชุม และให้ฝ่ายพันธมิตรยุติการชุมนุม โดยไม่มีการทำประชามติ จากนั้น ตัวแทนแต่ละพรรค ได้แสดงความคิดเห็น โดย พล.ต.สนั่น แสดงความเห็นว่า ขณะนี้เริ่มมองเห็น ทางออกแล้ว แต่ต้องใช้ความอดทน เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นาน และคาดว่า จะมีการนำมาสู่ การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ซึ่งทุกคนในที่ประชุม เข้าใจว่า พล.ต.สนั่น หมายถึงการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีการจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" ของนายสมัคร
ด้านนายเสนาะ แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของกลุ่มพันธมิตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปัญหาทั้งหมดอยู่ที่คนเดียวเท่านั้น จึงเห็นว่าพรรคพลังประชาชน ต้องไปพูดคุยกับนายสมัคร ขณะที่นายสุวิทย์ ได้เสนอทางออก โดยให้นายกฯลาออก และยุบสภา
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมมีหลายคนได้แสดงความเป็นห่วงว่า หากนายกฯ ไม่ตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งตามข้อเสนอของประธานวุฒิสภา และไม่มีทางออกต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก็หนีไม่พ้นที่ต้องใช้มาตรการกฎหมายจัดการกับกลุ่มพันธมิตรฯ ยิ่งส่งผลให้สถานการณ์รุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทุกฝ่ายมีความเห็นสรุปตรงกันว่า หากปล่อยสถานการณ์บานปลายบ้านเมืองจะเกิดวิกฤตมากขึ้น เพราะขณะนี้รัฐบาลไม่สามารถ สั่งการทหาร ตำรวจได้ ดังนั้น นายสมัคร ควรจะประกาศท่าทีให้ชัดเจนบนเวทีปราศรัย ที่จ.อุดร และจากนั้นต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่การแสดงความคิดเห็นเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงได้ข้อสรุปว่าเป็นเรื่องที่พรรคพลังประชาชน ต้องไปหารือกันในพรรค โดยเห็นว่า แนวทางการดับชนวนวิกฤตคนที่รับผิดชอบคือฝ่ายบริหาร เพราะเป็นผู้มีอำนาจ ดังนั้นต้องให้พรรคพลังประชาชนไปคุยกันเอง โดยต้องให้เวลานายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาด้วย ดังนั้นจึงมีมติให้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน นำข้อเสนอในที่ประชุมไปหารือกับนายสมัคร
รายงานข่าวแจ้งว่า นพ.สุรพงษ์ ไม่ได้แสดงความเห็นต่อแนวทางต่างๆ เพียงแต่ยืนยันว่าการทำประชามติเพื่อหาทางออกของปัญหาสามารถทำได้ในหลักการ แต่ต้องใช้เทคนิคหลีกเลี่ยง เพื่อรักษาบ้านเมืองเอาไว้ แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แย้งว่า ในหลักการทำไม่ได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ และยันยืนยันว่า สิ่งสำคัญคือรัฐบาลต้องพูดความจริง และอย่าหลอกให้ประชาชนมีความหวังและไม่ทำตาม เหมือนกรณีพฤษภาฯทมิฬ ที่หลอกว่าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญแล้วไม่แก้ จนไปสู่ความรุนแรง
ชี้ทางออกมากกว่ายุบสภา-ลาออก
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้ตน ไปพูดคุยกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีข้อเสนอหลากหลาย หลายฝ่ายร่วมกันหาทางออก ตนจะนำไปพูดคุยกันในพรรคพลังประชาชนแต่ขอพูดกันเป็นการภายในก่อน เพื่อให้เห็นตรงกันก่อนว่า ประเทศต้องการทางออกอย่างไร ซึ่งมีข้อเสนอมากมาย ตนก็รับมาว่าจะเรียนให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีทราบ ซึ่งก็จะหาโอกาสพูดคุยกันหลังจากเสร็จภารกิจในค่ำนี้แล้ว แต่ไม่จำเป็นว่า จะต้องรีบสรุปภายในคืนนี้ เพราะเป็นเพียงการนำเสนอทางออก ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีหลากหลาย
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยกรณีรายการ "ชิมไปบ่นไป" พรรคก็ไม่ได้เตรียมอะไรเป็นพิเศษ ต้องรอคำพิพากษาของศาลก่อน ถึงจะให้ความเห็นได้
"รอฟังคำพิพากษาแล้วจะแลกเปลี่ยนกันอีกครั้ง คืนนี้หากมีเวลาจะพบปะกับท่าน โดยขณะนี้มีหลายทางจะคุยจะเล่าให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งมีมากกว่าสองทาง" นพ.สุรพงษ์กล่าว
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า พรรคพลังประชาชน ได้เตรียมคนสำรอง ไว้เป็นนายกฯ แทนนายสมัคร นั้นยืนยันว่าไม่มีอะไรทั้งสิ้น