นางยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
ผู้พิพากษาอาวุโส ในศาลภาษีอากรกลาง
ผู้เขียนมีความประสงค์จะให้บทความทางวิชาการนี้ เป็นข้อคิดโดยอาศัยหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและหลักนิติศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์โดยชัดแจ้งที่จะให้ภาคประชาชนหรือให้ประชาชนได้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งเป็นช่องทางตามบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งได้ประกาศไว้ว่า “ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนรวมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม กำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภารวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม” กับได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญรับรองการกระทำการต่อต้านโดยสันติวิธีต่อการกระทำของผู้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศที่ได้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศดังกล่าวคืนกลับมาตามรัฐธรรมนูญมาตรา69ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้”
ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยนั้นอำนาจที่ใช้ในการปกครองประเทศที่เป็นหลักใหญ่นั้นคือ อำนาจนิติบัญญัติคือรัฐสภา อำนาจบริหารคือคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการคือศาล ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีข้อสงสัยหรือข้อกังขาใดๆที่อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชนชาวไทย อำนาจอธิปไตยทั้งสามอำนาจนั้นจึงเป็นอำนาจที่ประชาชนชาวไทยได้มอบหมายให้ตัวแทนเข้าไปใช้อำนาจทั้งสามแทนประชาชนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเข้าไปโดยวิธีการเลือกตั้งหรือการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งก็ตาม สังคมประชาธิปไตยหรือการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องของ “ ตัวการ” คือ “ประชาชนชาวไทย” และ “ ตัวแทน” คือ “ ผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งสามอำนาจ”
ต้นเหตุของการที่ประชาชนได้กระทำการต่อต้านละรวมตัวกันต่อต้านโดยสันติวิธีนั้น เป็นการต่อต้านต่อการใช้อำนาจในการปกครองประเทศ เพราะรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ในฝ่ายรัฐบาลส่วนใหญ่มีความเห็นและมีการกระทำเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ และประชาชนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการใช้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีความประสงค์เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนสำหรับคนบางคนหรือคนบางกลุ่ม อันเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มิใช่เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวม ซึ่งเป็นการใช้อำนาจในการปกครองประเทศเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก การชุมนุมต่อต้านได้มีมาอย่างยืดเยื้อ เท่าที่จำได้ก็ปรากฏมีการใช้อำนาจในการปกครองประเทศของรัฐบาลที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงหรือไปทำสัญญาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร ที่ยอมให้ประเทศกัมพูชาไปจดทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งมีผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอาณาเขตประเทศไทยโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา จนกระทั่งได้มีการดำเนินคดีทางศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลก็มิได้มีการแสดงออกหรือกระทำการใดให้ประชาชนผู้ต่อต้านได้ทราบหรือเห็นได้ว่ามีทางแก้ไขหรือดำเนินการใดๆให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลยังคงรักษาไว้ได้ซึ่งอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยในกรณีเขาพระวิหาร การใช้อำนาจในการปกครองประเทศของรัฐบาลเกี่ยวกับงบประมาณเพื่อเช่ารถบัสจำนวนหลายพันคันโดยใช้เงินจำนวนเป็นแสนล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าการใช้งบประมาณเพื่อการซื้อรถบัส โดยไม่มีการชี้แจงเพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบการใช้อำนาจการปกครองประเทศอย่างโปร่งใสแต่อย่างใด การใช้สถานที่สร้างรัฐสภาแห่งใหม่โดยใช้สถานที่ของทหารซึ่งมีโรงเรียนและชุมชนตั้งอยู่ และต้องย้ายโรงเรียนไปที่อื่นโดยไม่ทราบเหตุผลของการรีบร้อนสร้างรัฐสภาและทำให้นักเรียนและชาวชุมชนเดือดร้อนว่ามีความจำเป็นอย่างไร ฯลฯ ประชาชนผู้ชุมนุมต่อต้านได้รวมตัวกันมากขึ้นๆและได้เข้าบุกยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง สถานีโทรทัศน์NBT ตลอดจนทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงศักยภาพให้ปรากฏซึ่งการกระทำเพื่อให้ได้คืนมาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลได้ใช้อำนาจในทางปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้เช่นกัน ตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 69
การที่ประชาชนจำนวนมากใช้สันติวิธีดำเนินการเป็นลำดับและเข้ายึดพื้นที่ในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาลหรือของคณะรัฐมนตรี และยึดถือครอบครองสถานที่และปิดกั้นมิให้คณะรัฐมนตรีเข้ามาทำงานใช้อำนาจบริหารหรือใช้อำนาจในทางปกครองประเทศนั้น เป็นการแสดงออกเพื่อให้ปรากฏเป็นรูปธรรมของการใช้อำนาจของประชาชนซึ่งเป็นตัวการของอำนาจอธิปไตยที่จะไม่ยอมให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนไม่ให้เป็นตัวแทนที่จะใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศอีกต่อไป รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับปัญหาที่ประชาชนต่อต้านและได้กระทำการโดยสันติวิธีเพื่อให้ได้คืนมาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69 นั้น จะมีผลในทางรัฐธรรมนูญต่อไปอย่างไร แต่รัฐธรรมนูญมาตรา7 ได้บัญญัติไว้ว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับแก่กรณีใดให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อการปกครองประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนซึ่งเป็น“ตัวการ”และผู้ใช้อำนาจปกครองประเทศเป็น“ตัวแทนประชาชน”แล้ว จึงต้องนำหลักเรื่องตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ เมื่อประชาชนจำนวนมากเป็นแสนเป็นล้านคนได้ร่วมกันกระทำการไม่ประสงค์จะให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่โดยยุติการทำหน้าที่การใช้อำนาจบริหาร และแสดงออกโดยชัดแจ้งทั้งทางพฤตินัยและนิตินัยแล้ว จึงเป็นการที่ประชาชนซึ่งเป็นตัวการได้ถอนการใช้อำนาจของตัวแทนแล้ว การเป็นตัวแทนหรือการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นตัวแทนย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 826 , 827 และรัฐธรรมนูญมาตรา 3 , 7 เมื่อคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดการเป็นตัวแทนของประชาชนโดยประชาชนได้ถอนอำนาจการเป็นตัวแทนแล้ว อำนาจบริหารซึ่งเป็นอำนาจการปกครองประเทศจึงตกคืนเป็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และมาตรา 69 คณะรัฐมนตรีจึงไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินได้อีกต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องลาออก แต่อำนาจในการปกครองประเทศได้สิ้นสุดลงโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแล้ว
การกระทำใดๆของคณะรัฐมนตรีภายหลังจากสิ้นสุดการเป็นตัวแทนของประชาชนแล้ว จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน การกระทำใดๆของคณะรัฐมนตรีไม่มีผลผูกพันประชาชนซึ่งเป็นตัวการ และเป็นการกระทำที่นอกเหนืออำนาจของการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
การสูญสิ้นซึ่งอำนาจบริหารของคณะรัฐมนตรีได้ปรากฏเป็นรูปธรรมคือ ไม่อาจใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินได้อีกต่อไป เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถเข้าไปจับกุมผู้ที่บุกรุกทำเนียบรัฐบาลได้ การบุกรุกสถานที่ราชการตามปกติธรรมดาโดยทั่วไปเป็นความผิดอาญาซึ่งหน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าไปทำการจับกุมผู้บุกรุกได้ทันทีโดยไม่ต้องไปขอให้ศาลออกหมายจับ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถทำการจับกุมประชาชนในทำเนียบรัฐบาลได้ เพราะกรณีนี้เป็นปัญหาทางการเมืองโดยประชาชนซึ่งเป็นตัวการเจ้าของอำนาจบริหารนั้นได้แสดงออกซึ่งการถอนอำนาจของรัฐบาลซึ่งเป็นตัวแทนไปแล้ว และไม่ให้รัฐบาลใช้อำนาจในการปกครองประเทศต่อไป
การสิ้นอำนาจของคณะรัฐมนตรีตัวแทนของประชาชนในการใช้อำนาจบริหาร เป็นการสิ้นอำนาจเพราะประชาชนซึ่งเป็นตัวการได้ถอนอำนาจของตัวแทน จึงเป็นการสิ้นอำนาจทั้งทางนิตินัยและพฤตินัยโดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้การลาออกของคณะรัฐมนตรีเป็นการสิ้นสุดแห่งอำนาจบริหาร การลาออกของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ปรากฏในสากลประเทศอันเนื่องมาจากความไม่พอใจของประชาชนนั้น เป็นเพียงแบบพิธีการที่ให้เกียรติกับผู้เคยใช้อำนาจบริหารเท่านั้น และผู้บริหารในประเทศที่เป็นสากลแล้วจะรู้ว่า อำนาจบริหารการปกครองประเทศของตนจะต้องสิ้นสุดลง เพียงเพราะประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงเจตนาถอนอำนาจของการเป็นตัวแทนของตนเท่านั้น การกระทำใดๆของคณะรัฐมนตรีที่ถูกถอนอำนาจโดยตัวการไปแล้ว ย่อมเป็นการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินใดๆ ได้อีกต่อไป
การใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานะการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้สิ้นอำนาจการเป็นตัวแทนของประชาชนไปแล้ว พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดาดูจะเข้าใจในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักรัฐธรรมนูญและหลักนิติศาสตร์ในเรื่องการที่รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีเป็นเพียงตัวแทนของประชาชนในการใช้อำนาจในการปกครองประเทศเป็นอย่างดี และจะต้องรู้ว่าการใช้พระราชกำหนดฯดังกล่าวนั้นเป็นการออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจ เพราะรัฐบาลไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจแล้ว พลเอกอนุพงษ์จะต้องทราบเป็นอย่างดีว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวไม่มีผลที่จะนำมาใช้บังคับกับประชาชนเจ้าของอำนาจได้เลย พลเอกอนุพงษ์จึงเลือกที่จะหาทางเจรจากับประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยต่อไป การไม่ใช้บังคับตามพระราชกำหนดฯของพลเอกอนุพงษ์หาใช่เป็นเรื่องอารยะขัดขืนไม่ แต่เป็นเรื่องที่พลเอกอนุพงษ์ต้องทราบว่านายกรัฐมนตรีนั้นไม่มีอำนาจบริหารในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชน และสิ้นอำนาจการปกครองประเทศไปแล้วทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย
รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีที่ถูกประชาชนต่อต้านการใช้อำนาจปกครองประเทศ และมีการกระทำเป็นที่ประจักษ์ว่าได้ถอนอำนาจเป็นตัวแทนแล้ว แต่คณะรัฐมนตรียังต้องการจะอยู่ในตำแหน่งเพื่อใช้อำนาจปกครองประเทศต่อไปนั้น รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีก็จะกลายเป็นเพียง “กลุ่มคนนอกกฎหมาย” เพราะถูกถอนอำนาจการปกครองประเทศไปแล้ว หรือที่เรียกว่าพวก OUT LAW ที่ยังคงต้องการใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศต่อไปเท่านั้น
ตามหลักสากลรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีที่หมดสภาพเป็นตัวแทนของประชาชน จะไม่มีอำนาจดำเนินการใดๆในการใช้อำนาจในการปกครองประเทศได้เลย การกระทำใดๆที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองในการบริหารประเทศนั้นจะไม่มีผลในทางกฎหมาย เพราะเป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งอำนาจบริหารในการปกครองประเทศ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลที่หมดสภาพการเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารนั้นย่อมเป็นการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้นและผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรีที่หมดสภาพแล้วนั้นต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือความผิดด้วยตนเองทั้งสิ้น เพราะเป็นการกระทำตามคำสั่งของรัฐบาลที่หมดสภาพการเป็นรัฐบาลแล้ว
การเสนอให้มีการทำประชามตินั้น ผู้เสนอจะต้องทราบเป็นอย่างดีถึงการสิ้นสภาพของรัฐบาล ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในลักษณะการเป็นตัวแทนของประชาชน การทำประชามติจึงเป็นเพียงการแสวงหาหรือเรียกคืน ซึ่งอำนาจของการเป็นผู้แทนประชาชนที่ได้สูญสิ้นไปแล้วเท่านั้น ซึ่งไม่มีหลักรัฐธรรมนูญ หลักนิติศาสตร์ หรือหลักรัฐศาสตร์ใดๆให้กระทำการดังกล่าวได้เลย ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง และต้องยึดหลักเกณฑ์ตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญไว้ให้มั่นเพราะจะนำพาประเทศไปสู่ความล่มจมและหายนะได้
ผู้พิพากษาอาวุโส ในศาลภาษีอากรกลาง
ผู้เขียนมีความประสงค์จะให้บทความทางวิชาการนี้ เป็นข้อคิดโดยอาศัยหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและหลักนิติศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์โดยชัดแจ้งที่จะให้ภาคประชาชนหรือให้ประชาชนได้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งเป็นช่องทางตามบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งได้ประกาศไว้ว่า “ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนรวมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม กำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภารวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม” กับได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญรับรองการกระทำการต่อต้านโดยสันติวิธีต่อการกระทำของผู้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศที่ได้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศดังกล่าวคืนกลับมาตามรัฐธรรมนูญมาตรา69ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้”
ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยนั้นอำนาจที่ใช้ในการปกครองประเทศที่เป็นหลักใหญ่นั้นคือ อำนาจนิติบัญญัติคือรัฐสภา อำนาจบริหารคือคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการคือศาล ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีข้อสงสัยหรือข้อกังขาใดๆที่อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชนชาวไทย อำนาจอธิปไตยทั้งสามอำนาจนั้นจึงเป็นอำนาจที่ประชาชนชาวไทยได้มอบหมายให้ตัวแทนเข้าไปใช้อำนาจทั้งสามแทนประชาชนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเข้าไปโดยวิธีการเลือกตั้งหรือการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งก็ตาม สังคมประชาธิปไตยหรือการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องของ “ ตัวการ” คือ “ประชาชนชาวไทย” และ “ ตัวแทน” คือ “ ผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งสามอำนาจ”
ต้นเหตุของการที่ประชาชนได้กระทำการต่อต้านละรวมตัวกันต่อต้านโดยสันติวิธีนั้น เป็นการต่อต้านต่อการใช้อำนาจในการปกครองประเทศ เพราะรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ในฝ่ายรัฐบาลส่วนใหญ่มีความเห็นและมีการกระทำเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ และประชาชนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการใช้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีความประสงค์เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนสำหรับคนบางคนหรือคนบางกลุ่ม อันเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มิใช่เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวม ซึ่งเป็นการใช้อำนาจในการปกครองประเทศเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก การชุมนุมต่อต้านได้มีมาอย่างยืดเยื้อ เท่าที่จำได้ก็ปรากฏมีการใช้อำนาจในการปกครองประเทศของรัฐบาลที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงหรือไปทำสัญญาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร ที่ยอมให้ประเทศกัมพูชาไปจดทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งมีผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอาณาเขตประเทศไทยโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา จนกระทั่งได้มีการดำเนินคดีทางศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลก็มิได้มีการแสดงออกหรือกระทำการใดให้ประชาชนผู้ต่อต้านได้ทราบหรือเห็นได้ว่ามีทางแก้ไขหรือดำเนินการใดๆให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลยังคงรักษาไว้ได้ซึ่งอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยในกรณีเขาพระวิหาร การใช้อำนาจในการปกครองประเทศของรัฐบาลเกี่ยวกับงบประมาณเพื่อเช่ารถบัสจำนวนหลายพันคันโดยใช้เงินจำนวนเป็นแสนล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าการใช้งบประมาณเพื่อการซื้อรถบัส โดยไม่มีการชี้แจงเพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบการใช้อำนาจการปกครองประเทศอย่างโปร่งใสแต่อย่างใด การใช้สถานที่สร้างรัฐสภาแห่งใหม่โดยใช้สถานที่ของทหารซึ่งมีโรงเรียนและชุมชนตั้งอยู่ และต้องย้ายโรงเรียนไปที่อื่นโดยไม่ทราบเหตุผลของการรีบร้อนสร้างรัฐสภาและทำให้นักเรียนและชาวชุมชนเดือดร้อนว่ามีความจำเป็นอย่างไร ฯลฯ ประชาชนผู้ชุมนุมต่อต้านได้รวมตัวกันมากขึ้นๆและได้เข้าบุกยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง สถานีโทรทัศน์NBT ตลอดจนทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงศักยภาพให้ปรากฏซึ่งการกระทำเพื่อให้ได้คืนมาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลได้ใช้อำนาจในทางปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้เช่นกัน ตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 69
การที่ประชาชนจำนวนมากใช้สันติวิธีดำเนินการเป็นลำดับและเข้ายึดพื้นที่ในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาลหรือของคณะรัฐมนตรี และยึดถือครอบครองสถานที่และปิดกั้นมิให้คณะรัฐมนตรีเข้ามาทำงานใช้อำนาจบริหารหรือใช้อำนาจในทางปกครองประเทศนั้น เป็นการแสดงออกเพื่อให้ปรากฏเป็นรูปธรรมของการใช้อำนาจของประชาชนซึ่งเป็นตัวการของอำนาจอธิปไตยที่จะไม่ยอมให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนไม่ให้เป็นตัวแทนที่จะใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศอีกต่อไป รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับปัญหาที่ประชาชนต่อต้านและได้กระทำการโดยสันติวิธีเพื่อให้ได้คืนมาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69 นั้น จะมีผลในทางรัฐธรรมนูญต่อไปอย่างไร แต่รัฐธรรมนูญมาตรา7 ได้บัญญัติไว้ว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับแก่กรณีใดให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อการปกครองประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนซึ่งเป็น“ตัวการ”และผู้ใช้อำนาจปกครองประเทศเป็น“ตัวแทนประชาชน”แล้ว จึงต้องนำหลักเรื่องตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ เมื่อประชาชนจำนวนมากเป็นแสนเป็นล้านคนได้ร่วมกันกระทำการไม่ประสงค์จะให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่โดยยุติการทำหน้าที่การใช้อำนาจบริหาร และแสดงออกโดยชัดแจ้งทั้งทางพฤตินัยและนิตินัยแล้ว จึงเป็นการที่ประชาชนซึ่งเป็นตัวการได้ถอนการใช้อำนาจของตัวแทนแล้ว การเป็นตัวแทนหรือการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นตัวแทนย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 826 , 827 และรัฐธรรมนูญมาตรา 3 , 7 เมื่อคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดการเป็นตัวแทนของประชาชนโดยประชาชนได้ถอนอำนาจการเป็นตัวแทนแล้ว อำนาจบริหารซึ่งเป็นอำนาจการปกครองประเทศจึงตกคืนเป็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และมาตรา 69 คณะรัฐมนตรีจึงไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินได้อีกต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องลาออก แต่อำนาจในการปกครองประเทศได้สิ้นสุดลงโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแล้ว
การกระทำใดๆของคณะรัฐมนตรีภายหลังจากสิ้นสุดการเป็นตัวแทนของประชาชนแล้ว จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน การกระทำใดๆของคณะรัฐมนตรีไม่มีผลผูกพันประชาชนซึ่งเป็นตัวการ และเป็นการกระทำที่นอกเหนืออำนาจของการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
การสูญสิ้นซึ่งอำนาจบริหารของคณะรัฐมนตรีได้ปรากฏเป็นรูปธรรมคือ ไม่อาจใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินได้อีกต่อไป เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถเข้าไปจับกุมผู้ที่บุกรุกทำเนียบรัฐบาลได้ การบุกรุกสถานที่ราชการตามปกติธรรมดาโดยทั่วไปเป็นความผิดอาญาซึ่งหน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าไปทำการจับกุมผู้บุกรุกได้ทันทีโดยไม่ต้องไปขอให้ศาลออกหมายจับ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถทำการจับกุมประชาชนในทำเนียบรัฐบาลได้ เพราะกรณีนี้เป็นปัญหาทางการเมืองโดยประชาชนซึ่งเป็นตัวการเจ้าของอำนาจบริหารนั้นได้แสดงออกซึ่งการถอนอำนาจของรัฐบาลซึ่งเป็นตัวแทนไปแล้ว และไม่ให้รัฐบาลใช้อำนาจในการปกครองประเทศต่อไป
การสิ้นอำนาจของคณะรัฐมนตรีตัวแทนของประชาชนในการใช้อำนาจบริหาร เป็นการสิ้นอำนาจเพราะประชาชนซึ่งเป็นตัวการได้ถอนอำนาจของตัวแทน จึงเป็นการสิ้นอำนาจทั้งทางนิตินัยและพฤตินัยโดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้การลาออกของคณะรัฐมนตรีเป็นการสิ้นสุดแห่งอำนาจบริหาร การลาออกของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ปรากฏในสากลประเทศอันเนื่องมาจากความไม่พอใจของประชาชนนั้น เป็นเพียงแบบพิธีการที่ให้เกียรติกับผู้เคยใช้อำนาจบริหารเท่านั้น และผู้บริหารในประเทศที่เป็นสากลแล้วจะรู้ว่า อำนาจบริหารการปกครองประเทศของตนจะต้องสิ้นสุดลง เพียงเพราะประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงเจตนาถอนอำนาจของการเป็นตัวแทนของตนเท่านั้น การกระทำใดๆของคณะรัฐมนตรีที่ถูกถอนอำนาจโดยตัวการไปแล้ว ย่อมเป็นการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินใดๆ ได้อีกต่อไป
การใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานะการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้สิ้นอำนาจการเป็นตัวแทนของประชาชนไปแล้ว พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดาดูจะเข้าใจในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักรัฐธรรมนูญและหลักนิติศาสตร์ในเรื่องการที่รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีเป็นเพียงตัวแทนของประชาชนในการใช้อำนาจในการปกครองประเทศเป็นอย่างดี และจะต้องรู้ว่าการใช้พระราชกำหนดฯดังกล่าวนั้นเป็นการออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจ เพราะรัฐบาลไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจแล้ว พลเอกอนุพงษ์จะต้องทราบเป็นอย่างดีว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวไม่มีผลที่จะนำมาใช้บังคับกับประชาชนเจ้าของอำนาจได้เลย พลเอกอนุพงษ์จึงเลือกที่จะหาทางเจรจากับประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยต่อไป การไม่ใช้บังคับตามพระราชกำหนดฯของพลเอกอนุพงษ์หาใช่เป็นเรื่องอารยะขัดขืนไม่ แต่เป็นเรื่องที่พลเอกอนุพงษ์ต้องทราบว่านายกรัฐมนตรีนั้นไม่มีอำนาจบริหารในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชน และสิ้นอำนาจการปกครองประเทศไปแล้วทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย
รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีที่ถูกประชาชนต่อต้านการใช้อำนาจปกครองประเทศ และมีการกระทำเป็นที่ประจักษ์ว่าได้ถอนอำนาจเป็นตัวแทนแล้ว แต่คณะรัฐมนตรียังต้องการจะอยู่ในตำแหน่งเพื่อใช้อำนาจปกครองประเทศต่อไปนั้น รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีก็จะกลายเป็นเพียง “กลุ่มคนนอกกฎหมาย” เพราะถูกถอนอำนาจการปกครองประเทศไปแล้ว หรือที่เรียกว่าพวก OUT LAW ที่ยังคงต้องการใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศต่อไปเท่านั้น
ตามหลักสากลรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีที่หมดสภาพเป็นตัวแทนของประชาชน จะไม่มีอำนาจดำเนินการใดๆในการใช้อำนาจในการปกครองประเทศได้เลย การกระทำใดๆที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองในการบริหารประเทศนั้นจะไม่มีผลในทางกฎหมาย เพราะเป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งอำนาจบริหารในการปกครองประเทศ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลที่หมดสภาพการเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารนั้นย่อมเป็นการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้นและผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรีที่หมดสภาพแล้วนั้นต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือความผิดด้วยตนเองทั้งสิ้น เพราะเป็นการกระทำตามคำสั่งของรัฐบาลที่หมดสภาพการเป็นรัฐบาลแล้ว
การเสนอให้มีการทำประชามตินั้น ผู้เสนอจะต้องทราบเป็นอย่างดีถึงการสิ้นสภาพของรัฐบาล ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในลักษณะการเป็นตัวแทนของประชาชน การทำประชามติจึงเป็นเพียงการแสวงหาหรือเรียกคืน ซึ่งอำนาจของการเป็นผู้แทนประชาชนที่ได้สูญสิ้นไปแล้วเท่านั้น ซึ่งไม่มีหลักรัฐธรรมนูญ หลักนิติศาสตร์ หรือหลักรัฐศาสตร์ใดๆให้กระทำการดังกล่าวได้เลย ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง และต้องยึดหลักเกณฑ์ตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญไว้ให้มั่นเพราะจะนำพาประเทศไปสู่ความล่มจมและหายนะได้