นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.กทม. ประชาธิปัตย์ ในฐานะรัฐมนตรีเงา ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการทำงานของสื่อของรัฐ ว่า ขณะนี้ฝ่ายรัฐบาลได้ใช้อำนาจ เข้าไปแทรกแซง เพื่อใช้ประโยชน์ในการต่อสู้ทางการเมือง วิทยุ โทรทัศน์ในเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ ในส่วนกลาง และภูมิภาค เริ่มมีบทบาทในการเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ ตนขอตั้งข้อสังเกต 4 ข้อ คือ 1. มีการสนองคำสั่งที่มิชอบ ทำให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดในเนื้อหา สาระ 2. มีการเสนอข่าวสร้างภาพลบให้ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
3. มีการเอาเปรียบคู่แข่งทางการเมือง เช่น บางช่องเสนอสกู๊ปของบางกลุ่ม และ 4. มีการดำเนินการไม่เท่าเทียมกันในการใช้สื่อของรัฐ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้ทำหนังสือไปถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนานแล้ว ในการขอเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายค้าน และฝ่ายอื่นบ้าง ไม่ใช่เสนอแต่ นายกฯ และคนของรัฐบาล ซึ่งจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ
"ทั้งหมดส่งผลให้เกิดการเลือกข้าง สร้างความโกรธแค้น ชิงชัง และบาดแผลร้าวลึกในหมู่ประชาชน ยากจะเยียวยา ขอเรียกร้องสื่อของรัฐ ให้เสนอข่าวสารตรงไปตรงมา รอบด้าน ตามจรรยาวิชาชีพ" นายองอาจกล่าว และว่า ขณะนี้ยังมีความพยายามรุกคืบไปยัง อสมท. โดยจะมีการเปลี่ยนผู้บริหารหลายระดับ ซึ่งพรรคกำลังติดตามตรวจสอบอยู่ จึงขอเรียกร้องให้ฝ่ายการเมือง อย่าเข้าไปแทรกแซง
นายองอาจ กล่าวถึงผลของการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่าได้เกิดผลกระทบกับภาพลักษณ์ของประเทศมาก โดยคนต่างประเทศรู้สึกว่า ประเทศไทยเกิดกลียุค กำลังจะมีสงครามกลางเมือง ทำให้ส่งผลต่อการท่องเที่ยว ทั้งนี้ 2-3 เดือนข้างหน้า จะถึงช่วงไฮซีซั่น แต่นักท่องเที่ยวประกาศยกเลิกการเดินทางเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉิน ไม่มีผลในทางปฏิบัติ ดังนั้นรัฐบาลควรยกเลิกเสีย เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้
นายองอาจ กล่าวอีกว่า สำหรับการทำประชามติ ที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า สามารถทำได้ใน 1 เดือนนั้น หลายฝ่าย รวมถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พูดชัดว่า ทำไม่ได้ และตนยังเห็นว่า การทำประชามติเป็นการซื้อเวลา เพื่อแก้ปัญหาให้ตัวเองมากกว่าเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หากยังดึงดันจะทำ ผลการทำประชามติที่ออกมาก็จะไม่น่าเชื่อถือ เพราะเป็นการจัดทำในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเอง ว่าจะให้อยู่ต่อไปหรือไม่ และจะไม่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากใช้อำนาจรัฐบีบบังคับประชาชนให้สนับสนุนรัฐบาล ดังนั้น การทำประชามติจึงไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา และยังเสียงบประมาณจำนวนมากโดยใช่เหตุ
ทั้งนี้ ตนขอตั้งข้อสังเกต 4 ข้อ คือ 1. มีการสนองคำสั่งที่มิชอบ ทำให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดในเนื้อหา สาระ 2. มีการเสนอข่าวสร้างภาพลบให้ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
3. มีการเอาเปรียบคู่แข่งทางการเมือง เช่น บางช่องเสนอสกู๊ปของบางกลุ่ม และ 4. มีการดำเนินการไม่เท่าเทียมกันในการใช้สื่อของรัฐ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้ทำหนังสือไปถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนานแล้ว ในการขอเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายค้าน และฝ่ายอื่นบ้าง ไม่ใช่เสนอแต่ นายกฯ และคนของรัฐบาล ซึ่งจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ
"ทั้งหมดส่งผลให้เกิดการเลือกข้าง สร้างความโกรธแค้น ชิงชัง และบาดแผลร้าวลึกในหมู่ประชาชน ยากจะเยียวยา ขอเรียกร้องสื่อของรัฐ ให้เสนอข่าวสารตรงไปตรงมา รอบด้าน ตามจรรยาวิชาชีพ" นายองอาจกล่าว และว่า ขณะนี้ยังมีความพยายามรุกคืบไปยัง อสมท. โดยจะมีการเปลี่ยนผู้บริหารหลายระดับ ซึ่งพรรคกำลังติดตามตรวจสอบอยู่ จึงขอเรียกร้องให้ฝ่ายการเมือง อย่าเข้าไปแทรกแซง
นายองอาจ กล่าวถึงผลของการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่าได้เกิดผลกระทบกับภาพลักษณ์ของประเทศมาก โดยคนต่างประเทศรู้สึกว่า ประเทศไทยเกิดกลียุค กำลังจะมีสงครามกลางเมือง ทำให้ส่งผลต่อการท่องเที่ยว ทั้งนี้ 2-3 เดือนข้างหน้า จะถึงช่วงไฮซีซั่น แต่นักท่องเที่ยวประกาศยกเลิกการเดินทางเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉิน ไม่มีผลในทางปฏิบัติ ดังนั้นรัฐบาลควรยกเลิกเสีย เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้
นายองอาจ กล่าวอีกว่า สำหรับการทำประชามติ ที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า สามารถทำได้ใน 1 เดือนนั้น หลายฝ่าย รวมถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พูดชัดว่า ทำไม่ได้ และตนยังเห็นว่า การทำประชามติเป็นการซื้อเวลา เพื่อแก้ปัญหาให้ตัวเองมากกว่าเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หากยังดึงดันจะทำ ผลการทำประชามติที่ออกมาก็จะไม่น่าเชื่อถือ เพราะเป็นการจัดทำในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเอง ว่าจะให้อยู่ต่อไปหรือไม่ และจะไม่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากใช้อำนาจรัฐบีบบังคับประชาชนให้สนับสนุนรัฐบาล ดังนั้น การทำประชามติจึงไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา และยังเสียงบประมาณจำนวนมากโดยใช่เหตุ