ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้าวานนี้ (2 ก.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกประชุมแกนนำและส.ส.ของพรรคเป็นการด่วน เพื่อหารือถึงสถานการณ์ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำม็อบบุกทำร้ายผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจนมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนรัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อกำหนดท่าทีของพรรค
หลังการหารือนาน 3 ชม.นายอภิสิทธิ์ แถลงว่า พรรคได้ติดตามสถานการณ์และรับทราบข้อเท็จจริงต่างๆ รวมถึงการตัดสินใจของรัฐบาลที่ประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงขอแสดงท่าทีและจุดยืน ดังนี้
1.เราขอแสดงความเสียใจกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ รวมถึงครอบครัวของบุคคลเหล่านี้ ตนถือว่าการสูญเสียของทุกคน คือการสูญเสีย ของคนไทยไม่ว่าจะเป็น นปช.หรือพันธมิตรฯ และพรรคจะติดตามว่าคนเหล่านี้ได้รับการดูแล การชดเชย หรือการเยียวยาตามที่ควรจะเป็นหรือไม่
ผมอยากจะถามนายกฯว่าที่ท่านได้ปฏิเสธข้อเสนอต่างๆ ของเรา และบอกว่าจะตัดสินใจแบบของท่านเพื่อรักษาบ้านเมือง นี่หรือการรักษาบ้านเมืองของท่าน ที่นำให้คนไทยต้องมาปะทะกันถึงขั้นฆ่ากันตาย และเราทราบว่ายังมีความเคลื่อนไหว ของกลุ่มคนที่กำลังเดินทางเข้ามาและพร้อมจะมีการใช้ความรุนแรง
2.พรรคยืนยันอย่างหนักแน่นว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงทุกประเภท แต่ไม่ได้ปฏิเสธสิทธิการชุมนุมของกลุ่มใด แต่จะต้องเป็นลักษณะต่างคนต่างชุมนุม ไม่ใช่มีเจตนาทำร้ายอีกฝ่าย ขณะเดียวกัน ทั้ง 2 ฝ่ายต้องไม่มีการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง
3.จากการติดตามและประมวลข้อมูลทั้งหมด เห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่อุบัติเหตุหรือเรื่องบังเอิญ แต่เป็นการจงใจของผู้มีอำนาจที่ต้องการนำบ้านเมือง มาสู่จุดนี้เพื่อสร้างเงื่อนไขนำไปสู่การประกาศภาวะฉุกเฉิน และนำไปสู่จุดหมายอื่น ตามความต้องการของผู้มีอำนาจ ซึ่งพรรคมีข้อมูลหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวของคนในรัฐบาล ทั้งระดับรัฐมนตรี ส.ส. และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแกนนำรัฐบาล อาจรวมถึงตัวนายกรัฐมนตรีด้วยที่สนับสนุนให้ประชาชนเดินทาง เข้ามาเพื่อให้เกิดการเผชิญหน้ากัน และมีการปลุกระดมในที่ชุมนุมอย่างชัดเจน ให้ออกมาร่วมเคลื่อนไหว แม้กระทั่งมีการให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถกระทำการที่นำไปสู่ความรุนแรงต่ออีกฝ่ายได้
ใครก็ตามที่ติดตามประวัติของนายกฯคนนี้จะไม่รู้สึกแปลกใจใดๆ เลย ใครที่สงสัยในวันที่นายกฯเข้าสู่ตำแหน่งและมีการรื้อฟื้นเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ขึ้นมา โดยมีการตั้งข้อสงสัยและห่วงใยไปถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งวันนี้ก็ประกาศชัดเจนแล้วว่าถ้ามีนายกฯที่มีประวัติและท่าทีเช่นนี้ บ้านเมืองจะเข้าสู่วิกฤติแน่นอน ในอารยประเทศ ถ้ามีการบริหารประเทศผิดพลาดและจงใจให้เกิดเหตุร้ายแรงเช่นนี้ จะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองและทางกฎหมายด้วย ปัญหาของบ้านเมืองวันนี้ ผมไม่รู้จะเรียกร้องอะไรจากนายกฯได้อีก เพราะท่านไม่ใช้เหตุผล ไม่ใช้สติ เรียกร้องอะไรไปก็ไม่เกิดผล แต่ขอย้ำว่าสังคมที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เจริญแล้ว ความรับผิดชอบอยู่ที่นายกฯเต็มๆ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า 4.การที่นายกฯมอบหมายอำนาจให้พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.รับผิดชอบนั้น ตนเห็นว่า ผบ.ทบ.กำลังถูกวางตัวให้เป็นเหยื่อ รายต่อไปของนายกฯ เพราะถ้า ผบ.ทบ.ดำเนินการแล้วเกิดความรุนแรงขึ้น ตนมั่นใจว่า นายกฯจะโยนความผิดให้ผบ.ทบ. โดยอ้างว่ามอบอำนาจทางกฎหมายให้แล้ว ในทางกลับกัน ถ้า ผบ.ทบ.ไม่ดำเนินการหรือไม่สนใจ ปล่อยให้เหตุการณ์เกิดความ ร้ายแรงต่อไป นายกฯก็จะดำเนินการกับ ผบ.ทบ.ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ จึงขอเรียกร้อง ให้ ผบ.ทบ.ยืนอยู่ข้างประเทศชาติและประชาชน การคลี่คลายสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะนี้ต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนในสถานการณ์ความขัดแย้ง เพราะไม่ใช่เป็นการประกาศภาวะฉุกเฉินจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ หรือจากการกระทำของกลุ่มใดที่ไม่สามารถควบคุมการกระทำของตัวเองได้ แต่เป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่โยงใยถึงผู้มีอำนาจเข้ามายุยงส่งเสริม
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ดังนั้น ผบ.ทบ.ต้องแสดงให้คนไทยเห็นว่า จะใช้อำนาจอย่างมีสติ และห่วงใยชีวิตของทุกคน รวมถึงจะไม่ใช้ความรุนแรง และใช้อำนาจที่มีเปิดการเจรจาเพื่อหาทางออกและเอาความเป็นธรรมกลับคืนสู่สังคม เช่น การมอบอำนาจให้จัดการกับสื่อมวลชนที่ยั่วยุ ขอให้เริ่มต้นจากสื่อของรัฐก่อน ถ้าต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์ร่วมคลี่คลายปัญหาในเรื่องใด พรรคพร้อมให้ความ ร่วมมือ อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น เรื่องสำคัญที่สุด คือ ต้องไม่ให้สถานการณ์บานปลาย และต้องใช้การเจรจาเป็นทางออกที่ดีที่สุด
จากนั้น คณะส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้แยกย้ายไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บจากเหตุปะทะดังกล่าวตามโรงพยาบาลต่างๆ โดยคณะของนายอภิสิทธิ์ได้เดินทางเยี่ยม ผู้บาดเจ็บที่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ถนนสามเสน
ทูตสหรัฐฯพบอภิสิทธิ์ถกสถานการณ์
ต่อมาเวลา 15.30 น.นายเอริด จี จอร์น เอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกา เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ การเมือง โดยนายเอริด จี จอร์น กล่าวว่า การมาครั้งนี้เป็นการเดินทางมาพบตามปกติ และพูดคุยกันเรื่องทั่วไป ที่ตนนั้นตระเวนไปหารือสถานการณ์ต่างๆกับทุกพรรค ส่วนสถานการณ์ที่วิกฤติของประเทศไทยในขณะนี้ตนขอไม่แสดงความคิดเห็น หรือ ยุ่งเกี่ยวอะไร แต่เชื่อว่าจะได้รับการแก้ไขตามขั้นตอนทางการเมือง ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ด้านนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายเอริด ได้แสดงความห่วงใย ในฐานะที่เป็นมิตร เดินทางเพื่อสอบถามการประเมินสถานการฯของพวกเรา ซึ่งตนได้อธิบายถึงการประเมินสถานการณ์และให้ข้อมูลเท่าที่ทราบ รวมทั้งได้พูดถึงจุดยืนของพรรค ซึ่งทางเอกอัครราชทูตสหรัฐก็มีความประสงค์อยากจะเห็นการคลี่คลายสถานการณ์ไปอย่างสงบ ภายในกรอบกฎหมาย และวิถีทางประชาธิปไตย ตนยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันชัดเจนการปฏิวัติไม่ใช่ทางออกของปัญหา
ขอบคุณผบ.ทบ.วางขั้นตอนได้ดี
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการแถลงของพล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ว่า ต้องขอบคุณผบ.ทบ.ที่พยายามวางขั้นตอนการทำงาน โดยขั้นตอนแรกที่ถูกต้อง คือทำอย่างไรไม่ให้ 2 ฝ่ายปะทะกัน ส่วนประเด็นที่ไกลกว่านั้น ที่ท่านมองว่าเป็นเรื่องขั้นตอนทางการเมือง ตนก็ปฏิเสธไม่ได้ แต่จะไปรุกเล้าให้ทำอย่างไรนั้นอย่างนี้ ยังไม่ใช่เวลา สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วน คือ ต้องหยุดยั้งไม่ให้เกิดความรุนแรงและบานปลาย
แต่ละฝ่ายคิดแต่จะป้องกันตัวเอง และความรู้สึกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อคืนก็เป็นการเติมเชื้อไฟลงไป หากคนที่จะมาไม่ได้ต้องการทำให้ความรุนแรง เกิดขึ้น เชื่อว่า ผบ.ทบ.จะควบคุมสถานการณ์ได้ แต่คงต้องใช้วิธีทำความเข้าใจ ทำอย่างไรถึงจะค่อยๆสลายความขัดแย้ง ในส่วนของผมและพรรคพร้อมเข้าไปเป็น ส่วนร่วมในการแก้ปัญหาวิธีใดเพราะเราไม่ใช่พวกขัดแย้ง
ซัดหมักใช้ความรุนแรงไม่เปลี่ยน
นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนไม่แปลกใจว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ จะเกิดขึ้นในยุคของนายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะที่ผ่านมานายสมัครมีภูมิหลังนิยมความรุนแรง กระหายเลือดตลอดเวลา ดูได้จากเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มาถึงวันนี้เป็นเวลา 30 ปี แต่อุดมการณ์นายสมัครไม่เคยเปลี่ยน และคงอยากเห็นชีวิตคนมาสังเวยตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และที่อ้างว่าการประกาศใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้บ้านเมืองปกติโดยเร็วนั้น ตนเห็นว่าทางออกที่ดีที่สุดคือ นายสมัครต้องลาออกเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นการเสียสละเพื่อบ้านเมือง ที่น่าจะช่วยรักษาชีวิตคนนับแสนได้
ส่วนท่าทีการแถลงข่าวของ ผบ.ทบ. ที่ระบุว่าให้ฝ่ายการเมืองแก้ปัญหาด้วย วิธีการทางการเมือง โดยทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว โดยให้ทำในกรอบไม่ให้ประชาชนทั้ง 2 ฝ่ายปะทะกัน ผมขอชื่นชมในจุดยื่นและแนวทางของผบ.ทบ. แต่แนวทางของ การแก้ปัญหามี 3 แนวทางเท่านั้น 1.นายกฯ ลาออก 2. ยุบสภา 3. ทหารปฏิวัติ และเมื่อนายกฯ ปฏิเสธ 2 แนวทางแรก จึงอยากจะถามว่านายกฯ ต้องการเลือกแนวทาง ปฏิวัติหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าจะคัดค้านให้ถึงที่สุด และขอเตือนให้ผบ.ทบ.ยึดแนวทางประชาธิปไตย อย่าตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง โดยเด็ดขาด
สำหรับการประชุมสภาผู้แทน เพื่อพิจารณาพ.ร.บ.งบประมาณ ที่จะเริ่มต้นในวันที่ 3 กันยายนนี้ นายเทพไทกล่าวว่า อยากจะถามนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าในสถานการณ์บ้านเมืองเช่นนี้ มีความรุนแรง มีคนล้มตาย ยังจะต้องมีการประชุมเพื่อถกเถียงเรื่องงบประมาณอีกหรือไม่ เพราะในสถานการณ์เช่นนี้ ประชาชนกำลังใจจดใจจ่อกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น มากกว่ามาสนใจเรื่องตัวเลขงบประมาณ และถ้ามีการประชุมปกติ จะมีหลักประกันหรือไม่ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ และนปช. จะไม่มาชุมนุมและเกิดการปะทะกันที่หน้ารัฐสภา เหมือนเช่นที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นายเทพไทยังกล่าวว่า พรรคขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจ และแพทย์ผู้รักษาพยาบาล อย่าเลือกปฏิบัติกับผู้ชุมนุมทั้ง 2 ฝ่าย และจากการที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่ถูกยิงจากการปะทะกันเมื่อคืนที่ผ่านมา พบว่าเป็นผู้บาดเจ็บจากฝ่ายพันธมิตรฯ จึงชัดเจนว่าฝ่ายที่มีอาวุธปืนคือนปช. จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตรวจสอบ
ปธ.วุฒิสภาเชื่อ5วันสถานการณ์ดีขึ้น
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นการจลาจล มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก แต่ดูท่าทีของพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ที่ยืนยันว่าจะใช้วิธีละมุนละม่อมในการแก้ปัญหาจึงคิดว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ เชื่อว่าภายใน 5 วันเหตุการณ์น่าจะดีขึ้น เพราะนอกจากประกาศให้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้แล้ว ยังสามารถประกาศใช้มาตรการที่รุนแรงกว่านี้ได้หากเห็นว่า มีความจำเป็นไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ อย่างไรก็ตามหลักนิติศาสตร์ อย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ด้วย ซึ่งหมายถึงความรับผิดชอบทางการเมือง
ส่วนหลายองค์กรเสนอให้นายกฯยุบสภา ลาออก หรือให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลนั้น ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ถือเป็นทางออกหนึ่ง ที่สามารถทำได้ ซึ่งจะทำให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาที่ดี และนายกรัฐมนตรี ควรพิจารณาข้อเสนอแหล่านั้นด้วยเพื่อแก้วิกฤต นายกฯ รู้ดีว่ามีทางออกกี่ทาง แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกทางไหนที่ไม่ให้เกิดกลียุค ส่วนที่นายกฯยืนยันว่าจะอยู่ต่อเพื่อรักษาระบอบเอาไว้นั้น ก็ถือเป็นดุลพินิจ แต่จะแก้ได้หรือไม่ก็ต้องดูด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าพล.อ.อนุพงษ์ ระบุอยากให้รัฐสภาร่วมรับผิดชอบมากกว่านี้ นายประสพสุข กล่าวว่า ส.ว.ทุกคนเป็นห่วงสถานการณ์เหมือนกัน แต่รัฐสภาจะแก้ปัญหามากกว่านี้ไม่ได้แล้ว เพราะขณะนี้อยู่ในสมัยประชุมนิติบัญญัติ และได้แสดงความ เห็นไปหมดแล้วในการประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ดังนั้นจึงไม่จำเป็น ต้องมีการประชุมร่วมรัฐสภาอีก เพราะถ้ามีการประชุม แล้วเสนอทางออกไป แต่ไม่ได้รับการปฏิบัติก็ไม่รู้จะเสนอไปทำไม
หลังการหารือนาน 3 ชม.นายอภิสิทธิ์ แถลงว่า พรรคได้ติดตามสถานการณ์และรับทราบข้อเท็จจริงต่างๆ รวมถึงการตัดสินใจของรัฐบาลที่ประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงขอแสดงท่าทีและจุดยืน ดังนี้
1.เราขอแสดงความเสียใจกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ รวมถึงครอบครัวของบุคคลเหล่านี้ ตนถือว่าการสูญเสียของทุกคน คือการสูญเสีย ของคนไทยไม่ว่าจะเป็น นปช.หรือพันธมิตรฯ และพรรคจะติดตามว่าคนเหล่านี้ได้รับการดูแล การชดเชย หรือการเยียวยาตามที่ควรจะเป็นหรือไม่
ผมอยากจะถามนายกฯว่าที่ท่านได้ปฏิเสธข้อเสนอต่างๆ ของเรา และบอกว่าจะตัดสินใจแบบของท่านเพื่อรักษาบ้านเมือง นี่หรือการรักษาบ้านเมืองของท่าน ที่นำให้คนไทยต้องมาปะทะกันถึงขั้นฆ่ากันตาย และเราทราบว่ายังมีความเคลื่อนไหว ของกลุ่มคนที่กำลังเดินทางเข้ามาและพร้อมจะมีการใช้ความรุนแรง
2.พรรคยืนยันอย่างหนักแน่นว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงทุกประเภท แต่ไม่ได้ปฏิเสธสิทธิการชุมนุมของกลุ่มใด แต่จะต้องเป็นลักษณะต่างคนต่างชุมนุม ไม่ใช่มีเจตนาทำร้ายอีกฝ่าย ขณะเดียวกัน ทั้ง 2 ฝ่ายต้องไม่มีการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง
3.จากการติดตามและประมวลข้อมูลทั้งหมด เห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่อุบัติเหตุหรือเรื่องบังเอิญ แต่เป็นการจงใจของผู้มีอำนาจที่ต้องการนำบ้านเมือง มาสู่จุดนี้เพื่อสร้างเงื่อนไขนำไปสู่การประกาศภาวะฉุกเฉิน และนำไปสู่จุดหมายอื่น ตามความต้องการของผู้มีอำนาจ ซึ่งพรรคมีข้อมูลหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวของคนในรัฐบาล ทั้งระดับรัฐมนตรี ส.ส. และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแกนนำรัฐบาล อาจรวมถึงตัวนายกรัฐมนตรีด้วยที่สนับสนุนให้ประชาชนเดินทาง เข้ามาเพื่อให้เกิดการเผชิญหน้ากัน และมีการปลุกระดมในที่ชุมนุมอย่างชัดเจน ให้ออกมาร่วมเคลื่อนไหว แม้กระทั่งมีการให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถกระทำการที่นำไปสู่ความรุนแรงต่ออีกฝ่ายได้
ใครก็ตามที่ติดตามประวัติของนายกฯคนนี้จะไม่รู้สึกแปลกใจใดๆ เลย ใครที่สงสัยในวันที่นายกฯเข้าสู่ตำแหน่งและมีการรื้อฟื้นเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ขึ้นมา โดยมีการตั้งข้อสงสัยและห่วงใยไปถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งวันนี้ก็ประกาศชัดเจนแล้วว่าถ้ามีนายกฯที่มีประวัติและท่าทีเช่นนี้ บ้านเมืองจะเข้าสู่วิกฤติแน่นอน ในอารยประเทศ ถ้ามีการบริหารประเทศผิดพลาดและจงใจให้เกิดเหตุร้ายแรงเช่นนี้ จะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองและทางกฎหมายด้วย ปัญหาของบ้านเมืองวันนี้ ผมไม่รู้จะเรียกร้องอะไรจากนายกฯได้อีก เพราะท่านไม่ใช้เหตุผล ไม่ใช้สติ เรียกร้องอะไรไปก็ไม่เกิดผล แต่ขอย้ำว่าสังคมที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เจริญแล้ว ความรับผิดชอบอยู่ที่นายกฯเต็มๆ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า 4.การที่นายกฯมอบหมายอำนาจให้พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.รับผิดชอบนั้น ตนเห็นว่า ผบ.ทบ.กำลังถูกวางตัวให้เป็นเหยื่อ รายต่อไปของนายกฯ เพราะถ้า ผบ.ทบ.ดำเนินการแล้วเกิดความรุนแรงขึ้น ตนมั่นใจว่า นายกฯจะโยนความผิดให้ผบ.ทบ. โดยอ้างว่ามอบอำนาจทางกฎหมายให้แล้ว ในทางกลับกัน ถ้า ผบ.ทบ.ไม่ดำเนินการหรือไม่สนใจ ปล่อยให้เหตุการณ์เกิดความ ร้ายแรงต่อไป นายกฯก็จะดำเนินการกับ ผบ.ทบ.ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ จึงขอเรียกร้อง ให้ ผบ.ทบ.ยืนอยู่ข้างประเทศชาติและประชาชน การคลี่คลายสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะนี้ต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนในสถานการณ์ความขัดแย้ง เพราะไม่ใช่เป็นการประกาศภาวะฉุกเฉินจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ หรือจากการกระทำของกลุ่มใดที่ไม่สามารถควบคุมการกระทำของตัวเองได้ แต่เป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่โยงใยถึงผู้มีอำนาจเข้ามายุยงส่งเสริม
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ดังนั้น ผบ.ทบ.ต้องแสดงให้คนไทยเห็นว่า จะใช้อำนาจอย่างมีสติ และห่วงใยชีวิตของทุกคน รวมถึงจะไม่ใช้ความรุนแรง และใช้อำนาจที่มีเปิดการเจรจาเพื่อหาทางออกและเอาความเป็นธรรมกลับคืนสู่สังคม เช่น การมอบอำนาจให้จัดการกับสื่อมวลชนที่ยั่วยุ ขอให้เริ่มต้นจากสื่อของรัฐก่อน ถ้าต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์ร่วมคลี่คลายปัญหาในเรื่องใด พรรคพร้อมให้ความ ร่วมมือ อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น เรื่องสำคัญที่สุด คือ ต้องไม่ให้สถานการณ์บานปลาย และต้องใช้การเจรจาเป็นทางออกที่ดีที่สุด
จากนั้น คณะส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้แยกย้ายไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บจากเหตุปะทะดังกล่าวตามโรงพยาบาลต่างๆ โดยคณะของนายอภิสิทธิ์ได้เดินทางเยี่ยม ผู้บาดเจ็บที่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ถนนสามเสน
ทูตสหรัฐฯพบอภิสิทธิ์ถกสถานการณ์
ต่อมาเวลา 15.30 น.นายเอริด จี จอร์น เอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกา เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ การเมือง โดยนายเอริด จี จอร์น กล่าวว่า การมาครั้งนี้เป็นการเดินทางมาพบตามปกติ และพูดคุยกันเรื่องทั่วไป ที่ตนนั้นตระเวนไปหารือสถานการณ์ต่างๆกับทุกพรรค ส่วนสถานการณ์ที่วิกฤติของประเทศไทยในขณะนี้ตนขอไม่แสดงความคิดเห็น หรือ ยุ่งเกี่ยวอะไร แต่เชื่อว่าจะได้รับการแก้ไขตามขั้นตอนทางการเมือง ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ด้านนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายเอริด ได้แสดงความห่วงใย ในฐานะที่เป็นมิตร เดินทางเพื่อสอบถามการประเมินสถานการฯของพวกเรา ซึ่งตนได้อธิบายถึงการประเมินสถานการณ์และให้ข้อมูลเท่าที่ทราบ รวมทั้งได้พูดถึงจุดยืนของพรรค ซึ่งทางเอกอัครราชทูตสหรัฐก็มีความประสงค์อยากจะเห็นการคลี่คลายสถานการณ์ไปอย่างสงบ ภายในกรอบกฎหมาย และวิถีทางประชาธิปไตย ตนยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันชัดเจนการปฏิวัติไม่ใช่ทางออกของปัญหา
ขอบคุณผบ.ทบ.วางขั้นตอนได้ดี
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการแถลงของพล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ว่า ต้องขอบคุณผบ.ทบ.ที่พยายามวางขั้นตอนการทำงาน โดยขั้นตอนแรกที่ถูกต้อง คือทำอย่างไรไม่ให้ 2 ฝ่ายปะทะกัน ส่วนประเด็นที่ไกลกว่านั้น ที่ท่านมองว่าเป็นเรื่องขั้นตอนทางการเมือง ตนก็ปฏิเสธไม่ได้ แต่จะไปรุกเล้าให้ทำอย่างไรนั้นอย่างนี้ ยังไม่ใช่เวลา สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วน คือ ต้องหยุดยั้งไม่ให้เกิดความรุนแรงและบานปลาย
แต่ละฝ่ายคิดแต่จะป้องกันตัวเอง และความรู้สึกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อคืนก็เป็นการเติมเชื้อไฟลงไป หากคนที่จะมาไม่ได้ต้องการทำให้ความรุนแรง เกิดขึ้น เชื่อว่า ผบ.ทบ.จะควบคุมสถานการณ์ได้ แต่คงต้องใช้วิธีทำความเข้าใจ ทำอย่างไรถึงจะค่อยๆสลายความขัดแย้ง ในส่วนของผมและพรรคพร้อมเข้าไปเป็น ส่วนร่วมในการแก้ปัญหาวิธีใดเพราะเราไม่ใช่พวกขัดแย้ง
ซัดหมักใช้ความรุนแรงไม่เปลี่ยน
นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนไม่แปลกใจว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ จะเกิดขึ้นในยุคของนายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะที่ผ่านมานายสมัครมีภูมิหลังนิยมความรุนแรง กระหายเลือดตลอดเวลา ดูได้จากเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มาถึงวันนี้เป็นเวลา 30 ปี แต่อุดมการณ์นายสมัครไม่เคยเปลี่ยน และคงอยากเห็นชีวิตคนมาสังเวยตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และที่อ้างว่าการประกาศใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้บ้านเมืองปกติโดยเร็วนั้น ตนเห็นว่าทางออกที่ดีที่สุดคือ นายสมัครต้องลาออกเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นการเสียสละเพื่อบ้านเมือง ที่น่าจะช่วยรักษาชีวิตคนนับแสนได้
ส่วนท่าทีการแถลงข่าวของ ผบ.ทบ. ที่ระบุว่าให้ฝ่ายการเมืองแก้ปัญหาด้วย วิธีการทางการเมือง โดยทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว โดยให้ทำในกรอบไม่ให้ประชาชนทั้ง 2 ฝ่ายปะทะกัน ผมขอชื่นชมในจุดยื่นและแนวทางของผบ.ทบ. แต่แนวทางของ การแก้ปัญหามี 3 แนวทางเท่านั้น 1.นายกฯ ลาออก 2. ยุบสภา 3. ทหารปฏิวัติ และเมื่อนายกฯ ปฏิเสธ 2 แนวทางแรก จึงอยากจะถามว่านายกฯ ต้องการเลือกแนวทาง ปฏิวัติหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าจะคัดค้านให้ถึงที่สุด และขอเตือนให้ผบ.ทบ.ยึดแนวทางประชาธิปไตย อย่าตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง โดยเด็ดขาด
สำหรับการประชุมสภาผู้แทน เพื่อพิจารณาพ.ร.บ.งบประมาณ ที่จะเริ่มต้นในวันที่ 3 กันยายนนี้ นายเทพไทกล่าวว่า อยากจะถามนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าในสถานการณ์บ้านเมืองเช่นนี้ มีความรุนแรง มีคนล้มตาย ยังจะต้องมีการประชุมเพื่อถกเถียงเรื่องงบประมาณอีกหรือไม่ เพราะในสถานการณ์เช่นนี้ ประชาชนกำลังใจจดใจจ่อกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น มากกว่ามาสนใจเรื่องตัวเลขงบประมาณ และถ้ามีการประชุมปกติ จะมีหลักประกันหรือไม่ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ และนปช. จะไม่มาชุมนุมและเกิดการปะทะกันที่หน้ารัฐสภา เหมือนเช่นที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นายเทพไทยังกล่าวว่า พรรคขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจ และแพทย์ผู้รักษาพยาบาล อย่าเลือกปฏิบัติกับผู้ชุมนุมทั้ง 2 ฝ่าย และจากการที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่ถูกยิงจากการปะทะกันเมื่อคืนที่ผ่านมา พบว่าเป็นผู้บาดเจ็บจากฝ่ายพันธมิตรฯ จึงชัดเจนว่าฝ่ายที่มีอาวุธปืนคือนปช. จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตรวจสอบ
ปธ.วุฒิสภาเชื่อ5วันสถานการณ์ดีขึ้น
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นการจลาจล มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก แต่ดูท่าทีของพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ที่ยืนยันว่าจะใช้วิธีละมุนละม่อมในการแก้ปัญหาจึงคิดว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ เชื่อว่าภายใน 5 วันเหตุการณ์น่าจะดีขึ้น เพราะนอกจากประกาศให้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้แล้ว ยังสามารถประกาศใช้มาตรการที่รุนแรงกว่านี้ได้หากเห็นว่า มีความจำเป็นไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ อย่างไรก็ตามหลักนิติศาสตร์ อย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ด้วย ซึ่งหมายถึงความรับผิดชอบทางการเมือง
ส่วนหลายองค์กรเสนอให้นายกฯยุบสภา ลาออก หรือให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลนั้น ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ถือเป็นทางออกหนึ่ง ที่สามารถทำได้ ซึ่งจะทำให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาที่ดี และนายกรัฐมนตรี ควรพิจารณาข้อเสนอแหล่านั้นด้วยเพื่อแก้วิกฤต นายกฯ รู้ดีว่ามีทางออกกี่ทาง แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกทางไหนที่ไม่ให้เกิดกลียุค ส่วนที่นายกฯยืนยันว่าจะอยู่ต่อเพื่อรักษาระบอบเอาไว้นั้น ก็ถือเป็นดุลพินิจ แต่จะแก้ได้หรือไม่ก็ต้องดูด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าพล.อ.อนุพงษ์ ระบุอยากให้รัฐสภาร่วมรับผิดชอบมากกว่านี้ นายประสพสุข กล่าวว่า ส.ว.ทุกคนเป็นห่วงสถานการณ์เหมือนกัน แต่รัฐสภาจะแก้ปัญหามากกว่านี้ไม่ได้แล้ว เพราะขณะนี้อยู่ในสมัยประชุมนิติบัญญัติ และได้แสดงความ เห็นไปหมดแล้วในการประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ดังนั้นจึงไม่จำเป็น ต้องมีการประชุมร่วมรัฐสภาอีก เพราะถ้ามีการประชุม แล้วเสนอทางออกไป แต่ไม่ได้รับการปฏิบัติก็ไม่รู้จะเสนอไปทำไม