วานนี้ (1ส.ค.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กล่าวถึงผลการประชุมร่วม 2 สภา เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมาว่า ภาพรวมทุกฝ่ายไม่อยากเห็นความรุนแรงเกิดขึ้น ไม่ว่าเป็นฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา ก็ได้แสดงความเห็นเพื่อหาทางออกให้กับรัฐบาล โดย ยุบสภา หรือไม่ก็ลาออก หรือว่าเปลี่ยนหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งท่าทีของรัฐบาล ก็ไม่ปรับเปลี่ยนอะไร จึงน่าจะเป็นสาเหตุของความรุนแรง
ขณะที่นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การที่ส.ส.พรรคพลังประชาชน เสนอให้มีการทำประชามติ หรือตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อไปเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯนั้น ตนคิดว่าอาจจะช้าไป ซึ่งการทำประชามติต้องใช้เวลาหลายเดือน และเสียงบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท ซึ่งไม่แน่ว่ารัฐบาลอาจยัดไส้ เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญลงไปในการทำประชามติด้วย ดังนั้นการเสนอเรื่องดังกล่าว เป็นการบ่งบอกถึงความไม่น่าไว้วางใจของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะการเมืองต้องใช้การเมืองแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าใช้วิธีแบบแข็งกร้าวอาจจะผิดวัตถุประสงค์ เพราะศาลยังคุ้มครองผู้ชุมนุม เพื่อให้เกิดความสง่างามในการบริหาร และถือว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นใช้สภาเป็นเครื่องมือเท่านั้น และเป็นไปได้ยากที่รัฐบาลจะปรับเปลี่ยนท่าทีในการบริหารประเทศ
ส่วนการสั่งย้าย พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้บัญชาตำรวจนครบาลนั้น นายสมชาย กล่าวว่า เป็นการส่งสัญญาณอย่างหนึ่งว่า อาจจะทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาได้อีกครั้ง โดยอ้างว่าการสั่งย้าย พล.ต.ท.อัศวิน แล้วจะสั่งให้มีการถอนกำลังตำรวจประมาณ 8 พันนาย ออกจากพื้นที่การชุมนุม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตนทราบมาว่า กำลังตำรวจ 8 พันนาย ยังคงอยู่ในพื้นที่เหมือนเดิม
ด้านนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า หนึ่งนาทีก็ช้าไปแล้วสำหรับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี เพราะนายกรัฐมนตรีไม่ยอมลดราวาศอกพร้อมที่จะปะทะกับพลังมวลชน และไม่คำนึงถึงความรับผิดชอบที่ตัวเองต้องรับผิดชอบ
ดังนั้นหากรัฐบาลยังคิดที่จะบริหารประเทศต่อไปอาจจะเกิดการนองเลือด เนื่องจาก รัฐบาลหมดความชอบธรรมไปนานแล้ว มีอำนาจอยู่ในมือก็จริงแต่ไม่สามารถบริหารประเทศได้ ถือว่าขณะนี้รัฐบาลเป็นรัฐบาลเป็ดง่อยไปแล้ว ซึ่งทางออกที่ดีที่สุดคือ ลาออก หรือไม่ก็ยุบสภา
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสข่าวว่านายกรัฐมนตรี จะยุบสภาหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ปี 52 นายสมชาย กล่าวว่าตนคิดว่าถ้าไม่มีงบประมาณปี 52 ก็สามารถนำงบประมาณปี 51 มาใช้ก่อน ซึ่งคิดว่าหากรอให้ถึงเวลานั้น มันช้าเกินไปแล้ว
**ย้ำรัฐบาลหมดความชอบธรรม
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงข้อเสนอในการหาทางออก เพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์บ้านเมือง ในการอภิปรายร่วม 2 สภาว่า ไม่คิดว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ได้ผลอย่างที่สภาต้องการ คือมีความเห็นส่วนใหญ่ร่วมกัน แนะให้นายกฯปฏิบัติ แต่นายกฯไม่ปฏิบัติ ท่าทีนายกฯ ยังดึงดันอยู่ แต่ก็ไม่เป็นไร
ทั้งนี้ การที่ประชาธิปัตย์ เสนอให้นายกฯ ลาออก ไม่ใช่เพราะอยากเข้ามาบริหารประเทศแทน แต่เป็นการทำหน้าที่ของพรรค ทำด้วยความจริงใจ ตรงไปตรงมา ชัดที่สุด ส.ส.ที่อภิปราย พูด และแสดงจุดยืนชัดเจน ตัดประโยนช์ส่วนตัว สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ พูดไม่ได้ถูกใจกับทุกคน แต่เป็นการพูดเรื่องจริง
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า นายสมัคร สุนทรเวช นั่งฟังตลอดเวลา แม้จะทำเสียงแข็ง ปฏิเสธว่าจะตัดสินใจและรับผิดชอบเอง โดยไม่สนใจคำแนะนำของใคร นายกฯคงได้ประเด็นที่ชัดเจนขึ้นในสถานการณ์ของบ้านเมืองที่เป็นจริงมากกว่าที่เคยได้รับรายงานจากคนใกล้ชิด ตนเห็นว่าเป็นข้อดีในการอภิปรายครั้งนี้ นอกจากนั้นประชาชนทั่วประเทศที่ได้ฟังการถ่ายทอดการอภิปราย เห็นได้ชัดเจนว่า ท่าทางและแนวคิดของนายกฯ แตกต่างจากแนวคิดของจากคนส่วนใหญ่ ทั้งจากฝ่ายค้าน วุฒิสภา และแม้แต่พรรคร่วมรัฐบาลเอง ซึ่งจะทำให้เกิดกระแสความคิดทางการเมืองของประชาชน จะเห็นความถูกต้อง และความผิดที่ชัดเจน เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีโอกาสที่คนจะมีความเห็นหลากหลายจะได้มาพูดในเวทีเดียวกัน ให้ประชาชนได้ยิน
"ผมคิดว่าเมื่อวาน เป็นการให้ความรู้ ให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงกับประชาชนที่ดีที่สุด ฝ่ายค้านทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว บอกทางเลือกทุกอย่างแล้ว แต่นายกฯ เป็นผู้ปฏิบัติ จะไปปฏิบัติหรือไม่อยู่ที่นายกฯ" นายสุเทพกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า อะไรทำให้เชื่อว่าการยุบสภา จะเป็นหนทางออกของปัญหาทั้งหมด นายสุเทพ กล่าวว่า ประเด็นที่ฝ่ายค้านเสนอทางออก โดยให้นายกฯ ลาออก จากตำแหน่ง ที่พูดเช่นนี้ จากที่ส.ส.ได้อภิปราย ได้ชี้เห็นว่านายกฯ ขาดความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินไปแล้ว ไม่ใช่พิจารณาเฉพาะแค่ว่า นายกฯ ต้องเร่ร่อนเข้าทำเนียบฯไม่ได้ แต่เนื้อหาสาระในการบริหารราชการแผ่นดินมีความผิดพลาดหลายอย่าง และผิดจากเจตนารมณ์ที่ประชาชนได้มอบหมายให้อำนาจไว้ เพราะฉะนั้น ถ้านายกฯ ลาออก สภาก็เลือกบุคคลใหม่ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็บอกแล้วว่าไม่ต้องระแวง ไม่ลงสมัครแน่นอน และหากไม่เอาวิธีนี้ นายอภิสิทธิ์ ก็เสนอให้มีการยุบสภา ไปเลือกตั้งใหม่ ประชาชนได้ดูรัฐบาลมา 7 เดือน เห็นพฤติกรรมก็อาจจะคิดได้ว่า การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว อาจไว้วางใจคนผิดไป ก็มาพิจารณาแต่ถ้านายกฯ ดีจริง นำพรรคกลับเข้ามาใหม่ เป็นการยืนยัน ฝ่ายพันธมิตรก็ต้องรับฟังมติของประชาชน เป็นน่าสังเกตว่าส.ส.ฝ่ายรัฐบาลยังคำนึงความรู้สึกของประชาชน และมีการเสนอให้มีการทำประชามติ แต่มีคนเดียวที่ไม่ฟัง คือนายกฯ ทั้งหมดนี้ คิดว่า แม้นายกฯ จะแสดงอาการยืนในที่แข็งแรง แข็งขืน แต่สิ่งที่สมาชิกรัฐสภาได้พูดจาให้ฟังทั้งหมด ต้องติดอยู่ในใจนายกฯ และต้องหาทางออก
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการเสนอตั้งคณะกรรมการ โดยมี ส.ส. - สว. และพันธมิตรฯ มานั่งคุยทางออกที่ยอมรับได้ นายสุเทพ กล่าวว่า อยู่ที่นายกฯ อย่างที่บอกว่า ข้อเสนอไม่ได้มีแค่เพียงพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งหมดอาจไม่ใช่ข้อเสนอที่ฟังดู และปฏิบัติได้ แต่สะท้อนให้เห็นว่า การเมืองในวันนี้ต้องคำนึงถึงความคิด ความรู้สึกของประชาชน เมื่อถามว่า เลยเวลาที่จะมาพูดคุยกันหรือยัง นายสุเทเพ กล่าวว่า ไม่มีอะไรเลยเวลา การแก้ปัญหาเริ่มได้ตั้งแต่เมื่อคืน เริ่มได้วันนี้ ทำได้ทุกเวลา แต่ว่าถ้าดึงดันแข็งขืน ไม่ฟังใคร ก็ลำบาก ถ้าไม่ดึงดันก็ทำได้
**ส.ส.พัทลุงเตรียมฟ้องสุนัย
น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน อ้างว่าได้รับเอกสารฉบับหนึ่ง ระบุว่ามีการโอนเงินผ่านบริษัทของนางสุพัชรี ให้บริษัท ทีพีไอโพลีน โอนเงินให้กลุ่มพันธมิตรฯจำนวนกว่า 250 ล้านบาทก่อนมีการปฏิวัติ ว่า ขณะนี้ตนได้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว โดยได้ประสานไปยังนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านทางเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งขณะนี้ได้นำไปให้ฝ่ายกฎหมายของพรรคตรวจสอบ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพรรคด้วย ส่วนที่มีการพาดพิงว่า บริษัทดังกล่าวจดทะเบียนปี 2547 นั้น ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะขณะนั้นตนยังเป็นนักศึกษา จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นเจ้าของบริษัท ดังนั้น เรื่องที่นายสุนัย อภิปรายในสภาเป็นการกล่าวหา เพื่อให้ตนและพรรคเสียหายเท่านั้น
"กรณีนี้เป็นการกล่าวหาตน และคุณพ่อ (นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีต ส.ส.พัทลุง) รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่เป็นความจริง และยืนยันว่าไม่มีการรับเงิน ทั้งนี้ หากยังมีข้อสงสัย ดิฉันและพรรคก็ยินดีให้ตรวจสอบหลักฐานเส้นทางการเงิน เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และถ้าการตรวจสอบจากพรรคพบว่าสิ่งที่นายสุนัยกล่าวอ้างเป็นเท็จ ก็จะฟ้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาทด้วย" น.ส.สุพัชรีกล่าว
** "สมพงษ์"ชี้ทำประชามติคือทางออก
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ยุติธรรม กล่าวว่า การอภิปรายเมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลได้รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ส่วนแนวคิดที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอให้ยุบสภานั้น ก็เป็นความเห็นของฝ่ายค้าน แต่คนที่ตัดสินใจคือนายกฯ ซึ่งนายกฯได้บอกไปแล้วว่าจะไม่ลาออกไม่ยุบสภา ทางออกของรัฐบาลหลังจากนี้ ต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป ซึ่งรัฐบาลต้องใช้ความละมุนละม่อม
ส่วนกรณีที่มีส.ส.พรรคพลังประชาชน เข้าร่วมเคลื่อนไหวในการนำกลุ่มประชาชนมาต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯนั้น คงไปห้ามไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิของบุคคล ซึ่งส.ส. ควรมีจิตสำนึกเองว่าควรหรือไม่ควร
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสมัคร กำลังหาที่ทำงานชั่วคราวของ ครม.ในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรฯยึดทำเนียบฯอยู่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ความจริงแล้วเห็นว่าคงไม่ต้องไปเตรียมการอะไรมากมาย เพราะกลุ่มพันธมิตรฯ คงไม่สามารถอยู่ในทำเนียบฯได้จนถึงชั่วลูก ชั่วหลาน วันหนึ่ง ครม.ก็อาจกลับเข้าไปทำงานในทำเนียบฯ เช่นเดิมได้ แต่ตนห่วงเรื่องมือที่สามมากกว่า อย่างเช่นเหตุการณ์ช่วงดึกเมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมาได้มีการลอบวางระเบิดเกิดขึ้น
เมื่อถามว่าการอภิปรายดังกล่าว ส.ส.ของพรรคพลังประชาชน เสนอให้ทำประชามติ รับฟังการแก้ไขปัญหาในการจัดการกับกลุ่มพันธมิตรฯ นายสมพงษ์ กล่าวว่า ถือเป็นทางออกที่ดี ซึ่งกฎหมายประชามติ ก็ใกล้จะสามารถบังคับใช้แล้ว
**ขรก.แนะปชป. ลาออกยกพรรค
น.ส.สิวินีย์ สวัสดิ์อารี นักวิชาการจากสถาบันมาตรวิทยา ก.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีเนื้อหาว่า หลังจากการประชุมร่วม 2 สภาที่หวังว่า จะหาทางออกจากวิกฤตการณ์บ้านเมือง แต่ไม่ประสบผล มีแต่จะยิ่งตอกย้ำว่ารัฐบาลและรัฐสภา ไม่สามารถเป็นสถาบันที่สังคมจะให้ความเชื่อมั่นได้ โดยเฉพาะรัฐบาลมีเจตจำนงที่จะใช้รัฐสภา เพื่อแสวงหาประโยชน์อื่น ที่ไม่ใช่ผลลัพธ์หรือความคิดเห็นจากการหารือของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเท่ากับเป็นการละเมิดต่อหลักการ และองค์กรพื้นฐานของกระบวนการประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ดังนั้นเพื่อความยืนยงของกระบวนการรัฐสภา จึงขอเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะของสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง และสำคัญของกระบวนการประชาธิปไตยของสังคมไทย ไตร่ตรองว่า จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภา ซึ่งทำลายคุณค่าและกระบวนการรัฐสภาต่อไปหรือไม่
"การสละสมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ คือ เครื่องยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ เชิดชู รักษา คุณค่าและกระบวนการประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไว้เหนือผลประโยชน์ของพรรค และเท่ากับพรรคประชาธิปัตย์ได้สร้างมาตรฐานทางจริยธรรมการเมืองและมาตรฐานความรับผิดชอบทางการเมืองของพรรคการเมืองและนักการเมือง ที่มีต่อรัฐสภา ต่อประชาธิปไตย และต่อปวงชนชาวไทยครั้งที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย" จดหมายข้าราชการผู้นี้ ระบุ
ขณะที่นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การที่ส.ส.พรรคพลังประชาชน เสนอให้มีการทำประชามติ หรือตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อไปเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯนั้น ตนคิดว่าอาจจะช้าไป ซึ่งการทำประชามติต้องใช้เวลาหลายเดือน และเสียงบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท ซึ่งไม่แน่ว่ารัฐบาลอาจยัดไส้ เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญลงไปในการทำประชามติด้วย ดังนั้นการเสนอเรื่องดังกล่าว เป็นการบ่งบอกถึงความไม่น่าไว้วางใจของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะการเมืองต้องใช้การเมืองแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าใช้วิธีแบบแข็งกร้าวอาจจะผิดวัตถุประสงค์ เพราะศาลยังคุ้มครองผู้ชุมนุม เพื่อให้เกิดความสง่างามในการบริหาร และถือว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นใช้สภาเป็นเครื่องมือเท่านั้น และเป็นไปได้ยากที่รัฐบาลจะปรับเปลี่ยนท่าทีในการบริหารประเทศ
ส่วนการสั่งย้าย พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้บัญชาตำรวจนครบาลนั้น นายสมชาย กล่าวว่า เป็นการส่งสัญญาณอย่างหนึ่งว่า อาจจะทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาได้อีกครั้ง โดยอ้างว่าการสั่งย้าย พล.ต.ท.อัศวิน แล้วจะสั่งให้มีการถอนกำลังตำรวจประมาณ 8 พันนาย ออกจากพื้นที่การชุมนุม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตนทราบมาว่า กำลังตำรวจ 8 พันนาย ยังคงอยู่ในพื้นที่เหมือนเดิม
ด้านนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า หนึ่งนาทีก็ช้าไปแล้วสำหรับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี เพราะนายกรัฐมนตรีไม่ยอมลดราวาศอกพร้อมที่จะปะทะกับพลังมวลชน และไม่คำนึงถึงความรับผิดชอบที่ตัวเองต้องรับผิดชอบ
ดังนั้นหากรัฐบาลยังคิดที่จะบริหารประเทศต่อไปอาจจะเกิดการนองเลือด เนื่องจาก รัฐบาลหมดความชอบธรรมไปนานแล้ว มีอำนาจอยู่ในมือก็จริงแต่ไม่สามารถบริหารประเทศได้ ถือว่าขณะนี้รัฐบาลเป็นรัฐบาลเป็ดง่อยไปแล้ว ซึ่งทางออกที่ดีที่สุดคือ ลาออก หรือไม่ก็ยุบสภา
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสข่าวว่านายกรัฐมนตรี จะยุบสภาหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ปี 52 นายสมชาย กล่าวว่าตนคิดว่าถ้าไม่มีงบประมาณปี 52 ก็สามารถนำงบประมาณปี 51 มาใช้ก่อน ซึ่งคิดว่าหากรอให้ถึงเวลานั้น มันช้าเกินไปแล้ว
**ย้ำรัฐบาลหมดความชอบธรรม
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงข้อเสนอในการหาทางออก เพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์บ้านเมือง ในการอภิปรายร่วม 2 สภาว่า ไม่คิดว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ได้ผลอย่างที่สภาต้องการ คือมีความเห็นส่วนใหญ่ร่วมกัน แนะให้นายกฯปฏิบัติ แต่นายกฯไม่ปฏิบัติ ท่าทีนายกฯ ยังดึงดันอยู่ แต่ก็ไม่เป็นไร
ทั้งนี้ การที่ประชาธิปัตย์ เสนอให้นายกฯ ลาออก ไม่ใช่เพราะอยากเข้ามาบริหารประเทศแทน แต่เป็นการทำหน้าที่ของพรรค ทำด้วยความจริงใจ ตรงไปตรงมา ชัดที่สุด ส.ส.ที่อภิปราย พูด และแสดงจุดยืนชัดเจน ตัดประโยนช์ส่วนตัว สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ พูดไม่ได้ถูกใจกับทุกคน แต่เป็นการพูดเรื่องจริง
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า นายสมัคร สุนทรเวช นั่งฟังตลอดเวลา แม้จะทำเสียงแข็ง ปฏิเสธว่าจะตัดสินใจและรับผิดชอบเอง โดยไม่สนใจคำแนะนำของใคร นายกฯคงได้ประเด็นที่ชัดเจนขึ้นในสถานการณ์ของบ้านเมืองที่เป็นจริงมากกว่าที่เคยได้รับรายงานจากคนใกล้ชิด ตนเห็นว่าเป็นข้อดีในการอภิปรายครั้งนี้ นอกจากนั้นประชาชนทั่วประเทศที่ได้ฟังการถ่ายทอดการอภิปราย เห็นได้ชัดเจนว่า ท่าทางและแนวคิดของนายกฯ แตกต่างจากแนวคิดของจากคนส่วนใหญ่ ทั้งจากฝ่ายค้าน วุฒิสภา และแม้แต่พรรคร่วมรัฐบาลเอง ซึ่งจะทำให้เกิดกระแสความคิดทางการเมืองของประชาชน จะเห็นความถูกต้อง และความผิดที่ชัดเจน เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีโอกาสที่คนจะมีความเห็นหลากหลายจะได้มาพูดในเวทีเดียวกัน ให้ประชาชนได้ยิน
"ผมคิดว่าเมื่อวาน เป็นการให้ความรู้ ให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงกับประชาชนที่ดีที่สุด ฝ่ายค้านทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว บอกทางเลือกทุกอย่างแล้ว แต่นายกฯ เป็นผู้ปฏิบัติ จะไปปฏิบัติหรือไม่อยู่ที่นายกฯ" นายสุเทพกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า อะไรทำให้เชื่อว่าการยุบสภา จะเป็นหนทางออกของปัญหาทั้งหมด นายสุเทพ กล่าวว่า ประเด็นที่ฝ่ายค้านเสนอทางออก โดยให้นายกฯ ลาออก จากตำแหน่ง ที่พูดเช่นนี้ จากที่ส.ส.ได้อภิปราย ได้ชี้เห็นว่านายกฯ ขาดความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินไปแล้ว ไม่ใช่พิจารณาเฉพาะแค่ว่า นายกฯ ต้องเร่ร่อนเข้าทำเนียบฯไม่ได้ แต่เนื้อหาสาระในการบริหารราชการแผ่นดินมีความผิดพลาดหลายอย่าง และผิดจากเจตนารมณ์ที่ประชาชนได้มอบหมายให้อำนาจไว้ เพราะฉะนั้น ถ้านายกฯ ลาออก สภาก็เลือกบุคคลใหม่ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็บอกแล้วว่าไม่ต้องระแวง ไม่ลงสมัครแน่นอน และหากไม่เอาวิธีนี้ นายอภิสิทธิ์ ก็เสนอให้มีการยุบสภา ไปเลือกตั้งใหม่ ประชาชนได้ดูรัฐบาลมา 7 เดือน เห็นพฤติกรรมก็อาจจะคิดได้ว่า การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว อาจไว้วางใจคนผิดไป ก็มาพิจารณาแต่ถ้านายกฯ ดีจริง นำพรรคกลับเข้ามาใหม่ เป็นการยืนยัน ฝ่ายพันธมิตรก็ต้องรับฟังมติของประชาชน เป็นน่าสังเกตว่าส.ส.ฝ่ายรัฐบาลยังคำนึงความรู้สึกของประชาชน และมีการเสนอให้มีการทำประชามติ แต่มีคนเดียวที่ไม่ฟัง คือนายกฯ ทั้งหมดนี้ คิดว่า แม้นายกฯ จะแสดงอาการยืนในที่แข็งแรง แข็งขืน แต่สิ่งที่สมาชิกรัฐสภาได้พูดจาให้ฟังทั้งหมด ต้องติดอยู่ในใจนายกฯ และต้องหาทางออก
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการเสนอตั้งคณะกรรมการ โดยมี ส.ส. - สว. และพันธมิตรฯ มานั่งคุยทางออกที่ยอมรับได้ นายสุเทพ กล่าวว่า อยู่ที่นายกฯ อย่างที่บอกว่า ข้อเสนอไม่ได้มีแค่เพียงพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งหมดอาจไม่ใช่ข้อเสนอที่ฟังดู และปฏิบัติได้ แต่สะท้อนให้เห็นว่า การเมืองในวันนี้ต้องคำนึงถึงความคิด ความรู้สึกของประชาชน เมื่อถามว่า เลยเวลาที่จะมาพูดคุยกันหรือยัง นายสุเทเพ กล่าวว่า ไม่มีอะไรเลยเวลา การแก้ปัญหาเริ่มได้ตั้งแต่เมื่อคืน เริ่มได้วันนี้ ทำได้ทุกเวลา แต่ว่าถ้าดึงดันแข็งขืน ไม่ฟังใคร ก็ลำบาก ถ้าไม่ดึงดันก็ทำได้
**ส.ส.พัทลุงเตรียมฟ้องสุนัย
น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน อ้างว่าได้รับเอกสารฉบับหนึ่ง ระบุว่ามีการโอนเงินผ่านบริษัทของนางสุพัชรี ให้บริษัท ทีพีไอโพลีน โอนเงินให้กลุ่มพันธมิตรฯจำนวนกว่า 250 ล้านบาทก่อนมีการปฏิวัติ ว่า ขณะนี้ตนได้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว โดยได้ประสานไปยังนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านทางเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งขณะนี้ได้นำไปให้ฝ่ายกฎหมายของพรรคตรวจสอบ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพรรคด้วย ส่วนที่มีการพาดพิงว่า บริษัทดังกล่าวจดทะเบียนปี 2547 นั้น ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะขณะนั้นตนยังเป็นนักศึกษา จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นเจ้าของบริษัท ดังนั้น เรื่องที่นายสุนัย อภิปรายในสภาเป็นการกล่าวหา เพื่อให้ตนและพรรคเสียหายเท่านั้น
"กรณีนี้เป็นการกล่าวหาตน และคุณพ่อ (นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีต ส.ส.พัทลุง) รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่เป็นความจริง และยืนยันว่าไม่มีการรับเงิน ทั้งนี้ หากยังมีข้อสงสัย ดิฉันและพรรคก็ยินดีให้ตรวจสอบหลักฐานเส้นทางการเงิน เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และถ้าการตรวจสอบจากพรรคพบว่าสิ่งที่นายสุนัยกล่าวอ้างเป็นเท็จ ก็จะฟ้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาทด้วย" น.ส.สุพัชรีกล่าว
** "สมพงษ์"ชี้ทำประชามติคือทางออก
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ยุติธรรม กล่าวว่า การอภิปรายเมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลได้รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ส่วนแนวคิดที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอให้ยุบสภานั้น ก็เป็นความเห็นของฝ่ายค้าน แต่คนที่ตัดสินใจคือนายกฯ ซึ่งนายกฯได้บอกไปแล้วว่าจะไม่ลาออกไม่ยุบสภา ทางออกของรัฐบาลหลังจากนี้ ต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป ซึ่งรัฐบาลต้องใช้ความละมุนละม่อม
ส่วนกรณีที่มีส.ส.พรรคพลังประชาชน เข้าร่วมเคลื่อนไหวในการนำกลุ่มประชาชนมาต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯนั้น คงไปห้ามไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิของบุคคล ซึ่งส.ส. ควรมีจิตสำนึกเองว่าควรหรือไม่ควร
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสมัคร กำลังหาที่ทำงานชั่วคราวของ ครม.ในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรฯยึดทำเนียบฯอยู่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ความจริงแล้วเห็นว่าคงไม่ต้องไปเตรียมการอะไรมากมาย เพราะกลุ่มพันธมิตรฯ คงไม่สามารถอยู่ในทำเนียบฯได้จนถึงชั่วลูก ชั่วหลาน วันหนึ่ง ครม.ก็อาจกลับเข้าไปทำงานในทำเนียบฯ เช่นเดิมได้ แต่ตนห่วงเรื่องมือที่สามมากกว่า อย่างเช่นเหตุการณ์ช่วงดึกเมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมาได้มีการลอบวางระเบิดเกิดขึ้น
เมื่อถามว่าการอภิปรายดังกล่าว ส.ส.ของพรรคพลังประชาชน เสนอให้ทำประชามติ รับฟังการแก้ไขปัญหาในการจัดการกับกลุ่มพันธมิตรฯ นายสมพงษ์ กล่าวว่า ถือเป็นทางออกที่ดี ซึ่งกฎหมายประชามติ ก็ใกล้จะสามารถบังคับใช้แล้ว
**ขรก.แนะปชป. ลาออกยกพรรค
น.ส.สิวินีย์ สวัสดิ์อารี นักวิชาการจากสถาบันมาตรวิทยา ก.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีเนื้อหาว่า หลังจากการประชุมร่วม 2 สภาที่หวังว่า จะหาทางออกจากวิกฤตการณ์บ้านเมือง แต่ไม่ประสบผล มีแต่จะยิ่งตอกย้ำว่ารัฐบาลและรัฐสภา ไม่สามารถเป็นสถาบันที่สังคมจะให้ความเชื่อมั่นได้ โดยเฉพาะรัฐบาลมีเจตจำนงที่จะใช้รัฐสภา เพื่อแสวงหาประโยชน์อื่น ที่ไม่ใช่ผลลัพธ์หรือความคิดเห็นจากการหารือของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเท่ากับเป็นการละเมิดต่อหลักการ และองค์กรพื้นฐานของกระบวนการประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ดังนั้นเพื่อความยืนยงของกระบวนการรัฐสภา จึงขอเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะของสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง และสำคัญของกระบวนการประชาธิปไตยของสังคมไทย ไตร่ตรองว่า จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภา ซึ่งทำลายคุณค่าและกระบวนการรัฐสภาต่อไปหรือไม่
"การสละสมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ คือ เครื่องยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ เชิดชู รักษา คุณค่าและกระบวนการประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไว้เหนือผลประโยชน์ของพรรค และเท่ากับพรรคประชาธิปัตย์ได้สร้างมาตรฐานทางจริยธรรมการเมืองและมาตรฐานความรับผิดชอบทางการเมืองของพรรคการเมืองและนักการเมือง ที่มีต่อรัฐสภา ต่อประชาธิปไตย และต่อปวงชนชาวไทยครั้งที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย" จดหมายข้าราชการผู้นี้ ระบุ