ตาก- เวทีประชุมตัวแทนรัฐ/เอกชน GMS-ECF เสนอเปิดจุดการค้าชายแดนเพิ่ม-ฟื้นฟู Contract Farming เป็นรูปธรรม เพิ่มช่องทางการขนส่งสินค้าในกลุ่ม East-West Economic corridor/อนุภูมิภาคลุ่มน้ำอิรวดี-เจ้าพระเยา และน้ำโขง พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ
การประชุม GMS-ECF รัฐ-เอกชน จังหวัดชายแดนที่ติดต่อและทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน AEC หรือกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทาราแม่สอดฮิลล์ อ.แม่สอด จ.ตาก ระหว่าง 21-23 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยมีนายชรินทร์ หาญสืบสาย สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ การเศรษฐกิจ-พาณิชย์และอุตสาหกรรมวุฒิสภา ร่วมกับคณะกรรมาธิการ ด้านเศรษฐกิจ พาณิชย์และอุสาหกรรมวุฒิสภา ประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชายแดน นักธุรกิจ-พ่อค้า ได้มีการเสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ
1.การเปิดจุดการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ทางด่านชายแดนแม่สอด-เมียวดี ,แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก,และทางชายแดนไทย-กัมพูชาและลาว เพื่อเพิ่มช่องทางการขนส่งสินค้า เชื่อมโยงในกลุ่มอีสต์เวสต์ อีโคโนมิก คอริดอร์และกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำอิรวดี-เจ้าพระยาและแม่น้ำโขง
2.การฟื้นฟูยกระดับโครงการคอนแทร็กฟาร์มิ่ง (Contract Farming Xให้มาตรฐานเป็นรูปธรรม 3.การจัดหาแรงงานที่มีทักษะมาทำงาน 4.ส่งเสริมอุตสาหกรรมและการเกษตร เต็มรูปแบบและเป็นระบบ 5.ผลักดันเขตเสรีการค้า และสิทธิพิเศษภาษีต่างๆ
รายงานข่าวแจ้งว่า GMS-ECF- AEC เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง CLM (กัมพูชา-ลาว-พม่า) และ CLMV (กัมพูชา-ลาว-พม่า-เวียดนาม ) และกลุ่มเศรษฐกิจไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์-อินโดนีเซีย เพื่อให้กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเชื่อมโยงกับกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อไป
นางสาวปราณี ศิริพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือการค้าการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า โครงการ คอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ในพื้นที่ชายแดนจะต้องทำให้เกิดการพัฒนาเป็นรูปธรรม เพิ่มผลผลิตและพืชในโครงการ ปัจจุบันมีพืชในโครงการความร่วมมือจำนวน 8 ชนิด เช่น ถั่วลิสง-ถั่วเหลือง-ข้าวโพด-ข้าวโพดหวาน-มันฝรั่ง-ละหุ่ง-มะม่วงหิมพานต์ ซึ่งต่อไปจะต้องมีการขยาย สำหรับพื้นที่โครงการคอนแทร็กฟาร์มิ่ง จากเดิมแม่สอด-เมียวดี นำร่อง พื้นที่ทำการเกษตรกว่า 300,000 ไร่ จะขยายไปยังจังหวัดเลยและจันทบุรี
รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้เข้าร่วมประชุม GMS-ECF รัฐ-เอกชน จังหวัดชายแดนที่ติดต่อและทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน AEC ได้เดินทางไปทัศนศึกษาและดูงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่จังหวัดเมียวดี ของพม่าด้วย
การประชุม GMS-ECF รัฐ-เอกชน จังหวัดชายแดนที่ติดต่อและทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน AEC หรือกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทาราแม่สอดฮิลล์ อ.แม่สอด จ.ตาก ระหว่าง 21-23 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยมีนายชรินทร์ หาญสืบสาย สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ การเศรษฐกิจ-พาณิชย์และอุตสาหกรรมวุฒิสภา ร่วมกับคณะกรรมาธิการ ด้านเศรษฐกิจ พาณิชย์และอุสาหกรรมวุฒิสภา ประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชายแดน นักธุรกิจ-พ่อค้า ได้มีการเสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ
1.การเปิดจุดการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ทางด่านชายแดนแม่สอด-เมียวดี ,แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก,และทางชายแดนไทย-กัมพูชาและลาว เพื่อเพิ่มช่องทางการขนส่งสินค้า เชื่อมโยงในกลุ่มอีสต์เวสต์ อีโคโนมิก คอริดอร์และกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำอิรวดี-เจ้าพระยาและแม่น้ำโขง
2.การฟื้นฟูยกระดับโครงการคอนแทร็กฟาร์มิ่ง (Contract Farming Xให้มาตรฐานเป็นรูปธรรม 3.การจัดหาแรงงานที่มีทักษะมาทำงาน 4.ส่งเสริมอุตสาหกรรมและการเกษตร เต็มรูปแบบและเป็นระบบ 5.ผลักดันเขตเสรีการค้า และสิทธิพิเศษภาษีต่างๆ
รายงานข่าวแจ้งว่า GMS-ECF- AEC เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง CLM (กัมพูชา-ลาว-พม่า) และ CLMV (กัมพูชา-ลาว-พม่า-เวียดนาม ) และกลุ่มเศรษฐกิจไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์-อินโดนีเซีย เพื่อให้กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเชื่อมโยงกับกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อไป
นางสาวปราณี ศิริพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือการค้าการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า โครงการ คอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ในพื้นที่ชายแดนจะต้องทำให้เกิดการพัฒนาเป็นรูปธรรม เพิ่มผลผลิตและพืชในโครงการ ปัจจุบันมีพืชในโครงการความร่วมมือจำนวน 8 ชนิด เช่น ถั่วลิสง-ถั่วเหลือง-ข้าวโพด-ข้าวโพดหวาน-มันฝรั่ง-ละหุ่ง-มะม่วงหิมพานต์ ซึ่งต่อไปจะต้องมีการขยาย สำหรับพื้นที่โครงการคอนแทร็กฟาร์มิ่ง จากเดิมแม่สอด-เมียวดี นำร่อง พื้นที่ทำการเกษตรกว่า 300,000 ไร่ จะขยายไปยังจังหวัดเลยและจันทบุรี
รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้เข้าร่วมประชุม GMS-ECF รัฐ-เอกชน จังหวัดชายแดนที่ติดต่อและทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน AEC ได้เดินทางไปทัศนศึกษาและดูงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่จังหวัดเมียวดี ของพม่าด้วย