ผู้จัดการรายวัน -พาณิชย์ไทย หนุนตั้ง GMS-ECF “วิรุฬ เตชะไพบูลย์” เชื่อ! จะกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบ พร้อมเสนอลดประชุม GMS Summit จาก 3 ปีเหลือ 2 ปี เพื่อให้แผนงานเดินหน้าเร็วขึ้น ยันต้องเร่งพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ “ตต.-ตอ.” เสริม “เหนือ-ใต้” ด้วย
นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการเข้าร่วมประชุม Inaugural Meeting of GMS Economic Corridors Forum (ECF) ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 6-7 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย ได้ให้ข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษาการจัดตั้งกลไกการดำเนินงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ และร่างยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridors : NSEC)
โดยสรุปสาระสำคัญการประชุม คือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้นำเสนอร่างขอบเขตการจัดตั้งกลไกการดำเนินงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ และมีเป้าหมายการจัดตั้ง ECF เพื่อผลักดันให้เส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) (ความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน) เป็นเส้นทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาค
นายวิรุฬ ย้ำว่า รัฐมนตรีจากประเทศ GMS ได้ให้ข้อคิดเห็นต่อ TOR ของการจัดตั้ง GMS-ECF และ NSEC โดยทั้งหมดเชื่อว่า สิ่งนี้จะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ ตนได้แสดงข้อคิดเห็นถึงบทบาทของกรอบความร่วมมือ GMS ที่มีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน กล่าวคือ
สมาชิก GMS จะต้องร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจอย่างแข็งขันมากขึ้น โดยไทยเห็นว่า การจัดตั้ง GMS-ECF จะช่วยส่งเสริมการขยายตัวของการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ รวมถึงปรับมาตรการการค้าเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการลงทุนแก่ภาคเอกชน นอกจากนี้ ในส่วนของ NSEC ซึ่งมีเส้นทาง คุนมั่น-กงลู่ (R3E) เชื่อมต่อมณฑลยูนานถึงไทย ในอนาคตสามารถต่อยอดไปทางเหนือได้ทั่วประเทศจีน และจากกรุงเทพฯลงสู่ทางใต้ของอาเซียน อินเดีย จนถึงยุโรป ซึ่งจะก่อประโยชน์ในทุกๆ ด้าน นำไปสู่ความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนในกลุ่ม GMS อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
“เรายินดีที่จะร่วมจัดตั้ง GMS-ECF เพื่อให้ทุกอย่างสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งนอกจากการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ NSEC แล้ว ควรให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์แนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในทุกๆ ด้านของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงด้วย” นายวิรุฬ ระบุ พร้อมเสนอว่า ควรร่นการประชุม GMS Summit จากเดิมทุก 3 ปีเป็น 2 ปี เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น
ก่อนที่จะทิ้งท้ายว่า เพื่อให้การขยายการค้าและการลงทุนตามกลไก ECF สัมฤทธิผลเร็วขึ้น จึงเห็นควรผลักดันให้มีการกำหนดแผนงาน/โครงการตามกลไก ECF
นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการเข้าร่วมประชุม Inaugural Meeting of GMS Economic Corridors Forum (ECF) ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 6-7 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย ได้ให้ข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษาการจัดตั้งกลไกการดำเนินงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ และร่างยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridors : NSEC)
โดยสรุปสาระสำคัญการประชุม คือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้นำเสนอร่างขอบเขตการจัดตั้งกลไกการดำเนินงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ และมีเป้าหมายการจัดตั้ง ECF เพื่อผลักดันให้เส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) (ความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน) เป็นเส้นทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาค
นายวิรุฬ ย้ำว่า รัฐมนตรีจากประเทศ GMS ได้ให้ข้อคิดเห็นต่อ TOR ของการจัดตั้ง GMS-ECF และ NSEC โดยทั้งหมดเชื่อว่า สิ่งนี้จะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ ตนได้แสดงข้อคิดเห็นถึงบทบาทของกรอบความร่วมมือ GMS ที่มีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน กล่าวคือ
สมาชิก GMS จะต้องร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจอย่างแข็งขันมากขึ้น โดยไทยเห็นว่า การจัดตั้ง GMS-ECF จะช่วยส่งเสริมการขยายตัวของการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ รวมถึงปรับมาตรการการค้าเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการลงทุนแก่ภาคเอกชน นอกจากนี้ ในส่วนของ NSEC ซึ่งมีเส้นทาง คุนมั่น-กงลู่ (R3E) เชื่อมต่อมณฑลยูนานถึงไทย ในอนาคตสามารถต่อยอดไปทางเหนือได้ทั่วประเทศจีน และจากกรุงเทพฯลงสู่ทางใต้ของอาเซียน อินเดีย จนถึงยุโรป ซึ่งจะก่อประโยชน์ในทุกๆ ด้าน นำไปสู่ความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนในกลุ่ม GMS อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
“เรายินดีที่จะร่วมจัดตั้ง GMS-ECF เพื่อให้ทุกอย่างสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งนอกจากการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ NSEC แล้ว ควรให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์แนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในทุกๆ ด้านของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงด้วย” นายวิรุฬ ระบุ พร้อมเสนอว่า ควรร่นการประชุม GMS Summit จากเดิมทุก 3 ปีเป็น 2 ปี เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น
ก่อนที่จะทิ้งท้ายว่า เพื่อให้การขยายการค้าและการลงทุนตามกลไก ECF สัมฤทธิผลเร็วขึ้น จึงเห็นควรผลักดันให้มีการกำหนดแผนงาน/โครงการตามกลไก ECF