ผู้จัดการรายวัน - บริษัทจดทะเบียนแห่ซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน หลังราคาหุ้นรูดต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม-ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ระบุตั้งแต่ตั้งปีพบบจ. 9 แห่งอนุมัติทุ่มเงินซื้อหุ้นคืนเกือบ 4 พันล้านบาท ล่าสุดบอร์ด บล.ซีมิโก้ ไฟเขียวซื้อหุ้นคืน 83 ล้านบาท ด้วยงบไม่เกิน 200 ล้านบาท ขณะที่ "ระยองเพียวริฟายเออร์" ซื้อคืนครบแล้วเกือบ 47 ล้านหุ้น มูลค่ารวมเกือบ 220 ล้านบาท ด้านผู้บริหาร "BEC" ห่วงบจ.ใช้เป็นข้ออ้างปั่นราคาหุ้น โดยไม่มีเจตนาซื้อหุ้นคืนจริง
หลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง กดดันให้ราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนปรับตัวลงในทิศทางเดียวกัน จนสร้างความกังวลให้กับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน หลังจากราคาหุ้นบนการดานหลักทรัพย์รูดต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมและต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการพยุงราคาหุ้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ผู้บริหารจึงได้อนุมัติจัดทำโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงินขึ้น
จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการทำโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน ตั้งแต่ต้นปี 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 9 บริษัท มูลค่าเงินรวมในการซื้อหุ้นคืน 3,870.75 ล้านบาท (ไม่รวมบมจ.ดราโก้ พีซีบี) ขณะที่บมจ. ระยองเพียวริฟายเออร์ หรือ RPC ได้ซื้อหุ้นครบโครงการแล้ว และมี 5 บริษัทที่ยังไม่เริ่มซื้อหุ้นคืน
นางดวงรัตน์ วัฒนพงศ์ชาติ เลขานุการบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ ZMICO เปิดเผยว่า ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 5/2551 ได้อนุมัติให้บริษัททำโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน ในวงเงินซื้อหุ้นคืนสูงสุดจำนวน 200 ล้านบาท โดยจะซื้อหุ้นคืนจำนวน 83.37 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาท ซึ่งบริษัทจะเริ่มซื้อหุ้นคืนตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2551 ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2552
สำหรับการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจะซื้อคืนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หากเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป ต้องไม่น้อยกว่า 10 วัน และไม่เกิน 20 วัน ราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันก่อนวันที่บริษัทจะทำการเปิดเผยข้อมูลเท่ากับ 2.17 บาทต่อหุ้น โดยก่อนหน้านี้บริษัทมีการซื้อหุ้นคืนสิ้นสุดโครงการซื้อหุ้นคืนครั้งหลังสุด 14 กันยายน 2549
ส่วนสาเหตุที่บริษัทจัดโครงการซื้อหุ้นคืนฯ ครั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีสภาพคล่องทางการเงินส่วนเกิน จากข้อมูลงบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 บริษัทมีกำไรสะสม 786.53 ล้านบาท หนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน เท่ากับ 0 บาท และมีจำนวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อย (Free float) ณ วันปิดสมุดทะเบียนล่าสุด เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 เท่ากับ 599.15 ล้านหุ้น เท่ากับ 71.86 %ของทุนชำระแล้วของบริษัท
นางดวงรัตน์ กล่าวว่า ผลกระทบภายหลังซื้อหุ้นคืนครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น จะทำให้จำนวนหุ้นหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดลง ทำให้ได้รับเงินปันผลในอัตราที่สูงขึ้น เพราะหุ้นที่ซื้อคืนจะไม่ได้รับสิทธิในการรับเงินปันผล และทำให้ราคาหุ้นมีเสถียรภาพมากขึ้น และผลกระทบต่อบริษัท จะทำให้ปริมาณเงินสดในมือและส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง ขณะที่กำไร/ขาดทุนจากการซื้อขายหุ้นที่ซื้อคืนจะมีผลกระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ขณะที่ขั้นตอนการจำหน่ายและตัดหุ้นที่ซื้อคืนนั้น คณะกรรมการต้องพิจารณาดำเนินการภายหลัง 6 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 3 ปี นับแต่การซื้อหุ้นคืนเสร็จสิ้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาที่จะจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนต้องไม่ต่ำกว่า 85% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายก่อนหน้า
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทยังได้อนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.05 บาท โดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 11 กันยายน 2551 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 23 กันยายน 2551
ด้านนายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC กล่าวว่า จากการที่ราคาหุ้น BEC ปรับตัวลดลงนั้น23.48% จากต้นปี ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหุ้นไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะมีการซื้อหุ้นคืนหรือไม่ จากที่บริษัทมีกำไรสะสมอยู่จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยหากราคาหุ้นของบริษัทไม่ตกลงไปจำนวนมากและสวนกับทิศทางตลาดหุ้นไทย บริษัทก็ยังไม่จำเป็นที่จะต้องมีการซื้อหุ้นคืน แต่หากราคาหุ้นสวนทางกับตลาดมากก็จะมีการเข้าไปซื้อ
"จากมีผู้ที่มีการแจ้งว่าจะซื้อหุ้นคืนนั้นมีการซื้อหุ้นคืนจริงหรือไม่ และที่แจ้งมามีการซื้อหุ้นคืนกี่ราย หรือแจ้งมาว่าจะทำเพื่อที่จะทำให้ราคาหุ้นของบริษัทต้องเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นการปั่นหุ้นได้ ซึ่งจะต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ " นายฉัตรชัย กล่าว
สำหรับรายละเอียดของบริษัทจดทะเบียนที่จัดโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน ประกอบด้วย บมจ. ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) อนุมัติเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 51 วงเงินไม่เกิน 220 ล้านบาท จำนวนซื้อคืน 52.98 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็น 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด บริษัทเริ่มซื้อหุ้นคืนเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 51 ครบกำหนดซื้อหุ้นคืน 31 ก.ค. 51 ที่ผ่านมา สามารถซื้อหุ้นคืนได้จำนวน 46.70 ล้านหุ้น คิดเป็น 8.81% ของทุนชำระแล้ว มูลค่ารวม 219.99 ล้านบาท
บมจ.โรงพิมพ์ตะวันออก (EPCO) กำหนดวงเงินไม่เกิน 87 ล้านบาท จำนวนหุ้นซื้อคืนไม่เกิน 41.23 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 8% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด สิ้นสุดโครงการซื้อหุ้นคืนวันที่ 21 พ.ย. 51 โดยสามารถซื้อหุ้นคืนแล้ว 25.36 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 4.92% มูลค่ารวม 48.09 ล้านบาท (ณ 27 ส.ค. 51)
บมจ.ที.เค.เอส. เทคโนโลยี (TKS) กำหนดวงเงิน 60.77 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 173 .65 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 0.10 บาท คิดเป็น 7% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด สินสุดโครงการ 8 ม.ค. 52 ล่าสุด ( 24 ก.ค.51) ซื้อหุ้นคืนแล้ว 159 .41 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 6.43 % มูลค่ารวม 56.70 ล้านบาท
ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่เหลือยังไม่เริ่มซื้อหุ้นคืนแต่อย่างใด ได้แก่ บมจ. ซีเฟรชอินดัสตรี (CFRESH) กำหนดวงเงินไม่เกิน 86 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 42.89 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นสัดส่วน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด สิ้นสุดโครงการ 8 ม.ค. 52 บมจ. อีซึ่น เพ้นท์ (EASON) หรือ EASON กำหนดวงเงินไม่เกิน 44.98 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืน 20.34 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นไม่เกิน10% สิ้นสุดโครงการ 28 ก.พ. 52
บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) กำหนดวงเงินซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืนจำนวน 751.99 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1.00 บาท คิดเป็นสัดส่วน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด สิ้นสุดโครงการ 27 ก.พ. 52 บมจ. อีเอ็มซี (EMC) กำหนดวงเงินซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 192 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืน 551.46 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 0.10 บาท คิดเป็นสัดส่วน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด สิ้นสุดโครงการ 7 มี.ค. 52 และบมจ.ดราโก้ พีซีบี (DRACO) กำหนดซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด
หลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง กดดันให้ราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนปรับตัวลงในทิศทางเดียวกัน จนสร้างความกังวลให้กับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน หลังจากราคาหุ้นบนการดานหลักทรัพย์รูดต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมและต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการพยุงราคาหุ้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ผู้บริหารจึงได้อนุมัติจัดทำโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงินขึ้น
จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการทำโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน ตั้งแต่ต้นปี 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 9 บริษัท มูลค่าเงินรวมในการซื้อหุ้นคืน 3,870.75 ล้านบาท (ไม่รวมบมจ.ดราโก้ พีซีบี) ขณะที่บมจ. ระยองเพียวริฟายเออร์ หรือ RPC ได้ซื้อหุ้นครบโครงการแล้ว และมี 5 บริษัทที่ยังไม่เริ่มซื้อหุ้นคืน
นางดวงรัตน์ วัฒนพงศ์ชาติ เลขานุการบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ ZMICO เปิดเผยว่า ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 5/2551 ได้อนุมัติให้บริษัททำโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน ในวงเงินซื้อหุ้นคืนสูงสุดจำนวน 200 ล้านบาท โดยจะซื้อหุ้นคืนจำนวน 83.37 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาท ซึ่งบริษัทจะเริ่มซื้อหุ้นคืนตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2551 ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2552
สำหรับการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจะซื้อคืนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หากเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป ต้องไม่น้อยกว่า 10 วัน และไม่เกิน 20 วัน ราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันก่อนวันที่บริษัทจะทำการเปิดเผยข้อมูลเท่ากับ 2.17 บาทต่อหุ้น โดยก่อนหน้านี้บริษัทมีการซื้อหุ้นคืนสิ้นสุดโครงการซื้อหุ้นคืนครั้งหลังสุด 14 กันยายน 2549
ส่วนสาเหตุที่บริษัทจัดโครงการซื้อหุ้นคืนฯ ครั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีสภาพคล่องทางการเงินส่วนเกิน จากข้อมูลงบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 บริษัทมีกำไรสะสม 786.53 ล้านบาท หนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน เท่ากับ 0 บาท และมีจำนวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อย (Free float) ณ วันปิดสมุดทะเบียนล่าสุด เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 เท่ากับ 599.15 ล้านหุ้น เท่ากับ 71.86 %ของทุนชำระแล้วของบริษัท
นางดวงรัตน์ กล่าวว่า ผลกระทบภายหลังซื้อหุ้นคืนครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น จะทำให้จำนวนหุ้นหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดลง ทำให้ได้รับเงินปันผลในอัตราที่สูงขึ้น เพราะหุ้นที่ซื้อคืนจะไม่ได้รับสิทธิในการรับเงินปันผล และทำให้ราคาหุ้นมีเสถียรภาพมากขึ้น และผลกระทบต่อบริษัท จะทำให้ปริมาณเงินสดในมือและส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง ขณะที่กำไร/ขาดทุนจากการซื้อขายหุ้นที่ซื้อคืนจะมีผลกระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ขณะที่ขั้นตอนการจำหน่ายและตัดหุ้นที่ซื้อคืนนั้น คณะกรรมการต้องพิจารณาดำเนินการภายหลัง 6 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 3 ปี นับแต่การซื้อหุ้นคืนเสร็จสิ้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาที่จะจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนต้องไม่ต่ำกว่า 85% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายก่อนหน้า
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทยังได้อนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.05 บาท โดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 11 กันยายน 2551 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 23 กันยายน 2551
ด้านนายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC กล่าวว่า จากการที่ราคาหุ้น BEC ปรับตัวลดลงนั้น23.48% จากต้นปี ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหุ้นไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะมีการซื้อหุ้นคืนหรือไม่ จากที่บริษัทมีกำไรสะสมอยู่จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยหากราคาหุ้นของบริษัทไม่ตกลงไปจำนวนมากและสวนกับทิศทางตลาดหุ้นไทย บริษัทก็ยังไม่จำเป็นที่จะต้องมีการซื้อหุ้นคืน แต่หากราคาหุ้นสวนทางกับตลาดมากก็จะมีการเข้าไปซื้อ
"จากมีผู้ที่มีการแจ้งว่าจะซื้อหุ้นคืนนั้นมีการซื้อหุ้นคืนจริงหรือไม่ และที่แจ้งมามีการซื้อหุ้นคืนกี่ราย หรือแจ้งมาว่าจะทำเพื่อที่จะทำให้ราคาหุ้นของบริษัทต้องเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นการปั่นหุ้นได้ ซึ่งจะต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ " นายฉัตรชัย กล่าว
สำหรับรายละเอียดของบริษัทจดทะเบียนที่จัดโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน ประกอบด้วย บมจ. ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) อนุมัติเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 51 วงเงินไม่เกิน 220 ล้านบาท จำนวนซื้อคืน 52.98 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็น 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด บริษัทเริ่มซื้อหุ้นคืนเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 51 ครบกำหนดซื้อหุ้นคืน 31 ก.ค. 51 ที่ผ่านมา สามารถซื้อหุ้นคืนได้จำนวน 46.70 ล้านหุ้น คิดเป็น 8.81% ของทุนชำระแล้ว มูลค่ารวม 219.99 ล้านบาท
บมจ.โรงพิมพ์ตะวันออก (EPCO) กำหนดวงเงินไม่เกิน 87 ล้านบาท จำนวนหุ้นซื้อคืนไม่เกิน 41.23 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 8% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด สิ้นสุดโครงการซื้อหุ้นคืนวันที่ 21 พ.ย. 51 โดยสามารถซื้อหุ้นคืนแล้ว 25.36 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 4.92% มูลค่ารวม 48.09 ล้านบาท (ณ 27 ส.ค. 51)
บมจ.ที.เค.เอส. เทคโนโลยี (TKS) กำหนดวงเงิน 60.77 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 173 .65 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 0.10 บาท คิดเป็น 7% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด สินสุดโครงการ 8 ม.ค. 52 ล่าสุด ( 24 ก.ค.51) ซื้อหุ้นคืนแล้ว 159 .41 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 6.43 % มูลค่ารวม 56.70 ล้านบาท
ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่เหลือยังไม่เริ่มซื้อหุ้นคืนแต่อย่างใด ได้แก่ บมจ. ซีเฟรชอินดัสตรี (CFRESH) กำหนดวงเงินไม่เกิน 86 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 42.89 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นสัดส่วน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด สิ้นสุดโครงการ 8 ม.ค. 52 บมจ. อีซึ่น เพ้นท์ (EASON) หรือ EASON กำหนดวงเงินไม่เกิน 44.98 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืน 20.34 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นไม่เกิน10% สิ้นสุดโครงการ 28 ก.พ. 52
บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) กำหนดวงเงินซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืนจำนวน 751.99 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1.00 บาท คิดเป็นสัดส่วน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด สิ้นสุดโครงการ 27 ก.พ. 52 บมจ. อีเอ็มซี (EMC) กำหนดวงเงินซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 192 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืน 551.46 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 0.10 บาท คิดเป็นสัดส่วน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด สิ้นสุดโครงการ 7 มี.ค. 52 และบมจ.ดราโก้ พีซีบี (DRACO) กำหนดซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด