ผู้จัดการรายวัน - ผู้ประกอบการธุรกิจเหล็กมั่นใจแนวโน้มราคาครึ่งปีหลังยังสดใส ดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติ สวนทางนักวิเคราะห์ประเมินความต้องการลดลงหลังจบการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก แม้ครึ่งปีแรกโชว์ผลงานสุดเจ๋ง กำไรสุทธิรวมกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรสุทธิแค่ 2.2 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่าหมื่นล้านบาท คิดเป็น 445% เหตุราคาขายเฉลี่ยสูงขึ้นหลายเท่าตัว ด้าน 'จีสตีล' นำโด่งกำไรสุทธิกว่า 5.4 พันล้านบาท
จากสถานการณ์ราคาเหล็กที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2550 ที่ผ่านมา ได้ส่ง ผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ในธุรกิจเหล็ก ทำให้ผลประกอบการของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จนถึงครึ่งแรกของปี 2551 รวมทั้งนักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่าแนวโน้มธุรกิจ ดังกล่าวยังสามารถขยายตัวได้อย่างดีในช่วงครึ่งปีหลัง จึงส่งผลให้นักลงทุนหันกลับเข้ามาลงทุนหุ้นกลุ่มเหล็กมากขึ้นด้วย
ขณะเดียวกัน ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังมีกระแสข่าวเกี่ยวกับทุนต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจเหล็ก ส่งผลให้ราคาหุ้นในกลุ่มธุรกิจเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหุ้นของบริษัท จีบริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL และบริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GJS ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจผลการดำเนินงานงวด 6 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 ของบริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหล็ก ที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องเหล็กทั้งหมด 14 บริษัท พบว่าบริษัทส่วนใหญ่มีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น คือ มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 12,431.88 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิรวม 2,280.39 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 10,151.49 ล้านบาท คิดเป็น 445.16 ล้านบาท (ตารางประกอบข่าว)
ทั้งนี้ หากพิจารณาบริษัทที่มีกำไรสุทธิงวด 6 เดือนสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL กำไรสุทธิ 5,425.32 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 1,305.52 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.12 บาท หรือมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 4,119.80 ล้านบาท คิดเป็น 315.57%
อันดับสอง บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TSTH (งวดไตรมาส 1 สิ้นสุด 30 มิ.ย. 51) กำไรสุทธิสูงถึง 2,121.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน1,695.20 ล้านบาท หรือคิดเป็น 397.86% และอันดับสาม บริษัท สหวิระยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI กำไรสุทธิ 1,690.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,324.18 ล้านบาท หรือคิดเป็น 361.64%
สำหรับบริษัทที่มีกำไรสุทธิน้อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท สตีล อินเตอร์เทค จำกัด (มหาชน) หรือ STEEL กำไรสุทธิ 11.29 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.23 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 3.04 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.06 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 8.25 ล้านบาท คิดเป็น 271.38%
ขณะที่อันดับสอง บริษัท เพิ่มสินสตีล-เวิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PERM กำไรสุทธิ 63.73 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 61.45 ล้านบาท คิดเป็น 2,695.18% และอันดับสาม บริษัท ซิตี้ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ CITY (ผลงวดงวด 9 เดือนสิ้นสุด 30 เม.ย. 51) กำไรสุทธิ 76.10 ล้านบาท ซึ่งเป็นบริษัทเดียวที่มีกำไรสุทธิลดลง 15.12%
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร บมจ. จี สตีล (GSTEEL) ชี้แจงถึงสาเหตุที่บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 300% ว่า สาเหตุหลักเกิดจากการบันทึกค่าความนิยมติดลบจากการที่บริษัทและบริษัทย่อยได้เข้าไปลงทุนในบริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GJS เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของ GJS เป็นจำนวนเงิน 3,431 ล้านบาท บริษัทจึงได้ บันทึกค่าความนิยมติดลบดังกล่าวในบัญชีกำไรขาดทุนของงบการเงินงวด 6 เดือนนี้ตามมาตรฐานบัญชีปัจจุบัน
Q2 ราคาขายพุ่งเฉียด 3.2 หมื่น/ตัน
ด้านนายสันติ ชาญกลราวี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ทาทา สตีล (ประเทศไทย) หรือ TSTH กล่าวว่า ไตรมาสแรกสิ้นสุด 30 มิ.ย. 51 บริษัทมียอดขายสุทธิรวม 11,180 ล้านบาท จากปริมาณขาย 351,000 ตัน เทียบกับไตรมาสก่อนหน้ามียอดขายสุทธิ 10,156 ล้านบาท จากปริมาณขาย 388,000 ตัน เพิ่มขึ้น 10% และลดลง 10% ตามลำดับ เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยไตรมาสนี้อยู่ที่ตันละ 31,900 บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนตันละ 5,700 บาท เพราะ ความต้องการเหล็กแท่งในตลาดโลกทำให้เกิดราคาเหล็กแท่งขยับตัวสูงขึ้นอย่างมากและขาดแคลน ส่งผลให้ราคาเศษเหล็ก เหล็กเส้นก่อสร้าง และเหล็กลวดปรับตัวสูงขึ้น แต่ปริมาณขายลดลงจากไตรมาสก่อนเนื่องจาก เป็นช่วงฤดูฝน
หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยอดขายสุทธิอยู่ที่ 5,773 ล้านบาท จากปริมาณขาย 299,000 ตัน เพิ่มขึ้น 94% และ 17% ตามลำดับ โดยปริมาณขาย และราคาขายสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 52,000 ตัน และ 12,600 บาทต่อตันตามลำดับ
ด้านแหล่งข่าวในวงการธุรกิจเหล็ก กล่าวว่า ทิศทางของราคาเหล็กในครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง แม้ว่าในระยะสั้นอาจจะมีการปรับตัวลดลงได้บ้างตามการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก สืบเนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ยังอยู่ในระดับสูง บวกกับปริมาณเหล็กทั้งในประเทศ และทั่วโลกอยู่ในยังอยู่ในระดับต่ำ
'แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกจะยังทรงตัวในระดับสูง เพราะความต้องการใช้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 6.5% ต่อปี อีกทั้งทิศทางของราคาวัตถุดิบยังอยู่ในระดับสูง จึงเชื่อว่าราคาเหล็กมีโอกาสฟื้นดีดตัวสูงได้อีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ แต่ไม่สามารถจะประเมินได้ว่าจะปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ระดับใด'
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง แนวโน้มราคาหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจเหล็ก ว่า ช่วงครึ่งหลังของปี 51 มีแนวโน้มไม่ดีนัก เนื่องจากปัจจุบันราคาเหล็กปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะมีความต้องการเหล็กค่อนข้างสูงจาก จีนในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก แต่จะมีปริมาณลดลงหลังจากการแข่งขันจบลงแล้ว
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มธุรกิจเหล็กที่น่าสนใจลงทุน ได้แก่ GSTEEL หลังจากประกอบการไตรมาส 2/51 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 109%
จากสถานการณ์ราคาเหล็กที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2550 ที่ผ่านมา ได้ส่ง ผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ในธุรกิจเหล็ก ทำให้ผลประกอบการของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จนถึงครึ่งแรกของปี 2551 รวมทั้งนักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่าแนวโน้มธุรกิจ ดังกล่าวยังสามารถขยายตัวได้อย่างดีในช่วงครึ่งปีหลัง จึงส่งผลให้นักลงทุนหันกลับเข้ามาลงทุนหุ้นกลุ่มเหล็กมากขึ้นด้วย
ขณะเดียวกัน ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังมีกระแสข่าวเกี่ยวกับทุนต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจเหล็ก ส่งผลให้ราคาหุ้นในกลุ่มธุรกิจเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหุ้นของบริษัท จีบริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL และบริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GJS ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจผลการดำเนินงานงวด 6 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 ของบริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหล็ก ที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องเหล็กทั้งหมด 14 บริษัท พบว่าบริษัทส่วนใหญ่มีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น คือ มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 12,431.88 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิรวม 2,280.39 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 10,151.49 ล้านบาท คิดเป็น 445.16 ล้านบาท (ตารางประกอบข่าว)
ทั้งนี้ หากพิจารณาบริษัทที่มีกำไรสุทธิงวด 6 เดือนสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL กำไรสุทธิ 5,425.32 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 1,305.52 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.12 บาท หรือมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 4,119.80 ล้านบาท คิดเป็น 315.57%
อันดับสอง บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TSTH (งวดไตรมาส 1 สิ้นสุด 30 มิ.ย. 51) กำไรสุทธิสูงถึง 2,121.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน1,695.20 ล้านบาท หรือคิดเป็น 397.86% และอันดับสาม บริษัท สหวิระยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI กำไรสุทธิ 1,690.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,324.18 ล้านบาท หรือคิดเป็น 361.64%
สำหรับบริษัทที่มีกำไรสุทธิน้อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท สตีล อินเตอร์เทค จำกัด (มหาชน) หรือ STEEL กำไรสุทธิ 11.29 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.23 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 3.04 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.06 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 8.25 ล้านบาท คิดเป็น 271.38%
ขณะที่อันดับสอง บริษัท เพิ่มสินสตีล-เวิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PERM กำไรสุทธิ 63.73 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 61.45 ล้านบาท คิดเป็น 2,695.18% และอันดับสาม บริษัท ซิตี้ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ CITY (ผลงวดงวด 9 เดือนสิ้นสุด 30 เม.ย. 51) กำไรสุทธิ 76.10 ล้านบาท ซึ่งเป็นบริษัทเดียวที่มีกำไรสุทธิลดลง 15.12%
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร บมจ. จี สตีล (GSTEEL) ชี้แจงถึงสาเหตุที่บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 300% ว่า สาเหตุหลักเกิดจากการบันทึกค่าความนิยมติดลบจากการที่บริษัทและบริษัทย่อยได้เข้าไปลงทุนในบริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GJS เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของ GJS เป็นจำนวนเงิน 3,431 ล้านบาท บริษัทจึงได้ บันทึกค่าความนิยมติดลบดังกล่าวในบัญชีกำไรขาดทุนของงบการเงินงวด 6 เดือนนี้ตามมาตรฐานบัญชีปัจจุบัน
Q2 ราคาขายพุ่งเฉียด 3.2 หมื่น/ตัน
ด้านนายสันติ ชาญกลราวี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ทาทา สตีล (ประเทศไทย) หรือ TSTH กล่าวว่า ไตรมาสแรกสิ้นสุด 30 มิ.ย. 51 บริษัทมียอดขายสุทธิรวม 11,180 ล้านบาท จากปริมาณขาย 351,000 ตัน เทียบกับไตรมาสก่อนหน้ามียอดขายสุทธิ 10,156 ล้านบาท จากปริมาณขาย 388,000 ตัน เพิ่มขึ้น 10% และลดลง 10% ตามลำดับ เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยไตรมาสนี้อยู่ที่ตันละ 31,900 บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนตันละ 5,700 บาท เพราะ ความต้องการเหล็กแท่งในตลาดโลกทำให้เกิดราคาเหล็กแท่งขยับตัวสูงขึ้นอย่างมากและขาดแคลน ส่งผลให้ราคาเศษเหล็ก เหล็กเส้นก่อสร้าง และเหล็กลวดปรับตัวสูงขึ้น แต่ปริมาณขายลดลงจากไตรมาสก่อนเนื่องจาก เป็นช่วงฤดูฝน
หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยอดขายสุทธิอยู่ที่ 5,773 ล้านบาท จากปริมาณขาย 299,000 ตัน เพิ่มขึ้น 94% และ 17% ตามลำดับ โดยปริมาณขาย และราคาขายสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 52,000 ตัน และ 12,600 บาทต่อตันตามลำดับ
ด้านแหล่งข่าวในวงการธุรกิจเหล็ก กล่าวว่า ทิศทางของราคาเหล็กในครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง แม้ว่าในระยะสั้นอาจจะมีการปรับตัวลดลงได้บ้างตามการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก สืบเนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ยังอยู่ในระดับสูง บวกกับปริมาณเหล็กทั้งในประเทศ และทั่วโลกอยู่ในยังอยู่ในระดับต่ำ
'แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกจะยังทรงตัวในระดับสูง เพราะความต้องการใช้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 6.5% ต่อปี อีกทั้งทิศทางของราคาวัตถุดิบยังอยู่ในระดับสูง จึงเชื่อว่าราคาเหล็กมีโอกาสฟื้นดีดตัวสูงได้อีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ แต่ไม่สามารถจะประเมินได้ว่าจะปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ระดับใด'
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง แนวโน้มราคาหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจเหล็ก ว่า ช่วงครึ่งหลังของปี 51 มีแนวโน้มไม่ดีนัก เนื่องจากปัจจุบันราคาเหล็กปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะมีความต้องการเหล็กค่อนข้างสูงจาก จีนในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก แต่จะมีปริมาณลดลงหลังจากการแข่งขันจบลงแล้ว
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มธุรกิจเหล็กที่น่าสนใจลงทุน ได้แก่ GSTEEL หลังจากประกอบการไตรมาส 2/51 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 109%