ผู้จัดการรายวัน - นักลงทุนเทขายหุ้นหวั่นการเมืองบานปลาย ผสมโรงตลาดหุ้นทั่วเอเชียร่วงกดดัชนีตลาดหุ้นไทยหลุดแนวรับที่ 670 จุด ปิดที่ 668.92 จุด ลดลง 9.28 จุด หรือ 1.37% มูลค่าการซื้อขาย 9 พันล้านบาท ด้านเอ็มดีตลาดหุ้น วอนไม่ให้ชุมนุมยืดเยื้อ พร้อมเร่งจัดตั้งแมทชิ่งฟันด์ช้อนซื้อของถูกภายในเดือนก.ย.นี้ ขณะที่โบรกเกอร์ แนะเบรกลงทุนหุ้นรอการเมืองนิ่ง เพิ่มสัดส่วนลงทุนพันธบัตรแทน
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (26 ส.ค.) ยังคงถูกปกคลุมด้วยสถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดินขบวนเข้าปิดล้อมสถานที่สำคัญๆ โดยเฉพาะที่ทำเนียบรัฐบาล ส่งผลให้นักลงทนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ให้มีความชัดเจนก่อน
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงตั้งแต่เปิดตลาดในช่วงเช้า และมีการเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน แม้จะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงท้ายตลาด หลังจากนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาแถลงจุดยืนของรัฐบาลที่จะบริหารประเทศต่อไป โดยมีจุดสูงสุดที่ 670.16 จุด ต่ำสุดที่ 660.96 จุด ก่อนจะปิดที่ระดับ 668.92 จุด ลดลงจากวันก่อน 9.28 จุด หรือ 1.37% มูลค่าการซื้อขายรวม 9,087.26 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 375.79 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 702.64 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,078.43 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ทำให้ดัชนีปรับตัวลดลง แต่เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นทั่วโลกจะพบว่าปรับตัวลดลงประมาณ 2% เช่นเดียวกัน โดยมีปัจจัยที่ต่างกันคือตลาดหุ้นต่างประเทศเกิดจากความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเกิดจากประเด็นการเมืองเป็นหลัก
สำหรับประเด็นเรื่องของความมั่นใจของนักลงทุนต่างประเทศนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการสอบถามเหตุการณ์ดังกล่าวจากนักลงทุนต่างชาติ และตลาดหลักทรัพย์ฯ เองคงไม่สามารถให้คำตอบได้ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเองได้ติดตามและประเมินสถานการณ์เป็นระยะๆ อยู่แล้ว
"แม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงในระดับที่ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นอื่นๆ แต่มูลค่าการซื้อขายมีเข้ามาค่อนข้างเงียบเหงา เพราะนักลงทุนรอดูเหตุการณ์ ดังนั้นจึงไม่อยากให้การชุมนุมประท้วงยืดเยื้อหรือขยายวงกว้าง แต่หากเหตุการณ์ไม่มีความรุนแรงเชื่อว่าตลาดหุ้นคงไม่ตกต่ำไปมากกว่านี้"
***ตลท.เร่งตั้งแมทชิ่งฟันด์ซื้อหุ้น
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นครั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเร่งแผนการจัดตั้งกองทุนแมทชิ่งฟันด์ให้เร็วขึ้น เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุน หลังจากราคาหุ้นปรับตัวลดลง ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาอนุมัติทันทีหากบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) แห่งใดมีความพร้อม โดยเบื้องต้นอาจจะเริ่มจากกองทุนขนาดเล็กก่อน เพราะกองทุนขนาดใหญ่อาจต้องใช้เวลา ซึ่งคาดว่ากองทุนบางแห่งอาจเริ่มลงทุนได้ประมาณเดือนก.ย.นี้
ส่วนเรื่องของการระดมทุนของบริษัทที่ต้องการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น นางภัทรียา กล่าวว่า บริษัทเอกชนบางแห่งอาจจะมีการชะลอแผนการนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉพาะบริษัทที่ยังไม่ได้เริ่มเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังไม่มีการพิจารณาลดเป้าหมายจำนวนหุ้นไอพีโอในปีนี้ 30 บริษัท
***เอ็มเอไอมาร์เกตแคปวูบ 12%
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 51 ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดเอ็มเอไอปรับตัวลดลงประมาณ 10.78% จากสิ้นปี 50 อยู่ที่ระดับ 272.37 จุด และมูลค่าตามราคาตลาดรวมลดจาก 3.82 หมื่นล้านบาท เหลือประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท หรือลดลงประมาณ 12.57% สวนทางกับผลประกอบการครึ่งปีแรกที่บจ.ในตลาดเอ็มเอไอมีกำไรสุทธิเติบโตถึง 70% และมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลถึง 349 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดปี 50 ที่จ่ายปันผล 261 ล้านบาท
"แม้ดัชนีเอ็มเอไอจะลดลงในอัตราที่น้อยกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ลดลงถึง 21% โดยมีปัจจัยหลัก จากเรื่องของการเมือง"
นายชนิตร กล่าวอีกว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าจะมีการระดมทุนในตลาดเอ็มเอไปเพิ่มอีกประมาณ 864 ล้านบาท จากต้นปีมีการระดมทุนไปแล้ว 1,351 ล้านบาท
***แนะลงทุนพันธบัตรแทนหุ้น***
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัจจัยใหม่ เพียงแต่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจึงส่งผลให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนขึ้น ดังนั้นนักลงทุนจึงไม่ควรเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นระยะนี้ แต่ควรหันไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตร หรือตราสารอื่นแทน
"ช่วงนี้เป็นจังหวะที่ดีที่จะลงทุนในตราสารอื่น เพราะทิศทางอัตราดอกเบี้ยใกล้แตะระดับสูงสุด โดยประเมินว่าการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 27 ส.ค.นี้ น่าจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย 0.25% และหลังจากนั้นดอกเบี้ยน่าจะทรงตัว ขณะที่บริษัทเองได้แนะนำให้นักลงทุนลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเหลือ 40% จาก 50% และเพิ่มน้ำหนักลงทุนพันธบัตรเป็น 40% จากเดิม 30% ส่วนที่เหลือยังคงให้ลงทุนทางเลือกอื่น เช่น อนุพันธ์ และโภคภัณฑ์ เป็นต้น"
***หยุดเทรดหุ้น-หาแนวรับไม่เจอ
นางสาวปองรัตน์ รัตนะตวณานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงเช้า แม้จะมีปรับดีขึ้นได้เล็กน้อยในช่วงบ่าย หลังจากที่นายกรัฐมนตรี ออกมาแถลงข่าว โดยมีปัจจัยหลักจากการเดินขบวนของกลุ่มพันธมิตรฯ และตลาดหุ้นภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง
ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่านักลงทุนคงจะชะลอการซื้อขายออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์อีกครั้ง ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และไม่สามารถว่าจะมีแนวรับที่ระดับใด ดังนั้นจึงต้องติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ และตลาดหุ้นต่างประเทศ
นางสาวจิตตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ไซรัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจัยการเมืองเรื่องของการชุมนุมประท้วงของพันธมิตรฯ เป็นประเด็นหลักที่กดดันต่อตลาดหุ้นไทย แม้จะได้รับผลต่อเนื่องจากตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง ขณะที่แนวโน้มวันนี้ ตลาดหุ้นน่าจะปรับตัวลดลงต่อ ดังนั้นนักลงทุนควรชะลอการลงทุน จนกว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีความชัดเจน
ด้านนักวิเคราะห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับลดลงตามดัชนีดาวโจนส์ แต่ตลาดหุ้นไทยกลับให้น้ำหนักประเด็นเรื่องการเมืองที่กลุ่มพันธมิตรฯ นัดชุมนุมประท้วงกดดันให้รัฐบาลลาออก ขณะที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาแถลงว่าจะไม่มีการลาออกและพร้อมจะบริหารประเทศต่อไป ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองคงจะยืดเยื้อต่อไป
สำหรับการประชุมกนง.ในวันนี้ (27 ส.ค.) คงไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะเข้ามากระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะนักลงทุนคาดการณ์กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25%
"ตลาดหุ้นวันนี้ คงจะปรับตัวลดลงต่อจากวานนี้ ซึ่งนักลงทุนต้องติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นหลัก โดยมีแนวรับอยู่ที่ 650 จุด และแนวต้าน 665 จุด"
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (26 ส.ค.) ยังคงถูกปกคลุมด้วยสถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดินขบวนเข้าปิดล้อมสถานที่สำคัญๆ โดยเฉพาะที่ทำเนียบรัฐบาล ส่งผลให้นักลงทนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ให้มีความชัดเจนก่อน
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงตั้งแต่เปิดตลาดในช่วงเช้า และมีการเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน แม้จะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงท้ายตลาด หลังจากนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาแถลงจุดยืนของรัฐบาลที่จะบริหารประเทศต่อไป โดยมีจุดสูงสุดที่ 670.16 จุด ต่ำสุดที่ 660.96 จุด ก่อนจะปิดที่ระดับ 668.92 จุด ลดลงจากวันก่อน 9.28 จุด หรือ 1.37% มูลค่าการซื้อขายรวม 9,087.26 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 375.79 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 702.64 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,078.43 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ทำให้ดัชนีปรับตัวลดลง แต่เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นทั่วโลกจะพบว่าปรับตัวลดลงประมาณ 2% เช่นเดียวกัน โดยมีปัจจัยที่ต่างกันคือตลาดหุ้นต่างประเทศเกิดจากความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเกิดจากประเด็นการเมืองเป็นหลัก
สำหรับประเด็นเรื่องของความมั่นใจของนักลงทุนต่างประเทศนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการสอบถามเหตุการณ์ดังกล่าวจากนักลงทุนต่างชาติ และตลาดหลักทรัพย์ฯ เองคงไม่สามารถให้คำตอบได้ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเองได้ติดตามและประเมินสถานการณ์เป็นระยะๆ อยู่แล้ว
"แม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงในระดับที่ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นอื่นๆ แต่มูลค่าการซื้อขายมีเข้ามาค่อนข้างเงียบเหงา เพราะนักลงทุนรอดูเหตุการณ์ ดังนั้นจึงไม่อยากให้การชุมนุมประท้วงยืดเยื้อหรือขยายวงกว้าง แต่หากเหตุการณ์ไม่มีความรุนแรงเชื่อว่าตลาดหุ้นคงไม่ตกต่ำไปมากกว่านี้"
***ตลท.เร่งตั้งแมทชิ่งฟันด์ซื้อหุ้น
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นครั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเร่งแผนการจัดตั้งกองทุนแมทชิ่งฟันด์ให้เร็วขึ้น เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุน หลังจากราคาหุ้นปรับตัวลดลง ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาอนุมัติทันทีหากบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) แห่งใดมีความพร้อม โดยเบื้องต้นอาจจะเริ่มจากกองทุนขนาดเล็กก่อน เพราะกองทุนขนาดใหญ่อาจต้องใช้เวลา ซึ่งคาดว่ากองทุนบางแห่งอาจเริ่มลงทุนได้ประมาณเดือนก.ย.นี้
ส่วนเรื่องของการระดมทุนของบริษัทที่ต้องการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น นางภัทรียา กล่าวว่า บริษัทเอกชนบางแห่งอาจจะมีการชะลอแผนการนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉพาะบริษัทที่ยังไม่ได้เริ่มเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังไม่มีการพิจารณาลดเป้าหมายจำนวนหุ้นไอพีโอในปีนี้ 30 บริษัท
***เอ็มเอไอมาร์เกตแคปวูบ 12%
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 51 ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดเอ็มเอไอปรับตัวลดลงประมาณ 10.78% จากสิ้นปี 50 อยู่ที่ระดับ 272.37 จุด และมูลค่าตามราคาตลาดรวมลดจาก 3.82 หมื่นล้านบาท เหลือประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท หรือลดลงประมาณ 12.57% สวนทางกับผลประกอบการครึ่งปีแรกที่บจ.ในตลาดเอ็มเอไอมีกำไรสุทธิเติบโตถึง 70% และมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลถึง 349 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดปี 50 ที่จ่ายปันผล 261 ล้านบาท
"แม้ดัชนีเอ็มเอไอจะลดลงในอัตราที่น้อยกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ลดลงถึง 21% โดยมีปัจจัยหลัก จากเรื่องของการเมือง"
นายชนิตร กล่าวอีกว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าจะมีการระดมทุนในตลาดเอ็มเอไปเพิ่มอีกประมาณ 864 ล้านบาท จากต้นปีมีการระดมทุนไปแล้ว 1,351 ล้านบาท
***แนะลงทุนพันธบัตรแทนหุ้น***
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัจจัยใหม่ เพียงแต่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจึงส่งผลให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนขึ้น ดังนั้นนักลงทุนจึงไม่ควรเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นระยะนี้ แต่ควรหันไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตร หรือตราสารอื่นแทน
"ช่วงนี้เป็นจังหวะที่ดีที่จะลงทุนในตราสารอื่น เพราะทิศทางอัตราดอกเบี้ยใกล้แตะระดับสูงสุด โดยประเมินว่าการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 27 ส.ค.นี้ น่าจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย 0.25% และหลังจากนั้นดอกเบี้ยน่าจะทรงตัว ขณะที่บริษัทเองได้แนะนำให้นักลงทุนลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเหลือ 40% จาก 50% และเพิ่มน้ำหนักลงทุนพันธบัตรเป็น 40% จากเดิม 30% ส่วนที่เหลือยังคงให้ลงทุนทางเลือกอื่น เช่น อนุพันธ์ และโภคภัณฑ์ เป็นต้น"
***หยุดเทรดหุ้น-หาแนวรับไม่เจอ
นางสาวปองรัตน์ รัตนะตวณานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงเช้า แม้จะมีปรับดีขึ้นได้เล็กน้อยในช่วงบ่าย หลังจากที่นายกรัฐมนตรี ออกมาแถลงข่าว โดยมีปัจจัยหลักจากการเดินขบวนของกลุ่มพันธมิตรฯ และตลาดหุ้นภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง
ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่านักลงทุนคงจะชะลอการซื้อขายออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์อีกครั้ง ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และไม่สามารถว่าจะมีแนวรับที่ระดับใด ดังนั้นจึงต้องติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ และตลาดหุ้นต่างประเทศ
นางสาวจิตตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ไซรัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจัยการเมืองเรื่องของการชุมนุมประท้วงของพันธมิตรฯ เป็นประเด็นหลักที่กดดันต่อตลาดหุ้นไทย แม้จะได้รับผลต่อเนื่องจากตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง ขณะที่แนวโน้มวันนี้ ตลาดหุ้นน่าจะปรับตัวลดลงต่อ ดังนั้นนักลงทุนควรชะลอการลงทุน จนกว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีความชัดเจน
ด้านนักวิเคราะห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับลดลงตามดัชนีดาวโจนส์ แต่ตลาดหุ้นไทยกลับให้น้ำหนักประเด็นเรื่องการเมืองที่กลุ่มพันธมิตรฯ นัดชุมนุมประท้วงกดดันให้รัฐบาลลาออก ขณะที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาแถลงว่าจะไม่มีการลาออกและพร้อมจะบริหารประเทศต่อไป ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองคงจะยืดเยื้อต่อไป
สำหรับการประชุมกนง.ในวันนี้ (27 ส.ค.) คงไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะเข้ามากระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะนักลงทุนคาดการณ์กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25%
"ตลาดหุ้นวันนี้ คงจะปรับตัวลดลงต่อจากวานนี้ ซึ่งนักลงทุนต้องติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นหลัก โดยมีแนวรับอยู่ที่ 650 จุด และแนวต้าน 665 จุด"