YUASA ปรับลดเป้ารายได้ปีนี้ลงจาก 3 พันล้านบาท เหลือเพียง 2 พันล้านบาท หลังวิกฤตน้ำมันแพง บวกกับปัญหาการเงินลามสหรัฐและยุโรป ส่งผลให้ยอดขายหดลงภาพรวมของตลาดไม่คึก แม้ครึ่งแรกปีนี้ฟื้นกำไร เผยหากไม่มีปัจจัยลบมากระทบอีกครั้งปลายปีคงได้ตามเป้าหมาย
นายศุภวัส พันธุ์วัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการ บริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ( YUASA) เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทต้องปรับเป้ารายได้ลงจากเดิมที่ตั้งไว้ 3 พันล้านบาท เหลือเพียง 2 พันล้านบาทเท่านั้น จากปีก่อนที่ทำรายได้ไว้ที่ 1,900 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นไม่ถึง 6% เนื่องจากต้นทุนราคาตะกั่วและอื่น ๆ ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่เกิดวิกฤตหลายอย่างกระทบ ทั้งการเมือง ปัญหาการเงินที่ลุกลามไปทั่วโลก ตลอดจนราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปก่อนหน้านี้ ส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดน้อยลงและระมัดระวังมากขึ้น
" ปีนี้เราขอแค่เสมอตัวก็พอ เพราะปลายปีที่แล้วเราคิดว่าจะไปได้ดี ตลอดจนถึงปีนี้แต่วิกฤตหลายอย่างก็รุมเร้าเข้ามา ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายสินค้า ที่สำคัญจากปีก่อนเราปรับขึ้นราคาขายไปกว่า 40% ถึงปีนี้เราต้องปรับลดลง ตามราคาตะกั่วที่ผันผวน " นายศุภวัสกล่าว
สำหรับปีนี้ หลังจากปลายปีที่แล้ว YUASA ได้แก้ไขปัญหาการสร้างรายได้ด้วยเน้นขายสินค้า IEM หรือ ตลาดทดแทนมากขึ้น หลังจากที่พบว่าสินค้าแบบ OEM นั้น ยอดขายลดลง เพราะยอดขายรถจักรยานยนต์ลดลง ขณะที่ผู้ผลิตรถต่างลดปริมาณการผลิตลง เนื่องจากส่วนหนึ่งคือปัญหาราคาน้ำมันแพง ส่งผลให้ยอดการผลิตแบตเตอรี่ ป้อนโรงงานต่ำลงไปตามกัน
โดย YUASA แก้ไขปัญหาด้วยการนำสินค้าจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทแม่ เข้ามาจำหน่ายในที่นี่ เป็นการ สินค้าใหม่อย่างแบตเตอรี่สำรอง หรือ NP SERIES ที่ใช้สำหรับกล้องวงจรปิด รถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งสินค้าดังกล่าวมีมาร์จิ้นประมาณ 10% สินค้าเหล่านี้ครองตลาดทั่วโลกถึง 30 % และ YUASA หวังจะสร้างรายได้จากส่วนนี้เข้าสู่บริษัทเพื่อทดแทนการจำหน่ายแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว
การปรับราคาขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา ถือว่าไม่คุ้มกับต้นทุนที่พุ่ง คือตะกั่ว ตลอดจนทองแดง น้ำกลั่นและอื่น ๆ ต่างก็เพิ่มขึ้น แต่หากวัตถุดิบปรับลดก็ต้องปรับลดตามเช่นกัน โดยปีที่ผ่านมาราคาตะกั่วพุ่งไปถึง 2,350 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ขณะที่ผู้ประกอบการต่างคาดการณ์ราคาไม่น่าจะเกิน 1,900 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อตัน ทำให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่ต่างได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว แม้จะพยายามควบคุมต้นทุน แต่ก็ไม่ยังถือว่าไม่ครอบคลุมต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสูงได้
" ต้นปีคิดว่าอะไรจะดีขึ้น แต่พอมาช่ววงปลายก็ไม่ค่อยดีแล้ว เพราะผลกระทบการเงินและอื่น ๆ แม้ว่าไตรมาส 2 ของเราฟื้นกำไรก็ตาม เพราะที่เหลืออีกไตรมาสสุดท้ายประเมินยาก ส่วนไตรมาส 3 อยู่ในระหว่างการตรวจสอบงบการเงินของฝ่ายบัญชี ปลายปีเราก็ต้องลุ้นกันต่อว่าจะมีอะไรมากระทบอีกหรือไม่ " นายศุภวัสกล่าว
ปัจจุบัน YUASA ต้องส่งออกเพื่อเพิ่มยอดขาย แถมประเทศเพื่อนบ้าน หลังจากก่อนหน้าไปชิมลางมาแล้ว โดยจีนถือว่าเป็นคู่แข่งที่มาแชร์ส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะตลาดพม่าและกัมพูชา แม้ว่ามาตรฐานของบริษัทจะดีกว่า เพราะเป็นสินค้าที่มาจากญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีและมีมาตรฐานดีกว่า ซึ่งการที่บริษัทนำสินค้าเข้ามาจำหน่าย เป็นไปตามแนวทางของบริษัทแม่ที่ต้องการเพิ่มรายได้ทดแทนรายได้จากการพึ่งพาเพียงการขายแบตเตอรี่แบบ OEM ให้กับผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์
" ปีนี้การส่งออกของเราก็เพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้คึกคักเหมือนปีที่ผ่านมา เพราะปีที่ผ่านมาเราขายดีมาก บวกกับราคาแบตเตอรี่ที่เพิ่มขึ้น การขายจึงถือว่าสดใส และปีนี้เราก็เพิ่มการจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งตะวันออกกลางและประเทศแถบแอฟริกา ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี " นายศุภวัสกล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปีนี้บริษัทมีกำไรสุทธิ 2.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 37.25 ล้านบาทหรือฟื้นกำไร ขณะที่งวด 6 เดือนมีกำไรสุทธิ 18.86 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุน 101.22 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากการปรับราคาขายสินค้าที่ต่อเนื่องจากปี 50 ขณะที่ค่าใช้จ่ายของบริษัทและบริษัทย่อยสูงขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพสามิต และตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของบริษัทย่อย
นายศุภวัส พันธุ์วัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการ บริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ( YUASA) เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทต้องปรับเป้ารายได้ลงจากเดิมที่ตั้งไว้ 3 พันล้านบาท เหลือเพียง 2 พันล้านบาทเท่านั้น จากปีก่อนที่ทำรายได้ไว้ที่ 1,900 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นไม่ถึง 6% เนื่องจากต้นทุนราคาตะกั่วและอื่น ๆ ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่เกิดวิกฤตหลายอย่างกระทบ ทั้งการเมือง ปัญหาการเงินที่ลุกลามไปทั่วโลก ตลอดจนราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปก่อนหน้านี้ ส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดน้อยลงและระมัดระวังมากขึ้น
" ปีนี้เราขอแค่เสมอตัวก็พอ เพราะปลายปีที่แล้วเราคิดว่าจะไปได้ดี ตลอดจนถึงปีนี้แต่วิกฤตหลายอย่างก็รุมเร้าเข้ามา ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายสินค้า ที่สำคัญจากปีก่อนเราปรับขึ้นราคาขายไปกว่า 40% ถึงปีนี้เราต้องปรับลดลง ตามราคาตะกั่วที่ผันผวน " นายศุภวัสกล่าว
สำหรับปีนี้ หลังจากปลายปีที่แล้ว YUASA ได้แก้ไขปัญหาการสร้างรายได้ด้วยเน้นขายสินค้า IEM หรือ ตลาดทดแทนมากขึ้น หลังจากที่พบว่าสินค้าแบบ OEM นั้น ยอดขายลดลง เพราะยอดขายรถจักรยานยนต์ลดลง ขณะที่ผู้ผลิตรถต่างลดปริมาณการผลิตลง เนื่องจากส่วนหนึ่งคือปัญหาราคาน้ำมันแพง ส่งผลให้ยอดการผลิตแบตเตอรี่ ป้อนโรงงานต่ำลงไปตามกัน
โดย YUASA แก้ไขปัญหาด้วยการนำสินค้าจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทแม่ เข้ามาจำหน่ายในที่นี่ เป็นการ สินค้าใหม่อย่างแบตเตอรี่สำรอง หรือ NP SERIES ที่ใช้สำหรับกล้องวงจรปิด รถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งสินค้าดังกล่าวมีมาร์จิ้นประมาณ 10% สินค้าเหล่านี้ครองตลาดทั่วโลกถึง 30 % และ YUASA หวังจะสร้างรายได้จากส่วนนี้เข้าสู่บริษัทเพื่อทดแทนการจำหน่ายแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว
การปรับราคาขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา ถือว่าไม่คุ้มกับต้นทุนที่พุ่ง คือตะกั่ว ตลอดจนทองแดง น้ำกลั่นและอื่น ๆ ต่างก็เพิ่มขึ้น แต่หากวัตถุดิบปรับลดก็ต้องปรับลดตามเช่นกัน โดยปีที่ผ่านมาราคาตะกั่วพุ่งไปถึง 2,350 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ขณะที่ผู้ประกอบการต่างคาดการณ์ราคาไม่น่าจะเกิน 1,900 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อตัน ทำให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่ต่างได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว แม้จะพยายามควบคุมต้นทุน แต่ก็ไม่ยังถือว่าไม่ครอบคลุมต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสูงได้
" ต้นปีคิดว่าอะไรจะดีขึ้น แต่พอมาช่ววงปลายก็ไม่ค่อยดีแล้ว เพราะผลกระทบการเงินและอื่น ๆ แม้ว่าไตรมาส 2 ของเราฟื้นกำไรก็ตาม เพราะที่เหลืออีกไตรมาสสุดท้ายประเมินยาก ส่วนไตรมาส 3 อยู่ในระหว่างการตรวจสอบงบการเงินของฝ่ายบัญชี ปลายปีเราก็ต้องลุ้นกันต่อว่าจะมีอะไรมากระทบอีกหรือไม่ " นายศุภวัสกล่าว
ปัจจุบัน YUASA ต้องส่งออกเพื่อเพิ่มยอดขาย แถมประเทศเพื่อนบ้าน หลังจากก่อนหน้าไปชิมลางมาแล้ว โดยจีนถือว่าเป็นคู่แข่งที่มาแชร์ส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะตลาดพม่าและกัมพูชา แม้ว่ามาตรฐานของบริษัทจะดีกว่า เพราะเป็นสินค้าที่มาจากญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีและมีมาตรฐานดีกว่า ซึ่งการที่บริษัทนำสินค้าเข้ามาจำหน่าย เป็นไปตามแนวทางของบริษัทแม่ที่ต้องการเพิ่มรายได้ทดแทนรายได้จากการพึ่งพาเพียงการขายแบตเตอรี่แบบ OEM ให้กับผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์
" ปีนี้การส่งออกของเราก็เพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้คึกคักเหมือนปีที่ผ่านมา เพราะปีที่ผ่านมาเราขายดีมาก บวกกับราคาแบตเตอรี่ที่เพิ่มขึ้น การขายจึงถือว่าสดใส และปีนี้เราก็เพิ่มการจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งตะวันออกกลางและประเทศแถบแอฟริกา ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี " นายศุภวัสกล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปีนี้บริษัทมีกำไรสุทธิ 2.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 37.25 ล้านบาทหรือฟื้นกำไร ขณะที่งวด 6 เดือนมีกำไรสุทธิ 18.86 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุน 101.22 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากการปรับราคาขายสินค้าที่ต่อเนื่องจากปี 50 ขณะที่ค่าใช้จ่ายของบริษัทและบริษัทย่อยสูงขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพสามิต และตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของบริษัทย่อย