ครม.ไฟเขียวตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาการระบบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง หวังให้เกิดความเป็นธรรมทุกฝ่าย หลังฝ่ายค้านติงรวบอำนาจ “ยรรยง” เตรียมประชุมนัดเพื่อยกร่างกฎหมายคุมค้าปลีกยุติปัญหาโชห่วย ขณะที่“พาณิชย์”ยันไม่ปล่อยผี 50 โรงสีบัญชีดำทุกราย ส่วนพวกขาดสภาพคล่องได้สิทธิ์เจรจาก่อน ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับแนวคิด “ไชยา ” หวั่นเลือกเจรจา หวังสร้างอิทธิพลสร้างขุมกำลังก่อนเลือกตั้ง
วานนี้(19 ส.ค.) นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นวาระทราบจร เพื่อขอจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาการระบบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ผ่านนายธีรพล นพลัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีหนังสือลงเลขที่ 0408/3454 วันที่ 18 ส.ค.51 โดยที่ประชุมครม. ได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาการระบบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งโดยมีองค์ประกอบคณะกรรมการและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบคณะกรรมการ มีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน และมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักวิชาการร่วมเป็นกรรมการ ได้แก่ ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สภาอุตฯ สภาหอการค้าฯ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา นักวิชาการอิสระ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ผอ.สำนักงานส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า กรมการค้าภายใน ผอ.กองนิติการ และผอ.กองส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาด กรมการค้าภายใน
สำหรับอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ จะทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดในธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบ กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยให้รายงานผลการศึกษาต่อ รมว.พาณิชย์ หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลทราบและให้ความเห็นชอบก่อนยกร่างพระราชบัญญัติ
ขณะที่นายไชยา กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ว่า “การตั้งคณะกรรมการศึกษาฯ จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย” ส่วนการจัดตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าว นายไชยา เป็นผู้เสนอในที่ประชุมครม.เอง โดยไม่ผ่านการเสนอของที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม. โดยระบุว่า เป็นการนำเสนอเนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วน ตามาตรา 9 แห่งพรฎ.ว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวนี้ เป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะยกร่างกฎหมายค้าปลีกฉบับใหม่ขึ้นมาแทนที่ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ....ฉบับที่มีการร่างในสมัยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้านี้นายเกียรติ สิทธิอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เงา ได้ตั้งข้อสังเกตุที่กระทรวงพาณิชย์เสนอขอให้ครม.ให้อำนาจกระทรวงพาณิชย์ ในการเปิดปิดสาขาโมเดิร์นเทรด เพื่อแก้ปัญหาค้าปลีกรายใหญ่กับโชห่วยว่า ยังนึกไม่ออกเหมือนกันว่าครม.มีอำนาจอะไรที่จะมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้พิจารณาให้ขยายหรือไม่ขยายสาขาของโมเดิร์นเทรด
ทั้งนี้ เนื่องจากอำนาจในการให้โมเดิร์นเทรดสามารถเปิดหรือปิดสาขาได้หรือไม่ เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายผังเมือง ซึ่งเป็นเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาว่า การเปิดสาขาหรือขยายสาขาของโมเดิร์นเทรดกระทบการจราจร หรือกระทบความปลอดภัยหรือไม่ และเกรงกันว่าน่าจะเป็นการหาช่องทางในการแสวงหาอำนาจในการอนุมัติต่าง ๆ มาไว้ในมือของนักการเมือง หวั่นว่าจะมีผลประโยชน์แอบแฝงได้ จึงมีความพยายามที่จะขออำนาจจาก ครม.ทั้ง ๆ ที่ผิดหลักการการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำกันมากว่าสิบปีแล้ว
เตรียมประชุมกรรมการค้าปลีกเร็วๆ นี้
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งไทย วานนี้ (19ส.ค.) มีตนเป็นประธาน ส่วนกรรมการอื่นๆ เป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ คาดว่าในสัปดาห์นี้ หรือต้นสัปดาห์หน้าจะเริ่มประชุมนัดแรกได้ ซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็ว เพราะธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ได้รับผลกระทบจากการขยายสาขาของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่รุนแรงขึ้นมาก จึงต้องมีกฎหมายเฉพาะยับยั้งปัญหา
สำหรับการประชุมครั้งแรก จะเป็นการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของค้าปลีกไทย และค้าปลีกโลก ผลดี ผลเสียของกฎหมายประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกไทย ความจำเป็นของการมีกฎหมายกำกับดูแลการประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกของไทย โดยจะนำร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับที่ยกร่างโดยกระทรวงพาณิชย์ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มาพิจารณาเปรียบเทียบ ซึ่งต้องทำให้ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งของไทยแข่งขันกันในระนาบเดียวกัน ไม่ใช่รายเล็กแข่งขันกับรายใหญ่เหมือนในปัจจุบัน จนไม่สามารถแข่งขันได้ และต้องปิดกิจการลงจำนวนมาก
“พาณิชย์”ยันไม่ปล่อยผี 50 โรงสีบัญชีดำ
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้องค์การคลังสินค้า(อคส.) ได้รวบรวมข้อมูลโรงสีที่ถูกขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) ประมาณ 40 ราย และแบ่งกลุ่มว่ามีฐานความผิดอย่างไร เพื่อพิจารณาผ่อนผันให้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐตามนโยบายของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.พาณิชย์ โดยเบื้องต้นพบว่าโรงสีที่ถูกขึ้นบัญชีดำ เนื่องจากทำผิดสัญญากับรัฐ ส่วนใหญ่มีปัญหามาจากการขาดสภาพคล่อง และเกิดขึ้นในช่วงปีการผลิตข้าวตั้งแต่ปี 2549-51
ทั้งนี้ โรงสีที่ถูกขึ้นบัญชีดำนั้น มีความผิดในหลายๆ กรณี เช่น ทำผิดสัญญากรณีไม่รับมอบข้าวที่ประมูลได้ เนื่องจากมีปัญหาขาดสภาพคล่อง ทำผิดโดยการปลอมปนข้าว และทำผิดโดยการขโมยข้าวที่รัฐบาลรับฝากไว้ออกไปขาย
อย่างไรก็ตาม แม้ฐานความผิดของโรงสีส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกรณีบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด ที่ทิ้งสัญญาข้าวกับรัฐไม่มารับมอบข้าวที่ชนะประมูลเกือบล้านตัน แต่การพิจารณาครั้งนี้ต้องดูที่เจตนาว่าจงใจฉ้อโกงรัฐหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัยการขาดสภาพคล่องเพราะราคาข้าวที่ผันผวน
แหล่งข่าวกล่าวว่า การพิจารณาปลดโรงสีที่ติดแบล็กสิสต์มีเป้าหมายเพื่อให้มีพื้นที่รองรับปริมาณผลผลิตข้าวนาปีที่ออกสู่ตลาดพ.ย.นี้ คาดว่าปริมาณอย่างน้อย 23 ล้านตันข้าวเปลือก การเตรียมความพร้อมรองรับข้าวที่จะเข้าสู่โครงการรับจำนำของรัฐจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับแนวคิด “ไชยา“
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เงา แถลงถึงกรณีที่นายนายไชยา สะสมทรัพย์ มีแนวคิดแก้ปัญหาจุดรับจำนำข้าว โดยการเพิ่มจุดรับจำนำข้าว ด้วยการผ่อนผัน หรือเปิดช่องทางเจรจาโรงสี หรือโกดังที่ติดคดี หรือปลอดแบล็กลิสต์โรงสีทั่วประเทศกว่า 45 โรงสี ว่า พรรคไม่เห็นด้วย เนื่องจากโรงสีเหล่านั้นถูกดำเนินคดีอาญาและแพ่ง ในข้อหายักยอก ฉ้อโกง มีการเอาข้าวดีมาผสมข้าวไม่ดี ทำให้ผู้ประกอบการที่สุจริตไม่มีกำลังใจในการค้าขาย ดังนั้น อยากฝากไปยังรมต.กระทรวงพาณิชย์อย่าใช้วิธีนี้ เพราะอาจทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากพบว่าจะมีการเลือกเจรจาเป็นรายโรงสี โดยใช้กลไกอำนาจทางการเมืองเพื่อสร้างอิทธิพล สร้างขุมกำลังก่อนถึงการเลือกตั้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโครงการรับจำนำข้าวในระยะยาว ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ไม่สุจริตเข้ามาฉ้อโกงประชาชนมากขึ้น รัฐบาลควรหาจุดรับจำนำเพิ่มเติม โดยเฉพาะในโกดังของรัฐ หรือหาทางผ่อนปรนให้มีการรับจำนำข้าวข้ามจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงได้ ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวในอนาคตสูงขึ้นตามกลไกตลาด
ทั้งนี้พรรคเห็นด้วยที่จะขายข้าวในสตอก 2.1 ล้านตัน ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งหาทางขายไม่ว่าจะเป็นระบบรัฐต่อรัฐ หรือเอกชน แต่ควรจะเป็นการเปิดประมูลเพื่อไม่ให้ผูกขาดเฉพาะกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ 4-5 บริษัท เพื่อจะได้ราคาสูงสุด รัฐบาลได้ประโยชน์ประชาชนก็ได้ประโยชน์
วานนี้(19 ส.ค.) นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นวาระทราบจร เพื่อขอจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาการระบบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ผ่านนายธีรพล นพลัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีหนังสือลงเลขที่ 0408/3454 วันที่ 18 ส.ค.51 โดยที่ประชุมครม. ได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาการระบบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งโดยมีองค์ประกอบคณะกรรมการและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบคณะกรรมการ มีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน และมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักวิชาการร่วมเป็นกรรมการ ได้แก่ ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สภาอุตฯ สภาหอการค้าฯ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา นักวิชาการอิสระ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ผอ.สำนักงานส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า กรมการค้าภายใน ผอ.กองนิติการ และผอ.กองส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาด กรมการค้าภายใน
สำหรับอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ จะทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดในธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบ กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยให้รายงานผลการศึกษาต่อ รมว.พาณิชย์ หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลทราบและให้ความเห็นชอบก่อนยกร่างพระราชบัญญัติ
ขณะที่นายไชยา กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ว่า “การตั้งคณะกรรมการศึกษาฯ จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย” ส่วนการจัดตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าว นายไชยา เป็นผู้เสนอในที่ประชุมครม.เอง โดยไม่ผ่านการเสนอของที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม. โดยระบุว่า เป็นการนำเสนอเนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วน ตามาตรา 9 แห่งพรฎ.ว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวนี้ เป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะยกร่างกฎหมายค้าปลีกฉบับใหม่ขึ้นมาแทนที่ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ....ฉบับที่มีการร่างในสมัยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้านี้นายเกียรติ สิทธิอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เงา ได้ตั้งข้อสังเกตุที่กระทรวงพาณิชย์เสนอขอให้ครม.ให้อำนาจกระทรวงพาณิชย์ ในการเปิดปิดสาขาโมเดิร์นเทรด เพื่อแก้ปัญหาค้าปลีกรายใหญ่กับโชห่วยว่า ยังนึกไม่ออกเหมือนกันว่าครม.มีอำนาจอะไรที่จะมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้พิจารณาให้ขยายหรือไม่ขยายสาขาของโมเดิร์นเทรด
ทั้งนี้ เนื่องจากอำนาจในการให้โมเดิร์นเทรดสามารถเปิดหรือปิดสาขาได้หรือไม่ เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายผังเมือง ซึ่งเป็นเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาว่า การเปิดสาขาหรือขยายสาขาของโมเดิร์นเทรดกระทบการจราจร หรือกระทบความปลอดภัยหรือไม่ และเกรงกันว่าน่าจะเป็นการหาช่องทางในการแสวงหาอำนาจในการอนุมัติต่าง ๆ มาไว้ในมือของนักการเมือง หวั่นว่าจะมีผลประโยชน์แอบแฝงได้ จึงมีความพยายามที่จะขออำนาจจาก ครม.ทั้ง ๆ ที่ผิดหลักการการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำกันมากว่าสิบปีแล้ว
เตรียมประชุมกรรมการค้าปลีกเร็วๆ นี้
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งไทย วานนี้ (19ส.ค.) มีตนเป็นประธาน ส่วนกรรมการอื่นๆ เป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ คาดว่าในสัปดาห์นี้ หรือต้นสัปดาห์หน้าจะเริ่มประชุมนัดแรกได้ ซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็ว เพราะธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ได้รับผลกระทบจากการขยายสาขาของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่รุนแรงขึ้นมาก จึงต้องมีกฎหมายเฉพาะยับยั้งปัญหา
สำหรับการประชุมครั้งแรก จะเป็นการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของค้าปลีกไทย และค้าปลีกโลก ผลดี ผลเสียของกฎหมายประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกไทย ความจำเป็นของการมีกฎหมายกำกับดูแลการประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกของไทย โดยจะนำร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับที่ยกร่างโดยกระทรวงพาณิชย์ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มาพิจารณาเปรียบเทียบ ซึ่งต้องทำให้ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งของไทยแข่งขันกันในระนาบเดียวกัน ไม่ใช่รายเล็กแข่งขันกับรายใหญ่เหมือนในปัจจุบัน จนไม่สามารถแข่งขันได้ และต้องปิดกิจการลงจำนวนมาก
“พาณิชย์”ยันไม่ปล่อยผี 50 โรงสีบัญชีดำ
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้องค์การคลังสินค้า(อคส.) ได้รวบรวมข้อมูลโรงสีที่ถูกขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) ประมาณ 40 ราย และแบ่งกลุ่มว่ามีฐานความผิดอย่างไร เพื่อพิจารณาผ่อนผันให้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐตามนโยบายของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.พาณิชย์ โดยเบื้องต้นพบว่าโรงสีที่ถูกขึ้นบัญชีดำ เนื่องจากทำผิดสัญญากับรัฐ ส่วนใหญ่มีปัญหามาจากการขาดสภาพคล่อง และเกิดขึ้นในช่วงปีการผลิตข้าวตั้งแต่ปี 2549-51
ทั้งนี้ โรงสีที่ถูกขึ้นบัญชีดำนั้น มีความผิดในหลายๆ กรณี เช่น ทำผิดสัญญากรณีไม่รับมอบข้าวที่ประมูลได้ เนื่องจากมีปัญหาขาดสภาพคล่อง ทำผิดโดยการปลอมปนข้าว และทำผิดโดยการขโมยข้าวที่รัฐบาลรับฝากไว้ออกไปขาย
อย่างไรก็ตาม แม้ฐานความผิดของโรงสีส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกรณีบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด ที่ทิ้งสัญญาข้าวกับรัฐไม่มารับมอบข้าวที่ชนะประมูลเกือบล้านตัน แต่การพิจารณาครั้งนี้ต้องดูที่เจตนาว่าจงใจฉ้อโกงรัฐหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัยการขาดสภาพคล่องเพราะราคาข้าวที่ผันผวน
แหล่งข่าวกล่าวว่า การพิจารณาปลดโรงสีที่ติดแบล็กสิสต์มีเป้าหมายเพื่อให้มีพื้นที่รองรับปริมาณผลผลิตข้าวนาปีที่ออกสู่ตลาดพ.ย.นี้ คาดว่าปริมาณอย่างน้อย 23 ล้านตันข้าวเปลือก การเตรียมความพร้อมรองรับข้าวที่จะเข้าสู่โครงการรับจำนำของรัฐจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับแนวคิด “ไชยา“
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เงา แถลงถึงกรณีที่นายนายไชยา สะสมทรัพย์ มีแนวคิดแก้ปัญหาจุดรับจำนำข้าว โดยการเพิ่มจุดรับจำนำข้าว ด้วยการผ่อนผัน หรือเปิดช่องทางเจรจาโรงสี หรือโกดังที่ติดคดี หรือปลอดแบล็กลิสต์โรงสีทั่วประเทศกว่า 45 โรงสี ว่า พรรคไม่เห็นด้วย เนื่องจากโรงสีเหล่านั้นถูกดำเนินคดีอาญาและแพ่ง ในข้อหายักยอก ฉ้อโกง มีการเอาข้าวดีมาผสมข้าวไม่ดี ทำให้ผู้ประกอบการที่สุจริตไม่มีกำลังใจในการค้าขาย ดังนั้น อยากฝากไปยังรมต.กระทรวงพาณิชย์อย่าใช้วิธีนี้ เพราะอาจทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากพบว่าจะมีการเลือกเจรจาเป็นรายโรงสี โดยใช้กลไกอำนาจทางการเมืองเพื่อสร้างอิทธิพล สร้างขุมกำลังก่อนถึงการเลือกตั้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโครงการรับจำนำข้าวในระยะยาว ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ไม่สุจริตเข้ามาฉ้อโกงประชาชนมากขึ้น รัฐบาลควรหาจุดรับจำนำเพิ่มเติม โดยเฉพาะในโกดังของรัฐ หรือหาทางผ่อนปรนให้มีการรับจำนำข้าวข้ามจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงได้ ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวในอนาคตสูงขึ้นตามกลไกตลาด
ทั้งนี้พรรคเห็นด้วยที่จะขายข้าวในสตอก 2.1 ล้านตัน ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งหาทางขายไม่ว่าจะเป็นระบบรัฐต่อรัฐ หรือเอกชน แต่ควรจะเป็นการเปิดประมูลเพื่อไม่ให้ผูกขาดเฉพาะกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ 4-5 บริษัท เพื่อจะได้ราคาสูงสุด รัฐบาลได้ประโยชน์ประชาชนก็ได้ประโยชน์