ผู้จัดการรายวัน - ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยผลงานบริษัทจดทะเบียนงวดครึ่งแรกปี 51 กำไรสุทธิรวมกว่า 3.1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนถึง 48% ขณะที่ยอดขายรวมเฉียด 3.8 ล้านล้านบาท กลุ่ม "ปตท." รับอานิสงส์ราคาน้ำมันโลกพุ่ง คว้าแชมป์กำไรสูงสุด 3 อันดับแรก ทั้ง "PTT-PTTEP-TOP" มูลค่ารวม 9 หมื่นล้านบาท ส่วนกลุ่มทรัพยากร-ธุรกิจการเงิน-อสังหาริมทรัพย์ ติดโผกลุ่มอุตสาหกรรมที่กำไรสุทธิสูงสุด 3 อันดับแรก
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประจำงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ว่า บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 312,856 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 48% โดยมีบริษัทที่กำไรสุทธิ 388 บริษัท ขาดทุนสุทธิ 86 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 82 ต่อ 18 และมียอดขายรวมทั้งสิ้น 3,796,969 ล้านบาท ขณะที่ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 2 ปี 2551 มีกำไรสุทธิรวม 157,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 62%
สำหรับผลการดำเนินงานดังกล่าว มีบริษัทจดทะเบียนแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ รวม 474 บริษัท จากบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 500 บริษัท รวมกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Non-Compliance: NC) และบริษัทในกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group: NPG)
"ผลประกอบการโดยรวมของบจ. ในตลาดหลักทรัพย์ฯ งวด 6 เดือนแรกปี 51 เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ทั้งในส่วนของกำไรสุทธิและยอดขาย แสดงให้เห็นว่าศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมของธุรกิจในไทยยังมีความเข้มแข็งและมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง" นางภัทรียากล่าว
ส่วนบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET100 นั้น มีกำไรสุทธิ 252,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 38% ขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้น 31% ขณะที่บริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET50 กำไรสุทธิรวม 233,788 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% และมียอดขายเพิ่มขึ้น 33%
หากพิจารณาจากความสามารถทำกำไรสุทธิรายบริษัท พบว่า บริษัทที่มีมูลค่ากำไรสุทธิรวมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.ปตท. (PTT) กำไรสุทธิ 56,017 ล้านบาท บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) กำไรสุทธิ 21,901 ล้านบาท บมจ.ไทยออยล์ (TOP) กำไรสุทธิ 14,420 ล้านบาท บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) กำไรสุทธิ 14,311 ล้านบาท และ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กำไรสุทธิ 12,606 ล้านบาท
ด้านผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Group) ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Non-Compliance: NC) และบริษัทในกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group: NPG) จำนวน 453 บริษัท มีกำไรสุทธิรวม 313,823 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46%
สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนสามารถเรียงลำดับตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ อันดับแรก กลุ่มทรัพยากร ประกอบด้วย หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค และหมวดเหมืองแร่ กำไรสุทธิ 131,018 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 25% อันดับสอง กลุ่มธุรกิจการเงิน ประกอบด้วย หมวดธนาคาร หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์ และหมวดประกันภัยและประกันชีวิต กำไรสุทธิ 52,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 316%
อันดับสาม กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ประกอบด้วยหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หมวดวัสดุก่อสร้างและ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ มีกำไรสุทธิ 36,381 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 8% อันดับสี่ กลุ่มวัตถุดิบสินค้าอุตสาหกรรม ประกอบด้วย หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ หมวดวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร หมวดบรรจุภัณฑ์ หมวดกระดาษและวัสดุการพิมพ์ และหมวดยานยนต์ กำไรสุทธิ 31,470 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 132%
อันดับห้า กลุ่มเทคโนโลยี ประกอบด้วยหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กำไรสุทธิ 25,861 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92% อันดับหก กลุ่มบริการ ประกอบด้วย หมวดพาณิชย์ หมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ หมวดการแพทย์ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ หมวดบริการเฉพาะกิจ และหมวดขนส่งและโลจิสติกส์ กำไรสุทธิ 21,660 ล้านบาท ลดลง 6%
อันดับเจ็ด กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบด้วย หมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดธุรกิจการเกษตร มีกำไรสุทธิ 10,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164% และอันดับแปด กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบด้วยหมวดของใช้ในครัวเรือน หมวดของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ หมวดแฟชั่น กำไรสุทธิ 3,934 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36%
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประจำงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ว่า บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 312,856 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 48% โดยมีบริษัทที่กำไรสุทธิ 388 บริษัท ขาดทุนสุทธิ 86 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 82 ต่อ 18 และมียอดขายรวมทั้งสิ้น 3,796,969 ล้านบาท ขณะที่ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 2 ปี 2551 มีกำไรสุทธิรวม 157,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 62%
สำหรับผลการดำเนินงานดังกล่าว มีบริษัทจดทะเบียนแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ รวม 474 บริษัท จากบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 500 บริษัท รวมกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Non-Compliance: NC) และบริษัทในกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group: NPG)
"ผลประกอบการโดยรวมของบจ. ในตลาดหลักทรัพย์ฯ งวด 6 เดือนแรกปี 51 เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ทั้งในส่วนของกำไรสุทธิและยอดขาย แสดงให้เห็นว่าศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมของธุรกิจในไทยยังมีความเข้มแข็งและมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง" นางภัทรียากล่าว
ส่วนบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET100 นั้น มีกำไรสุทธิ 252,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 38% ขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้น 31% ขณะที่บริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET50 กำไรสุทธิรวม 233,788 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% และมียอดขายเพิ่มขึ้น 33%
หากพิจารณาจากความสามารถทำกำไรสุทธิรายบริษัท พบว่า บริษัทที่มีมูลค่ากำไรสุทธิรวมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.ปตท. (PTT) กำไรสุทธิ 56,017 ล้านบาท บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) กำไรสุทธิ 21,901 ล้านบาท บมจ.ไทยออยล์ (TOP) กำไรสุทธิ 14,420 ล้านบาท บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) กำไรสุทธิ 14,311 ล้านบาท และ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กำไรสุทธิ 12,606 ล้านบาท
ด้านผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Group) ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Non-Compliance: NC) และบริษัทในกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group: NPG) จำนวน 453 บริษัท มีกำไรสุทธิรวม 313,823 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46%
สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนสามารถเรียงลำดับตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ อันดับแรก กลุ่มทรัพยากร ประกอบด้วย หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค และหมวดเหมืองแร่ กำไรสุทธิ 131,018 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 25% อันดับสอง กลุ่มธุรกิจการเงิน ประกอบด้วย หมวดธนาคาร หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์ และหมวดประกันภัยและประกันชีวิต กำไรสุทธิ 52,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 316%
อันดับสาม กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ประกอบด้วยหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หมวดวัสดุก่อสร้างและ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ มีกำไรสุทธิ 36,381 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 8% อันดับสี่ กลุ่มวัตถุดิบสินค้าอุตสาหกรรม ประกอบด้วย หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ หมวดวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร หมวดบรรจุภัณฑ์ หมวดกระดาษและวัสดุการพิมพ์ และหมวดยานยนต์ กำไรสุทธิ 31,470 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 132%
อันดับห้า กลุ่มเทคโนโลยี ประกอบด้วยหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กำไรสุทธิ 25,861 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92% อันดับหก กลุ่มบริการ ประกอบด้วย หมวดพาณิชย์ หมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ หมวดการแพทย์ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ หมวดบริการเฉพาะกิจ และหมวดขนส่งและโลจิสติกส์ กำไรสุทธิ 21,660 ล้านบาท ลดลง 6%
อันดับเจ็ด กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบด้วย หมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดธุรกิจการเกษตร มีกำไรสุทธิ 10,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164% และอันดับแปด กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบด้วยหมวดของใช้ในครัวเรือน หมวดของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ หมวดแฟชั่น กำไรสุทธิ 3,934 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36%