ASTV ผู้จัดการรายวัน – ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยผลดำเนินงาน 9 เดือนปี 2552 ของบริษัทจดทะเบียนกำไรลดลง 17% เหลือ 323,938 ล้านบาท ขณะที่ยอดขายมี 4,505,970 ล้านบาท แถมพบ บจ.ขาดทุนถึง 1 ใน 4 ของทั้งหมด ส่วนภาพรวมตามกลุ่มอุตสาหกรรม ทรัพยากร ธุรกิจการเงิน อสังหาริมทรัพย์ ยังมีกำไรสูงสุดเรียงตามอันดับ โดยมี PTT SCC PTTEP SCB และ BBL เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรสุทธิสูงสุด 5 อันดับแรก
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ประจำงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2552 ว่า บริษัทจดทะเบียน จำนวน 466 บริษัท จาก 500 บริษัท (รวมกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 25 กองทุน) มีกำไรสุทธิรวม 323,938 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 17%โดยมีบริษัทที่มีกำไรสุทธิ 353 บริษัท และขาดทุนสุทธิ 113 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 76 ต่อ 24
สำหรับผลการดำเนินงานโดยรวมในงวดไตรมาส 3 ปี 2552 บจ.มีกำไรสุทธิ 115,107 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 24 %
“หากพิจารณาผลประกอบการโดยรวมของบริษัทจดทะเบียน รายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ถึง ไตรมาส 3 พบมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 82,464 ล้านบาท ในไตรมาส 1 เป็น 124,199 ล้านบาท ในไตรมาส 2 หรือเพิ่มขึ้น 51% และปรับลดลงเล็กน้อยเป็น 115,107 ล้านบาท ในไตรมาส 3 หรือลดลง 7%”
ขณะที่ ยอดขายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยไตรมาส 2 มียอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ประมาณ 12% และในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ประมาณ 9% แสดงถึงความแข็งแกร่งและศักยภาพของบริษัทจดทะเบียนที่ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้เผชิญภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับบริษัทในกลุ่ม SET 100 พบว่า ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3 ปี 2552 มีกำไรสุทธิเท่ากับ 97,304 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และในงวด 9 เดือนแรก ปี 2552 มีกำไรสุทธิรวม 287,557 ล้านบาท คิดเป็น 89% ของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน ลดลง 15% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งในส่วนยอดขายลดลง 24% ขณะที่ต้นทุนขายลดลง 27% ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 20%
โดยบริษัทที่มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติในงวด 9 เดือนแรกของปี 2552 สูงสุด 5 อันดับแรก คือ บมจ.ปตท. (PTT) บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลด้านผลการดำเนินงานของบจ. 8 กลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Group) ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Non-Compliance: NC) และบริษัทในกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group: NPG) จำนวน 448 บริษัท พบว่า มีกำไรสุทธิงวด 9 เดือน รวม 323,414 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 17%
ส่วนผลประกอบการเฉพาะไตรมาส 3 ปี 2552 มีกำไรสุทธิรวม 114,272 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 23% โดยกลุ่มอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่มีกำไรสูงสุด คือ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
โดย ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน เรียงตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิสูงสุด คือ 1. กลุ่มทรัพยากร ประกอบด้วย หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค และหมวดเหมืองแร่ มีกำไรสุทธิ 129,191 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 16% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 40,038 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น75%
2. กลุ่มธุรกิจการเงิน ประกอบด้วย หมวดธนาคาร หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์ และหมวดประกันภัยและประกันชีวิต มีกำไรสุทธิ 76,083 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 4% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 มีกำไรสุทธิ 28,391 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10%
3. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ประกอบด้วยหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หมวดวัสดุก่อสร้างและ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ มีกำไรสุทธิ 46,519 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน3% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 17,749 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39%
4. กลุ่มเทคโนโลยี ประกอบด้วยหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีกำไรสุทธิ 30,146 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน18% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 10,354 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5%
5. กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบด้วยหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดธุรกิจการเกษตร มีกำไรสุทธิ 21,147 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน32% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 8,653 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 48 %
6. กลุ่มบริการ ประกอบด้วยหมวดพาณิชย์ หมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ หมวดการแพทย์ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ หมวดบริการเฉพาะกิจ และหมวดขนส่งและโลจิสติกส์ มีกำไรสุทธิ 17,091 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7 สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,596 ล้านบาท หรือลดลง 65%
7. กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบด้วยหมวดของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน หมวดของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ หมวดแฟชั่น มีกำไรสุทธิ 3,642 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน12% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 1,344 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3%
และ 8. กลุ่มวัตถุดิบสินค้าอุตสาหกรรม ประกอบด้วย หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ หมวดวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร หมวดบรรจุภัณฑ์ หมวดกระดาษและวัสดุการพิมพ์ และหมวดยานยนต์ มีขาดทุนสุทธิ 405 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 38,159 ล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 5,147 ล้านบาท หรือลดลง25 %
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ประจำงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2552 ว่า บริษัทจดทะเบียน จำนวน 466 บริษัท จาก 500 บริษัท (รวมกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 25 กองทุน) มีกำไรสุทธิรวม 323,938 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 17%โดยมีบริษัทที่มีกำไรสุทธิ 353 บริษัท และขาดทุนสุทธิ 113 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 76 ต่อ 24
สำหรับผลการดำเนินงานโดยรวมในงวดไตรมาส 3 ปี 2552 บจ.มีกำไรสุทธิ 115,107 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 24 %
“หากพิจารณาผลประกอบการโดยรวมของบริษัทจดทะเบียน รายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ถึง ไตรมาส 3 พบมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 82,464 ล้านบาท ในไตรมาส 1 เป็น 124,199 ล้านบาท ในไตรมาส 2 หรือเพิ่มขึ้น 51% และปรับลดลงเล็กน้อยเป็น 115,107 ล้านบาท ในไตรมาส 3 หรือลดลง 7%”
ขณะที่ ยอดขายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยไตรมาส 2 มียอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ประมาณ 12% และในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ประมาณ 9% แสดงถึงความแข็งแกร่งและศักยภาพของบริษัทจดทะเบียนที่ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้เผชิญภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับบริษัทในกลุ่ม SET 100 พบว่า ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3 ปี 2552 มีกำไรสุทธิเท่ากับ 97,304 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และในงวด 9 เดือนแรก ปี 2552 มีกำไรสุทธิรวม 287,557 ล้านบาท คิดเป็น 89% ของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน ลดลง 15% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งในส่วนยอดขายลดลง 24% ขณะที่ต้นทุนขายลดลง 27% ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 20%
โดยบริษัทที่มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติในงวด 9 เดือนแรกของปี 2552 สูงสุด 5 อันดับแรก คือ บมจ.ปตท. (PTT) บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลด้านผลการดำเนินงานของบจ. 8 กลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Group) ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Non-Compliance: NC) และบริษัทในกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group: NPG) จำนวน 448 บริษัท พบว่า มีกำไรสุทธิงวด 9 เดือน รวม 323,414 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 17%
ส่วนผลประกอบการเฉพาะไตรมาส 3 ปี 2552 มีกำไรสุทธิรวม 114,272 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 23% โดยกลุ่มอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่มีกำไรสูงสุด คือ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
โดย ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน เรียงตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิสูงสุด คือ 1. กลุ่มทรัพยากร ประกอบด้วย หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค และหมวดเหมืองแร่ มีกำไรสุทธิ 129,191 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 16% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 40,038 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น75%
2. กลุ่มธุรกิจการเงิน ประกอบด้วย หมวดธนาคาร หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์ และหมวดประกันภัยและประกันชีวิต มีกำไรสุทธิ 76,083 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 4% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 มีกำไรสุทธิ 28,391 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10%
3. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ประกอบด้วยหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หมวดวัสดุก่อสร้างและ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ มีกำไรสุทธิ 46,519 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน3% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 17,749 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39%
4. กลุ่มเทคโนโลยี ประกอบด้วยหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีกำไรสุทธิ 30,146 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน18% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 10,354 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5%
5. กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบด้วยหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดธุรกิจการเกษตร มีกำไรสุทธิ 21,147 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน32% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 8,653 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 48 %
6. กลุ่มบริการ ประกอบด้วยหมวดพาณิชย์ หมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ หมวดการแพทย์ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ หมวดบริการเฉพาะกิจ และหมวดขนส่งและโลจิสติกส์ มีกำไรสุทธิ 17,091 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7 สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,596 ล้านบาท หรือลดลง 65%
7. กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบด้วยหมวดของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน หมวดของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ หมวดแฟชั่น มีกำไรสุทธิ 3,642 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน12% สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 1,344 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3%
และ 8. กลุ่มวัตถุดิบสินค้าอุตสาหกรรม ประกอบด้วย หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ หมวดวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร หมวดบรรจุภัณฑ์ หมวดกระดาษและวัสดุการพิมพ์ และหมวดยานยนต์ มีขาดทุนสุทธิ 405 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 38,159 ล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 เปรียบเทียบงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 5,147 ล้านบาท หรือลดลง25 %